TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistความยั่งยืนของกิจการ ในรอบปี 2565

ความยั่งยืนของกิจการ ในรอบปี 2565

ผ่านพ้นปี 2565 ถือเป็นธรรมเนียมที่จะมีการประมวลเรื่องราวด้านความยั่งยืนที่ผ่านมาในรอบปี เพื่อเป็นการทบทวนสถานะของการดำเนินงาน อันจะนำไปสู่การวางทิศทางและตั้งเป้าหมายสำหรับการพัฒนาในปีนี้ต่อไป

ในรอบปีที่ผ่านมา สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะหน่วยงานที่มุ่งเน้นงานส่งเสริมความยั่งยืนของกิจการ และขับเคลื่อนเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการร่วมกับภาคเอกชนมาอย่างต่อเนื่อง ได้ใช้เวทีประชาคมการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน (Sustainability Disclosure Community: SDC) จัด Webinar เรื่องกระบวนการรายงานความยั่งยืนตามข้อแนะนำของ GRI (Global Reporting Initiative) จำนวน 5 ครั้ง ให้แก่องค์กรที่เป็นสมาชิก SDC จำนวน 136 ราย เพื่อช่วยองค์กรยกระดับการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนตามมาตรฐานสากล

และจากการทำงานของ SDC บนข้อมูลความยั่งยืนที่กิจการเปิดเผยจำนวน 854 แห่ง สถาบันไทยพัฒน์ ได้ทำการประมวลและจัดทำรายงานสถานภาพความยั่งยืนของกิจการ ปี 2565 หรือ “The State of Corporate Sustainability in 2022” จำแนกตามกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อให้องค์กรสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ศึกษา เปรียบเทียบสถานะ และกำหนดทิศทางการพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืนตามบรรทัดฐานในอุตสาหกรรม

เปิดผลสำรวจ ESG ธุรกิจไทยปี 65

10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับที่มา และ ตลาดคาร์บอนเครดิต

ในรายงาน แบ่งการวิเคราะห์ข้อมูลความยั่งยืนออกเป็น 3 หมวดหลัก โดยหมวดแรกเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตามมาตรฐานการรายงานสากล GRI หมวดที่สองเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินงานตามประเด็นด้าน ESG (Environmental, Social and Governance) ที่แนะนำโดยสมาพันธ์ตลาดหลักทรัพย์โลก (World Federation of Exchanges: WFE) และหมวดที่สามเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินงานที่มีการตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ตามแนวทาง GCI (Guidance on Core Indicators) ที่จัดทำโดยคณะทำงานผู้ทรงคุณวุฒิระหว่างรัฐบาลด้านมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการบัญชีและการรายงาน (International Standards of Accounting and Reporting: ISAR)

ในหมวดของการวิเคราะห์ข้อมูลในมุมมอง GRI พบว่า องค์กรที่เป็นประชากรในการศึกษา มีการเปิดเผยข้อมูลไว้ในรายงานประจำปี (Combined in Annual Report) มีสัดส่วนมากสุด อยู่ที่ 80.91% รองลงมาเป็นประเภทเปิดเผยไว้ในรายงานความยั่งยืน (Sustainability Report) แบบแยกเล่มรายงานต่างหาก สัดส่วน 17.92% ซึ่งในประเภทนี้มีการจัดทำรายงานความยั่งยืนโดยอ้างอิง GRI มีสัดส่วนอยู่ที่ 88.89% โดย 10 ประเด็นความยั่งยืนที่มีการเปิดเผยมากสุด ในด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ผลเชิงเศรษฐกิจ และการต่อต้านทุจริต ในด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ มลอากาศ น้ำและน้ำทิ้ง และของเสีย และในด้านสังคม ได้แก่ ประเด็นการจ้างงาน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย การฝึกอบรมและการให้ความรู้ การไม่เลือกปฏิบัติ และแรงงานเด็ก

ในหมวดของการวิเคราะห์ข้อมูลในมุมมอง WFE พบว่า กิจการส่วนใหญ่ในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมมีการเปิดเผยข้อมูลครอบคลุมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล โดย 10 ประเด็น ESG ที่มีการเปิดเผยมากสุด ในด้านสิ่งแวดล้อม (E) ได้แก่ ยอดการใช้พลังงาน และการใช้น้ำ ในด้านสังคม (S) ได้แก่ การไม่เลือกปฏิบัติ อัตราการบาดเจ็บ แรงงานบังคับและแรงงานเด็ก และนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน และในด้านธรรมาภิบาล (G) ได้แก่ ความหลากหลายในโครงสร้างคณะกรรมการบริษัท ความเป็นอิสระในคณะกรรมการบริษัท จรรยาบรรณคู่ค้า และจริยธรรมและการต่อต้านทุจริต

8 องค์กรไทย 8 รางวัล ASOCIO Award 2022 กับโซลูชันเพื่อการก้าวสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลด้วยความยั่งยืน

ESG for SME

ในหมวดของการวิเคราะห์ข้อมูลในมุมมอง GCI พบว่า กิจการส่วนใหญ่ในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมมีการตอบสนองต่อ SDGs ครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม และด้านสถาบัน โดยมีการตอบสนองต่อ SDGs เป้าหมายที่ 3 (สุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดี) เป้าหมายที่ 4 (การศึกษาที่ได้คุณภาพ) เป้าหมายที่ 5 (ความเท่าเทียมทางเพศ) เป้าหมายที่ 6 (น้ำสะอาดและการสุขาภิบาล) เป้าหมายที่ 7 (พลังงานสะอาดและราคาไม่แพง) เป้าหมายที่ 8 (งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ) เป้าหมายที่ 9 (อุตสาหกรรม นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน) เป้าหมายที่ 10 (ลดความเหลื่อมล้ำ) เป้าหมายที่ 12 (การผลิตและการบริโภคที่รับผิดชอบ) เป้าหมายที่ 16 (ความสงบสุข ความยุติธรรม และการมีสถาบันที่เข้มแข็ง) และเป้าหมายที่ 17 (การเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน)

RISE เปิดตัวกองทุน SeaX Zero ตั้งเป้าขับเคลื่อนนวัตกรรมองค์กรเพื่อความยั่งยืน

โดย 10 ตัวชี้วัดหลัก GCI ซึ่งตอบสนองต่อ SDGs ที่มีการเปิดเผยสูงสุด ในด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ยอดรายได้ และภาษีและเงินอื่นที่จ่ายแก่รัฐ ในด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ประสิทธิภาพการใช้น้ำ ในด้านสังคม ได้แก่ ชั่วโมงเฉลี่ยการฝึกอบรมต่อปีต่อคน และสัดส่วนค่าจ้างและสวัสดิการพนักงานต่อรายได้จำแนกตามชนิดการจ้างและมิติหญิงชาย และในด้านสถาบัน ได้แก่ จำนวนครั้งของการประชุมคณะกรรมการและอัตราการเข้าร่วมประชุม จำนวนและร้อยละของกรรมการหญิง ช่วงอายุของกรรมการ จำนวนครั้งของการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบและอัตราการเข้าร่วมประชุม และค่าตอบแทนรวมต่อกรรมการ

นอกจากนี้ ในรายงานฉบับดังกล่าว ยังได้นำเสนอประเด็นด้านความยั่งยืนของกิจการที่ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มความเคลื่อนไหวของภาคธุรกิจที่ให้ความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เจตนารมณ์ในการตั้งเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ตลอดจนความท้าทายในการลดคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กร

องค์กรที่สนใจศึกษาข้อมูลในรายงานสถานภาพความยั่งยืนของกิจการ ปี 2565 เพิ่มเติม สามารถดาวน์โหลดรายงานฉบับดังกล่าว ที่เว็บไซต์ของสถาบันไทยพัฒน์ (ไม่มีค่าใช้จ่าย) ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

COP 27 กับการหารือกลไกตลาดคาร์บอนเครดิต

การส่งเสริมธุรกิจประกันภัยให้ยั่งยืนด้วยปัจจัย ESG

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ