TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน ... แบบนี้ก็ได้ด้วยเหรอ

โครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน … แบบนี้ก็ได้ด้วยเหรอ

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นโครงการเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลักในการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC)

โดยแบ่งโครงการเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 โครงการที่ใช้โครงสร้างและแนวเส้นทางการเดินรถเดิมของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแอร์พอร์ตลิงค์ (Airport Rail Link) ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน และจะก่อสร้างทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร (Standard Gauge) ส่วนต่อขยาย 2 ช่วงจากสถานีพญาไท ไปยังสนามบินดอนเมือง และจากสถานีลาดกระบัง ไปยังสนามบินอู่ตะเภา พร้อมเชื่อมเข้าออกสนามบิน โดยใช้เขตทางเดิมของการรถไฟฯ เป็นส่วนใหญ่ รวมระยะทาง 220 กม. มีผู้เดินรถรายเดียวกัน

2 การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟบริเวณสถานีมักกะสัน (150 ไร่) และสถานีศรีราชา (25 ไร่) รวมมูลค่าทั้งโครงการ 224,544.36 แบ่งเป็นระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา  168,718.00 ล้านบาท การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟ 45,155.27 ล้านบาท และสิทธิการเดินรถไฟแอร์พอร์ตลิงก์ 10,671.09 ล้านบาท โดยมีระยะเวลาสัญญา 50 ปี 

รัฐบาลได้อนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) สรรหาเอกชนเข้ามาดำเนินการโครงการในลักษณะรับผลประโยชน์กับความเสี่ยงในการดำเนินการทั้งหมด หรือ PPP- Net Cost ปรากฎว่ากิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ผู้ยื่นข้อเสนอราคาต่ำสุดที่ 117,227 ล้านบาท ต่ำกว่ากรอบวงเงินที่รัฐบาลอนุมัติไว้ที่ 2,198 ล้านบาท เซ็นสัญญาก่อสร้างและดำเนินการโดยบริษัท เอเชีย เอราวัน จำกัด (เดิมชื่อบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด) 

นิติบุคคลร่วมค้าเฉพาะกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ซึ่งประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (70%) บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ( 2 บริษัท รวมกัน 15%) บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) (5%) และไชน่า เรลเวยส์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชัน จากประเทศจีน(10%)

ตามสัญญาการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ที่ทำไว้ บริษัท เอเชีย เอราวัน จำกัด จะต้องเข้าบริหารโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (ARL) ในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2564 พร้อมทั้งจ่ายเงินให้ ร.ฟ.ม. จำนวน 10,671.09 ล้านบาท ค่าสิทธิการเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์

ก่อนหน้านี้ ผู้บริหาร เอเชีย เอราวัน เคยให้สัมภาษณ์ว่า เตรียมงบประมาณ 1,700 ล้านบาท เพื่อเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ปรับปรุงระบบ สถานี รวมทั้งความสะดวกแก่ผู้พิการและผู้เปราะบาง ตามคอนเซ็ปต์ “รีอิเมจินิ่ง ฮอไรซอน (Reimagining Horizons)” เปิดขอบฟ้าใหม่แห่งโอกาส สร้างประสบการณ์การเดินทางที่เหนือกว่าให้แก่ผู้โดยสาร 

บริษัท เอเชีย เอราวัน จำกัด ได้ยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพื่อหารือเรื่องการเยียวยา การจ่ายโอนสิทธิการเดินรถไฟแอร์พอร์ตลิงก์ และการจ่ายเงิน จำนวน 10,671.09 ล้านบาท ในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2564 เนื้อหาระบุว่า หนังสือหารือผลกระทบอันเนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจตกต่ำที่มีผลกระทบต่อการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินเพื่อปรับปรุงข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินซึ่งเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจริงจากเหตุสุดวิสัย (ภาวะการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19) โดยขอให้ภาครัฐพิจารณากำหนดมาตรการเยียวยาโครงการฯ โดยขอขยายระยะเวลาการชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ จนกว่าจะได้ข้อยุติในการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน และกำหนดมาตรการเยียวยาอื่น ได้แก่ การปรับเปลี่ยนวิธีการชำระเงินร่วมลงทุนโครงการ (PIC) และการขยายระยะเวลาโครงการฯ

ประชุมครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 4 ตุลาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) มีมติเห็นชอบ ตามที่ เอเชีย เอราวัน ร้องขอ ในหลักการเยียวยาผลกระทบของโควิด-19 ในส่วนของค่าสิทธิแอร์พอร์ต เรลลิงก์ แก่เอกชนคู่สัญญาและแนวทางดำเนินการระหว่างกระบวนการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ

จากนั้นเรื่องดังกล่าว ก็ถูกเข้าในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 ตุลาคมที่ผ่าน ซึ่ง ครม.รับทราบเรื่องข้อเสนอของ เอเชีย เอราวัน คือ การขอเลื่อนและแบ่งจ่ายเงินจำนวน 10,671.09 ล้านบาท ที่ต้องจ่ายก้อนเดียวในวันที่ 24 ตุลาคมนี้ เพื่อแลกกับสิทธิการเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ ออกไป เป็น 6 งวด 6ปี  แบ่งเป็น ปีแรกจะขอจ่าย 5% ปีที่ 2 จ่าย 7% ปีที่ 3 จ่าย 105 และ ปีที่ 4 จ่าย 10%  ปีที่ 5 จ่าย 10% และปีที่ 6 จ่าย 58% โดยยินยอมจ่ายดอกเบี้ย 6 ปี จำนวน 1,034 ล้านบาท โดยงวดแรกจะเริ่มจ่ายเมื่อการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยุติและรัฐยกเลิกมาตรการที่ส่งผลกระทบต่อผู้โดยสารแอร์พอร์ตลิงก์ แต่ ร.ฟ.ท. ยังต้องโอนสิทธิการเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ ให้ เอเชีย เอราวัน ในวันที่ 24 ตุลาคมนี้ดังเดิม

ต่อมาในวันที่ 20 ตุลาคมที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (สกพอ.)   การรถไฟแห่งประเทสไทย (ร.ฟ.ท.) มีการลงนามบันทึกความเข้าใจกับ เอเชีย เอราวัน ในการเจรจาเรื่องการขยายระยะเวลาให้เสร็จภายในเวลา 3 เดือน โดยยินยอมโอนสิทธิการเดินรถให้ เอเชีย เอราวัน เพราะหากไม่มีบริการเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์จะกระทบต่อประชาชน เนื่องจากทีมเดิม ร.ฟ.ท. ต้องไปดูแลบริหารการดินรถไฟสายสีแดง  ซึ่งในวันดังกล่าว เอเชีย เอราวัน ได้จ่ายเงินงวดแรก 10 % จำนวน 1,067 ล้านบาท ให้ ร.ฟ.ท. ตามที่คณะกรรมการแจ้ง ซึ่งไม่มีการระบุว่าถือเป็นการจ่ายเงินงวดแรกหรือไม่

การเจรจราเรื่องการขอเลื่อนและขยายการจ่ายเงินดังกล่าวยังต้องใช้ระยะเวลา 3 เดือนในการเจรจาต่อรอง ได้แต่หวังว่า ประเทศชาติจะได้ผลประโยชน์ที่คุ้มค่ากับการที่ยินยอมให้ มีการขยายระยะเวลาและแบ่งจ่ายเงินดังกล่าว

เพราะก่อนหน้านี้ เอเชีย เอราวัน เคยขอขยับตำแหน่ง สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา และสถานีพัทยา ด้วยเหตุผลการพัฒนาต่อยอด พื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าของโครงการ TOD (Transit Oriented Development) รวมทั้งเรื่องของราคาที่ดินเวนคืนแพงด้วย

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ