TH | EN
TH | EN
หน้าแรกCareer & Talent'บันได 3 ขัั้น' ขจัดปัญหาเรื่อง Generation Gap ในการทำงาน

‘บันได 3 ขัั้น’ ขจัดปัญหาเรื่อง Generation Gap ในการทำงาน

ในทุกแวดวงการทำงานนั้นเกิดช่องว่างระหว่างรุ่น (Generation Gap) ไม่ว่าจะเป็นด้านธุรกิจ การเมือง ครอบครัว เนื่องจากทุกคนมีชุดข้อมูล ความรู้ ความเชื่อที่แตกต่างกันไป แต่จะทำอย่างไรให้ทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น

พริษฐ์ วัชรสินธุ อดีตสมาชิกพรรคก้าวไกล บอกเล่ามุมมองการทำงานร่วมกับคนต่าง Generation ไว้ว่า “การทำความเข้าใจ เป็นแนวทางหลักที่จะทำให้ช่องว่างระหว่างวัยนั้นสั้นลง คล้ายกับการใช้ตรรกะใจเขาใจเราที่จะช่วงให้เกิดความสัมพันธ์อันดี สร้างบรรยากาศการทำงานร่วมกัน ไปจนถึงการพัฒนาทักษะการร่วมการกับผู้ที่มีช่องว่างระหว่างวัยซึ่งเป็นทักษะที่อาจได้ใช้มากในอนาคต”

ทำความเข้าใจนิยามคำว่า “ช่องว่างระหว่างรุ่น (Generation Gap)” กับ “ช่องว่างระหว่างวัย (Age Gap)”

ช่องว่างระหว่างรุ่น (Generation Gap)” คือการทำความเข้าใจความคิดเห็นที่ต่างเนื่องจากวัยที่ห่างกัน มุมมองของแต่ละคนจะถูกหล่อหลอมด้วยประสบการณ์ทำให้มีชุดความเชื่อไม่เหมืือนกัน ยิ่งโลกมีความเปลี่ยนแปลงไปมากเท่าไรคนแต่ละยุคสมัยก็จะแตกต่างกันไปมากเท่านั้น ไม่เหมือนกับ “ช่องว่างระหว่างวัย (Age Gap) คือ ระยะห่างของอายุเป็นต้นตอของเรื่องที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ เช่น การที่เด็กอายุน้อยบ่นผู้ใหญ่เรื่องปัญหาสุขภาพทั้งที่ผู้ใหญ่มองว่าเป็นเรื่องปกติ แต่เมื่อยามที่เด็กเริ่มแก่ชราลงก็จะมีความคิดว่าเรื่องสุขภาพที่ถดถอยลงเป็นเรื่องปกติเช่นเดียวกัน เป็นต้น

เริ่มต้นทำความเข้าใจคนต่างวัยอย่างไร?

  1. พยายามทำความเข้าใจ เริ่มจากการเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในอยู่บริบทนั้น ๆ และจินตนาการคิดว่าเค้ามีชุดความคิด ความเชื่อแบบใด
  2. อย่างเหมารวม เพราะในสังคมมีคนอยู่มากมาย ความหลากหลายก็เช่นกัน พยามหลีดเลี่ยงการเหมารวมเพื่อไม่ให้เกิดการเข้าข้างความเชื่อใดความเชื่อหนึ่ง ซึ่งอาจนำไปสู่การเข้าใจผิด
  3. ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกับคนต่างรุ่น (Intergenerational Literacy) เป็นทักษะที่สำคัญกับทุกแวดวงการทำงานทุกบริบทในอนาคต เนื่องจากสังคมการทำงานที่จะมีสัดส่วนผู้สูงวัยมากขึ้นในองค์กร จะเป็นการสร้างแนวทางการทำงานกับคนในทีมที่มีชุดความเชื่อไม่เหมือนตนเอง ให้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
  4. อย่าทำให้ ช่องว่างระหว่างรุ่น (Generation Gap) กลายเป็น สงครามระหว่างรุ่น (Generation War) ไม่ทำให้ความไม่เข้าใจกันกลายเป็นความรุนแรงสามารถป้องกันได้โดยการสร้างพื้นที่ทำงานให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยของคนทุกรุ่น ให้กลุ่มคนที่มีความแตกต่างสามารถแสดงความเห็น พูดคุยกันได้ มีอิสระทางความคิด มีกระบวนการตัดสินใจที่มีลักษณะให้ทุกคนมีส่วนร่วมมากขึ้น เป็นแนวทางการบริหารความเห็นที่แตกต่างกันได้ “ไม่เพียงแค่คนรุ่นเก่าที่ต้องเข้าใจคนรุ่นใหม่ แต่คนทุกรุ่นควรเข้าใจกันและกันเพิ่มมากขึ้นด้วย”
  5. อย่างมีอคติ ซึ่งอคติเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันระหว่างวัย เช่น การที่คนรุ่นเก่าเลือกเชื่อว่าคนรุ่นใหม่มีปัญหาอะไรก็บ่นลงโซเชียล แต่จากผลสำรวจพบว่าคนรุ่นใหม่ใช้หลายช่องทางในการสื่อสารแต่ก็ยังไม่เห็นผล จึงเลือกช่องทางโซเชียลมีเดียที่สื่อสารแล้วได้ผลที่สุดระบายปัญหาต่าง ๆ ลงไป จะเห็นได้ว่าการมีอคติดังเช่นกรณีนี้ก็สามารถนำไปสู่ความไม่เข้าใจทางความคิดของวัยที่แตกต่างกันได้

พริษฐ์ ผู้มีประสบการณ์การร่วมงานกับคนต่างวัยมามากมายได้แบ่งปันเรื่องราวที่สะท้อนมุมมอง การปฏิบัติตน รวมไปถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เพื่อยืนยันกับผู้ฟังไว้ว่า “ผมเคยเสนอวิธีการสื่อสารโปรโมตเพื่อดึงคนเข้ามาสมัครสมาคมของมหาวิทยาลัยด้วยวิธีการใช้ Facebook Ad ที่เป็นช่องทางกำลังได้รับความนิยมและมีความคุ้มค่ามากกว่า แต่ถูกโต้เถียงกลับมาจากคนต่างวัยที่มีประสบการณ์ทำงานที่มากกว่า ซึ่งวิธีการของเข้าคืือการสูญเสียงบประมาณไปกับการจัดทำใบปลิว หนังสือพิมพ์ แบบเดิม ๆ จนได้ข้อสรุปว่าคนรุ่นเก่าไม่เข้าใจลักษณะการทำงานของ Facebook Ad รวมถึงไม่เข้าใจว่าจะส่งผลอย่างไรบ้าง สิ่งที่ทำคือการนำเสนอภาพให้เห็นว่า Facebook Ad หน้าตาเป็นอย่างไร ทำงานอย่างไร ส่งผลอย่างไรบ้าง จนคนรุ่นเก่าเริ่มเปิดใจรับฟัง บทเรียนที่ได้จากวันนั้นคือ ความเห็นที่แตกต่าง เกิดจากความไม่เข้าใจสารที่อีกคนต้องการจะสื่อ หรือการไม่มีประสบการณ์โดยตรงกับเรื่องนั้น ๆ ดังนั้น การให้ข้อมูลให้มากที่สุด ในมุมมองรอบด้าน ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีในการสลายปัญหานี้ได้”

“บันได 3 ขั้น” ทักษะการจัดการเรื่อง Generation Gap

  1. การพยายามทำความเข้าใจอีกฝั่ง อย่าใช้ความต้องการของตนเองเป็นหลักให้พยายามฟังว่าอีกฝั่งมีความเห็นแบบนั้นเพราะอะไร หากเข้าใจว่าต่างฝ่ายคิดอะไรอยู่ มีความกังวนเรื่องใด ก็จะมองเห็นแนวทางที่สามารถแก้ไขให้ทั้งสองฝ่ายก้าวข้ามไปด้วยกัน
  2. ทักษะการฟัง พยายามรับฟังความเห็นโดยไม่มีอคติเข้ามาเกี่ยวข้องและรับฟังอย่างเปิดใจ
  3. ทักษะการสร้างการมีส่วนร่วม มองในมุมผู้บริหารองค์กรที่มีประสบกาณ์มาก จะทำอย่างไรให้คนรุ่นใหม่ในองค์กร แม้จะมีความเห็นที่แตกต่างกันแต่ยังรู้สึกได้มีส่วนร่วมในองค์กรได้ รวมถึงการปฏิบัติแบบเท่าเทียมกันในการทำงาน เสมือน Use Watching ฟังและต้องเข้าใจความต้องการที่แท้จริงเป็นลักษณะของการเป็นหุ้นส่วนร่วมกันระหว่างองค์กรและพนักงาน หรือการมีส่วนร่วมกันอย่างมีความหมาย (Meaningful Participation) จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น

ในมุมของการทำงานด้านการเมืองของ พริษฐ์ ได้งัดทักษะการจัดการเรื่อง Generation Gap มาใช้เช่นกัน เนื่องจากได้ทำงานร่วมกับคนอายุมากพอสมควร อย่างเช่นการออกนโยบายการเลือกตั้งเพื่อเริ่มต้นหาเสียง การอธิบายประเด็นต่าง ๆ ให้กับประชาชน มีบางส่วนเห็นด้วย บางส่วนเห็นด้วยบ้าง แต่บางส่วนไม่เห็นด้วยเลย ส่วนที่ไม่เห็นด้วย ในฐานะที่เป็นผู้นำต้องมีการเรียนรู้วิธีการพูดคุยกับพวกเขาเพื่อให้เกิดความเข้าใจกัน หาจุดที่ลงตัวมากที่สุด เช่น การพูดคุยเรื่องค่านิยมที่คนสองรุ่นมีร่วมกันจะทำให้การสื่อสารทำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เป็นต้น

Leadership ที่ดีในยุคนี้ต้องมีลักษณะอย่างไรบ้าง?

พริษฐ์ กล่าวว่า สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ“รับฟังความเห็นต่าง อย่าเชื่อแต่สูตรสำเร็จ”

  1. ฟังให้กว้าง หมายถึงการมองเรื่องราวอย่างรอบด้าน รับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างได้อย่างไม่มีอคติ เนื่องจากระหว่างแต่ละยุคสมัยมีความเห็นที่แตกต่างกันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนโลกของโซเชียลมีเดีย
  2. พูดให้ชัด ป้องกันความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อน เพราะตีความไม่เหมือนกันนำไปสู่การสื่อสารที่สะเปะสะปะ
  3. ทำให้ดู เป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับผู้พบเห็น แสดงออกให้เห็นว่าทำได้จริงๆ เป็นคนที่ไว้วางใจได้
  4. มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมือนสม
  5. ตามให้ทัน เรียนรู้องค์ความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของกระแส เทรนด์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
  6. นำให้เป็น รับฟังความเห็นของทุกคน และพิจารณาเพื่อตัดสินใจอย่างเด็ดขาด บนพื้นฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์ที่สุด
  7. ลุกให้เร็ว เมื่อเจอปัญหาต้องรับมืออย่างรวดเร็วรีบลุกขึ้นเพื่อเดินหน้าต่อให้ไว แต่ต้องรักษาสุขภาพจิตร่วมด้วย

จะเห็นได้ว่า “ช่องว่างระหว่างรุ่น (Generation Gap)” ไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่อย่างที่ทุกคนเข้าใจกัน เพียงเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจ ไม่เหมารวม และสร้างการมีส่วนร่วมให้กับคนต่างวัย ก็สามารถช่วยให้ทักษะการร่วมงานกับคนต่าง Generation ได้อย่างสันติสุข ดังที่ พริษฐ์ กล่าวไว้ว่า “หากจะเป็นผู้นำที่ดี ร่วมกันการลดปัญหาของ Generation Gap ในการทำงาน ต้องรับฟังความเห็นต่าง อย่าเชื่อแต่สูตรสำเร็จ เริ่มต้นทำความเข้าใจ สื่อสารด้วยหลักการ บันได 3 ขั้น และสุดท้ายคือการพัฒนาให้ตนเองมีลักษณะของผู้นำอยู่เสมอ”

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

SCBX กับการเปลี่ยนผ่านสู่ FinTech ตั้งเป้าภายใน 3 ปี รายได้ 75% จะต้องมาจาก AI

ทรู คอร์ป มุ่งสู่ Net Zero ภายในปี 2593 วางกลยุทธ์ร่วมกับคู่ค้าพันธมิตร เร่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Scope 3

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ