TH | EN
TH | EN
spot_imgspot_imgspot_img
หน้าแรกBusinessสรุปประเด็นสำคัญ “เมืองไทยจะไปต่ออย่างไร ท่ามกลางวิกฤติ Polycrisis บทเรียนจาก WEF2024

สรุปประเด็นสำคัญ “เมืองไทยจะไปต่ออย่างไร ท่ามกลางวิกฤติ Polycrisis บทเรียนจาก WEF2024

เสร็จสิ้นไปเป็นที่เรียบร้อยกับงานแถลงข่าว SEAT 2024 : Southeast Asia Technology Conference 2024 โดยบริษัท แมคฟิว่า (ประเทศไทย) ซึ่งงาน SEAT 2024 จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 20-21 มีนาคม 2567 นี้ ณ Gaysorn Urban Resort – The Crystal Box กรุงเทพฯ 

ในปีนี้ SEAT 2024 มุ่งผลักดันเป้าหมายหลักที่ช่วยให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็น หนึ่งใน 5 ประเทศที่มี Tech Ecosystem ที่ดีที่สุดในเอเชีย จึงคงคอนเซ็ปต์ของงานที่มีความเอ็กซ์คลูซีฟแบบ Invited-Only โดยเน้นเชิญผู้บริหารจากองค์กรระดับประเทศจากหลากหลายอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้ร่วมงานได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้มุมมองใหม่ๆ ด้านเทคโนโลยี พร้อมรับมือกับ Global Technology ได้มากขึ้น ภายใต้หัวธีม ‘Future of Everything’ 

ภายในงาน ยังมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเหล่าผู้เชี่ยวชาญชั้นนำระดับประเทศ อย่างเจาะลึกถึงทางรอดของวิกฤติระดับโลกอย่าง Polycrisis และบทเรียนจากงานรวมตัวผู้นำระดับ World Economic Forum

รัชญา อุรุพงศา Chief Digital Officer (CDO) บริษัท แมคฟิว่า จำกัด กล่าวเกริ่นนำถึงวิกฤติระดับโลกจากงาน World Economic Forum ได้หยิบยกมาเป็นประเด็นถกเถียงกันก็คือเรื่องผลกระทบ Polycrisis ที่โลกต้องเผชิญ อาทิ ปัญหาเศรษฐกิจที่รุนแรง เงินเฟ้อที่ไม่ลดลง และความขัดแย้งของสงคราม ปัญหาการเมืองภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งเป็นความท้าทายของธุรกิจหลากหลายอุตสาหกรรมมากที่อาจจะต้องเผชิญในอนาคต

โดยได้รับเกียรติจากประดิษฐ์ มหาศักดิ์ศิริ Head of New Business Innovation, Denso International Asia ได้ให้มุมมองต่อวิกฤต  Polycrisis ไว้ว่า “เป็นวิกฤติซ้อนวิกฤติ จากทั้งเศรษฐกิจ สงคราม การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงเรื่องของการที่ AI ได้เข้ามาในชีวิตประจำวัน หากมองเป็นเรื่องใกล้ตัว ก็คือเรื่องการจ้างงาน ที่ในอนาคต AI อาจจะเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมการทำงานมากขึ้นจนทำให้เทรนด์การจ้างงานเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมองว่าทุกวิกฤติมีโอกาสเสมอ เพราะในด้านธุรกิจยานยนต์ของบริษัท Denso นั้น ประเทศไทยเราเป็นฐานการผลิตหลัก แม้ว่าในตอนนี้จะมีความกังวลจากการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่น ๆ แต่ Supply chain ของเราถือว่ามีความแข็งแกร่งที่สุดในอาเซียน เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการหรือภาคธุรกิจ เราจึงควรมีการปรับตัว reskill ให้ตามทันเทคโนโลยีและความต้องการของตลาด และ Co-creation ร่วมมือกับองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไปได้”

ทางฝั่ง นายแพทย์ ศุภชัย ปาจริยานนท์ CEO & Co-founder of RISE เสริมเกี่ยวกับเรื่องของการรับมือและปรับตัวเอาไว้เป็นประเด็นที่น่าสนใจว่า “ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมไหนก็มีการนำเอา AI เข้ามาช่วยในการทำงานแทบทั้งสิ้น และแนะนำถึง 2 ธุรกิจที่น่าสนใจในการลงทุน ได้แก่ ธุรกิจประเภท Computing power เพราะ AI ต้องใช้พลังในการประมวลผลมหาศาล และ Clean energy บริษัทที่มีพลังงานสะอาด เช่น Solar, Wing power, Fusion energy  เป็นต้น 

วรัชญา ยังกล่าวถึงข้อมูลด้านความเสี่ยงในรายงาน The Global Risks Report 2024 จากงาน World Economic Forum ไว้ว่า “พบว่าปัญหาด้าน Climate change ติดเป็นอันดับ 2 ที่เกิดขึ้นภายใน 2 ปีนี้ และจะรุนแรงขึ้นใน 10 ปีข้างหน้า ซึ่งในไทยที่เห็นชัดเลยคือกระแสเรื่องกฎเกณฑ์ข้อบังคับเกี่ยวกับ ESG ที่จะนำมาใช้ในองค์กรในอนาคต”

ประดิษฐ์ จึงกล่าวถึงการรับมือปัญหา Climate change ที่เป็นอีกหนึ่งผลกระทบต่อการทำธุรกิจไว้ว่า “ในปัจจุบันโลกกำลังเข้าสู่สภาพแปรปรวน แม้แต่ในอุตสาหกรรมยานยนต์เองก็ได้รับผลกระทบ เนื่องจากผลกระทบจากสภาพอากาศทำให้ทางฝั่ง Food Supply ไม่สามารถผลิตการเกษตรได้เต็มที่ เมื่อได้ไม่เต็มที่บรรดาชาวนาก็ไม่มีรายได้ที่จะมาซื้อรถแทรกเตอร์หรืออุปกรณ์เครื่องจักรทางการเกษตร ทำให้ยอดขายลดลง มันส่งผลกระทบไปหมดทั้ง Supply chain ซึ่งเราต้องปรับตัวด้วยการลงทุนกับ Climate Tech ประเภท Carbon Capture ก็คือเราปล่อยคาร์บอนออกไปเท่าไหร่เราก็ต้องดึงคาร์บอนออกมาเท่านั้น ซึ่งก็คือความเป็นกลางทางคาร์บอนแต่ตอนนี้มันไม่พอแล้ว เราต้องตั้ง Target ให้เป็น More & Vision ก็คือไม่ใช่แค่ Set Zero แต่มันต้องเป็น Negative Carbon ซึ่งเรื่องนี้เองก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เรากำลังลงทุน” 

นายแพทย์ ศุภชัย ได้เสริมต่อว่า “ได้ฟังรัฐมนตรีประเทศเวียดนามประกาศถึงเป้าหมายว่าจะเป็นประเทศ Net zero ภายในปี 2050 และมีการวางแผนที่ปลูกข้าวแบบ Low carbon ปริมาณถึง 1 ล้านตัน เป็นสิ่งที่ทำให้ฉุดคิดตั้งคำถามว่าแล้วประเทศไทยจะยืนอยู่ตรงไหนในเวทีโลกในเรื่อง Sustainibility และนอกจากเรื่อง Climate อีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กันคือเรื่อง Energy เพราะพลังงานเป็นตัวที่ปล่อยคาร์บอนเยอะมากๆ ซึ่งเกี่ยวข้อง 4 เรื่องด้วยกัน ได้แก่ 1. Electricity ไฟฟ้าที่เราใช้ แม้ว่าคนไทยจะเริ่มหันมาใช้รถไฟฟ้า EV กันมากขึ้น แต่ถามว่าไฟฟ้าที่ได้มานั้นยังไงได้มาจากน้ำมันในการผลิตไฟฟ้าอยู่ดี 2. Transportation รถยนต์ที่เราใช้นั้นปล่อยคาร์บอนอย่างไรบ้าง 3. Industry โรงงาน ภาคการผลิตต่างๆ 4. Building ตึกและอาคารที่มีการใช้แอร์เป็นเวลานาน”

ช่วงท้าย ทั้งสองท่านได้มีการฝากถึงผู้ประกอบการ ธุรกิจในอุตสาหกรรมต่าง ๆ และภาครัฐบาลเพื่อให้ประเทศไทยได้ไปต่อในวิกฤตที่เกิดขึ้นในตอนนี้ โดยประดิษฐ์ กล่าวว่า “สิ่งที่อยากแนะนำก็คือการปรับตัวด้วยการเพิ่มทักษะต่าง ๆ ให้มากขึ้น Reskill ให้ตามทันเทคโนโลยีและความต้องการของตลาด ฝั่งธุรกิจเองก็ต้องให้ผลตอบแทนแก่แรงงานที่มีความสามารถตามความเหมาะสม ในส่วนของภาครัฐเองนอกจากการออกนโยบายแล้วก็ต้องลงมือทำด้วยเช่นกัน”

ส่วนนายแพทย์ ศุภชัย กล่าวว่า “ในมุมของผู้ประกอบการเองก็ต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ออกจาก Comfort Zone และลงมือทำเพื่อให้ได้ Skill ซึ่งมองว่า AI จะเข้ามาเป็นอาวุธตัวช่วยที่เราสามารถนำมันมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ และมีเกราะกำบังที่เป็น Sustainability เพียงเท่านี้เราก็สามารถออกไปรบชนะแล้ว” 

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ทาเลนต์ไทยคืนถิ่นที่ Looloo Technology ผู้เชี่ยวชาญตัวจริงด้าน AI

พฤกษา จับมือ ออริจิ้น ร่วมทุนปั้น 3 โปรเจกต์ โรงแรม-คอนโด-บ้านเดี่ยว รวมมูลค่า 8,700 ล้าน

บ้านปู ลงนามสัญญาเงินกู้ 2.4 พันล้านบาท กับ ADB เสริมแกร่งธุรกิจอีโมบิลิตี้ และแบตเตอรี่

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ