TH | EN
TH | EN
หน้าแรกSustainabilityกสิกรไทย ย้ำผู้นำด้าน ESG กลุ่มธนาคารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครอง ดัชนีความยั่งยืนระดับโลก ต่อเนื่อง

กสิกรไทย ย้ำผู้นำด้าน ESG กลุ่มธนาคารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครอง ดัชนีความยั่งยืนระดับโลก ต่อเนื่อง

กสิกรไทยเดินหน้ามุ่งสู่การเป็นผู้นำด้าน ESG ของกลุ่มธนาคารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประสานศักยภาพทั้งด้านเทคโนโลยี และพันธมิตร เพื่อช่วยให้ลูกค้า สังคม และประเทศ เติบโตอย่างยั่งยืน 

โดยล่าสุดกสิกรไทยได้รับการยอมรับจากดัชนีด้านความยั่งยืนระดับโลก ได้แก่ ดัชนี DJSI 7 ปีซ้อน และมีคะแนนสูงสุด 5% (Top 5%, S&P Global ESG Score 2022) ในกลุ่มธนาคาร ดัชนี CDP ที่คะแนนระดับ A List ด้านการบริหารจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นธนาคารแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยและเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และดัชนี Bloomberg GEI 5 ปีซ้อน เป็นธนาคารแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย

ขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักการธนาคารแห่งความยั่งยืน (Bank of Sustainability) เพื่อสร้างการเติบโตอย่างสมดุลทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) โดยวางกลยุทธ์การดำเนินงานอย่างเป็นระบบ เน้นการวัดผล และเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส โดยความมุ่งมั่นในการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของธนาคารได้รับการยอมรับจากองค์กรชั้นนำด้านมาตรฐานความยั่งยืนทั้งในประเทศและระดับสากลสอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs)  นอกจากนี้ ธนาคารยังสนับสนุนความพยายามของประชาคมโลกในช่วงเปลี่ยนผ่านเข้าสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายความตกลงปารีส (Paris Agreement) 

“กสิกรไทย” วาง 6 ยุทธศาสตร์ด้าน ESG มุ่งสู่เป้าหมายธนาคารแห่งความยั่งยืน

ท่ามกลางความท้าทายจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งการแข่งขันในหลากหลายรูปแบบ ธนาคารยังคงมุ่งมั่นดำเนินงานเพื่อสร้างความสมดุลในทุกมิติ เพื่อสร้างการเติบโตของธุรกิจควบคู่กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศให้เดินหน้าอย่างยั่งยืน เกิดผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม 

ในด้านสิ่งแวดล้อม ธนาคารกสิกรไทยได้ประกาศ Net Zero Commitment ในปี 2564 โดยตั้งเป้าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์จากการดำเนินงานของธนาคาร ภายในปี 2573 (ค.ศ. 2030) ซึ่งนำไปสู่การปรับการทำงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Scope 1 และ 2) ด้วยการทยอยเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงานและติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์ รวมทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในพอร์ตโฟลิโอ (Scope 3) สอดคล้องตามเป้าหมายของประเทศไทย โดยจัดทำแผนกลยุทธ์การลดก๊าซเรือนกระจกรายอุตสาหกรรม (Sector Decarbonization Strategy) การพัฒนาบริการ Beyond Financial Solutions พัฒนาโครงการที่เป็นมากกว่าบริการทางการเงินเพื่อช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงไลฟ์สไตล์กรีนได้ง่ายยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ในปี 2565 ธนาคารให้สินเชื่อและการลงทุนเพื่อความยั่งยืนไปแล้วกว่า 26,000 ล้านบาท และตั้งเป้าภายในปี 2030 จะสนับสนุนสินเชื่อและการลงทุนเพื่อความยั่งยืนไม่ต่ำกว่า 1-2 แสนล้านบาท

ด้านสังคม ธนาคารได้นำความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีประสานความร่วมมือกับพันธมิตรพัฒนาบริการเพื่อขยายโอกาสการเข้าถึงบริการธนาคารให้แก่คนไทยในวงกว้าง ซึ่งครอบคลุมลูกค้าใหม่ที่เข้าถึงทางการเงินยาก (Financial Inclusion) ควบคู่กับการให้ความรู้ทางการเงินและความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Financial and Cyber Literacy) การให้ความสำคัญในการดูแลพนักงานอย่างเป็นธรรม รวมทั้งการเคารพสิทธิมนุษยชนและความแตกต่างหลากหลาย และด้านธรรมาภิบาล สินเชื่อโครงการและเครดิตเชิงพาณิชย์ของลูกค้าผู้ประกอบการขนาดกลางขึ้นไป เข้าสู่กระบวนการประเมินความเสี่ยงด้าน ESG ครบทั้ง 100%  โดยในปี 2565 มีมูลค่ากว่า 514,652 ล้านบาท

จากความมุ่งมั่นในการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักการธนาคารแห่งความยั่งยืน (Bank of Sustainability) ล่าสุด กสิกรไทยได้รับการยอมรับจากดัชนีด้านความยั่งยืนระดับโลก 3 แห่ง ได้แก่ 

สมาชิกดัชนีชี้วัดความยั่งยืน Dow Jones Sustainability Indices (DJSI)  ประจำปี 2565 ทั้งในระดับโลกและกลุ่มตลาดเกิดใหม่เป็นปีที่ 7 ติดต่อกันและมีคะแนนสูงสุด 5% (Top 5%, S&P Global ESG Score 2022) ในกลุ่มธนาคาร โดยประเมินจากการจัดการที่ยั่งยืนขององค์กรทั้งในมิติสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล/เศรษฐกิจ (ESG) ซึ่งธนาคารกสิกรไทยได้รับคะแนนรวมสูงสุดเป็นอันดับ 2 ของกลุ่มธนาคารในระดับโลก และมีคะแนนในมิติธรรมาภิบาล/เศรษฐกิจ สูงที่สุดในโลกของกลุ่มธนาคาร 

สมาชิกดัชนีชี้วัดความยั่งยืน CDP ด้วยคะแนนระดับสูงสุดที่ A List (Leadership Level)  ด้านการบริหารจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ประจำปี 2565 เป็นธนาคารแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยและเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ สะท้อนมาตรฐานการบริหารจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเปิดเผยข้อมูลที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ในระดับสากล 

สมาชิกดัชนีวัดความเสมอภาคทางเพศ Bloomberg Gender-Equality Index (GEI) ประจำปี 2023 เป็นปีที่ 5 ติดต่อกันเป็นธนาคารแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของธนาคารในการรายงานถึงความโปร่งใสในด้านความเสมอภาคทางเพศ 

ขัตติยา กล่าวตอนท้ายว่า ด้วยความมุ่งหมายของธนาคารในการเป็นผู้นำด้าน ESG ของกลุ่มธนาคารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงถือเป็นภารกิจที่ธนาคารจะเดินหน้าพัฒนามาตรฐานอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการประสานศักยภาพทั้งด้านเทคโนโลยี พันธมิตรใน ecosystem ส่งเสริมให้เกิดการลงมือทำจริงในทุกภาคส่วน ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจสังคม และประเทศ ให้เดินหน้าสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน

ESG เครดิต: หมุดหมายใหม่แห่งความยั่งยืน 

การวางตำแหน่ง ESG กับโอกาสทางธุรกิจ

เกี่ยวกับดัชนีชี้วัดความยั่งยืน Dow Jones Sustainability Indices (DJSI)  

จัดทำโดย S&P Global ซึ่งเป็นดัชนีที่ประเมินประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนในมิติสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลและเศรษฐกิจ (ESG) ซึ่งเป็นที่ยอมรับในแวดวงธุรกิจระดับโลก รวมทั้งเป็นดัชนีที่กองทุนต่าง ๆ จากทั่วโลกใช้เป็นเกณฑ์อ้างอิงในการพิจารณาการลงทุน โดยมั่นใจว่าบริษัทที่ได้รับการรับรอง DJSI จะสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีและยั่งยืนให้กับผู้ลงทุน โดยในปี 2565 มีบริษัททั่วโลก 2,480 บริษัท ที่เข้ารับการประเมิน และมีบริษัททั่วโลกที่ผ่านการประเมินเข้าดัชนี DJSI World จำนวน 332 บริษัท เป็นบริษัทไทยจำนวน 12 บริษัท

เกี่ยวกับดัชนีชี้วัดความยั่งยืน CDP

จัดทำโดย Carbon Disclosure Project หรือ CDP ซึ่งเป็นองค์กรเพื่อสาธารณประโยชน์ด้านบริหารการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่กำหนดมาตรฐานด้านการเปิดเผยข้อมูลคาร์บอนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สำคัญต่อตลาดโลก อีกทั้งยังเป็นฐานข้อมูลออนไลน์ด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ขององค์กรที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีนักลงทุนจำนวนมากให้ความเชื่อมั่นในข้อมูล CDP เพื่อใช้สำหรับการลงทุนและการตัดสินใจต่าง ๆ ในปี 2565 มีบริษัทกว่า 15,000 บริษัททั่วโลกที่ส่งข้อมูลเข้ารับการประเมิน และมีบริษัททั่วโลกที่ได้รับการประเมินระดับ A List ด้านการบริหารจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จำนวน 288 บริษัท เป็นบริษัทไทยจำนวน 3 บริษัท

ดัชนีวัดความเสมอภาคทางเพศ Bloomberg Gender-Equality Index (GEI)

จัดทำโดย Bloomberg พิจารณาจากบริษัทมหาชนที่เปิดเผยข้อมูลด้านการส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศที่ครอบคลุมข้อมูลทางสถิติของบริษัท นโยบายการมีส่วนร่วมของชุมชน ผลิตภัณฑ์ และบริการ โดยปี 2566  มีบริษัทที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสมาชิกดัชนีวัดความเสมอภาคทางเพศจำนวน 484 บริษัท เป็นบริษัทไทยจำนวน 4 บริษัท

ความยั่งยืนของกิจการ ในรอบปี 2565

จะขับเคลื่อน ESG แบบ ‘ห่วงเรา’ หรือ ‘ห่วงโลก’

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ