TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistเปิดเส้นทาง 3 ยุคของธุรกิจ Shippop สตาร์ตอัพสัญชาติไทยผู้ให้บริการ Shipping Gateway ชั้นนำ

เปิดเส้นทาง 3 ยุคของธุรกิจ Shippop สตาร์ตอัพสัญชาติไทยผู้ให้บริการ Shipping Gateway ชั้นนำ

Shippop สตาร์ตอัพสัญชาติไทย ส่งมอบบริการ Shipping Gateway เชื่อมต่อระบบโลจิสติกส์ให้มีความสะดวก ง่าย และมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ด้วยการรวบรวมบริการรับ-ส่งสินค้าและพัสดุแบบจบครบในที่เดียว Shippop ยึดหลักการเติบโตไปพร้อมกับพันธมิตร มี Logistics partners ชั้นนำเข้าร่วมกว่า 25-30 ราย ได้ทำการจัดส่งพัสดุไปแล้วมากกว่า 20 ล้านชิ้น หรือมากกว่าล้านชิ้นต่อเดือนโดยเฉลี่ย 

ปี 2021 ที่ผ่านมา Shippop ได้รับรางวัล Startup of the Year จากงาน Startup x Innovation Thailand Expo 2021 มอบให้แก่ผู้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบนิเวศสตาร์ตอัพของประเทศ และเสริมสร้างศักยภาพทางธุรกิจให้แก่สตาร์ตอัพไทยให้ก้าวสู่ตลาดต่างประเทศ และในปี 2020 คว้า 2 รางวัลจากเวที Thailand ICT Awards 2020 (TICTA 2020) ภายใต้แนวคิด Digitalization For New Normal 2020 ได้แก่ รางวัลชนะเลิศ หมวด industrial สาขาย่อย Supply Chain Logistics  และ รางวัลชนะเลิศ หมวด technology Award : Big Data Analytics

เปิดเส้นทาง 3 ยุคสมัยของธุรกิจ Shippop

ยุคสมัย Shippop 1.0 (2016 – 2019)

ยุคเริ่มต้นธุรกิจของ Shippop อยู่ในช่วง brand.com ในตอนนั้น market place ยังไม่ได้เป็นที่นิยมเท่าปัจจุบัน แต่จะมีเครื่องมือมากมายที่ทำให้ผู้ประกอบการ พ่อค้า แม่ค้า ออนไลน์ สร้างเว็บไซต์หรือมี URL ของตัวเองได้แบบง่าย ๆ ต้นทุนต่ำ ซึ่งนั่นคือ ลูกค้ากลุ่มแรกของ Shippop 

บริการแรกคือ จองขนส่งออนไลน์ และ รับพัสดุถึงหน้าบ้าน

Shippop ช่วยให้ผู้ประกอบการใน 3 แกน ได้แก่ 1) ระบบที่ง่ายขึ้น ประหยัดเวลาการดำเนินการ 2) มีหน้าเว็บที่ช่วยเปรียบเทียบราคาขนส่ง ทำให้ประหยัดต้นทุน และ 3) เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ด้วยการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ สร้าง tracking system และ Customer Service 365 วัน

Revenue Model ของ Shippop 1.0 อยู่ในรูปแบบ Commission Fee และ ด้วยการที่ Shippop สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการ พ่อค้า แม่ค้า ออนไลน์ได้ ทำให้เติบโตได้แบบก้าวกระโดดตั้งแต่ยุคแรก ๆ อัตราการส่งพัสดุ จาก 1 แสนชิ้นต่อปี เป็น 3 ล้านชิ้นต่อปี รายได้ที่เริ่มต้นจากหลักล้าน กลายเป็นร้อยล้านในเวลา 3-4 ปี โดยประมาณ

ยุคสมัย Shippop 2.0 (2019 – 2021)

การมาซึ่งโรคระบาด Covid-19 ทำให้ตลาดเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ธุรกิจออนไลน์เติบโตอย่างก้าวกระโดด เป็นผลให้การบริการด้านระบบโลจิสติกส์เข้ามามีส่วนสำคัญ 

Shippop มองเห็นโอกาสตรงนี้ ขยายผลจากบริการจองขนส่งออนไลน์ มาเป็น Harmonizing Logistic Channel เชื่อมหน้าร้านขนส่งทั้งโลก offline และ online สร้าง Shippop outlet มากกว่า 1,200 สาขาทั่วประเทศ ทำให้ Logistics agent สร้างราย และกำไรเพิ่มจากการใช้ระบบ Shippop 

Revenue Model ของ Shippop ในยุคนี้ มาจากหลายหลายสตรีม เช่น Franchising, drop-off service แต่รายได้หลักก็ยังมาจากค่าขนส่งเช่นเดิม 

ยุคสมัย Shippop 3.0 (2022 – ปัจจุบัน)

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา Shippop แสดงวิสัยทัศน์ พร้อมก้าวสู่ Shippop 3.0 ยุคแห่ง Blockchain และ AI และ การ decentralized สอดคล้องกับคอนเซ็ปต์ Web 3.0 

Shippop จะไม่ได้อยู่แค่ตัวเองอีกต่อไป ในอนาคตบริการ Shippop ไม่จำเป็นต้องจำกัดอยู่แค่ใน Shippop outlet แต่ Shippop Software สามารถไปอยู่ในทุก ๆ บริการของทุกขนส่งได้ และขยายผลไปสู่ First & Last Mile Delivery 

(แทรกด้วยรูปงานแถลงข่าว Shippop)

ทุกการเดินทางมีจุดเริ่มต้น… Let’s start!

โมชิ สุทธิเกียรติ จันทรชัยโรจน์ CEO Shippop จากเดิมเป็นพนักงานประจำ ตำแหน่งโปรแกรมเมอร์ แต่มีความฝันอยากเป็นเจ้าของธุรกิจ ครั้งหนึ่งได้ไปเข้าค่าย Young Web Master Camp (YWM) และได้พบกับป้อม ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ในวันนั้นโมชิ ได้เล่าความฝันให้ป้อมฟัง แลกเปลี่ยนไอเดีย แนวคิด จนมาตกผลึกกันได้ว่าอยากจะสร้าง Shipping Gateway เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ประกอบการ พ่อค้า และ แม่ค้าออนไลน์ 

นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทาง Shippop และ โมชิในฐานะผู้ประกอบการ โดยมีป้อม ภาวุธเป็น mentor และ investor ตั้งแต่เริ่มต้น 

Shippop x AIS The StartUp เพื่อนร่วมทางกว่า 7 ปี

หนึ่งในเพื่อนร่วมทางของ Shippop ที่อยู่ร่วมกันตั้งแต่ช่วงเริ่มแรกก็คือ AIS The StartUp โมชิและทีมได้นำเสนอธุรกิจใน AIS The StartUp Monthly Pitching ปี 2016 ตอนนั้นยังเป็น Shippop ยุค 1.0 จากคำบอกเล่าของโมชิ ช่วงนั้นมีความเครียด และกังวลมาก เนื่องจากการนำเสนอก็ไม่ได้ดีนัก ประสบการณ์ด้านธุรกิจก็ยังไม่มี เคยเป็นแต่โปรแกรมเมอร์ แต่พอต้องมานำเสนอกับผู้บริหารบริษัทใหญ่ ก็ไม่สามารถถ่ายทอดเรื่องราวออกมาได้ดีนัก ความต้องการในวันนั้นคือ อยากได้ใครเข้ามาช่วยให้คำแนะนำเพิ่มเติม แต่ยังไม่มั่นใจตัวเองว่าจะดีพอกับ AIS หรือไม่

ในวันที่ได้ทราบว่าทาง AIS จะเข้ามาเป็นผู้คอยแนะนำเพิ่มเติม รู้สึกดีใจมาก หากสรุป 3 สิ่งที่โมชิ และ Shippop ได้รับจาก AIS The StartUp เพื่อผลักดันธุรกิจให้เติบโตจากยุค 1.0 มาสู่ยุค 3.0 

  1. ทักษะการนำเสนอที่แตกต่างจากที่อื่น: AIS The StartUp สอนหลักการนำเสนอที่แตกต่างจากที่อื่น และมีประโยชน์ในทางปฏิบัติได้จริง ๆ แต่ก่อน Shippop ได้ขึ้นเวทีประกวดมากมาย แต่ก็ยังไม่สามารถไปได้ถึงหมาย หลังจากได้เรียนรู้เรื่องหลักการนำเสนอจาก AIS The StartUp เป็นหนึ่งในจุดเปลี่ยนให้ Shippop ได้เปลี่ยนจากการเป็นผู้เข้าร่วมแข่งขัน มาเป็นผู้ได้รับรางวัล นอกจากนั้น ยังสามารถนำแนวคิดนั้นมาใช้ในธุรกิจจริง
  2. การขยายฐานลูกค้าและสร้างการรับรู้ผ่านฐานลูกค้า AIS: Shippop ได้เข้าร่วมโปรแกรม Privileges สำหรับกลุ่มลูกค้า SME ของ AIS Business 
  3. เครือข่ายผู้ประกอบการ: การเข้าร่วม AIS The StartUp เปิดโอกาสได้พบเจอมากกว่า AIS แต่ได้พบปะผู้ประกอบการในคอมมูนิตี้เพิ่มเติม แลกเปลี่ยนประสาบการณ์ ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

ฝากถึงรุ่นน้อง Startup

ในวันแรกทีมสำคัญมากและควรมีที่ปรึกษาทางธุรกิจShippop มี mentor เสมอมาแล้วเวลาได้รับการ mentor ต้องไม่หูซ้ายทะลุหูขวาให้ฟังแล้วนำมาปรับปรุง

ผู้ประกอบการด้านดิจิทัลรุ่นใหม่ที่สนใจร่วมเป็นพันธมิตรกับ AIS ตามรอยรุ่นพี่อย่าง Shippop สามารถส่งแผนงานเพื่อพิจารณามาได้ที่ www.ais.co.th/thestartup

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ