TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistความใกล้ ไม่สำคัญเท่า ความไว ... IoT สำหรับผู้ประกอบการเกษตรยุคใหม่

ความใกล้ ไม่สำคัญเท่า ความไว … IoT สำหรับผู้ประกอบการเกษตรยุคใหม่

ตั้งแต่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 Hybrid Work Culture กลายเป็นเทรนด์ใหม่ของโลก แทบทุกบริษัท ต้องมีการปรับตัว ทั้งลดจำนวนคนทำงานในออฟฟิศ และเพิ่มการทำงานจากบ้าน รวมถึงการปรับกระบวนการทำงานแทบจะทุกกระเบียดนิ้ว ทั้งเรื่องการรักษาระยะห่าง (Social Distancing) การลดการสัมผัส (Touchless) ทำให้ Internet of Things (IoT) เข้ามามีบทบาทและเติบโตเร็วมากในช่วงที่ผ่านมา

หลายคนมองว่า IoT เป็นเพียงเรื่องของเทคโนโลยี ที่เข้ามาช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ผมมองว่า IoT เป็นมากกว่านั้น IoT คือ Game Changer ที่เข้ามาสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับวิธีการทำงาน บทความนี้จะพาเจาะลึกถึงการใช้ IoT สำหรับภาคการเกษตรและปศุสัตว์ซึ่งถือเป็นอาชีพพื้นฐานและอาชีพหลักของคนไทยส่วนใหญ่ รวมถึงมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยอย่างมาก

IoT หนุนการเกษตรยุค 4.0

สำหรับคนทำงานออฟฟิศ การทำงานจากที่บ้านโดยพึ่งพาการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นตัวเชื่อมโยงอาจจะเป็นเรื่องธรรมดา แต่สำหรับงาน Outdoor เช่น ภาคเกษตรกรรมและการปศุสัตว์ที่ส่วนมากอยู่ในพื้นที่ห่างไกลจากระบบอินเทอร์เน็ตดูจะเป็นไปได้ยาก ยิ่งในยุคปัจจุบันที่การเก็บข้อมูลต่างๆ เป็นเรื่องจำเป็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปริมาณอาหาร น้ำ ความชื้น และอุณหภูมิในโรงนอน รวมถึงการควบคุมดูแลสัตว์ไม่ให้ออกนอกพื้นที่ และการนับจำนวนให้ครบในแต่ละวัน ซึ่งที่ผ่านมาล้วนต้องพึ่งพาแรงงานมนุษย์ในการจดบันทึก

แต่ด้วยเทคโนโลยี IoT แบบ Massive ซึ่งหมายถึงการเชื่อมต่อแบบไร้สายของอุปกรณ์ IoT จำนวนมากด้วยความรวดเร็วและเสถียรระดับสูงด้วยโครงข่ายที่ใช้พลังงานต่ำเพื่อตอบสนองการใช้งานได้ในระยะเวลานาน สามารถทำให้เรื่องการบริหารจัดการงานที่กล่าวมาข้างต้นง่ายขึ้น ทำได้จากที่บ้าน หรือที่อื่นใดก็ได้ในโลก 

และเมื่อผสานการทำงานของ IoT เข้ากับ Solution ที่ปัจจุบันสามารถออกแบบ Tailor made ให้เหมาะกับทุกๆ ความต้องการโดยไม่ถูกจำกัดด้วยสัญญาณ Wi-Fi ในการเชื่อมต่อ หรือแม้แต่กระแสไฟฟ้า และเลือกใช้ระบบโครงข่ายทรงพลังอย่างเช่นระบบ 0G ที่ปัจจุบันมีเครือข่ายที่กว้างไกลกว่าสัญญาณโทรศัพท์มือถือ จะยิ่งช่วยเสริมประสิทธิภาพให้การทำเกษตรกรรรมและปศุสัตว์ในยุค 4.0 เปลี่ยนโฉมจากอดีตไปอย่างมากมาย

ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยี IoT ร่วมกับการติดตั้งอุปกรณ์วัดค่าต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการเกษตรยุคใหม่มีข้อมูลที่เหมาะสมในการบริหารและตัดสินใจเมื่อได้รับการแจ้งเตือนและเก็บรวบรวมข้อมูลได้ เช่น ผู้ประกอบการด้านฟาร์มเลี้ยงสัตว์ สามารถติดเซ็นเซอร์กับตัวสัตว์เพื่อติดตามอุณหภูมิและพฤติกรรมต่างๆ ของสัตว์ เช่น การบริโภคของสัตว์ หรือตรวจสอบสภาวะร่างกาย ซึ่งช่วยให้ผู้เลี้ยงรู้สภาพการณ์ รู้จำนวน รู้ตำแหน่งที่แน่นอนของสัตว์ โดยสามารถตั้งให้มีการแจ้งเตือนทันทีที่เกิดความผิดปกติขึ้น หรือแม้แต่การแจ้งเตือนเมื่อสัตว์เหล่านั้นเดินออกนอกพื้นที่ที่กำหนดไว้ เพื่อป้องกันการสูญหายหรือถูกลักขโมย

สำหรับผู้ประกอบการหรือเกษตรกรที่มีแปลงเกษตรขนาดใหญ่ก็สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ในพื้นที่ที่ติดตั้งอุปกรณ์ IoT ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน สภาพของลม ความกดอากาศ และความชื้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนการจ้างแรงงาน การใช้น้ำ คุณภาพของผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือติดตั้งเซ็นเซอร์เพื่อควบคุมคุณภาพของดิน อ่านอุณหภูมิในดิน รวมถึงลักษณะการอุ้มน้ำของดินเพื่อประเมินว่าควรจะบริหารจัดการการเพาะปลูกอย่างไร เพื่อให้พืชพันธุ์หรือผลผลิตเหล่านั้นไม่เกิดความเครียดจากการขาดน้ำหรืออุ้มน้ำมากเกินไป และสามารถควบคุมปริมาณน้ำตามความต้องการของพืชแต่ละชนิดที่เพาะปลูกได้ 

นอกเหนือจากการเลือกใช้เทคโนโลยีและโครงข่ายสัญญาณแล้ว การเก็บข้อมูล (Data) และการนำข้อมูลที่ได้รับมารวมเป็นฐานข้อมูล รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) ก็เป็นอีกส่วนที่สำคัญ และถือเป็นหัวใจของการบริหารงานด้านเกษตรและปศุสัตว์ในยุคใหม่นี้

เมื่อเกษตรกรหรือปศุสัตว์สามารถใช้เทคโนโลยีในการติดตาม ตรวจจับวัดอุณหภูมิ วัดความชื้น พร้อมกับมีฐานข้อมูลที่ดีในการวิเคราะห์ ย่อมช่วยลดการสูญเสียโดยไม่จำเป็นได้ ขณะเดียวกันยังช่วยเพิ่มผลผลิตให้ดีขึ้นในขณะที่ต้นทุนลดลงซึ่งถือเป็นการพลิกโฉมการบริหารงานในฟาร์มสู่การเกษตรและปศุสัตว์อัจฉริยะที่บทบาทหน้าที่ของเกษตรกรและปศุสัตว์จะถูกยกระดับขึ้นจากเดิม

มีคำกล่าวที่ว่า “ความเร็ว คือ ปัจจัยสำคัญของผู้นำที่ยิ่งใหญ่” โลกธุรกิจปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ผู้ประกอบการทุกภาคส่วนจึงต้องเรียนรู้ที่จะก้าวให้ทัน มีความไวในการรับรู้ปัญหาที่อยู่ใกล้ตัว เพื่อสามารถแก้ปัญหาได้ทันท่วงทีและตรงจุด ดังนั้นไวในการปรับตัวหรือเปลี่ยนแปลงให้ทันกับกระแสโลก จะขับเคลื่อนองค์กรได้เร็ว และการตัดสินใจด้วยข้อมูลที่ดีจะนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจอย่างรวดเร็วเช่นกัน

ดังนั้น หากใครยังลังเล หรือยังมีคำถามว่าคุ้มไหมกับการลงทุนในเทคโนโลยี IoT แบบนี้ ผมตอบเลยครับว่า ไม่มีอะไรจะคุ้มไป กว่านี้แล้ว 

อย่าลืมนะครับว่าการเลือกใช้ IoT Solution ที่เหมาะสมกับการทำงาน จะทำให้คุณมีข้อมูลที่ชัดเจน สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์และวางแผนงานในการตัดสินใจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งมอบ และสร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้อย่างแน่นอน

Content Contributor: Things on Net ให้คำปรึกษา การกำหนดกลยุทธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลด้านไอโอที รองรับการใช้งานอุปกรณ์และบริการ Internet of Things และถือสิทธิ์การให้บริการโครงข่ายซิกฟอกส์ (Sigfox) แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย ด้วยเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายระยะไกลที่ใช้พลังงานในการรับส่งข้อมูลต่ำ (Low Power Wide Area Network: LPWAN) โดยมีเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 72 ประเทศทั่วโลก

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ