TH | EN
TH | EN
หน้าแรกLifeเร่งสปีดพันธกิจ AIS Academy for Thais ยกระดับคุณภาพชีวิตและสังคมไทย ด้วยความรู้และเทคโนโลยี

เร่งสปีดพันธกิจ AIS Academy for Thais ยกระดับคุณภาพชีวิตและสังคมไทย ด้วยความรู้และเทคโนโลยี

“ เราเชื่อว่าการเติบโตแต่เพียงผู้เดียว มิใช่การเติบโตอย่างแท้จริง แต่การทำให้สังคมไทยเข้มแข็งและแข็งแรงขึ้น คือการเติบโตอย่างยั่งยืน” AIS Academy ในฐานะศูนย์กลางด้านการเรียนรู้เพื่อคนไทย จึงเดินหน้าสานต่อพันธกิจประชาสังคม จัดโครงการ “AIS Academy for Thais ในคอนเซ็ปต์ JUMP THAILAND” ฉลองโอกาสครบรอบ 30 ปี เอไอเอสอยู่คียงข้างสังคมไทย เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา

-เอไอเอส จับมือพันธมิตรด้านการศึกษา จัดการแข่งขัน AIS 5G eSports U-League 2020
-เอไอเอสเปิดตัว PLAY NEWS จับมือคนข่าว-ครีเอเตอร์ ปั้นคอนเทนต์ลงแพลตฟอร์ม

โดยร่วมมือกับพันธมิตรทั้งจากภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชน ถ่ายทอดองค์ความรู้ที่สำคัญในวันที่คนไทยต้อง Re-skill และ Up-skill ทั้งด้านนวัตกรรม ทักษะอาชีพ และการพัฒนาตนเอง ผ่าน 3 โปรเจ็กต์ใหญ่ 

  1. JUMP to Innovation กระโดดสู่ความเหนือกว่าด้วยนวัตกรรมของคนไทยเพื่อความยั่งยืนของประเทศ 
  2. JUMP over the Challenge กระโดดสู่ความท้าทายใหม่ บนเส้นทางอาชีพที่คุณสร้างได้เอง
  3. JUMP with EdTech กระโดดสู่การเรียนรู้แบบไร้ขีดจำกัด ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลในวันที่ต้องรีสกิล ที่จะพาคนไทยกระโดดข้ามวิกฤตสู่การใช้ชีวิตรูปแบบใหม่ไปด้วยกัน

The Story Thailand ได้มีโอกาสพูดคุยกับ คุณกานติมา เลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล เอไอเอส และกลุ่มอินทัช ถึงที่มาของ AIS Academy for Thais: JUMP THAILAND ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

Q: ความโดดเด่นของ AIS Academy for Thais ในครั้งนี้ คืออะไร 

A: AIS Academy for Thais ในครั้งนี้ยังคงแนวทางในการให้โอกาส ให้ความรู้ แต่สิ่งที่แตกต่างจากครั้งก่อน คือ เราทำเรื่องของการแบ่งปันที่สร้างให้คนมีความพร้อมและเข้ามาร่วมกับ AIS ในการสร้างอนาคต ในรูปแบบสัมมนาออนไลน์

แกนหลักของ AIS Academy for Thais ครั้งนี้คือ JUMP THAILAND เพราะเดินอย่างเดียวก็คงไม่ทัน วิ่งก็คงไม่พอ วันนี้ต้องชวนกันมากระโดด เพราะเวลาจะกระโดดต้องอาศัยพลังและความตั้งใจ เอไอเอสในฐานะบริษัทในประเทศไทยมีภารกิจที่ต้องทำ เราจึงชวนคนไทยมากระโดดร่วมกันสามแกน JUMP to Innovation, JUMP Over The Challenge และ JUMP With EdTech

JUMP to Innovation เป็นสิ่งที่ท้าทายคนไทยตลอดเวลา เป็นเรื่องที่พูดกันมากแต่สำเร็จกันน้อย เพราะว่ามันมีความโดดเดี่ยวอยู่ในระหว่างทาง เช่น คนที่มีไอเดียแต่ไม่มีเพื่อน บางคนมีเพื่อนแต่ไม่มีเงินทุน เพราะฉะนั้นเอไอเอสจึงอาสาเอื้อมมือออกไปหาคนไทยและชวนมาทำด้วยกัน สร้างนวัตกรรมร่วมกันกับทีมงานของเอไอเอสที่มีกำลังสนับสนุน ทั้งในเรื่ององค์ความรู้ ทุน และผู้เชียวชาญที่มีประสบการณ์

JUMP Over The Challenge เราปฏิเสธไม่ได้ว่าสภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นย่อมมีผลกระทบกับคนทั่วไป เราเห็นความเจ็บปวดในวิกฤติต้มยำกุ้งมาแล้ว เราจึงนำความสามารถของคนเอไอเอส ที่อาจจะไม่ได้เป็นการทำงานในหน้าที่ แต่อาจจะเป็นทักษะอื่น ๆ เช่นการทำอาหาร ศิลปหัตถกรรม หรือเป็นอะไรที่ไปสร้างอาชีพต่อได้ รวมถึง ความรู้ทางเทคโนโลยีที่คนของเอไอเอสมีความสามารถ สิ่งเหล่านี้จะเป็นโอกาสสร้างอาชีพให้กับคนที่ตกงาน เพราะฉะนั้นช่องทางออนไลน์ก็จะเป็นสื่อที่ส่งไปหาคนกลุ่มนี้ได้ โดยไม่ต้องอาศัยการเดินทาง และ AIS ยังสร้างโอกาสในการออกสู่ตลาดอย่างเป็นรูปธรรม

JUMP With EdTech เรื่องของการศึกษาที่เราทำมาโดยตลอด แต่จะเป็นการศึกษาออนไลน์ เพราะคนไทยมีประสบการณ์จากวิกฤติที่เกิดขึ้น ซึ่งในวิกฤติที่เกิดขึ้นก็มีโอกาส แต่เมื่อพูดถึงโอกาสการเรียนรู้ของคนไทยภายใต้ช่วงเวลาที่ผ่านมาทำให้คนไทยพัฒนาได้ดีในเรื่องของการเรียนรู้ โดยเฉพาะการอาศัยเทคโนโลยีทำให้เข้าถึงคนไทยได้อย่างกว้างขวาง Jump with Edtech จึงเป็น เรื่องของการ ส่งความรู้ไปหาคนไทยภายใต้ศักยภาพ 5G ที่เอไอเอสมี

Q: แนวคิดและความคาดหวังของการจัด Jump Thailand Hackathon คืออะไร 

A: ตอนนี้ประเทศไทย ต้องเพิ่มเติมเรื่องความท้าทาย ความสนุกในการก้าวไปข้างหน้า เอไอเอสจึงอยากชวนคนไทยกระโดดขึ้นมาสร้างนวัตกรรมที่เหนือกว่า เพื่อพลิกโฉมประเทศไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืน ผ่านโครงการ Jump Thailand เวทีที่ให้คนไทยมาช่วยกันคิด มาร่วมกันทำ สร้างนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนไปด้วยกันกับเอไอเอส โดยตั้งโจทย์จากปัญหาของสังคม และใช้แพลตฟอร์มของเอไอเอสและพันธมิตรในการเข้าไปแก้ไขปัญหาของสังคม ซึ่งผู้เข้าร่วม Jump Thailand Hackathon นอกจากจะมีโอกาสเข้าถึงกระบวนการทำงานและเทคโนโลยีของเอไอเอส อาทิ 5G, AI, Blockchain รวมถึง Big Data ในการสร้างนวัตกรรม แล้วเอไอเอสยังมีเงินลงทุนในการสร้างนวัตกรรมร่วมกันด้วย และมีเงินรางวัลในการช่วยโปรโมทเพื่อให้นวัตกรมีกำลังในการพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อให้ประเทศไทยก้าวหน้าต่อไป

โดยผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่ https://jumpthailand.earth ซึ่งจะเปิดรับไอเดียไปจนถึงสิ้นปี 2563 จากนั้นจะวิเคราะห์ว่าประเทศไทยมีปัญหาอะไรที่เร่งด่วนที่สุด 5-10 อันดับ และจะประกาศโจทย์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 จากนั้นจะรับสมัครทีมเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ภายในสิ้นเดือนมีนาคม 2564 และในเดือนเมษายน 2564 จะเปิดเพื่อให้นำเสนอแข่งกันว่าไอเดียของใครเจ๋งที่สุด ผลงานไหนได้เข้าโครงการไปทำต่อจนกระทั่งออกมาเป็นสินค้า/บริการ เราก็มีรางวัลให้ และหากใครสามารถเข้าสู่ตลาดร่วมกับเอไอเอสได้ ตลอดจนโอกาส คือ Invent ได้ และสามารถนำสินค้า/บริการมาขายร่วมกับสินค้าของเอไอเอสได้ จบโปรเจ็กต์ Hackathon ออกมากลายเป็นพาร์ทเนอร์กันเลย 

Q: AIS ให้ความสำคัญกับ JUMP over the Challenge เพื่อเตรียมพร้อมพัฒนาอาชีพให้ผู้คนอย่างไร

A: ด้วยวิกฤตหลังโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบสะเทือนไปทุกวงการ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ทำให้หลายองค์กรต้องปิดตัวลง หลายคนต้องตกงาน ทำให้วิถีชีวิตไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เอไอเอสจึงตั้งใจทำโครงการอุ่นใจอาสาพัฒนาอาชีพ เพื่อส่งมอบพลังและความรู้ความสามารถ รวมถึงทักษะในการประกอบอาชีพเหล่านี้ไปยังบุคคลภายนอก 

โครงการ อุ่นใจอาสาพัฒนาอาชีพ เป็นการนำความรู้ของคน AIS ส่งต่อไปให้สังคมได้เรียนรู้เพื่อสามารถสร้างอาชีพได้ จะเห็นว่าในวิกฤติคนตกงานจำนวนมาก เราต้องการ ให้องค์ความรู้ ทักษะที่สามารถเป็นทางเลือกในการต่อยอดของการสร้างโอกาส สร้างอาชีพ เตรียมความพร้อมในการสร้างอาชีพ นอกจากนี้ ยังเพิ่มความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายวงการ ถ่ายทอดองค์ความรู้และทักษะอาชีพที่จำเป็นในยุคนี้ ตลอดจนขยายช่องทางการเข้าถึงองค์ความรู้ เพื่อให้คนไทยได้เรียนรู้และเข้าถึงฟรี ด้วยการร่วมสร้างโอกาสให้คนไทย ได้มีอาชีพเสริม สร้างรายได้ ผ่านการถ่ายทอดทักษะความรู้จากอุ่นใจอาสา และหลากหลายผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น การสอนทำอาหาร การทำตลาดออนไลน์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การสร้าง Content ให้น่าสนใจบนโลกออนไลน์ และการสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ (YouTuber) รวมไปถึงการให้ความรู้ด้านเกษตรพอเพียง 

พร้อมทั้งมีช่องทาง Marketplace ขายสินค้าในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ โดยมีระบบตรวจสอบก่อนร่วมโครงการ เพื่อป้องกันมิจฉาชีพ สร้างความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัย เพื่อให้คนไทยสามารถสร้างรายได้ที่มั่นคง หรือเลือกเส้นทางอาชีพใหม่ได้เอง

โดยผู้สนใจโครงการ “อุ่นใจอาสาพัฒนาอาชีพ” สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม และสมัครเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ผ่าน Facebook Page: AIS Academy for Thais หรือ YouTube Channel: AIS Academy

Q: AIS วางบทบาทอย่างไรต่อการพัฒนา EdTech เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้

A: เรามองว่าความรู้ที่มีประโยชน์ต้องได้ ณ​ เวลาที่ต้องการ การเข้าถึงความรู้ จึงต้องรวดเร็วและเข้าถึงได้ตลอดเวลา บ่อยครั้งการเรียนต่างๆ โดยเฉพาะการเรียนในห้องเรียนเมื่อ เวลาผ่านไปก็ลืม พอมีอะไรเกิดขึ้นก็ไม่รู้ว่าต้องบริหารจัดการมันอย่างไร แต่กับ EdTech อยากรู้เรื่องอะไรก็สามารถดึงขึ้นมาได้ทันที ทุกที่ ทุกเวลา บทบาทของ AIS Academy ในเริ่มแรกเกิดมาเพื่อพัฒนาคนภายในเอไอเอส แต่เรามองว่าถ้าเอไอเอสเติบโตเฉพาะองค์กรเรา แต่คนอื่น ๆ ในประเทศไทย ลูกค้าของเราไม่ได้รับองค์ความรู้เหมือนเราก็เป็นเรื่องน่าเสียดาย ฉะนั้น ไหน ๆ เราลงทุนของเราแล้วทำไมเราจะไม่ทำเผื่อ ซึ่งไม่ได้เป็นการลงทุนเพิ่มมากมายนัก เมื่อเราก็เผื่อแผ่ออกไป เรามองว่าแพลตฟอร์มและคอนเทนต์ที่เราสามารถเผื่อแผ่ออกไปได้ พอเราเริ่มขยายก็มีองค์กรหลาย ๆ องค์กรที่คิดเหมือนกัน ว่าจริง ๆ แล้วควรทำอะไรสักอย่างด้านการศึกษา หลายเจ้าของคอนเทนต์ หลายมหาวิทยาลัย จึงมาร่วมกับเราผลิตคอนเทนต์เพื่อออกไปสู่กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนที่ขาดโอกาสเข้าถึงความรู้ 

ความเข้มแข็งของของเอไอเอส คือ การเป็นบริษัทโทรคมนาคมที่มีศักยภาพ เรื่องของข้อมูลและเครือข่ายเราสามารถเป็นช่องทางสื่อสารออกไปให้ถึงได้อย่างกว้างขวาง เราจึงขันอาสา ชวนทุกท่าน ให้มาร่วมกัน เพื่อส่งไปถึงผู้ที่ขาดโอกาสการเข้าถึงได้ เพราะโอกาสทางการศึกษามีมากมาย 

ในปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้ว่าในเรื่องของการศึกษา ในทุกภาคส่วนต่างได้รับความท้าทายจากการเตรียมความพร้อมในระบบการศึกษา เราจึงวางเป้าหมายให้สามารถส่งต่อองค์ความรู้ผ่าน EdTech เพื่อเพิ่มศักยภาพและโอกาสทัดเทียมกันในการศึกษา

ซึ่งถ้าต้นน้ำมาดี บริษัทต่าง ๆ ที่รับผลผลิตต่อก็ไม่จำเป็นจะต้องลงทุนมาก เราสามารถนำกำลังคน แรงงาน สมอง ไปพัฒนาต่อยอดได้รวดเร็ว ไม่ว่าจะองค์กรของเขาเอง หรือว่าภาพใหญ่ สังคม และประเทศชาติ แต่ละองค์กรมีความเก่ง ความแข็งแรงด้านต่าง ๆ เรามาจับมือกัน เพราะสุดท้ายแล้วประเทศ คือ ประเทศไทยของเราทุกคน เราไม่ได้จะไปแข่งกับใคร เราต้องพัฒนาตัวเองให้แข็งแรงก่อน แข่งกับตัวเองให้ได้ก่อน หลังจากนั้นเราจะก้าวกระโดดไปเรื่อย ๆ

Q: AIS Academy มีการเพิ่มบทบาทจากอดีตถึงปัจจุบันอย่างไรและอะไรคือความท้าทายและความคาดหวัง

A: เราเพิ่มการปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่ได้หมายความว่าจะต้องทำแบบเดิม เพราะเราไม่เชื่อว่าการทำแบบเดิมในทุกครั้งจะให้คำตอบ ที่สำเร็จ แบบเดิม เพราะบริบทของสังคมเปลี่ยนไป โจทย์ที่ยากขึ้น คือ ต้องเข้าใจปัญหาของคนไทยว่าปัจจุบันปัญหาอยู่ที่ไหน และอะไรที่เราทำได้ อะไรที่เราไม่เข้มแข็งแต่มีพาร์ทเนอร์ที่แข็งแรงเราก็ชวนกันมาทำเพื่อเติบโตไปด้วยกัน โจทย์ที่ท้าทายมากที่สุด คือ เราต้องติดตามตลอดเวลาว่าโลกเปลี่ยน อะไรต้องเปลี่ยนตาม อะไรที่ต้องเร่งเพิ่มเติม เราไม่สามารถอยู่นิ่ง ๆ ได้

“แต่สิ่งหนึ่งที่เราแน่วแน่ คือ เราอยากให้สังคมไทยเป็นสังคมของการเผื่อแผ่กัน หมายความว่าไม่ต้องมานั่งแข่งขันกันทุกครั้ง ทุกเรื่องการทำความดีไม่ต้องแข่งขันกัน แต่มาช่วยกันทำได้ ทำแล้วสิ่งที่ได้ไม่ใช่เรื่องของเม็ดเงิน แต่เป็นเรื่องของหัวใจที่พองโต”

ความท้าทาย คือ เรากำลังทำสิ่งที่เราไม่เคยทำ ส่วนที่ทำอยู่บ้างคือเรื่องการศึกษาหรือด้านนวัตกรรม แต่วันนี้เรา ให้ความสำคัญในการรับผิดชอบต่อการสร้างโอกาส สร้างอาชีพ สร้างตลาด ซึ่งมีภาพที่ใหญ่ขึ้น เราจึงชวนพาร์ทเนอร์เข้ามาทำงานด้วยกัน เพราะเราเชื่อว่าสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นลำพังแค่เอไอเอสเพียงบริษัทเดียวอาจจะไม่ได้ให้คำตอบที่ดีที่สุดสำหรับคนไทย วันนี้เราจึงชวนสมาชิกในสังคมไม่ว่าจะเป็นบริษัทต่าง ๆ เข้ามาทำงานด้วยกัน เพื่อสร้างประเทศไทยให้แข็งแรงขึ้น เป็นภารกิจที่เวลาเราพูดว่าหัวใจคนเอไอเอสที่เป็นอุ่นใจอาสา หัวใจมันพองโตเวลาที่คุยเรื่องนี้

ส่วนความคาดหวังก็คงจะเป็นความคาดหวังของเอไอเอสในฐานะสมาชิกที่ดีของสังคม เราคาดหวังว่าจะทำประโยชน์ให้คนไทยได้ไม่มากก็น้อย แต่ในความตั้งใจคนของ ชาว เอไอเอส เรา ตั้งใจเต็มที่สำหรับโครงการนี้ ถ้าในวันนี้มีคนไทย แม้เพียง 4-5 คนได้รับประโยชน์ ก้าวพ้นความยากลำบาก จากสิ่งที่เราหยิบยื่นไปให้ นั่นคือความสำเร็จที่เริ่มต้นแล้ว ถ้าวันนี้บริษัทต่าง ๆ ผ่านมาเห็นเอไอเอสทำในเรื่องกิจกรรมตอนนี้และลุกขึ้นมาช่วยกันแบบที่ไม่ใช่การแข่งขัน ลุกขึ้นมาช่วยกันคนละไม้คนละมือ นั่นคือความสำเร็จ

ปีนี้เป็นปีที่เอไอเอสฉลองครบรอบ 30 ปี เราก็มีการคุยกันข้างในว่า เรื่องการฉลองครบรอบ 30 ปีเป็นเรื่องที่เราคุยกันสั้น ๆ ก็พอ แต่ในวันที่จะเดินทางสู่ปีที่ 31 เป็นเรื่องที่เราต้องให้ความใส่ใจเพราะโลกเปลี่ยนอย่างรุนแรง เวลาที่เราพูดถึงประเทศถ้าทุกคนต่างทำการค้าและคิดถึงประโยชน์ เพียงแค่บริษัทของตัวเอง ก็จะเหมือนการทำกิจกรรมทางสังคมที่ทำเพื่อมาแข่งกันก็จะไม่ได้ประโยชน์อย่างจริงจัง ถ้าวันนี้ประเทศถึงขีดจำกัด ก็ไม่มีทางที่บริษัทธุรกิจในประเทศไทยจะโตได้ เพราะลูกค้าส่วนใหญ่ก็คือคนไทย ฉะนั้นถ้าจะทำให้บริษัทเติบโตขึ้นได้ประเทศและสังคมจะต้องเข้มแข็งและแข็งแรง ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเวลาที่ประเทศมีปัญหาบริษัทต่าง ๆ ก็ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ วันนี้เรามาทำด้วยกันดี มาทำให้ประเทศแข็งแรงขึ้น ประเทศแข็งแรงขึ้นบริษัทก็เติบโตไปได้อีกเพราะคนมีศักยภาพมากขึ้น แต่ในทางกลับกันบริษัทก็ต้องพัฒนาตัวเองตลอดเวลา ถ้าบริษัทลุกขึ้นมาช่วยสังคมแต่ตัวเองไม่พัฒนาก็จะเป็นอันตรายเช่นกัน

ที่ผ่านมา เอไอเอสผ่านความท้าทายในการเปลี่ยนผ่านหลายอย่างมาก ไม่ใช่ว่าทุกครั้งที่บริษัทใหญ่ๆจะทำทุกอย่างสำเร็จ บางครั้งเราก็ทำพลาด เพราะฉะนั้นเราจึงคุยกันบ่อย ๆ ในโครงการที่บริษัททำ คือ โครงการรู้จักล้ม หมายความว่าเราตีกรอบความคิดใหม่ว่าทำทุกอย่างให้มันสมบูรณ์แบบตลอดเวลาคงจะเป็นไปไม่ได้ วันนี้สังคมก็ต้องไป สปีดก็ต้องมา ต้องให้คนของเรารู้ว่าเวลาที่หกล้มไม่เป็นไร ลุกขึ้นมาแล้วไปด้วยกัน หรือที่เอไอเอสทำเรื่องของอุ่นใจอาสาพัฒนาอาชีพก็เช่นกัน คือ เราส่งต่อสิ่งที่คนเอไอเอสเชื่อ วันนี้ถ้าคุณล้มเรายังเป็นเพื่อนคุณที่จะเดินต่อไปด้วยกัน นั่นคือสิ่งที่เราเชื่อ

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ