TH | EN
TH | EN
หน้าแรกLifeม.มหิดลสร้างสรรค์ ‘BactoBattle’ การ์ดเกมพิชิตโลกจุลชีพ สอนนศพ. ต่อยอดเชื้อแบคทีเรียก่อโรค

ม.มหิดลสร้างสรรค์ ‘BactoBattle’ การ์ดเกมพิชิตโลกจุลชีพ สอนนศพ. ต่อยอดเชื้อแบคทีเรียก่อโรค

การเล่นการ์ดเกม (Card Game) ถือเป็นหนึ่งใน Passive Recreation ที่เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย โดยได้มีผลพิสูจน์แล้วว่าดีต่อสุขภาพจิตเพียงใด

อาจารย์ดร. นายแพทย์กรกฤษณ์ อิ่มวัฒนา อาจารย์แพทย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรม “BactoBattle” การ์ดเกมพิชิตโลกจุลชีพ สำหรับนักศึกษาแพทย์ฯ ศิริราช ให้ได้เรียนไปด้วย ได้ผ่อนคลายไปด้วย

จากความสนใจในการเล่นการ์ดเกมเป็นทุนเดิม ประกอบกับความสนใจในโลกแห่งจุลชีพ ซึ่งนับเป็นอาณาจักรของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่สุด แต่ยิ่งใหญ่ที่สุด จนสามารถค้นพบเคล็ดลับเพื่อการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ซึ่งให้ผลที่ดีกว่าการท่องจำเพียงอย่างเดียว

ด้วยการปล่อยให้สมองได้สร้างแผนที่ทางความคิด ไปพร้อมกับการเชื่อมโยงองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกัน ซึ่งลำพังการท่องจำเพียงชื่อของเชื้อจุลชีพไม่อาจบ่งบอกถึงลักษณะที่ง่ายต่อการจดจำ แต่หากเชื่อมโยงกับโรคที่เกิดขึ้นตามอวัยวะ และระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย จะทำให้มองเห็นกลไกของการเกิดโรคได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น

ยกตัวอย่าง เชื้อจุลชีพก่อโรคที่เกิดขึ้นภายในลำไส้ จัดเป็นกลุ่มให้จดจำใน 2 ลักษณะ คือแบบ “ขับถ่ายเป็นน้ำ” เช่น เชื้ออหิวาต์ (Vibrio cholerae) และอีโคไล (Escherichia coli) และแบบ “ขับถ่ายเป็นเลือด” ที่ทำให้ลำไส้อักเสบ และเกิดอาการปวดบิด เช่น เชื้อซาลโมเนลลา (Salmonella enterica) และชิเกลลา (Shigella spp.) เป็นต้น หากจำเป็นกลุ่มของการก่อโรคจะทำให้จำได้ง่ายยิ่งขึ้น

การนำความรู้เรื่องจุลชีพมาจัดทำเป็นนวัตกรรมสื่อการสอน ยังทำให้นักศึกษาแพทย์ได้รับความเพลิดเพลินจากการได้สังสรรค์ และท้าทายผลัดกันเป็นผู้ชนะในการหาทางกำจัดเชื้อ และการดื้อยาให้ถูกโรคในเกมการได้ผ่อนคลายจะช่วยให้สามารถต่อสู้กับ “โรคซึมเศร้า” ซึ่งมักเป็นปัญหาทางสุขภาพจิตที่สำคัญซึ่งคอยคุกคามนักศึกษาแพทย์ให้ต้องเผชิญจากความกดดันในการเรียนที่ต้องทุ่มเทอย่างหนักเพื่อการเตรียมตัวเป็นแพทย์ที่สมบูรณ์พร้อมต่อไปในอนาคต

อาจารย์ ดร. นายแพทย์กรกฤษณ์ อิ่มวัฒนา เคยรับหน้าที่เป็นแกนนำนักศึกษาแพทย์ศิริราชจัดแข่งขันตอบปัญหาจุลชีววิทยานานาชาติ ต่อมาได้จุดประกายให้เกิดการต่อยอดสร้างเป็นนวัตกรรม “BactoBattle” เพื่อการเรียนรู้

ผลงานนวัตกรรม “BactoBattle” ได้รับการตีพิมพ์ถึงความสำเร็จของผลการเรียนรู้ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ “Access Microbiology” แห่งสมาคมจุลชีววิทยาในยุโรป และได้ขยายประโยชน์ออกไปทั่วโลก

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ทีม Teletubbies โชว์สกิล Data & AI คว้าแชมป์ IoT Hackathon 2024

เมืองไทยประกันชีวิต เดินหน้าโครงการ ผ่าตัดต้อกระจกเพื่อผู้สูงอายุที่ขาดแคลน ต่อเนื่องเป็นปีที่ 8

เอไอเอส จับมือ กระทรวง พม. ขยายผล “หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์” สู่ผู้สูงอายุ กลุ่มเสี่ยงภัยไซเบอร์ 


STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ