TH | EN
TH | EN
หน้าแรกLifeเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อผู้สูงอายุ ที่ "บ้านบางแค"

เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อผู้สูงอายุ ที่ “บ้านบางแค”

เช้าวันหนึ่ง ณ​ บ้านบางแค ผู้สูงอายุจำนวนหนึ่งได้มาทดลองใช้เครื่องฝึกเดินแบบเคลื่อนที่ได้ (Space walker) อุปกรณ์ช่วยฝึกเดินที่มีระบบพยุงน้ำหนักบางส่วน และเครื่องออกกำลังกายและฟื้นฟู (Sit to Stand Trainer) นวัตกรรมเครื่องออกกำลังกายลุก – นั่ง ที่ผู้สูงอายุสามารถใช้ออกกำลังกายด้วยตัวเอง

ซึ่งเป็นผลงานพัฒนาของศูนย์วิจัยเพื่อการออกแบบและพัฒนาต้นแบบทางวิศวกรรมอย่างสร้างสรรค์ ร่วมกับภาควิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เครือข่ายภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย

เครื่องทั้งสองนี้ช่วยให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องการทรงตัว การยืน และการเดินมีตัวช่วยให้สามารถออกกำลังกายหรือทำกายบริหารได้ด้วยตัวเอง เพื่อป้องกันการเป็นผู้ป่วยติดเตียง

นอกจากเครื่องฝึกเดินแบบเคลื่อนที่ได้ และเครื่องออกกำลังกายและฟื้นฟูแล้ว ผู้สูงอายุทั้ง 234 คน (เป็นชาย 75 คน หญิง 159 คน) ที่บ้านบางแค ได้เป็นกลุ่มผู้สูงอายุกลุ่มแรกในประเทศไทยที่ได้ทดลองใช้งานเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อยกระดับการดูแลและให้บริการผู้สูงอายุ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) และกรมกิจการผู้สูงอายุ นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาดูแลผู้สูงอายุ

“บ้านบางแค” เป็นแห่งแรก หรือ เป็น “บางแคโมเดล” ก่อนขยายผล นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาดูแลผู้สูงอายุ ไปใช้ในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุให้ครบทั้ง 12 แห่งทั่วประเทศในปี 2565

เพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์ของประเทศไทยที่คาดว่าปี 2564 จะมีจำนวนประชากรอายุ 60 ปี มากกว่า 20% ของประชาการทั้งหมด ก่อนจะเพิ่มเป็น 28% ในปี 2575

เทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่นำมาติดตั้งให้ผู้สูงอายุที่บ้านบางแคใช้งานนั้นประกอบด้วย

ระบบบริหารจัดการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ เป็นการจัดการข้อมูลทางสุขภาพของผู้สูงอายุ มีการติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด เป็นระบบซอฟต์แวร์ที่บันทึกข้อมูลสุขภาพของผู้สูงอายุที่บ้านพักบางแค ซึ่งผู้สูงอายุทุกคนจะได้รับการตรวจสุขภาพทุกวัน ข้อมูลสุขภาพของผู้สูงอายุแทนที่จะถูกจัดเก็บด้วยกระดาษแบบในอดีตก็เปลี่ยนมาจัดเก็บในระบบดิจิทัล เพื่อความสะดวกในการติดตามสุขภาพและสมรรถภาพของร่างกายผู้สูงอายุ ข้อมูลเหล่านี้ใช้เพื่อติดตามและคาดการณ์ความเสี่ยงต่อการเกิดโรค นอกจากนี้ยังจะมีเมนูอาหารสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อออกแบบเมนูอาหารเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุ และสามารถคำนวณต้นทุนของอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระบบระบุตำแหน่งผู้สูงอายุ เป็นการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มสมองเสื่อม เป็นการติดตามการเคลื่อนไหวและส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ ด้วยการติดเซนเซอร์ไว้ที่ตัวผู้สูงอายุ ซึ่งเซนเซอร์สื่อสารกับตัวฮับผ่าน Bluetooth low energy (BLE) แล้วต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตส่งข้อมูลเข้าระบบ ตัว tag ที่ติดไว้ที่ตัวผู้สูงอายุจะระบุตำแหน่งของผู้สูงอายุ หากมีการล้มก็จะทราบทันที หรือหากมีการเดินหลงทางออกจากศูนย์ไปก็จะแจ้งเตือน หรือออกจากตัวอาคารในยามวิกาลก็จะแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่เช่นกัน ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนที่ หรือปัญหาเรื่องสมองเสื่อมจะอยู่ในการมอนิเตอร์ตลอดเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ

อุปกรณ์ชุดตรวจวัดสุขภาพแบบพกพา (Portable Health Check Up) เป็นอุปกรณ์ในการตรวจสุขภาพสำหรับเจ้าหน้าที่ใช้เพื่อตรวจสุขภาพของผู้สูงอายุติดเตียง หรือใช้เพื่อตรวจและเก็บข้อมูลสุขภาพของผู้สูงอายุในขณะออกเยี่ยมบ้าน ข้อมูลที่เก็บได้จะส่งเข้าเก็บในระบบผ่านเครือข่ายโดยตรง

อุปกรณ์เครื่องตรวจวัดสุขภาพอัตโนมัติสำหรับผู้สูงอายุ (Health Check Up Kiosk for Elderly Persons) เป็นอุปกรณ์ในการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ อาทิ วัดความดัน ชั่งน้ำหนัก วัดออกซิเจน เป็นต้น ซึ่งผู้สูงอายุจะต้องตรวจสุขภาพแบบนี้ทุกวัน และมีการเก็บบันทึกข้อมูลเข้าระบบ ผู้สูงอายุสามารถมาใช้เครื่องนี้เองได้เพียงกดปุ่มก็สามารถวัดค่าต่าง ๆ เหล่านี้ได้ด้วยตนเองทุกวันเป็นอุปกรณ์ในการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ อาทิ วัดความดัน ชั่งน้ำหนัก วัดออกซิเจน เป็นต้น ซึ่งผู้สูงอายุจะต้องตรวจสุขภาพแบบนี้ทุกวัน และมีการเก็บบันทึกข้อมูลเข้าระบบ ผู้สูงอายุสามารถมาใช้เครื่องนี้เองได้เพียงกดปุ่มก็สามารถวัดค่าต่าง ๆ เหล่านี้ได้ด้วยตนเองทุกวัน

อุปกรณ์ดูแลและฟื้นฟูผู้สูงอายุ ได้แก่ เครื่องฝึกเดินแบบเคลื่อนที่ได้ (Space walker) อุปกรณ์ช่วยฝึกเดินที่มีระบบพยุงน้ำหนักบางส่วน และเครื่องออกกำลังกายและฟื้นฟู (Sit to Stand Trainer) นวัตกรรมเครื่องออกกำลังกายลุก – นั่ง ที่ผู้สูงอายุสามารถใช้ออกกำลังกายด้วยตัวเอง

การร่วมมือกันในครั้งนี้ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยกรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) ในการขับเคลื่อนเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อยกระดับการดูแลและให้บริการผู้สูงอายุ ในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ (ศพส.) นำร่องใช้ที่ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ “บ้านบางแค” เป็นแห่งแรก หรือ “บางแคโมเดล” ก่อนขยายผลให้ครบทั้ง 12 แห่งทั่วประเทศ รองรับปี 2564 นับเป็นการเพิ่มโอกาสที่ดีให้กับผู้สูงอายุ ที่ยังขาดโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้ที่ดี และยังช่วยขยายผลนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ จากเครือข่ายนักวิจัย เพื่อสร้างอุตสาหกรรมสังคมสูงวัยจากนวัตกรรมไทยในอนาคต

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ