TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistซิลิคอนวัลเลย์ สู่ แดนภารตะ

ซิลิคอนวัลเลย์ สู่ แดนภารตะ

ตั้งแต่เริ่มปี 2020 เป็นต้นมา บริษัทเทคโนโลยีใหญ่ ๆ ของอเมริกา ก็ตบเท้าเข้าไปลงทุนในอินเดียแล้วเป็นเม็ดเงิน 17,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

บริษัทใหญ่ ๆ นี้ ไล่ตั้งแต่ Amazon ที่ควักกระเป๋าลงทุนไป 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามมาด้วย Facebook ลงทุนไป 6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และล่าสุดกลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา สดๆ ร้อน ๆ Google ทุ่มเม็ดเงินลงทุนไปอีก 10,000 ล้านดอลลาร์… นี่ยังมีบริษัท Foxconn ซึ่งก็รู้ ๆ กันอยู่ว่าเป็นโรงงานผลิตให้กับ Apple

-TikTok ใคร ๆ ก็ไม่รัก
-บริษัทชั้นนำในสหรัฐฯ กว่าร้อย ตบเท้ายื่น Chapter 11 ขอฟื้นฟูกิจการ

คาดว่าเม็ดเงินลงทุนในอินเดียตลอดทั้งปีนี้น่าขึ้นไปสูงกว่า 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้ไม่ยากเย็นนัก และเม็ดเงินเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็ไหลมาจากทางฝั่งอเมริกา ซึ่งในขณะที่หลายประเทศบอบช้ำจากพิษโควิด-19 แต่อินเดียยังประเมินว่าเศรษฐกิจจะสามารถฟื้นตัวได้ภายในครึ่งปีหลังนี้ โดยคาดว่ากันว่าตัวเลขเศรษฐกิจของปี 2021-2022 อาจจะถึง 6.3 ซึ่งตัวเลขนี้ ในสภาวการณ์แบบนี้ถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงใช้ได้เลยทีเดียว

การที่เม็ดเงินไหลเข้าไปอินเดีย แน่นอนว่าเพราะประชากรของอินเดียนั้นเป็นรองจีนอยู่ไม่กี่มากน้อย และอินเดียเองก็มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีไม่น้อยหน้าไปกว่าจีนสักเท่าไหร่

จริง ๆ แล้วอินเดียเป็นที่สนใจของนักลงทุนมานานแล้ว แต่การเจาะตลาด และบรรยากาศการค้าการลงทุน รวมไปถึงวัฒนธรรม ทำให้นักลงทุนอาจจะยังไม่คุ้นชินเท่าไหร่นัก… แต่แน่นอนว่าเป็นตลาดมองข้ามไม่ได้ ด้วยเพราะจำนวนประชากรที่เป็นรองแค่จีน การเติบโตของชนชั้นกลางก็สูง

สถาบัน National Institute for Transforming India (NITI Aayog) ของอินเดีย ประเมินไว้ว่าภายใน 10 ปีนี้ อินเดียจะต้องก้าวสู่ประเทศที่มีประชากรเป็นชนชั้นกลางเป็นส่วนมาก โดยมีตัวเลขคาดว่าจะมีตัวเลขมากถึง 500 ล้านคน หรือ เกือบครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมด

นอกจากกลุ่มประชากรที่มีเม็ดเงินในการจับจ่ายเติบโตมากขึ้นแล้ว ในเรื่องของเทคโนโลยี อินเดียก็เป็นอีกประเทศที่ไม่เป็นรองใคร รัฐบาลอินเดียให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างมาก โดยจำนวนประชากรกว่า 1,300 ล้านคน กว่าครึ่งหรือราว 700 ล้านคน เป็นกลุ่มที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ต

และภายใต้รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ยังมียุทธศาสตร์ชาติที่สำคัญคือ “New India” เป็น “อินเดียใหม่” ภายในปี ค.ศ. 2022 และกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีมูลค่า 5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี ค.ศ. 2030

แต่นอกเหนือสิ่งเหล่านี้ คือ อุปสรรคที่บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ฝั่งอเมริกา เจาะตลาดจีนยากเย็นเหลือเกิน โดยจำกัดโน่นนี่ รวมถึงความพยายามใช้กฎหมายเพื่อเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้งานของบริษัทเทคโนโลยีเหล่านี้ด้วย และยังเข้าไปตีฐานบริษัทเทคโนโลยีในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง โดยออกกฎหมายที่จะเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้งาน

ในขณะที่ความสัมพันธ์ในด้านเทคโนโลยี ระหว่างบริษัทอเมริกัน และอินเดีย นั้นมีความกลมเกลียว มีความคุ้นชินกันค่อนข้างสูง จะเห็นได้ว่าชาวอินเดียเข้าไปทำงานกับบริษัทของอเมริกันในซิลิคอน วันเลย์ ค่อนข้างเยอะ ผู้บริหารเชื้อสายอินเดียหลายคน ก็ทำงานร่วมกับบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้ อย่างเช่น Microsoft และ Google

ในขณะที่ความสัมพันธ์เชิงธุรกิจของอินเดีย และ สหรัฐ นั้นค่อยๆ เติบโต และบริษัทอเมริกันก็ค่อยๆ คุ้นชินกับการทำงานกับคนอินเดีย แต่ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และ จีน ก็คง ลุ่ม ๆ ดอน ๆ ไปเรื่อย จนกว่าที่สหรัฐฯ จะเปลี่ยนประธานาธิบดีคนใหม่อย่างแน่นอน และเชื่อได้ว่าหากสหรัฐฯ ได้ประธานาธิบดีคนใหม่ และต้องมาจากฝั่งเดโมแครต ถึงน่าจะพยายามญาติดีกับจีน

ซึ่งขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับ จีน ย่ำแย่ จีนยังมีปัญหากับอินเดียด้วย จากกรณีที่เกิดเหตุปะทะกันของนักธุรกิจ ตรงชายแดนจีน-อินเดีย ทำให้มีการเรียกร้องให้ประท้วงสินค้าจากจีน

จากสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ต้องบอกว่าอินเดียมีเสน่ห์ขึ้นมาทันทีในสายตาของนักลงทุน…

ที่มา: edition.cnn.com economictimes.indiatimes.com

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

-ดีป้า บุกจังหวัดตราด เดินหน้าติดอาวุธผู้ประกอบการท่องเที่ยว-บริการ ด้วยนวัตกรรมดิจิทัล
-สปสช. ธ.ก.ส. และ สวทช. เปิดตัว “เครื่องตรวจสุขภาพอัตโนมัติ”
-Apple มุ่งมั่นที่จะเป็นกลางทางคาร์บอน 100 เปอร์เซ็นต์ ทั้งในซัพพลายเชนและผลิตภัณฑ์ภายในปี 2030
-เคล็ดลับ “เว้นระยะห่างทางอาหาร” เพื่อคงคุณค่าทางโภชนาในยุคเว้นระยะห่างทางสังคม

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ