TH | EN
TH | EN
spot_imgspot_imgspot_img
หน้าแรกThe Movementสถาบันมาตรวิทยา แสดงศักยภาพด้านการวัดระดับสูง พร้อมส่งมอบการวัดที่ประเทศไทยจำเป็นต้องใช้ในอนาคต

สถาบันมาตรวิทยา แสดงศักยภาพด้านการวัดระดับสูง พร้อมส่งมอบการวัดที่ประเทศไทยจำเป็นต้องใช้ในอนาคต

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) โดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดงานครบรอบ 26 ปี ภายใต้แนวคิด “เราวัดวันนี้ เพื่อพรุ่งนี้ ที่ยั่งยืน (We measure today for sustainable tomorrow)” เพื่อแสดงศักยภาพด้านการวัดระดับสูง และพันธกิจการส่งมอบการวัดที่ประเทศไทยจำเป็นต้องใช้ในอนาคต ซึ่งต้องเพียงพอที่จะรองรับการพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงของโลกในทุกมิติ 

งานนี้มี Dr. Hyun-Min Park ประธานองค์กรมาตรวิทยาระดับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (APMP Chair) และ Dr. Hongtao HUANG ผู้เชี่ยวชาญสถาบันมาตรวิทยา แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (NIM, China) รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิในประเทศหลากหลายสาขา ให้เกียรติบรรยายพิเศษ

ศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประธานในพิธี กล่าวถึงความสำคัญของการที่ประชาคมมาตรวิทยา ต้องร่วมกันกำหนดบทบาทของตนเอง ในการสร้าง “อนาคตที่ยั่งยืน” ให้เกิดขึ้นให้จงได้  เพราะสิ่งที่มาตรวิทยาทำในวันนี้ จะส่งผลกระทบต่อไปในอีกหลายปีข้างหน้า นั่นคือ “มาตรวิทยา” ต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างและไกล โดยต้องพัฒนาระบบมาตรวิทยาของประเทศให้เข้มแข็ง มีสมรรถนะสูงขึ้น และส่งมอบการวัดที่ประเทศไทยจำเป็นต้องใช้ในอนาคต และเพียงพอที่จะรองรับการพัฒนาในทุกบทบาท และทุกเส้นทางที่ประเทศไทยจะเลือกเดินไป รวมถึงรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกในทุกมิติ เพราะพรุ่งนี้ของมาตรวิทยาคืออนาคต

พล.ต.ท. นพ.พรชัย สุธีรคุณ ผู้อำนวยการสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) กล่าวเสริมว่า งานสัมมนาวิชาการในวันนี้ จัดขึ้นเนื่องในโอกาสวันมาตรวิทยาโลก และโอกาสครบรอบ 26 ปี แห่งการสถาปนาสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักในความสำคัญของมาตรวิทยา และบทบาทของสถาบัน ในฐานะหนึ่งในเสาหลักของโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (NQI) ที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเพื่อส่งเสริมความร่วมมือของเครือข่าย NQI ที่สำคัญของประเทศให้เกิดการบูรณาการอย่างเป็นระบบ อาทิ ยานยนต์ไฟฟ้า อาหาร สมุนไพร เทคโนโลยีดิจิทัล และระบบราง

นอกจากนี้ ช่วงบ่ายยังได้มีการประชุมและเสวนากลุ่มย่อยระหว่างผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder) ภายใต้โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (NQI) เพื่อสร้างความเข้าใจ และขับเคลื่อนการทำงานร่วมกันในอนาคต โดยแบ่งเป็น 5 หัวข้อย่อย ดังนี้ 1.) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ ด้านเครื่องอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า (EV Charger) 2.)Q Cold-Chain และมาตรวิทยาอุณหภูมิในประเทศไทย 3.) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ เพื่ออุตสาหกรรมสมุนไพร 4.) การพัฒนา Digital Product สู่โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศแบบดิจิทัล 5.) โครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพเพื่อรองรับการพัฒนาระบบรางของประเทศไทย

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ผู้ก่อตั้งแพรนด้าจิวเวลรี่ เน้นย้ำ แนวทางปฏิบัติด้านความยั่งยืน เป็นหัวใจสำคัญของทุกอุตสาหกรรม

เปิดฉากงาน SUBCON Thailand 2024 เชื่อมโยงผู้ผลิตชิ้นส่วนไทย สู่ Supply Chain โลก

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ