TH | EN
TH | EN
หน้าแรกLifeเผย 4 เทรนด์ กระตุ้นตลาด Wellness ไทย พบ 6 ปัญหาสุขภาพฮิตคนไทย

เผย 4 เทรนด์ กระตุ้นตลาด Wellness ไทย พบ 6 ปัญหาสุขภาพฮิตคนไทย

W9 Wellness Center ศูนย์ดูแลสุขภาพแบบองค์รวม (Holistic) ในโรงพยาบาลพระรามเก้า มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันก่อนการเกิดโรค โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ป้องกัน ครบรอบ 1 ปี เผย 4 เทรนด์กระตุ้น Wellness ในประเทศไทย จากสถิติผู้เข้ารับการปรึกษาส่วนใหญ่กว่า 80-90% มาใช้บริการเมื่อมีปัญหาสุขภาพแล้ว

-สปสช. ธ.ก.ส. และ สวทช. เปิดตัว “เครื่องตรวจสุขภาพอัตโนมัติ”
-5 ฟังก์ชันสมาร์ทวอทช์ เฝ้าระวังสุขภาพด้วยตนเอง

เปิด 6 ปัญหาสุขภาพฮิต พบหลังเกิดภาวะวิกฤติโควิด-19 ระบาดมีจำนวนผู้มาปรึกษาปัญหาเรื่องการเร่งสร้างภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น ชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน ชูแนวคิด “Healthitude” มีสุขภาพดีได้ง่าย ๆ เมื่อรู้จักตัวเอง พร้อมสร้างทัศนคติในการดูแลสุขภาพ เปิดกลยุทธ์รุกตลาดสุขภาพครึ่งปีหลัง มุ่งสื่อสารสร้างความตระหนักรู้และให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมเชิงป้องกัน เพื่อขานรับพฤติกรรมผู้บริโภคในยุค New normal คาดตลาดรวมเติบโต 6.30% ทั้งนี้ W9 ตั้งเป้าเติบโตเพิ่มขึ้นเท่าตัวในปีนี้

นายแพทย์พิจักษณ์ วงศ์วิศิษฎ์ ผู้อำนวยการ ศูนย์ดูแลสุขภาพแบบองค์รวม W9 Wellness Center เผยเกี่ยวกับ 4 เทรนด์ Wellness หรือเทรนด์การสร้างสมดุลความสุขชีวิตทุกด้าน ประกอบด้วย

-เทรนด์สังคมสูงวัย ปัจจุบันประเทศไทยกำลังจะก้าวสู่สังคมสูงวัยเต็มรูปแบบ โดยคาดว่าในปี 2564 จะมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเป็นจำนวนถึง 20% ของจำนวนประชากรในประเทศ ในขณะที่ประชากรวัยทำงานมีอัตราลดลงอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับอัตราการเกิดใหม่

-เทรนด์อายุยืนด้วยคุณภาพชีวิตที่ดี ผู้คนสุขภาพดีอายุยืน สามารถใช้ร่างกายได้ดีตามวัย สามารถทำงานและช่วยเหลือตัวเองได้ โดยได้หันมาให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ ความเป็นอยู่ และจิตใจของตัวเอง เนื่องจากตระหนักว่าการมีอายุยืนแต่อุดมไปด้วยโรคเป็นสิ่งไม่พึงปรารถนา เพราะจะเป็นภาระต่อครอบครัวและสังคม

-เทรนด์โภชนาการเฉพาะบุคคล คนสมัยนี้สนใจหาความรู้และให้ความสำคัญกับการดูแลโภชนาการเพิ่มมากขึ้น เลือกรับประทานอาหาร สร้างความสมดุลเฉพาะบุคคลมากขึ้น

-เทรนด์ผู้บริโภคสนใจและใส่ใจสุขภาพเชิงรุก โดยเฉพาะคนยุคใหม่กลุ่มยุคมิลเลนเนียล และเจเนอเรชั่นวาย มีการหาข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเชิงลึก ทั้งในเรื่องการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การควบคุมน้ำหนัก ฯลฯ มากขึ้น ประกอบกับปัญหามลภาวะฝุ่น PM 2.5 และการเกิดโรคอุบัติใหม่เชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นอีกตัวแปรสำคัญที่เข้ามากระตุ้นผู้คนให้หันมาให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวมากยิ่งขึ้น

“จากเทรนด์ข้างต้น W9 Wellness มองเห็นว่าการสร้างชีวิตที่สุขสมดุล เพื่อให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีจำเป็นต้องมีการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับทางเลือกของการมีสุขภาพที่ดี เพื่อตอบสนองการใช้ชีวิตที่หลายหลาย การมุ่งเน้นดูแลสุขภาพในภาพรวมของแต่ละบุคคล โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีทางการแพทย์มาประยุกต์ใช้กับการป้องกันสุขภาพเชิงรุก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลสุขภาพ รวมไปถึงการรักษาและฟื้นฟูสุขภาพที่ได้ผลดียิ่งขึ้น เพื่อลดโอกาสเจ็บป่วยและลดการใช้ยา รวมทั้งการดูแลที่ออกแบบเฉพาะบุคคลตามความจำเป็น

ทั้งนี้ ในช่วง 1 ปีที่ W9 Wellness Center ได้ใกล้ชิดสุขภาพผู้บริโภค พบว่าผู้ที่มาใช้บริการกว่า 80% มาใช้บริการเนื่องจากมีปัญหาสุขภาพ โดยเบื้องต้นพบสาเหตุจากการใช้ชีวิตที่ไม่สมดุล ทั้งจากการรับประทานอาหาร การทำงานหนัก การพักผ่อนไม่เพียงพอ ความเครียดสะสม ฯลฯ ซึ่งล้วนส่งผลต่อการทำงานที่ผิดปกติของระบบการทำงานพื้นฐานต่าง ๆ ของร่างกาย จนอาจเสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควร

ในทางการแพทย์มีการดูแลสุขภาพ 2 รูปแบบ คือ การดูแลสุขภาพเชิงรับ คือเมื่อมีอาการป่วยแล้วจึงเข้ามาปรึกษาและทำการรักษา และการดูแลสุขภาพเชิงรุก หรือเชิงป้องกันโรค ด้วยการดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ และก่อนที่ร่างกายจะส่งสัญญาณหรือก่อนที่จะเริ่มมีปัญหาสุขภาพ” นายแพทย์พิจักษณ์ กล่าว

ทั้งนี้ จากสถิติของศูนย์ฯ ช่วงก่อนเกิดโควิด-19 พบผู้มีปัญหาสุขภาพที่มาใช้บริการศูนย์ฯ W9 ด้วย 6 ปัญหาสุขภาพ ได้แก่

1.ปัญหานอนไม่หลับและมีความเครียด 19.34%
2.ปัญหาผิวและริ้วรอย 19.34%
3.ปัญหาน้ำหนักตัว 18.4%
4.การเสริมภูมิคุ้มกัน 15.57%
5.ปัญหาฮอร์โมน 14.62%
6.ความกังวลเกี่ยวกับมะเร็ง 12.73%

นอกจากนี้ ในช่วงที่ไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาด พบสถิติคนไทยมาปรึกษาเกี่ยวกับการเสริมภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นเป็น 20.65% แสดงให้เห็นว่าคนไทยตระหนักถึงการดูแลสุขภาพมากขึ้น และมาปรึกษาด้วยปัญหานอนไม่หลับและมีความเครียดเพิ่มขึ้นเป็น 20.05% สองปัญหาสุขภาพขยับขึ้นมาเป็น 2 อันดับแรกที่ผู้มาใช้บริการเข้ามารับคำปรึกษาในช่วงนี้ ทั้งนี้จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้พฤติกรรมด้านสุขภาพของคนไทยเปลี่ยนไป และเป็นปัจจัยเร่งให้ผู้คนหันมาให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันมากขึ้น จากข้อมูลจีไอเอสคาดว่าตลาด Health and Wellness จะโตถึง 6.30% ทั้งนี้ W9 ตั้งเป้าเติบโตเพิ่มขึ้นเท่าตัวในปี 2563 นี้

อย่างไรก็ดี W9 มุ่งสร้างความสมดุลให้สุขภาพของผู้มาใช้บริการ ภายใต้แนวคิด “Healthitude” ยกระดับ “การป้องกัน” และดูแลสุขภาพผ่านการตรวจสุขภาพเชิงลึก ให้ทราบถึงความสมดุลระบบพื้นฐานที่สำคัญของร่างกาย และจัดโปรแกรมการดูแลสุขภาพองค์รวมแบบเฉพาะบุคคลเพื่อร่วมรักษาโรค ลดความเสี่ยงของการเกิดโรค ชะลอวัย และเพื่อการมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน

ขันธ์พลร์ ซื่อภาคย์ กรรมการบริหาร ศูนย์ดูแลสุขภาพแบบองค์รวม W9 Wellness Center กล่าวว่า ในปีนี้ทิศทางธุรกิจ Wellness โตไปพร้อมกับกระแสสังคมผู้สูงอายุ สอดรับกับการใช้ชีวิตแบบ New normal ที่ต้องดูแลรักษาสุขภาพ นอกจากการดูแลลูกค้ากลุ่มเดิมแล้ว ยังมุ่งขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มเจนเนอเรชั่นวาย และเน้นการเข้าถึงคนในสังคมมากขึ้นด้วยราคาสมเหตุสมผล จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบโปรแกรมดูแลสุขภาพเฉพาะบุคคล ผ่านการตรวจสุขภาพเชิงลึก ทั้งด้านพันธุกรรม ฮอร์โมน วิตามิน และสารพิษ พร้อมให้คำแนะนำในการช่วยหาสมดุลการใช้ชีวิตเฉพาะบุคคล ปรับเปลี่ยนทัศนคติว่าการดูแลสุขภาพก่อนเกิดโรคเป็นเรื่องที่ทำได้เอง ทำได้ง่าย และทำได้จริง เพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืนทั้งร่างกายและจิตใจ

จากผลสำรวจสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ชี้ว่าคนไทย 45.39% หันมาให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ เพื่อดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงและปรึกษาแพทย์อยู่เสมอ ทำให้เห็นถึงโอกาสการเติบโตในตลาด โดยในช่วงครึ่งปีหลังจะมุ่งเน้นแนวทางของการบริหารงานด้านสุขภาพในแง่สร้างการรับรู้ให้คนไทยได้ตระหนักถึงเรื่องของแนวคิดการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันเพิ่มมากขึ้น ด้วยกลยุทธ์การตลาดเชิงรุก การให้ความรู้ เสริมสร้างความเข้าใจด้านสุขภาพเชิงลึกที่เข้าใจง่าย

นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงการมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ และคิดค้นนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกมาเพื่อขานรับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุค New normal ในปัจจุบันและอนาคต ควบคู่กับการให้บริการ Wellness ที่ดูแลสุขภาพแบบองค์รวม (Holistic) ที่ประกอบด้วย 4 Ps คือ

-Preventive มุ่งเน้นที่การป้องกันก่อนการเกิดโรค
-Predictive ใช้การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการที่แม่นยำในระดับเซลล์ โดยคำนึงถึงปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมร่วมกัน นำมาวิเคราะห์หาต้นตอปัญหาที่แท้จริง
-Personalized ออกแบบสุขภาพเฉพาะบุคคล โดยใช้ข้อมูลเชิงลึก
-Participatory ประกอบกับการให้คำปรึกษาโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ป้องกัน ที่เน้นการมีส่วนร่วมระหว่างแพทย์กับคนไข้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการดูแลรักษาสูงสุด

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

-นอสตร้า จับเทรนด์ Data Analytics โตสวนกระแสปีละ 18%
-New Normal ไม่จำเป็นต้องดิจิทัลเสมอไป
-ดีแทค เผย “เบอร์มงคล” ดันยอดเปิดเบอร์ใหม่โต 3 เท่า
-Digital Transformation “คน” สำคัญไม่แพ้ “เทคโนโลยี”

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ