TH | EN
TH | EN
หน้าแรกLifeโลกของ ‘อเล็กชนกรณ์’ ผลงาน ‘ดิจิทัลอาร์ต’ ของ ‘เด็กพิเศษ’ ต้อนรับวันเด็กแห่งชาติ 14 มกราคม 2566

โลกของ ‘อเล็กชนกรณ์’ ผลงาน ‘ดิจิทัลอาร์ต’ ของ ‘เด็กพิเศษ’ ต้อนรับวันเด็กแห่งชาติ 14 มกราคม 2566

เพื่อเป็นการต้อนรับ วันเด็กแห่งชาติที่ปีนี้ ตรงกับวันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2566 เยาวชน คือ อนาคตของชาติ ด้วยเรื่องราวสุดพิเศษ เป็นแบบอย่าง สร้างแรงบันดาลใจที่ดีให้กับเด็กเยาวชนไทยกับเรื่องราวของ อเล็ก-ชนกรณ์ พุกะทรัพย์ หนุ่มน้อยวัย 17 ปี ที่ครอบครัวค้นพบว่าเป็นเด็กแอลดี หรือ Learning Disabilities (LD) ความบกพร่องในการเรียนรู้ แต่แรงสนับสนุนของครอบครัวในความพยายามเลี้ยงดูให้อเล็กฝึกฝน พัฒนาให้สามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้อย่างมีความสุข ผนวกกับความสนใจ ความสามารถในตัวเองที่ได้ค้นพบ ทำให้น้องอเล็กสนใจ เรียนรู้การเป็นนักเขียนในโลกออนไลน์ บอกเล่าเรื่องราว เขียนนิยายแชต ด้วยผลงานเรื่องแรก คือ Paper Heart (หัวใจกระดาษ) ผ่านแอปพลิเคชัน Joylada (จอยลดา) มีคนติดตามอ่านจำนวนไม่น้อย และหลายคนอาจไม่รู้ว่าเป็นผลงานจินตนาการของเด็กแอลดี   

J Ventures เปิดพื้นที่นำเสนอผลงาน NFT ART หวังยกระดับมาตรฐานวงการ Digital Art ไทย

พร้อมต่อยอดผลงานในรูปแบบของภาพวาดดิจิทัลบนแพลตฟอร์ม JNFT โดยบริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด ผู้พัฒนา JNFT Marketplace ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มซื้อ-ขาย NFT สัญชาติไทย ให้การสนับสนุน และนำผลงานเชื่อมโยงจัดทำในรูปแบบแสตมป์ดิจิทัล I-Stamp พิเศษ! มีการจำหน่าย I-Stamp ภาพผลงานของอเล็ก ชนกรณ์ น่าประทับใจไปมากกว่านั้น คือ รายได้ทั้งหมดจากการจำหน่ายแสตมป์ของอเล็ก จะมอบให้แก่มูลนิธิออทิสติกไทย เพื่อนำรายได้ไปส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กพิเศษเพราะเชื่อว่าเด็ก ๆ กลุ่มนี้มีศักยภาพมีความสามารถ ขอเพียงให้โอกาส และความเข้าใจ และสนับสนุน เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างอิสระในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมเช่นคนปกติทั่วไป

ผลงานภาพวาดของอเล็ก-ชนกรณ์ พุกะทรัพย์

คุณแม่ผู้มีความพยายามเป็นเลิศ

โสภี ฉวีวรรณ คุณแม่ของอเล็ก เล่าว่า เริ่มรู้ว่าอเล็กเป็นเด็กแอลดีตอน 4-5 ขวบ หรือเรียนอยู่ชั้นอนุบาล 2 ซึ่งก่อนหน้านั้นลูกดูเป็นปกติเหมือนเด็กทั่วไป แต่จากการสังเกตอย่างใกล้ชิด เริ่มเห็นความแตกต่าง เช่น การพูดสลับคำ การเล่าเรื่องมีความสับสน ลำดับเหตุการณ์ไม่ได้ และพูดคำบางคำไม่ชัด จึงพาไปพบคุณหมอให้ตรวจวินิจฉัย จึงพบว่า อเล็กเป็นเด็กออทิสติก แอลดี แถมมีสมาธิสั้นร่วมด้วย

“วินาทีแรกรู้สึกเสียใจ แต่ดีใจที่รู้สาเหตุที่แท้จริง เพื่อจะได้แก้ปัญหาให้ลูกอย่างตรงจุด คุณหมอแนะนำให้ลูกเข้าโรงเรียนเฉพาะทาง หรือโรงเรียนที่ตอบรับลูกของเรา เพราะหากอเล็กยิ่งโตขึ้น ปัญหาเรื่องการสื่อสารจะชัดเจน และอาจจะเป็นอุปสรรคกับการเรียนและการใช้ชีวิตในสังคม”

เอ็นไอเอ หนุน EDTech ลดเหลื่อมล้ำการศึกษาไทยด้วย 3 นวัตกรรม

A-MED สวทช. กับภารกิจสร้างความเท่าเทียมเด็ก LD

“เกรดไม่ใช่ทุกอย่างของชีวิต”

การเปิดโอกาสให้ลูกค้นหาสิ่งที่ชอบก็เป็นเรื่องสำคัญ โดยอเล็กได้มีโอกาสลองผิดลองถูกมาตั้งแต่ 5 ขวบ เริ่มต้นด้วยการพาไปเรียนยิมนาสติก เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เพราะเด็กแอลดีมักมีปัญหาในการประสานการทำงานของกล้ามเนื้อมือและขา พาไปเรียนเปียโนด้วยคิดว่าดนตรีจะทำให้ลูกมีสมาธิ พาไปเรียนร้องเพลงเพื่อให้มีพัฒนาการด้านการพูดการฟังและการออกเสียงให้ชัดเจน สร้างความรู้สึกสนุก ไม่ใช่เฉพาะการฝึกพูดกับคุณหมอเพียงอย่างเดียว อีกทั้งยังเรียนคุมองคณิตคิดเร็ว เพราะเชื่อว่าการฝึกฝนทำซ้ำจะช่วยให้ลูกมีการคำนวณที่ดีขึ้น

ค้นพบความชอบจุดประกายก้าวสู่โลกจินตนาการ

อเล็ก-ชนกรณ์ พุกะทรัพย์

แม้อเล็กจะเป็นเด็กพิเศษ ออทิสติก และแอลดี แต่ก็สามารถทลายข้อจำกัดความบกพร่องที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ด้วยความมุมานะ พยายาม ฝึกฝน ลงมือทำ ผ่านบทเรียน บทพิสูจน์ที่ล้มลุกคลุกคลาน การสนับสนุนจากครอบครัว คนใกล้ชิด จนสามารถเขียนนิยายออนไลน์ ผ่านแอปพลิเคชั่น Joylada “จอยลดา” ด้วยผลงานเรื่องแรกคือ Paper Heart (หัวใจกระดาษ) เป็นผลงานที่สร้างความภูมิใจและความมั่นใจให้กับอเล็ก จนกล้าที่จะเดินต่อความฝันที่อยากทำ นั่นคือ การวาดภาพ   อเล็กนำเรื่องราว Paper Heart มาวาดเป็นตัวละคร และฉากต่างๆ เพราะอยากให้คนอ่านได้เห็นหน้าตาตัวละคร สร้างสรรค์ภาพในหัวของตัวเอง เปลี่ยนจากตัวอักษร มาเป็นภาพ ภายใต้ชื่อผลงาน “โลกของอเล็ก” You can do it I can do it. # อย่ายอมแพ้

“ผมมีความสุขกับการวาดภาพบนหน้าจอ ดีใจมากที่ค้นพบสิ่งที่เราชอบและมีโอกาสลงมือทำ ตอนนี้ผมมีความสุขกับการเล่นเกม ดูการ์ตูนและวาดภาพบอกเล่าจินตนาการของผม ตอนนี้ ผมได้เป็น Creator ที่แม้ผมจะเป็นออทิสติก แอลดี และทำมันได้ ฝากถึงเพื่อนที่เป็นเหมือนกับผมว่าการจะมีความสุขได้ต้องใช้เวลาในการค้นหาตัวเอง ค้นให้พบว่าความสุขของเราคืออะไร จริง ๆ และลงมือทำ ไม่ต้องกลัว ไม่ต้องอายเลยครับ You can do it I can do it. # อย่ายอมแพ้”

เจเวนเจอร์สเผยครีเอเตอร์เด็กพิเศษคนแรก

วรพจน์ ธาราศิริสกุล Chief of Technology บริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด กล่าวว่า “ความจริงแล้ว เด็กออทิสติก ที่ในสายตาคนส่วนใหญ่ อาจคิดว่าผิดแปลกไป กลับมีความสามารถในหลายๆ ด้านทัดเทียม หรืออาจจะดีกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นออทิสติกด้วยซ้ำ แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่ผู้ใหญ่ใจดีสามารถช่วยกันฟื้นฟูและสนับสนุนเด็กออทิสติก ให้มีผลงานต่าง ๆ ออกมาสู่สังคม ดังที่ในวันนี้เจเวนเจอร์สได้ให้การสนับสนุนให้พื้นที่โชว์เคสกับน้องอเล็ก นับเป็นครีเอเตอร์เด็กพิเศษคนแรกของเรา ซึ่งไม่ใช่เพราะเป็นเรื่องของความสงสาร แต่เราเล็งเห็นถึงศักยภาพการสร้างสรรค์ผลงานของอเล็กที่ไม่แพ้บุคคลปกติทั่วไป จึงอยากให้สังคมเปิดโอกาสมีพื้นที่กับกลุ่มเด็กพิเศษอย่างทัดเทียมกับคนทั่วไป”

สนใจและชื่นชอบเรื่องราวของอเล็ก สามารถแวะไปให้กำลังใจ เยี่ยมชมผลงาน พร้อม ๆ กับร่วมสนับสนุนส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กพิเศษให้สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติที่สุด ด้วยการซื้อแสตมป์ “โลกของอเล็ก” You can do it I can do it. # อย่ายอมแพ้ ราคาแผ่นละ 200 บาท รายได้ทั้งหมดมอบให้มูลนิธิออทิสติกไทย ผลงานของอเล็กจะจัดแสดงที่ห้องเรียน Business Line & Life ชั้น 2 ศูนย์การค้าแอม พาร์ค จุฬาลงกรณ์ ซอย 9 วันนี้ 14 มกราคม 2566 

Thailand Digital Arts Festival 2022 งานแสดงศิลปะดิจิทัลครั้งแรกในเอเชีย

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ