TH | EN
TH | EN
หน้าแรกInterviewDoctor A to Z กับ บทบาท next generation ของ digital healthcare ในไทย

Doctor A to Z กับ บทบาท next generation ของ digital healthcare ในไทย

เริ่มจาก passion ที่อยากเป็นแพลตฟอร์มทางการแพทย์ของคนไทย มีฐานข้อมูลด้านสุขภาพของคนไทย และต้องการเป็นแพลตฟอร์มของคนไทยที่ขยายไปตลาดต่างประเทศ 

จากจุดตั้งต้นปี 2018 เริ่มด้วยการเป็นแพลตฟอร์มให้ปรึกษาแพทย์ฟรีสำหรับคนไทยทั้งในประเทศและในต่างประเทศกับทีมแพทย์จิตอาสา จากนั้นได้รับการลงทุนจาก InVent และขยายบริการมาเรื่อย ๆ จนปี 2020 รายได้เติบโตกว่า 8 เท่า สำหรับปริมาณการใช้งานในช่วงครึ่งแรกของปี 2021 เติบโตประมาณ 2 เท่า (แต่รายได้จากการบริการ telemedicine ยังไม่ใช่รายได้หลักของบริษัท)

นายแพทย์อนุชา พาน้อย กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ด็อกเตอร์เอทูแซด จำกัด (Doctor A to Z) กล่าวกับ The Story Thailand ว่า Doctor A to Z ต้องการทำให้บริการ telemedicine ที่ทุกคนเข้าถึงได้ (democratize telemedicine) อยากให้ทุกคนเข้าถึงบริการการรักษาได้ดีขึ้น 

การเข้าถึงการแพทย์ในประเทศไทยไม่ยาก แต่ที่ยาก คือ การเข้าถึงแพทย์เฉพาะทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแพทย์เฉพาะทางบางสาขามีจำนวนน้อย ทำให้คนไข้เข้าไม่ถึง ดังนั้น Doctor A to Z จึงวางบทบาทเป็นแพลตฟอร์มที่จะเชื่อมให้ผู้บริโภคเข้าถึงแพทย์เฉพาะทางได้ง่ายและสะดวกขึ้น เพราะต้องการให้การเข้าถึงแพทย์เฉพาะทางของคนไทยมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

ช่วงที่ผ่านมาได้เปิดบริการ telemedicine มีผู้ใช้บริการจำนวนมาก โดยเฉพาะการใช้บริการรับการปรึกษาต่าง ๆ เกี่ยวกับการดูแลและรักษาสุขภาพช่วงโควิด ทว่า telemedicine นั้นไม่สามารถรองรับการให้บริการรักษาพยาบาลได้ทุกโรค โรคที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลจะไม่สามารถใช้ได้ อาจกล่าวได้ว่า การแพทย์ทางไกล (telemedicine) จะมีบทบาทเป็นเหมือนการแพทย์เฉพาะทาง มีความเฉพาะเจาะจงไปในแต่ละสาขาการแพทย์ ในประเทศไทยเริ่มจากสาขาผิวหนังและจิตเวช 

“ดังนั้น telemedicine จะเหมาะกับผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรคกล้ามเนื้อ โรคผิวหนัง โรคทางจิตเวช เป็นต้น ซึ่งหากผู้ป่วยโรคเหล่านี้หันมาใช้บริการ telemedicine จะช่วยให้การเดินทางไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์ลดลง ซึ่งโควิด เป็นปัจจัยหนึ่งในการเร่งการเติบโตของบริการ telemedicine ในประเทศไทย” นพ.อนุชา กล่าว

แนวโน้มการแพทย์ผ่านระบบดิจิทัล หรือ digital healthcare กำลังเติบโตอย่างมาจากแนวโน้มธุรกิจเองและสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่การเติบโตในแต่ละตลาดมีความแตกต่างกันขึ้นกับหลายปัจจัยทั้งฝั่งคุณหมอ ฝั่งผู้รับบริการ โครงสร้างพื้นฐาน และระบบงานการแพทย์ทางไกลผ่านดิจิทัล รวมถึงกฎระเบียบต่าง ๆ

ทั้งนี้ ปี 2020-2025 คาดการณ์ว่าการแพทย์ผ่านระบบดิจิทัล หรือ digital healthcare จะมีการเติบโตประมาณ 40% ต่อปี ในขณะที่บางตลาดเติบโต 3-4 เท่า อาทิ  Teladoc ของสหรัฐอเมริกา หรือ Alodokter ของอินโดนีเซีย เป็นต้น 

“ธุรกิจของ Doctor A to Z เป็น B2B2C แต่ธุรกิจ telemedicine ส่วนใหญ่จะเป็นแบบ B2C สิ่งที่ให้บริการ คือ บริการพัฒนาโซลูชันระบบการแพทย์ทางไกลให้กับโรงพยาบาล คลินิก และศูนย์พยาบาลให้กับองค์กร นิคมอุตสาหกรรม หรือในพื้นที่สมาร์ทซิตี้ ซึ่งเป็นบริการแบบ B2B”

ภูมิทัศน์ของ digital healthcare มีอยู่ 3 ลักษณะ คือ มีการเติบโต มีความเฉพาะเจาะจง และการเติบโตของสมาร์ทดีไวซ์ที่มีฟีเจอร์ที่ตรวจวัดสุขภาพ ซึ่งในอนาคตอุปกรณ์ IoT ที่มีฟังก์ชันการวัดและเก็บข้อมูลทางการแพทย์มากขึ้น

ทั้งนี้ Doctor A to Z ต้องการเป็น next generation ของ digital healthcare ด้วยความมุ่งมั่น 2 อย่าง คือ การทำให้การแพทย์ทางไกลทั่วถึงเท่าเทียม (democratize telemedicine) ร่วมกับการทำ healthcare business transformation ให้กับอุตสาหกรรม healthcare และอุตสาหกรรมต่าง ๆ อาทิ สมาร์ซิตี้ และนิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น และศูนย์รวมของแพทย์เฉพาะทาง (medical expert hub) รวมถึงมีมาร์เก็ตเพลสของอุปกรณ์ทางการแพทย์ 

Doctor A to Z กำลังอยู่ระหว่างการระดมทุนรอบ Pre-series A และ Series A เพื่อนำเงินมาลงทุนในระยะสั้น และระยะยาว เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี สร้างทีมนักเทคโนโลยี และการขยายตัวไปทั่วประเทศ โดยระยะแรก คือ การสร้างระบบนิเวศของ healthcare ที่ประกอบด้วยโรงพยาบาล แพทย์ บริษัทประกัน ร้านยา เป็นต้น ระยะที่สอง คือ พัฒนาและให้บริการเทคโนโลยีกับธุรกิจต่าง ๆ ทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน อาทิ โรงพยาบาล คลินิก เมือง นิคมอุตสาหกรรม และองค์กรธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งจะขยายฐานบริการให้ทั่วประเทศด้วยรูปแบบธุรกิจและบริการเหล่านี้ และระยะที่ 3 คือ การขยายไปตลาดต่างประเทศ ซึ่งอาจจะต้องระดมทุนรอบใหม่ 

รายได้มาจาก 3 ส่วน คือ บริการ software as a service บริการวิจัยและพัฒนา และบริการมาร์เก็ตเพลส รายได้ปี 2020 อยู่ที่ประมาณ 10 ล้านบาท สำหรับปี 2021 Doctor A to Z คาดว่าจะสามารถเติบโตได้ประมาณ 3 เท่า 

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ