TH | EN
TH | EN
หน้าแรกInterviewอัลมอนด์ ดิจิทัล กรุ๊ป Venture Builder โฟกัส ‘Innovation as a service’ ตั้งเป้าลุยภูมิภาค SEA

อัลมอนด์ ดิจิทัล กรุ๊ป Venture Builder โฟกัส ‘Innovation as a service’ ตั้งเป้าลุยภูมิภาค SEA

อัลมอนด์ ดิจิทัล กรุ๊ป ก่อตั้งขึ้นด้วยองค์ความรู้ 3 ส่วน คือ เทคโนโลยี ธุรกิจ และการออกแบบ (design) และด้วยความต้องการอยากสร้างนวัตกรรมให้ชีวตของคนทั่วไปดีขึ้น

กษมา เจตน์จรุงวงศ์ ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท อัลมอนด์ ดิจิทัล กรุ๊ป กล่าวกับ The Story Thailand ว่า ตอนเริ่มต้น เมื่อ 3 ปีก่อน เรียกตัวเองว่าเป็น venture builder ตอนนั้นยังไม่มีใครทำตรงนี้มากนัก อัลมอนด์ ดิจิทัล กรุ๊ป เป็นเจ้าแรกที่สร้างรูปแบบของ venture builder ขึ้นมาโดยการร่วมลงทุนกับคอร์ปอเรต

-Ztrus ตั้งเป้า “บริษัทเทคโนโลยี” คนไทย ไปไกลในตลาดโลก
-Bitazza ตั้งเป้าเป็นโครงสร้างพื้นฐานสินทรัพย์ดิจิทัล

และได้สร้างสตาร์ตอัพออกสู่ตลาด 4 ราย ได้แก่ Carenation สตาร์ตอัพสายยั่งยืน เจ้าของผลิตภัณฑ์พวงหรีดกระดาษ, ETRAN ธุรกิจจักรยานยนต์ไฟฟ้าสัญชาติไทย, Cashnow แพลตฟอร์ฺมทางการเงิน (platform for digitizing the lending application process) และ “เก็บ” ที่เป็นระบบริหารจัดการขยะ

หลังจบปีแรกของการทำ venture builder แล้วพบว่า นวัตกรรมไม่ได้มาแค่ในรูปแบบของสตาร์ตอัพ แต่คอร์ปอเรตขนาดใหญ่ก็ต้องการนวัตกรรมเหมือนกัน ในเชิงของ corporate innovation บริษัทจึงขยายบริการสู่ innovation as a service คือ สร้างนวัตกรรมให้กับคอร์ปอเรต ในรูปแบบของโซลูชันที่จะตอบความต้องการขององค์กร เป็นการออกแบบโซลูชันที่ตอบโจทย์คอร์ปอเรตแต่ละรายที่มีความต้องการนวัตกรรมเพื่อไปแก้ปัญหา (pain point) ของธุรกิจ

“วันแรกออกมาเป็นสตาร์ตอัพ แต่ตอนหลังขยายธุรกิจมาให้บริการส่วนขององค์กร ปัจจุบันมีบริการ 2 ส่วน คือ innovation as a startup และ innovation as a service ลูกค้าเราอยู่ในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย และเป็นบริษัทใหญ่ทั้งหมด”​ กษมา กล่าว

ผ่านมา 3 ปี อัลมอนด์ ดิจิทัล กรุ๊ป มีลูกค้าในฝั่งคอร์ปอเรตค่อนข้างมาก ทั้งใน SET50 บริษัทต่างชาติ

“เนื้องานของบริการ innovation as a startup และ innovation as a service มีความคล้ายกันมาก ประมาณ 70-80% เหมือนกัน ที่ต่างกันหลัก 2 เรื่อง เรื่องแรก คือ เรื่อง back office สตาร์ตอัพไม่มีความชำนาญ ซึ่งเราจะรับผิดชอบงานในระบบงาน back office ไม่ว่าจะเป็น HR บัญชี การเงิน และกฎหมาย เป็นต้น เพื่อให้เขาไปโฟกัสกับสิ่งที่ถนัด เรื่องต่อมา คือ การบริหารจัดการ”

สิ่งที่เหมือนกันของ innovation as a startup และ innovation as a service คือ นวัตกรรม หรือการสร้างคุณค่าในวิถีทางใหม่ที่ให้ประสิทธิผลมากกว่าสิ่งที่เป็นอยู่ปัจจุบัน

“innovation as a service เราสร้างมูลค่าเพิ่มให้ธุรกิจ คิดโซลูชันใหม่ ลดต้นทุน ได้ประโยชน์กับองค์กร นวัตกรรม ไม่ว่าจะสำหรับสร้างสตาร์ตอัพ หรือสำหรับการให้บริการ คือ กระบวนการสร้างมูลค่าใหม่ที่แตกต่าง และมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม”​ กษมา กล่าว

อัลมอนด์ ดิจิทัล กรุ๊ป เชี่ยวชาญโซลูชัน chat-based interface แผนธุรกิจของ อัลมอนด์ ดิจิทัล กรุ๊ป ปีนี้ ต้องการขยายส่วนธุรกิจ innovaton as a service ในส่วนของ chat-based solution ใหม่มากขึ้น ที่ผ่านมาเป็น official partner ของ LINE และ ​Microsoft ต่อไปจะขยายสู่แพลตฟอร์ม Facebook, WhatsApp, KaKao Talk, WeChat เป็นต้น

สิ่งที่ อัลมอนด์ ดิจิทัล กรุ๊ป ให้คือ ความเร็วในการเข้าใจธุรกิจและลูกค้า และความเชี่ยวชาญเรื่อง chat-interface และด้วยความที่เป็น official partner ของทั้ง LINE และ Microsoft สามารถช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถต่อยอดจากความเชี่ยวชาญของ อัลมอนด์ ดิจิทัล กรุ๊ป ได้

“เราต้องเข้าใจผู้บริโภคที่จะใช้สินค้าและบริการก่อน เราต้องเริ่มจากการออกแบบ ตั้งแต่โซลูชัน ประสบการณ์ การปฏิสัมพันธ์กันระกว่างคนกับสินค้าและบริการ รวมถึงออกแบบรูปแบบธุรกิจ เพราะหากไม่มีรูปแบบธุรกิจจะไม่สามารถทำให้นวัตกรรมได้ประโยชน์อย่างยั่งยืน เทคโนโยีเข้ามามีบทบาทหนุนให้ทั้งการออกแบบและรูปแบบธุรกิจขยายและเติบโตเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจะสร้างโซลูชันที่ตอบโจทย์ทั้งบริษัทไทยและบริษัทต่างชาติ ไม่แค่ช่วยให้ธุรกิจคุยกับลูกค้าได้ดีขึ้นแต่ทำให้ธุรกิจสามารถแก้ operation flow ภายในองค์กรได้”

อย่างไรก็ดี บทบาทหลักของ อัลมอนด์ ดิจิทัล กรุ๊ป คือ venture builder ซึ่ง กษมา กล่าวว่า venture builder คือ คนมองหาความต้องการในตลาดแล้วสร้างโซลูชัน ซึ่งโซลูชันเกิดได้ทั้งจากบริษัทคิดเอง หรือนักลงทุนคิด หรือความคิดจากคนทั่วไปที่มีไอเดียแต่สร้างไม่เป็นก็มาปรึกษาและมาร่วมสร้างกับ อัลมอนด์ ดิจิทัล กรุ๊ป สตาร์ตอัพอย่าง “เก็บ” เป็นตัวอย่างของคนที่มีไอเดียอยากจะปฏิรูปการรับซื้อของเก่า เดินเข้ามาบอกไอเดียและร่วมมือกันสร้างโซลูชัน ซาเล้ง 4.0 กับบริษัท

“วันแรกที่มาด้วยความคิดว่าอยากทำเรื่องการจัดการขยะ เราเริ่มกันตั้งแต่วันแรก ระดมความคิด หารูปแบบธุรกิจ จนออกมาเป็น venture ที่ชื่อว่า “เก็บ” ซึ่งคือ ซาเล้ง 4.0 ใช้ LINE ลูกค้าถ่ายรูปขยะแล้วเรียกพนักงานไปรับ ตรงเวลา สะอาด ราคาชัดเจน”

ทั้งนี้ venture builder นั้นแตกต่างจาก venture capital ซึ่งจะมองหาสตาร์ตอัพหรือบุคคลที่มีสินค้าหรือบริการอยู่แล้ว สร้างบริษัทแล้ว เขาลงทุนลงเงิน หรือนั่งเป็นบอร์ดในบริษัท แต่ venture builder วางบทบาทเป็น co-founder ร่วมกับสตาร์ตอัพ ร่วมสร้าง ร่วมลงทุนเงิน ลงทุนคน ด้วยสัดส่วนที่เท่ากัน และรับงานในส่วนที่สตาร์ตอัพไม่ถนัด อาทิ งานบัญชี และกฎหมาย

สำหรับการให้บริการกับองค์กรธุรกิจ อัลมอนด์ ดิจิทัล กรุ๊ป มีลูกค้าที่หลากหลายมาก อาทิ ลูกค้ารายหนึ่ง เป็นธุรกิจกระดาษ เดินเข้ามาหาแล้วบอกโจทย์ว่าอยากจะเปลี่ยนเป็นบริษัทเนื้อหา ซึ่งโจทย์กว้างมาก อัลมอนด์ ดิจิทัล กรุ๊ป เข้าไปศึกษา ทดลอง และออกแบบระบบใหม่ รูปแบบการทำงานใหม่ รูปแบบธุรกิจใหม่ให้ลูกค้า

ส่วนอีกตัวอย่าง ลูกค้าเดินเข้ามาบอกว่าอยากทำธุรกิจปั๊มน้ำมันให้ดิจิทัลมากขึ้น แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร อัลมอนด์ ดิจิทัล กรุ๊ป เข้าไปทำความเข้าใจความต้องการลูกค้า และสร้างโซลูชันที่เหมาะสมกับธุรกิจและความต้องการให้

“บทบาท Venture builder หรือ innovation builder ของ อัลมอนด์ ดิจิทัล กรุ๊ป คือ อยู่ตรงกลางของภูมิทัศน์ธุรกิจระหว่างองค์กรธุรกิจ และบุคคล กับโซลูชันที่อยู่บนโลกนี้”

Venture builder หลัก ๆ จะอยู่ในอเมริกาและในยุโรป มีรูปแบบธุรกิจที่หลากหลาย เป็นเทรนด์ที่มีในต่างประเทศมาแล้วแต่ในไทยเพิ่งเริ่มไม่นานมานี้ และเชื่อว่าธุรกิจนี้มีโอกาสเติบโตอีกมาก เพราะเข้ามาตอบโจทย์ความต้องการของสตาร์ตอัพได้อย่างชัดเจน สตาร์ตอัพที่เกิดจาก venture builder จะมีความแข็งแรงกว่า และนวัตกรรมจะแข็งแรงกว่า เพราะมีโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแรง ทั้งนี้ วิธีการทำ venture builder ในไทยมีหลากรูปแบบ หลายมุมมอง แล้วแต่ความถนัด

Venture builder ต้องมีทั้งเงินและองค์ความรู้ ในต่างประเทศคนที่มาทำ venture builder ส่วนมากเป็นคน 2 กลุ่ม คือ สตาร์ตอัพที่ exit ไปแล้ว กับเป็นอีกธุรกิจหนึ่งของ venture capital ที่ขยายขามาลงทุนในรูปแบบของ venteur builder รูปแบบในประเทศไทยกำลังเดินหน้าในรูปแบบของ ventuer capital ที่ขยายขาธุรกิจมาสู่ venture builder

ทั้งนี้ แผนในปีหน้า อัลมอนด์ ดิจิทัล กรุ๊ป ตั้งเป้าขยายตลาดสู่ภูมิภาค SEA โดยจะเน้นที่ธุรกิจ innovation as a service มากกว่า innovation as a startup เพราะสถานการณ์วงการสตาร์ตอัพในปีนี้ปีหน้ายังอาจจะไม่เติบโตมากนัก แต่ในส่วนของตลาดองค์กรมีความต้องการนวัตกรรมอย่างมากในช่วงเวลานี้

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ