TH | EN
TH | EN
หน้าแรกCareer & TalentImposter Syndrome ภาวะที่คิดว่าตัวเองไม่เก่งพอ อุปสรรคต่อความสำเร็จที่หลายคนมองข้าม

Imposter Syndrome ภาวะที่คิดว่าตัวเองไม่เก่งพอ อุปสรรคต่อความสำเร็จที่หลายคนมองข้าม

เคยไหม? รู้สึกว่าตัวเองไม่เก่งพอ คิดว่าคนอื่นเก่งกว่า รู้สึกไม่คู่ควรกับความสำเร็จ “Imposter Syndrome” เป็นภาวะที่พบได้มากในปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จที่หลายคนมักมองข้ามไป โดยมักเกิดจากความคิดว่าตนเองไม่สมบูรณ์หรือไม่เก่งพอ การเข้าใจและการจัดการกับภาวะนี้เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้สามารถพัฒนาตนเองและต่อยอดไปสู่ความสำเร็จได้

ศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “Impostor Syndrome” เป็นภาวะที่รู้สึกว่าตัวเองนั้นด้อยคุณภาพ คิดว่าตัวเองไม่เก่ง ไม่มั่นใจตัวเอง สิ่งเหล่านี้เป็นมุมมองที่มาจากฝั่งตะวันตก ปีพ.ศ. 1976 ซึ่งเกิดจากแพทย์ 2 คน ที่ร่วมศึกษาวิจัยมานานกว่า 46 ปี เกี่ยวกับ “อาการที่คิดว่าตัวเองไม่เก่ง” ซึ่งผลการศึกษาวิจัยจากกลุ่มผู้หญิง 150 คน พบว่าคนกลุ่มนี้ปัญหาที่พบเจอมากที่สุดคือ เกิดอาการมีความไม่มั่นใจสูง รองลงมาสงสัยว่าตัวเองนั้นเก่งจริง ๆ หรือไม่ สุดท้ายคือกลัวความล้มเหลวเป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้วผู้หญิงจะพบปัญหานี้มากกว่าผู้ชายถึง 70% หากไม่รีบทำการรักษาทันทีเสี่ยงเกิดโรคซึมเศร้าได้ สิ่งที่สามารถแก้ไขอาการ Impostor Syndrome ได้ในเบื้องต้นคือการคิดบวกกับตนเอง (Positive Thinking) การไม่เปรียบเทียบ การปล่อยวาง และแน่นอนว่าวิธีการรักษานี้ไม่ใช่ทุกคนที่จะทำได้ เหตุเกิดจากสภาพแวดล้อมโดยรอบของแต่ละบุคลคลนั้นแตกต่างกัน

กล่าวคือผู้ชายเปรียบเสมือนธาตุหยางเป็นพลังฤทธิ์ร้อน ผู้หญิงเปรียบเสมือนธาตุหยินเป็นพลังฤทธิ์เย็น ประโยคนี้สะท้อนให้เห็นว่าผู้ชายเกิดมาพร้อมกับอีโก้มีความมั่นใจที่มากกว่า ฉะนั้นโอกาสที่ผู้ชายจะเป็นโรค Impostor Syndrome จึงน้อยกว่าผู้หญิง 

นิยามของคำว่า “Impostor Syndrome” ฉบับของศาสตร์ตะวันออก เล้ง-ศิริวัฒน์ แห่ง MFEC ได้ให้คำนิยามเอาไว้ว่า “อาการพร่องของความมั่นใจ” ซึ่งจากการศึกษาพบว่าอาการเหล่านี้ไม่ได้มีเพียง 46 ปีที่แล้วแต่มีมานานกว่า 1,000 ปี และทางด้านศาสตร์ของจีนได้กล่าวเอาไว้ว่า “คนเรามีความสมบูรณ์แบบอยู่ในตัว หากควบคุมร่างกาย จิตใจให้สมดุลได้จะส่งผลให้สามารถแสดงอิทธิฤทธิ์ออกมาอย่างเต็มที่” ยกตัวอย่างเช่น รับรู้ได้อย่างไรว่าทุกวันนี้สามารถกิน ใช้ อยู่ ได้เต็มอย่างมีประสิทธิภาพ และหากสามารถกินได้สมดุลร่างกายจะแข็งแรงมากกว่าเดิมเท่าไร ซึ่งอาจจะไม่ได้แข็งแรงขึ้นมากกว่านี้ 30-50% อาจจะแข็งแรงกว่านี้ได้เป็นเท่าตัว สิ่งที่น่าสังเกตอีกอย่างคือร่างกายของคนเราอยู่ได้ 120 ปี แล้วทำไมค่าเฉลี่ยของคนเสียชีวิตอยู่ที่อายุโดยประมาณ 70-80 ปี เพราะหัวใจ สมอง ไต ต่างอยู่ได้ราว 100 ปี ซึ่งสาเหตุมันก็เกิดจากการที่คนเราไม่ได้มีความรู้เรื่องการควบคุมร่างกาย และจิตใจให้เกิดความสมดุลนั่นเอง 

อีกหนึ่งปัจจัยอาการพร่องของความมั่นใจเกิดจากร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่ไม่สมดุลหากไม่สามารถควบคุมได้อาจทำให้สูญเสียสมดุลในสมองและขาดความมั่นใจในตัวเอง 

แน่นอนว่า หากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินสมองหลั่งสารเคมีที่ไม่สมดุลฉับพลันส่งผลทำให้เกิดความไม่สมดุลได้ในทันที อย่างที่ทราบกันว่าคนเราไม่สามารถควบคุมฮอร์โมนได้ แต่สามารถควบคุมทางอ้อมได้ ยกตัวอย่างผลสำรวจจากการศึกษาโรคซึมเศร้าผ่านบุคคล 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้รับประทานยา กลุ่มที่สองบังคับยืนหน้ากระจกแล้วยิ้ม เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งผลสำรวจพบว่า กลุ่มคนที่ยืนหน้ากระจกแล้วยิ้ม ส่งผลให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนได้สมดุลมากกว่าหรือแม้กระทั่งการทำกิจกรรม นั่งสมาธิ เล่นโยคะ สิ่งเหล่านี้ก็สามารถหลั่งสารความสุขได้ดีเช่นกัน 

วิธีแก้ไข Imposter syndrome ฉบับรักษาตัวเอง

หากรู้สึกว่าตนเองกำลังเผชิญกับ Impostor Syndrome หรือ “อาการพร่องของความมั่นใจ” ให้สังเกตรูทีนในปัจจุบันว่าใช้ชีวิตประมาณไหน จากนั้น “ทำตรงข้าม” เพื่อทำลาย Loop ที่ทำให้เราขาดความมั่นใจ ยกตัวอย่างเช่น เปรียบร่างกายเป็นหยินหยาง หยาง คือ Positive Thinking การระบายออกมา การออกสังคม การชื่นชมกับตนเอง หยิน คือ Negative Thinking การเก็บกด Work From Home การถ่อมตัว เพราะฉะนั้นการที่สภาพความมั่นใจของตนเองพร่องคือมีความเป็น “หยิน” มาก ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเติม “หยาง” หรือสิ่งที่ทำให้เรามั่นใจลงไปเพื่อที่จะได้รักษาสมดุล และทำให้อาการของ Imposter syndrome ดีขึ้น

ส่วนใหญ่คนไม่สามารถประเมินร่างกายตนเองได้ว่า การกระทำหรือพฤติกรรมแบบไหนที่ทำให้ขาดความสมดุล บางคนเกิดจากครอบครัว ที่ทำงาน หรือสถานที่ต่าง ๆ ที่กระทบเยอะจนเกินไป ส่งผลให้ขาดความสมดุลหรือหลั่งฮอร์โมนที่ไม่ดีออกมา เกิดความเครียด กังวล นอนไม่หลับ เครียดเพิ่มขึ้นมากจนเรื่อย ๆ กระทั่งเสี่ยงโรคซึมเศร้า ฉะนั้นการที่จะหลุดจาก Loop ได้จำเป็นจะต้องรู้ว่าฮอร์โมนในร่างกายของเรานั้นเป็นอย่างไร เช่น การทำความเข้าใจกับสารเอ็นดอร์ฟินส์ (Endorphins) สารแห่งความสุข สารโดพามีน (Dopamine) สารควบคุมอารมณ์และความรู้สึก สารเซโรโทนิน (Serotonin) สารที่มีผลต่ออารมณ์ความรู้สึก และสารออกซิโตซิน (Oxytocin) ฮอร์โมนแห่งความรัก หากมีความเข้าใจในสารเหล่านี้จะสามารถควบคุมฮอรโมนในร่างกายได้ถึง 80% และจะสามารถมองหากิจกรรมเสริม เช่นออกกำลังกาย การนั่งสมาธิ การเล่นโยคะ เป็นต้น            ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สามารถตอบโจทย์ฮอร์โมนที่ขาดหายไปทำให้ร่างกายกลับมาสมดุลมากขึ้น 

วิธีแก้ไข Imposter syndrome ฉบับรักษาคนอื่น

การทำให้ร่างกายมีความสมดุลมีอยู่ 3 อย่างที่เหมือนกับการดูแลคนรัก

  1. ใส่ใจ: โดยคอยสังเกตพฤติกรรมหรือสิ่งที่ผิดปกติเปลี่ยนจากเดิม
  2. เข้าใจ: เริ่มทำความเข้าใจว่าสิ่งไหนที่ทำให้เขาติดอยู่ตรงนี้
  3. เข้าใจให้ถูกต้อง: อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าเราเข้าใจผู้อื่น ก่อนที่จะตัดสินใจให้คำแนะนำหรือคำปรึกษาควรทบทวนความคิดอีกครั้ง ว่าเราเข้าใจปัญหาของพวกเขาอย่างถ่องแท้แล้วหรือไม่ เพราะแต่ละคนมีบริบทชีวิตที่แตกต่างกัน

ป้องกัน Imposter syndrome ในองค์กร 

ลองนึกภาพตามเหตุการณ์ต่อไปนี้ ณ การแข่งขันฟุตบอล ผลสรุปการแข่งขันเกมส์นี้พ่ายแพ้ โค้ชได้มาสั่งสอนและใช้คำพูดกระตุ้นให้ทุกคนรู้สึกว่า ทุกคนต้องดึงศักยภาพตนเองให้มากกว่านี้ ในสถานการณ์และเวลาเดียวกันจากนักเตะสองคน โดยนักเตะคนแรกฟังแล้วรู้สึกว่ามีพลัง ต้องกลับไปซ้อมให้ดีกว่านี้ แต่ในทางกลับกันนักเตะอีกคนหนึ่งรู้สึกแย่ ไม่ไหว จะเห็นได้ว่าแม้พูดเหมือนกัน และอยู่ในสภาวะสิ่งแวดล้อมที่เหมือนกัน แต่ทำไมคนได้รับความรู้สึกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

เพราะฉะนั้นการเลือกพนักงานก็เช่นกันต้องเลือกคนใช้ถูกจริตกับสไตล์การบริหาร และต้องรู้ก่อนว่าคนประเภทไหนที่สามารถรับมือและปรับทัศนคติได้ ไม่ใช่เอาเขามาแล้วแก้ปลายเหตุ คือต้องใส่ใจ เข้าใจ ต้องกระตุ้นให้ฮอร์โมนความสุข ยกตัวอย่างเช่น การทำความเข้าใจว่าสารเซโรโทนิน (Serotonin) สารที่มีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของเขาคงต่ำ สารออกซิโตซิน (Oxytocin) ฮอร์โมนแห่งความรักคงน้อย ดังนั้นจึงควรเติมเต็มให้เขาเช่น ชวนพนักงานไปทำกิจกรรมที่ตอบโจทย์กับสิ่งที่เขาขาด และต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่าแต่ละคนมีวิธีในการฮีลตัวเองที่ไม่เหมือนกัน ฮอร์โมนก็แตกต่างกัน การที่จะแก้ไขได้ต้องช่างสังเกต และมี empathy ที่สูงมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจเคยประสบกับ “Imposter Syndrome” ความรู้สึกที่คิดว่าตนเองไม่เก่งพอ ไม่คู่ควรกับความสำเร็จ เล้ง-ศิริวัฒน์ มองว่า Imposter Syndrome เป็นเรื่องของความสมดุล ฮอร์โมนมีบทบาทสำคัญต่ออารมณ์ ความรู้สึก และความคิด เช่นอาจทำให้ไม่กล้าแสดงออก ไม่กล้าเสนอความคิด มักกังวล กลัวความผิดพลาดขัดขวางความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น

การรักษาสมดุลของฮอร์โมน เช่นการออกกำลังกาย การทานอาหาร การฝึกสมาธิ หรือกิจกรรมเสริมอื่น ๆ รวมถึงการเข้าใจธรรมชาติของร่างกายว่าขาดฮอร์โมนชนิดไหน แล้วเติมฮอร์โมนชนิดนั้นเข้าไป สิ่งเหล่านี้หากทำได้จะช่วยให้ลดความเครียด เพิ่มความมั่นใจ มีความสุขอย่างมีประสิทธิภาพ “การเข้าใจและจัดการกับ Imposter Syndrome เป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้สามารถพัฒนาตนเองและต่อยอดไปสู่ความสำเร็จได้

สรุปจากงาน PEOPLE PERFORMANCE CONFERENCE 2024 Session: “Overcoming Impostor Syndrome: Strategies for Confidence and Success”

ทักษะแบบไหนที่คนทำงานจำเป็นต้องมีในปี 2024? หาคำตอบได้ที่ PEOPLE PERFORMANCE CONFERENCE 2024

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ