TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistทวงคืนตั๋วรายเดือนจาก BTS คนกรุงเทพต้องจ่ายค่าเดินทางแพง

ทวงคืนตั๋วรายเดือนจาก BTS คนกรุงเทพต้องจ่ายค่าเดินทางแพง

เมื่อช่วงสิ้นเดือนกันยายน บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี ประกาศหยุดขายโปรโมชั่นเที่ยวเดินทาง 30 วันทุกประเภท (ตั๋วรายเดือน) โดย BTS ให้เหตุผลในการยกเลิกโปรโมชั่นนี้ว่า จากสถานการณ์โควิด-19 แพร่ระบาด ทำให้พฤติกรรมการเดินทางของผู้โดยสารมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ผู้โดยสารไม่สามารถวางแผนการเดินทางล่วงหน้าได้นาน และโปรโมชั่นตั๋วเที่ยวเดินทางไม่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ดังเดิม ส่งผลให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าก็เพิ่มขึ้น

ที่ผ่านมาอาจจะมีจำนวนผู้โดยสารลดลง เพราะรัฐบาลมีนโยบายการทำจากบ้าน (Work from Home) รวมทั้งการจำกัดเวลาการอยู่นอกบ้าน แต่สถานการณ์โดยรวมดีขึ้น จากการผ่อนปรน และเปิดประเทศ ซึ่งขณะนี้หลายองค์กรมีการประกาศให้พนักงานกลับมาทำงานที่ออฟฟิศ และเชื่อว่าเดือนพฤศจิกายนนี้ จะมีการให้พนักงานกลับมาทำงานเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งสถานศึกษาเปิดให้นักศึกษาเข้ามาในมหาวิทยาลัย ดังนั้น จะทำให้การเดินทางเพิ่มมากขึ้น การยกเลิกตั๋วรายเดือนจึงส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน

ก่อนหน้านี้ อัตราค่าโดยสาย แบบโปรโมชั่นเที่ยวเดินทาง 30 วัน สามารถเลือกได้ 4 แบบ คือ 

จำนวน 15 เที่ยว ราคา 465 บาท เฉลี่ย 31 บาท/เที่ยว 

จำนวน  25 เที่ยว ราคา 725 บาท เฉลี่ย 29 บาท/เที่ยว 

จำนวน 40 เที่ยว ราคา 1,080 บาท เฉลี่ย 27 บาท/เที่ยว 

จำนวน 50 เที่ยว ราคา 1,300 บาท เฉลี่ย 26 บาท/เที่ยว

*ไม่รวมส่วนต่อขยายที่ต้องจ่ายเพิ่ม  

ประหยัดกว่าการคิดราคาแบบสถานีแรก ราคา 16 บาท  สถานีที่ 2 ราคา 23 บาท สถานีที่ 3 ราคา 26 บาท สถานีที่ 4 ราคา 30 บาท สถานีที่ 5 ราคา 33 บาท สถานีที่ 6 ราคา 37 บาท สถานีที่ 7 ราคา 40 บาทสถานีที่ 8 ขึ้นไป ราคา 44 บาท และจ่ายส่วนต่อขยายเพิ่มอีก

ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัย นโยบายด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ และ ภัทราภรณ์ วัฒนผดุงศักดิ์ นักวิจัย นโยบายด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เผยว่าตั๋วรายเดือนของ  BTS นั้นช่วยลดเวลาในการต่อคิวแลกบัตรโดยสารเที่ยวเดียวหน้าสถานี เป็นการลดต้นทุนการบริหารจัดการความแออัดหน้าสถานี และเพิ่มแรงจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น

จากราคาค่าโดยสารเฉลี่ยที่ถูกลงอยู่ที่ 26 บาทต่อเที่ยวเมื่อใช้ตั๋วรายเดือน แต่เมื่อรัฐบาลใช้มาตรการควบคุมโรคระบาดที่เข้มงวดส่งผลให้ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้รายได้จากค่าโดยสารลดลงถึงร้อยละ 45.5 ทำให้ BTS ต้องประกาศยกเลิกตั๋วโดยสารรายเดือน เพื่อเพิ่มรายได้เฉลี่ยต่อเที่ยวของการเดินรถ ส่งผลให้ภาระค่าโดยสารที่สูงขึ้นต้องตกมาที่ผู้ใช้บริการ 

ดังนั้น รัฐบาลจึงควรพิจารณาให้งบประมาณเพื่อเยียวยา ผู้ประกอบการเอกชนจะได้สามารถดำเนินธุรกิจต่อได้โดยไม่ผลักภาระเป็นการขึ้นค่าโดยสาร หรือลดการให้บริการซึ่งทำให้ผู้ใช้บริการได้รับความเดือดร้อน 

ขณะที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ร่วมกับศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้เคยสำรวจความคิดเห็น เรื่อง การใช้บริการขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร จากกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,200 ตัวอย่าง  

ผลการสำรวจในครั้งนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ เผยว่า บริการขนส่งมวลชนที่สามารถเลือกได้มากที่สุด อันดับแรก คือ รถโดยสารประจำทาง ขสมก. (รถเมล์) 84% อันดับที่ 2 คือ รถจักรยานยนต์รับจ้าง 72.7% อันดับที่ 3 คือ รถไฟฟ้า 51.7% อันดับที่ 4 คือ รถเมล์เอกชนร่วมบริการ 48.4% อันดับที่ 5 คือ รถสองแถว  44.7% และอันดับสุดท้าย คือ เรือโดยสาร 33.5% 

โดยในชีวิตประจำวันของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้บริการขนส่งมวลชนประเภท รถโดยสารประจำทาง ขสมก. (รถเมล์) มากที่สุด 68% อันดับที่ 2 คือ รถไฟฟ้า 45.5%  อันดับที่ 3 คือ รถจักรยานยนต์รับจ้าง 42.6% อันดับที่ 4 คือ รถเมล์เอกชนร่วมบริการ  30% อันดับที่ 5 คือ เรือโดยสาร 28.2% และอันดับสุดท้ายคือ รถสองแถว 23%

สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้บริการรถไฟฟ้า ระบุข้อมูลจากการสำรวจว่า

47.1% เห็นว่าราคาค่าโดยสารขนส่งมวลชนทุกระบบรวมกัน ต้องไม่เกิน 10% ของค่าแรงขั้นต่ำ (กรุงเทพมหานคร) หรือ 33 บาท  

43.1% อยากได้ความสะดวกในการเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าและเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนมวลชนได้

41.6% อยากให้การเชื่อมต่อรถไฟฟ้าทุกสายเพื่อลดค่าแรกเข้าเหลือครั้งเดียว (ขึ้นหลายสายก็จ่ายครั้งเดียว)

39.4% ควรออกแบบพื้นที่เพื่อรองรับการเข้าถึงรถไฟฟ้าของกลุ่มผู้พิการ

38.9% ต้องการให้รถไฟฟ้า เป็นบริการขนส่งมวลชนที่รัฐต้องดำเนินการเพื่อประชาชน

ทั้งนี้ 73.5% ได้รับผลกระทบจากการใช้บริการจนส่งมวลชนในสถานการณ์โควิด – 19 

เท่ากับว่า มีประชาชนกลุ่มตัวอย่าง 45.5% ที่ใช้บริการรถไฟฟ้าจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายการเดินทางแพงขึ้น

คงศักดิ์ ชื่นไกรลาศ ผู้ประสานงานโครงการขนส่งมวลชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า การยกเลิกตั๋วรายเดือนของบีทีเอสจึงเข้าข่ายเป็นการสร้างวิกฤติใหม่ซ้ำเติมค่าครองชีพ และผลักภาระให้กับประชาชนจำนวนมากอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องเข้ามากำกับการประกอบธุรกิจขนส่งสาธารณะที่ควรต้องเป็นบริการพื้นฐานด้านขนส่งมวลชนที่รัฐต้องจัดให้กับประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม

สถานการณ์โดยรวมในกรุงเทพมหานครเริ่มคลี่คลายในทางที่ดีขึ้น ดังนั้น หลายองค์กรรวมทั้งผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า BTS มีการเรียกร้องให้ บีทีเอส นำตั๋วรายเดือนกลับมาใช้บริการอีกครั้งเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของประชาชน ในฐานะที่รถไฟฟ้าเป็นบริการขนส่งสาธารณะอย่างหนึ่ง

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

อยากเป็นนักพัฒนาบล็อกเชน ต้องเริ่มต้นอย่างไร?

เดลล์ เทคโนโลยีส์ เปิดผลศึกษา ชี้องค์กรส่วนใหญ่ไม่มั่นใจว่าจะฟื้นฟูจากการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ได้

โฟร์เกิ้ล สตาร์ตอัพไทยรับเงินระดมทุนรอบ Seed Fund เปิดตัวแพลตฟอร์มคอมมูนิตี้ ปลายปี 64

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ