TH | EN
TH | EN
หน้าแรกThe Story Reportเปิดโลก JNFT แพลตฟอร์มทำเงินของนักสร้างศิลปะดิจิทัล

เปิดโลก JNFT แพลตฟอร์มทำเงินของนักสร้างศิลปะดิจิทัล

เมื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลเคลื่อนตัวเข้าสู่โลกของวงการศิลปะ ดนตรี บันเทิง และของสะสม แพลตฟอร์ม JNFT ช่องทางกระจายสินทรัพย์ดิจิทัลหายาก มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีเพียงชิ้นเดียวในโลก นับเป็นการเปิดประตูแห่งโอกาสให้นักสร้างศิลปะได้สร้างสรรค์งานศิลป์ในแบบดิจิทัล หรือ NFT ที่สามารถเพิ่มมูลค่าชิ้นงาน กระจายสู่ผู้ที่ชื่นชอบ ตลอดจนนักสะสมงานศิลป์ไปทั่วทุกมุมโลก

ธนวัฒน์ เลิศวัฒนารักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด ผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม JNFT มาร์เก็ตเพลสของผู้ต้องการซื้อขาย หรือประมูลสินทรัพย์ดิจิทัลด้านงานศิลปะ กล่าวว่า มุมมองเดิมของ NFT คือ “การสร้างงานศิลปะให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล” แต่ด้วยพัฒนาการ ณ ปัจจุบัน ได้เติมมุมมองในเรื่องของ “สิทธิประโยชน์” ร่วมด้วย เนื่องจากสินทรัพย์ดิจิทัลที่ถูกแปลให้อยู่ในรูปแบบ NFT จะค่อนข้างเป็นเอกลักษณ์ หายาก และมีอยู่เพียงชิ้นเดียวในโลก โดยมีโทเคนดิจิทัลเป็นเสมือนตั๋วแสดงสิทธิความเป็นเจ้าของสินทรัพย์นั้นเพียงผู้เดียว ทำให้งานหลังบ้านต้องมีการพัฒนาระบบนิเวศให้ประสิทธิภาพ ตั้งแต่การสร้างเหรียญโทเคนดิจิทัล เช่น JFIN Coin การสร้างแพลตฟอร์มบล็อกเชน “xCHAIN” กระเป๋าเงินดิจิทัลในการเก็บเหรียญ ตลอดจนการพัฒนาระบบชำระเงินออนไลน์ เพื่อให้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสามารถส่งต่อประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ

NFT เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลด้านงานศิลปะที่คนมองเห็นมูลค่า และมีผลเปลี่ยนโฉมวงการศิลปะ เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลือกซื้องานศิลป์ตามแกลลอรี่ ไปอยู่บนแพลตฟอร์มดิจิทัล ที่สามารถขยายฐานกำลังซื้อ-ขาย-ประมูลชิ้นงานออกไปได้ทั่วโลก เช่น ผลงานศิลปะ The First 5000 Days ซึ่งซื้อขายด้วยมูลค่ากว่า 2 พันล้านบาท ภาพปกการ์ตูนขายหัวเราะเล่มแรกในรูปแบบ NFT หรือจะเป็นการทำตลาดของเจมาร์ทในการนำเหรียญไปแลกซื้อโทรศัพท์รุ่นลิมิเต็ด หรือหายากในตลาด NFT

โดยมีเทคโนโลยีบล็อกเชนซึ่งเข้ามาเปลี่ยนโลกในเรื่องของการทำธุรกรรม การบันทึกข้อมูลแต่ละรายธุรกรรม และระบบการชำระเงินที่ป้องกันการปลอมแปลงและแก้ไขข้อมูลในเวลาเดียวกัน ส่งผลให้เกิดการทำธุรกรรมทั่วโลกได้ตลอด 24 ชั่วโมง

เมื่อมาเจอกับตลาดนักสะสมงานศิลปะถือว่าตอบโจทย์ เพราะสามารถสืบค้นมูลค่าของสินทรัยพ์ได้จริง รู้ตัวตนผู้ซื้อผู้ขาย และสามารถนำสิทธิการเป็นเจ้าของสินทรัพย์นั้นไปสร้างมูลค่าทางธุรกิจต่อได้ ส่วนองค์กรหรือผู้ขายงานศิลปะเอง สามารถดัดแปลงสินค้าบางอย่างที่ไม่เคยขายได้มาก่อน มีความเข้าใจลูกค้าในมุมที่ไม่เคยเข้าใจมาก่อน เกิดการสร้างฐานลูกค้าใหม่ รวมถึงใช้ประโยชน์จากโทเคนในการสร้างกลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดใหม่ ๆ หรือ “แปลงโฉม” ภาคธุรกิจสู่การเติบโตได้จริง

ปัจุบัน องค์กรธุรกิจไม่ว่าจะเป็น โค้ก เป็ปซี่ หลุยส์ วิตตอง กุชชี่ อดิดาส ไนกี้ ต่างผันตัวเข้าสู่โลก NFT ในการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมากขึ้น หรือขยายฐานแฟนคลับใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งในอดีตไม่เคยมีเครื่องมือทางการตลาดที่ทำแบบนี้มาก่อนในการเชื่อมระหว่างโลกการค้าดั้งเดิมและโลกดิจิทัลเข้าด้วยกัน รวมถึงเป็นการเตรียมพร้อมสู่โลกเมตาเวิร์ส (Metaverse) ต่อไป

ทิศทางของธุรกิจของ เจ เวนเจอร์ จึงตั้งใจพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสินทรัพย์ดิจิทัลให้ใหญ่ขึ้นด้วยแพลตฟอร์มที่จะพาทุกคนเข้าถึงทั้งเว็บ 3.0 เมตาเวิร์ส และ NFT เช่น ในมุมของโทเคน หรือกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ มีการสร้างเหรียญโทเคน JFIN Coin ในมุมของ NFT ได้สร้างมาร์เก็ตเพลสและเครื่องมือที่จำเป็นต่อการพัฒนาไว้ให้เรียบร้อย 

“เรามีทีมพัฒนาและมีโครงการเกี่ยวกับ NFT ที่อยากทำจำนวนมาก รวมถึงพันธมิตรธุรกิจมาทำงานร่วมกันเพื่อผลักดันการใช้งาน NFT ในรูปแบบต่าง ๆ ถึงแม้จะยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่เชื่อว่าจะเติบโตได้อย่างแน่นอน ส่วนก้าวต่อไป คือ การพัฒนาเมตาเวิร์ส เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงโลกของเว็บ 3.0 ได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องเริ่มต้นใหม่จากศูนย์ และไม่จำกัดแค่งานศิลปะเท่านั้น” 

เปลี่ยนไอทีเป็นงานศิลปะที่ต้องมี

นราธิป วิรุฬห์ชาตะพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจมาร์ท โมบาย จำกัด กล่าวว่า การเปลี่ยนผ่านทางธุรกิจสู่ยุคดิจิทัลให้สำเร็จ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ พนักงาน ลูกค้า และพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ ในแง่ของพนักงานต้องพัฒนาทักษะการเรียนรู้กระบวนการของ NFT และทดลองใช้งานโทเคนเมื่อมีการออกแคมเปญเกิดขึ้น การร่วมกับพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ และครีเอเตอร์ เช่น ศิลปินวาดภาพในการสร้างสรรค์สินค้าสมาร์ทดีไวซ์ ที่ให้คุณค่าทางศิลปะที่ลงตัวกับตลาด NFT ก่อนส่งมอบให้กับลูกค้า 

“แคมเปญการตลาด Jaybird NFT Collection BIRD 2022 เป็นสิ่งที่เจมาร์ททำร่วมกับพาร์ทเนอร์อย่างหัวเว่ย ซึ่งเป็นการจับมือกับนักสร้างงานศิลปะเพื่อสร้างคอลเล็กชั่นของอุปกรณ์สมาร์ทดีไวซ์รุ่นลิมิเต็ด มีจำนวนจำกัดเพียง 7,777 ตัว โดยได้เลือกรุ่น Special Rare เข้าสู่การประมูลในตลาดของ NFT เพื่อมัดใจกลุ่มฮาร์ดคอร์ที่ชื่นชอบและหลงใหลในแบรนด์ ซึ่งนอกจากเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า ยังเป็นการเสริมความภักดีต่อแบรนด์ รวมถึงเติมโอกาสการสร้างมูลค่าทางธุรกิจและกำไรที่เพิ่มขึ้นสำหรับนักสะสมในอนาคต”

จริงหรือเสมือนบนโลกเดียวกัน

เกรียงไกร กาญจนะโภคิน ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธุรกิจของอินเด็กซ์คือการจัดงานอีเวนต์ ซึ่งหัวใจสำคัญอยู่ที่การทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ตรงทั้งด้าน รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส เมื่อตลาดเริ่มขานรับเทรนด์เมตาเวิร์สว่าเป็นเทคโนโลยีอนาคต และเริ่มปรากฏการใช้งานบนสื่อโซเชียลหรือการสร้างเนื้อหาแบบดิจิทัลบ้างแล้วแม้ว่าจะยังเป็นเมตาเวิร์สที่ไม่สมบูรณ์แบบเสียทีเดียว จึงเกิดไอเดียเปลี่ยนผ่านธุรกิจในระยะเริ่มต้นโดยนำประสบการณ์ในโลกความเป็นจริงมาผสมผสานคู่ขนานกันไปกับประสบการณ์ดิจิทัล โดยประยุกต์เรื่องของเมตาเวิร์สเข้ามาเสริม 

ตัวอย่าง เช่น คอนเสิร์ตของ “แสตมป์ อภิวัชร์” เป็นโครงการร่วมกันระหว่างอินเด็กซ์ กับ JNFT เพื่อทดลองว่า การจัดคอนเสิร์ตบนโลกเมตาเวิร์สในแบบที่เป็นประสบการณ์ตรงจะโดนใจผู้ชมอย่างไร ซึ่งนอกจากผู้ชมจะได้เสพย์การแสดงดนตรีจากศิลปินบนโลกเสมือนที่สมจริง ยังสามารถต่อยอดไปสู่การออกคอลเล็กชันของศิลปินที่ออกแบบมาให้พิเศษแตกต่างไว้ซื้อหาสะสม ซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวศิลปิน ตลอดจนสร้างฐานแฟนคลับได้มากขึ้น จากนั้น ก็ขยับไปจับกลุ่มศิลปิน ATLAS ซึ่งมีฐานแฟนคลับเป็นวัยรุ่น ปรากฎว่าขายบัตรตูมเดียวหมด ต่อมาด้วยการจัดคอนเสิร์ต “พี่เบิร์ด ธงชัย” ที่ได้ไปรษณีย์ไทยมาร่วมด้วย เป็นต้น 

“ผมมองว่าเป็นประสบการณ์ใหม่ทางธุรกิจ ปกติการจัดอีเวนต์สักงาน รายได้เราจะมาจากการขายตั๋วเข้าชม กับเงินสนับสนุนจากสปอนเซอร์ แต่พอเราเข้าไปสู่ตลาด NFT นอกจากจะขยายฐานลูกค้าเป้าหมายออกไปได้กว้างและครอบคลุมมากขึ้นกว่าเดิม ยังทำให้รู้ว่า เราทำคอนเสิร์ตไมได้จบแค่วันงาน แต่ยังขยายไปสู่การออกแบบคอลเล็กชันการแสดงของศิลปินให้ซื้อสะสมตามมาได้อีก ยิ่งพอรู้ว่า NFT เป็นโทเคนอย่างหนึ่งที่เอามาเปลี่ยนเป็นตั๋วได้ ทำให้เราสามารถนำกลุ่มศิลปินกลับมาจัดคอนเสิร์ต เช่น อาจจะในแบบที่เป็นเอ็กคลูซีฟกับฐานแฟนคลับได้มากขึ้น”

เกรียงไกร กล่าวว่า ตนเองเชื่อเรื่องการสร้างประสบการณ์คู่ขนานในแบบไฮบริดระหว่างประสบการณ์ดิจิทัลกับประสบการณ์จริงที่เกิดขึ้นว่า จะต้องไปด้วยกันได้ดีอย่างแน่นอน

ขยายชุมชนคนสะสม NFT Stamp

พอพูดถึงคำว่า ไปรษณีย์ ภาพจำของผู้คน คือ “กระดาษ” ซึ่งเป็นโลกที่ฟังแล้วห่างไกลจากคำว่า “ดิจิทัล” หรือ บล็อกเชน ซึ่งไปรษณีย์ไทย ได้พยายามเปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจที่เป็นดิจิทัลยิ่งกว่าเดิม มีโอกาสได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์มบล็อกเชน xCHAIN ในมุมของการศึกษาแนวโน้มด้านเทคโนโลยี จึงเป็นความพยายามเริ่มต้นในการตามหายูสเคส จนมาจบที่ “แสตมป์” หรือ “ดวงตราไปรษณียากร”

จุลพงษ์ ลิมปสุธรรม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานธุรกิจบริการดิจิทัล บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กล่าวว่า เพราะ “ดวงแสตมป์” เป็นงานที่ไปรษณีย์ไทยได้สิทธิการผลิตแต่เพียงผู้เดียวในประเทศ ซึ่งตัวแสตมป์ก็มีวิวัฒนาการในการออกแบบและผลิตมาหลายรูปแบบ ตั้งแต่ แสตมป์แบบ 3 มิติ การพิมพ์บนแผ่นฟรอยด์ ผ้าใหม่ หรือเอาเมล็ดข้าวมาทำแสตมป์ แต่ก็อยู่ในรูปแบบของดวงแสตมป์ที่จับต้องได้

อย่างไรก็ตามพบว่า การใช้งานแสตมป์ลดลง จำนวนนักสะสมแสตมป์ที่ค่อย ๆ หายไป พอมาเจอแพลตฟอร์มไฮบริดที่ผสมระหว่างรูปแบบที่จับต้องได้กับประสบการณ์บนดิจิทัล เป็นการจุดประกายในการออก NFT Stamp คริปโทแสตมป์ชุดแรกของเอเชีย ซึ่งมีทั้งแสตมป์ชุดที่เป็นกระดาษ (Physical) มูลค่า 140 บาท และแสตมป์ดิจิทัลซึ่งซื้อสะสมไว้ได้ในกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์

โดยจัดทำทั้งหมด 50,000 ดวง ประกอบด้วย ชุด common 26,000 ดวง ชุด uncommon 14,000 ดวง ชุด rare 1,400 ดวง ชุด epic 1,460 ดวง ชุด legend 140 ดวง โดยที่ NFT Stamp ทั้ง 50,000 ดวง จะมีการออกแบบคาแรกเตอร์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่ไม่ซ้ำกันแม้แต่ดวงเดียว 

มีครีเอเตอร์ที่มาร่วมออกแบบแสตมป์รวม 28 ท่าน เพื่อสร้างคาแรกเตอร์ พื้นหลัง การตกแต่งที่ต่างกันในแสตมป์แต่ละดวง ซึ่งจากการเปิดจองทั้งหมด 50,000 ชิ้น เหลือเพียง 9,000 ชิ้น โดยคาดว่าจะเก็บไว้เก็งกำไรราว 80% โดยมีตัวอย่างนักสะสมแสตมป์ที่พยายามตามหาเพื่อประมูล NFT Stamp ที่มีคาแรกเตอร์เหมือนกับตัวเขา ทำให้แสตมป์ 1 ดวง 140 บาท มีราคาเพิ่มขึ้น 100 เท่า หรือ 14,000 บาท ภายใน 2 สัปดาห์

“ถ้ามองในมุมของจำนวนแฟนคลับนักสะสมแสตมป์ของไปรษณีย์ไทยจะมีอยู่ราว 20% ส่วนอีก 80% ไม่ใช่นักสะสมแสตมป์แต่มาเล่น เท่ากับมีผู้สนใจ NFT Stamp มากกว่าเดิมถึง 4 เท่า กลายเป็นโอกาสทางธุรกิจที่ไปรษณีย์ไทยมองเห็นจากการร่วมในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลนี้”

เปลี่ยนงานคิลป์เป็นสินทรัพย์ดิจิทัล

พิริยะ วัชจิตพันธ์ ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท Pixel Paint และสมาคมนักสะสมงานศิลปะไทย กล่าวว่า เมื่อพูดถึงงานศิลปะ คนมักจะนึกถึงการขายชิ้นงานจิตรกรรม ประติมากรรมที่มีลักษณะจับต้องได้ แต่ช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา กระแสเรื่อง NFT ถูกพูดถึงในสังคมของนักสะสมงานศิลปะ เพราะปริมาณการซื้อขายงานศิลปะในฐานะเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างหนึ่งเมื่อช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายนปีที่แล้ว มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 3 แสนกว่าล้านบาท หรืออย่างไฟล์ดิจิทัลของศิลปิน บีเพิล (Beeple) เพียงไฟล์เดียวสามารถขายได้ถึง 2 พันกว่าล้านบาท ไฟล์ภาพตุ๊กตาคริปโต พั้งค์ (Crypto Punks) หรือ วอร์เฮด (Warhead) ที่ขายได้ในหลักหลายสิบล้าน แม้แต่ศิลปินไทยอย่างคุณ Line Censor ซึ่งประสบความสำเร็จในการสร้างงานศิลปะดิจิทัลแบบ NFT ไปขายในแพลตฟอร์มต่างประเทศด้วยมูลค่าชิ้นละหลายแสนบาท เป็นต้น

“ปลายปีที่แล้ว ผมจัดประมูลงานศิลปะ เลยชวนศิลปินไทยมาลองประมูลงานในตลาด NFT กัน ลองเอาไฟล์ดิจิทัลไปขึ้นบนบล็อกเชนแล้วดูว่าคนไทยสนใจแค่ไหน ปรากฎว่า ของคุณ Line Censor มีคนแย่งประมูลปิดกันไปที่หลักล้าน ส่งผลให้หลังจบการประมูล อาชีพจิตรกรของเขาถือว่าพุ่งแรง และทำให้งานภาพวาดปกติเดิมขายอยู่ในราคาไม่กี่แสนบาท พอนำกลับมาประมูลใหม่ ราคาก็ขึ้นไปเป็นล้านบาทเช่นกัน ส่วนชิ้นงานอื่น ๆ สามารถซื้อขายหรือประมูลกันในราคาหลักแสนขึ้นไป”

“ยิ่งเราจัดประมูลปีละ 3-5 รอบ ก็ยิ่งเห็นชัดว่า ราคาประมูลที่คิดว่าได้มาสูงแล้วกลับสูงขึ้นไปอีก อันนี้เป็นตัวอย่างที่บอกเราว่า ถ้าเราเข้าใจและใช้ประโยชน์จาก NFT ให้เป็น เทคโนโลยีนี้จะช่วยส่งเสริมธุรกิจและอาชีพของศิลปินหรือนักสะสมได้มากจริง ๆ”

พิริยะ กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการงานวาดภาพเหมือนของอาจารย์ศักดิ์วุฒิ วิเศษมณี ก็เช่นกัน ได้ลองทำบน NFT เพราะเป็นศิลปินที่มีลายเส้นเป็นเอกลักษณ์ โดยเริ่มจากวาดภาพเหมือนแบบ NFT เป็นรูปตัวเองมาลองประมูล ซึ่งปิดไปได้ที่ราคา 2 ล้านกว่าบาท จึงเกิดเป็นโครงการงานวาดภาพเหมือนของอาจารย์ศักดิ์วุฒิ วิเศษมณี ที่ให้สิทธิคนซื้อภาพเหมือนจะได้ตั๋วใบหนึ่งที่เอาไปขายต่อเพื่อเก็งกำไร เมื่อคุณทำกำไรเป็นที่พอใจแล้ว อาจารย์ศักด์วุฒิท่านจะวาดภาพเหมือนส่งไปให้

“พอปล่อยโครงการนี้ไปครั้งแรกสามารถขายได้หมดในเวลาเพียง 5 นาที ทำให้เราตระหนักว่า  NFT ได้เข้ามาสู่โลกศิลปะและส่งผลเปลี่ยนโฉมวงการศิลปะไปแล้วระดับหนึ่ง ที่เหลือก็ขึ้นอยู่กับว่า วงการศิลปะและตัวศิลปินจะวางจุดยืนในงานของตัวเองและเดินหน้าใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ดิจิทัลนี้ในมิติต่าง ๆ ได้อย่างไร”

ทั้งหมดนี่คือ ภาพสะท้อนของการใช้งานเทคโลโลยีบล็อกเชน เพื่อสร้างสินทรัพย์ดิจิทัลที่

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ