TH | EN
TH | EN
หน้าแรกCareer & Talent10 ทักษะที่มนุษย์ควรมี เพื่อให้เป็นที่ต้องการในปี 2030

10 ทักษะที่มนุษย์ควรมี เพื่อให้เป็นที่ต้องการในปี 2030

ข้อมูลจาก World Economic Forum พบว่า 44% ของทักษะที่มนุษย์ใช้อยู่ในปัจจุบัน อาจจะใช้ไม่ได้อีกต่อไปในปี 2027 โดยต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงขึ้นมาใหม่ มีการคาดการณ์ว่าสิ้นทศวรรษได้จะมีมนุษย์ประมาณ 1,000 ล้านคนถูก Re-skill คือการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง งานที่อาจจะหายไปในอนาคต คืองานประเภท Text-task เช่น ตัวอักษร ตัวเลข และรูปภาพ เป็นต้น เนื่องจากสามารถถูกแทนที่ด้วย AI ได้ง่าย

รวิศ หาญอุตสาหะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด และผู้ก่อตั้ง Mission To The Moon ขึ้นพูดในงาน People Performance Conference 2024 แนะวิธีการใช้ชีวิตให้อยู่รอดต่อไปในชีวิตที่ต้องเจอกับความเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอน พร้อมเผย 10 ทักษะสำคัญที่ควรมี เพื่อให้เป็นที่ต้องการในปี 2030

“มนุษย์ในปัจจุบัน มีอารมณ์ความกังวลมากกว่าอารมณ์ตื่นเต้นเมื่อนึกถึงอนาคต เหตุเพราะยุคปัจจุบันเราใช้ชีวิตอยู่พื้นฐานความเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอนสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ในช่วง 3-4 ที่ผ่านมา โลกเราได้มีความถี่ของการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น เช่น เทคโนโลยี สภาพอากาศ เศรษฐกิจ สังคม เป็นต้น ดังนั้น การคาดการณ์เรื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและหาวิธีจัดการจึงเป็นทักษะสำคัญ การมาถึงของ AI เมื่อประมาณ 1 ที่ผ่านมา ทำให้มนุษย์ได้เห็นศักยภาพ สิ่งที่ AI ทำได้นั้นมีอะไรบ้าง สิ่งที่น่าตื่นเต้นคือ ในอดีตที่ผ่านมา มนุษย์ไม่เคยมีการมาถึงของเทคโนโลยีที่ฉลาดกว่ามนุษย์ ที่ผ่านมา เทคโนโลยีจะเน้นเป็นตัวช่วยทุนแรงของมนุษย์มากกว่า เช่น เครื่องบิน รถยนต์ เป็นต้น แต่มนุษย์ไม่เคยมีเทคโนโลยีที่ฉลาดกว่ามนุษย์ด้วยกันเองจริง ๆ แต่ในปัจจุบันได้เกิดสิ่งนี้ขึ้นมาแล้ว ดังนั้น ความท้าทายในเชิงการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์นั้นน่าสนใจ”

ข้อมูลจาก World Economic Forum ระบุว่ามนุษย์ในปี 2030 ต้องมีทักษะ 10 ทักษะใน 3 กลุ่มหลัก เพื่อให้อยู่รอดต่อไปได้ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและเป็นทักษะที่โลกต้องการ ดังนี้

1. Cognitive Skill คือ ทักษะทางปัญญา

  • Analytical Thinking คือ การคิดเชิงวิเคราะห์ หากไม่สามารถคิดเชิงวิเคราะห์ได้ จะไม่สามารถรู้เท่าทันข้อมูลต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะข้อมูลที่มาจาก AI มนุษย์สามารถใช้ AI ในการทำงานได้ แต่ต้องแยกแยะให้เก่งด้วยว่าชุดข้อมูลนั้นถูกต้องหรือไม่
  • Creative Thinking คือ การคิดเชิงสร้างสรรค์ที่ต้องคิดนอกกรอบ โดยไม่ใช่แค่การคิดสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาเท่านั้น แต่ต้องคิดสิ่งใหม่ ๆ จากสิ่งเดิม ๆ ให้ได้ เนื่องจากความสามารถของ AI ทำให้มนุษย์มีทักษะใกล้เคียงกัน ดังนั้น การคิดเชิงสร้างสรรค์จึงสำคัญมาก ซึ่ง AI ยังไม่สามารถทดแทนได้ในเร็ววัน

2. People Skill คือ ทักษะเกี่ยวกับบุคคล

  • Life Long Learning คือ การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดช่วงเวลาของการใช้ชีวิต ว่าทักษะไหนควรเพิ่มเติม ทักษะไหนไม่จำเป็นต้องมีก็ได้
  • Empathy คือ ความเข้าอกเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่เป็นหัวหน้าในยุคปัจจุบัน ที่ไม่ควรวางตัวดุดัน แต่กลับกันควรแสดงออกอย่างนุ่มนวล และมีความเห็นอกเห็นใจเพื่อนร่วมงาน เพราะยุคปัจจุบันมนุษย์ให้ค่ากับความรู้สึกมากกว่าฝีมือ
  • Leadership คือ ความเป็นผู้นำ ทุกองค์กรยังคงต้องการผู้ที่มีทักษะความเป็นผู้นำ เพราะผู้นำถือเป็นหนึ่งในปัจจัยความสำเร็จขององค์กร
  • Self-Awareness คือ การตระหนักรู้ตนเอง เพราะเป็นสิ่งทำให้มนุษย์สามารถพัฒนะทักษะที่ตนเองยังขาดอยู่ให้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้นได้
  • Resilience คือ การทำงานต้องมีความยืดหยุ่นในการยอมรับสิ่งต่าง ๆ ให้ได้ โดยเฉพาะความล้มเหลว ไม่ควรมองว่าความล้มเหลวนั้นเสียเวลา เพราะไม่สามารถคาดเดาสิ่งต่าง ๆ จากผู้คนได้ ทั้งลูกค้า หัวหน้า และเพื่อนร่วมงาน ลองผิดลองถูก

3. Technology Skills คือ ทักษะเกี่ยวกับเทคโนโลยี

  • Design and User Experience การออกแบบและความเข้าใจประสบการณ์ผู้ใช้งานเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกัน
  • AI & Big Data แน่นอนว่าการใช้งาน AI นั้นเป็นทักษะสำคัญในอนาคต แต่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ของ AI การเรียนรู้เพื่อใช้งาน Big Data ก็มีส่วนช่วยส่งเสริมการใช้งาน AI ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเช่นกัน
  • Technological Literacy คือ ความรู้เท่าทันและความเข้าใจของการใช้งานเทคโนโลยี มนุษย์ต้องรู้เท่าทันการใช้งานเทคโนโลยีที่จะช่วยส่งเสริมการทำงานให้ง่ายมากยิ่งขึ้น
Image: World Economic Forum

การหาคุณค่าจากการทำงาน

การหาคุณค่าจากการทำงานเป็นสิ่งที่สำคัญญมาก เป็นสิ่งที่มนุษย์คนทำงานจะกลับมานั่งคิดว่าเราทำสิ่งนี้ไปเพื่ออะไร? จากการคาดการณ์ของรวิศ หาญอุตสาหะ (Srichand & Mission To The Moon) มองถึงปัจจัยเรื่องคุณค่าของการทำงานในอนาคต ดังนี้

  • มนุษย์มีอายุที่ยืนยาวมากยิ่งขึ้น แข็งแรงมากยิ่งขึ้น ความต้องการรายได้ย่อมเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ยังคงต้องการการทำงาน
  • บทบาทหน้าที่การทำงาน หรือสายอาชีพ ย่อมปรับเปลี่ยนไปตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น และทักษะการทำงานก็จะพัฒนาตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการหาคุณค่าก็ขึ้นอยู่อยู่กับอายุเช่นกัน
  • งานในฝันหรืออาชีพในฝัน อาจจะไม่ใช่งานที่มีคุณค่ากับเราเสมอไป เพราะยากมากที่มนุษย์จะสามารถมีโอกาสได้ทำงานเช่นนั้น ดังนั้น การหางานที่เติมเต็มการใช้ชีวิตจึงสำคัญกว่าตามหางานในฝันแบบ 100%

‘บันได 3 ขัั้น’ ขจัดปัญหาเรื่อง Generation Gap ในการทำงาน

ซีอีโอ Robinhood แชร์ “3 วันสู่ความสำเร็จ” การฟังเสียงพนักงานเป็นกุญแจสำคัญสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

Imposter Syndrome ภาวะที่คิดว่าตัวเองไม่เก่งพอ อุปสรรคต่อความสำเร็จที่หลายคนมองข้าม

องค์กรต้องปรับตัวอย่างไรในปัจจุบัน เพื่อสร้าง Employee Value Proposition แก่คนทำงาน

หากไม่มีเงินเป็นปัจจัยในการทำงาน Top 5 อาชีพที่คนอยากทำคืออะไร

จาก Content บน Facebook page : Mission To The Moon ที่ได้ให้ผู้ติดตามเข้ามาแสดงความคิดว่า ว่าหากเลือกอาชีพได้โดยไม่ต้องคิดถึงเงิน

อยากทำอะไรมากที่สุด พบอาชีพ 5 อันดับแรก ดังนี้

  • นักสำรวจ
  • นักวิทยาศาสตร์
  • นักดนตรี
  • เกษตรกร
  • เลี้ยงสัตว์

อย่างไรก็ตามไม่ใช่เพียงแค่มนุษย์ที่เป็นพนักงานเท่านั้น ที่ต้องเรียนรู้ทักษะและปรับเปลี่ยน แต่องค์กรหรือบริษัทก็จำเป็นต้องเรียนรู้ด้วยเช่นกัน เพราะองค์ที่เรียนรู้ไปพร้อมพนักงาน จะเป็นองค์กรที่พนักงานอยู่ด้วยและทำงานให้ต่อไป

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

อิมแพ็ค ชูความพร้อมสถานที่ หนุนนโยบายซอฟต์พาวเวอร์

Google Cloud ประกาศการอัปเดตล่าสุดจากงาน Next 2024 เดินหน้าใช้ AI ปรับปรุงชีวิตผู้คนให้มากที่สุด

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ