TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessบริษัทชั้นนำในสหรัฐฯ กว่าร้อย ตบเท้ายื่น Chapter 11 ขอฟื้นฟูกิจการ

บริษัทชั้นนำในสหรัฐฯ กว่าร้อย ตบเท้ายื่น Chapter 11 ขอฟื้นฟูกิจการ

Muji (มูจิ) ร้านค้าปลีก ประเภทสินค้า home products ชื่อดังของญี่ปุ่น ในสหรัฐฯ เป็นบริษัทใหญ่รายล่าสุด ที่ทนพิษบาดแผลเศรษฐกิจจากการระบาดของโควิด-19 ในสหรัฐฯ ต่อไปไม่ไหว ยื่น Chapter 11 หรือขอปรับโครงสร้าง ฟื้นฟูกิจการ

ถ้าตามข่าวของการบินไทย ก็คงจะได้ยินคำว่า Chapter 11 กันบ้าง ซึ่งก็คือกฎหมายยื่นล้มละลาย ขอฟื้นฟูกิจการ ตามกฎหมายสหรัฐฯ นั่นเอง โดยการยื่นขอปรับโครงสร้าง ทาง Muji ได้แจงสินทรัพย์และหนี้สินอยู่ประมาณ 50-100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มีการประเมินว่า Muji มีเจ้าหนี้อยู่ประมาณ 200-999 ราย

บริษัท เรียวฮิน เคอิคาคุ ซึ่งเป็นบริษัทผู้บริหารของ Muji บอกว่าบริษัทประสบภาวะขาดทุนเพราะต้องแบกรับค่าเช่า และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ จากมาตรการล็อคดาวน์ของงสหรัฐฯ ก่อนหน้าที่จะเกิดการระบาดของโควิด-19 ในสหรัฐฯ ก็มีการเจรจาในเรื่องค่าเช่ามาก่อนหน้าแล้ว แต่พอเผชิญการระบาด ร้านต้องปิด รายได้ในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมหายไปครึ่งหนึ่ง จึงต้องยื่นขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้

Muji เป็นอีกหนึ่งใน 110 บริษัทในสหรัฐที่ต้องขอเข้าร่วม Chapter 11 ในช่วงเวลาไม่กี่เดือนหลังจากที่สหรัฐฯ เผชิญกับโควิด-19 และขึ้นเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตมากที่สุดของโลก และยังไม่มีทีท่าว่าจะเข้าสู่ช่วงขาลง ยังพีคต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ

ก่อนที่ Muji จะยื่น Chapter 11 นั้น ได้เข้ามาดำเนินธุรกิจในสหรัฐฯ มาเป็น 10 ปีแล้ว แต่ 2-3 ปีที่ผ่านมาเริ่มประสบปัญหายอดขาย เพราะเจอทั้งของลอกเลียนแบบ และสถานการณ์เศรษฐกิจ พอมาเจอโควิด-19 เลยเป็นเหมือนถูกจุดระเบิด

การยื่นขอฟื้นฟูกิจการในสหรัฐฯ ที่เกิดขึ้นเป็นปกติของการทำธุรกิจอยู่แล้วคือ หากประสบภาวะขาดทุนก็ต้องมีมาตรการปิด หรือปรับปรุงบริษัท ก็เหมือน ๆ กับในไทย ที่ก็จะมีบริษัทไปยื่นขอปิดบริษัท

แต่มากกว่านั้นคือจากสถานการณ์โควิด-19 กลายเป็นว่าเป็นบริษัทใหญ่ๆ ชั้นแนวหน้าที่มีสายป่านยาว ก็เอาตัวไม่รอด

บริษัทใหญ่ ๆ ในสหรัฐฯ ที่ต่างตบเท้ายื่น Chapter 11 ตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา ก็มีทั้ง Hertz, Latam Airlines, Frontier Communications, Chesapeake Energy, J.C. Penney Brooks Brothers และ Muji ก็เป็นรายล่าสุดในบรรดาบริษัทใหญ่ 111 บริษัท โดยก่อนหน้านี้ Pizza Hut ในสหรัฐฯ ก็ยื่นขอฟื้นฟูบริษัทด้วยเหมือนกัน

อุตสาหกรรมของบริษัทที่ยื่น Chapter 11 เหล่านี้ อยู่ในหลากหลายอุตสาหกรรม ทั้ง พลังงาน บันเทิง สุขภาพ วัตถุดิบ อุปกรณ์ ชิ้นส่วนอะไหล่ ค้าปลีก ร้านอาหาร โทรคมนาคม สื่อและเทคโนโยลี การเดินทาง โรงแรมที่พัก

ข้อมูลตัวเลขของ Epiq บริษัทผู้ให้บริการด้านกฎหมาย เปิดเผยว่าในครึ่งปีแรกของปี 2020 มีบริษัทยื่น Chapter 11 ถึง 3,604 บริษัท จาก 2,855 บริษัท ที่ยื่นในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สูงขึ้น 26% และเฉพาะในเดือนมิถุนายน อัตรายื่นเพิ่มขึ้นถึง 43% เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยมีการยื่นถึง 609 บริษัท เพิ่มขึ้นจาก 424 บริษัทเมื่อปีที่แล้ว

เชื่อว่าตัวเลขการยื่น Chapter 11 ของบริษัทในสหรัฐฯ ก็อาจจะเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ หากยังไม่เห็นทิศทางว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดจะยุติลงได้เมื่อไหร่ ในขณะที่อีกหลายๆ ประเทศก็ยังคงหวาดระแวงว่าจะมีการระบาดรอบ 2

ทั้งนี้แม้จะเห็นว่าตัวเลขการยื่น Chapter 11 จะมากขึ้น แต่ก็ยังดีกว่าจะเห็นว่ามีการยื่น Chapter 7 เพราะ Chapter 11 คือ การปรับโครงสร้าง ฟื้นฟูบริษัท เพื่อให้กลับมายืนได้อีกครั้ง หรือ จะเรียกว่าเป็น Reboot เครื่องยนต์ หลังตัดลดค่าใช้จ่าย และยังสามารถแปลงหนี้เป็นทุนได้

แต่หากมีบริษัทใหญ่ ๆ ตัดสินใจยื่น Chapter 7 นั่นคือ การเลิกกิจการ ขายทรัพย์สินธุรกิจ เพื่อชำระหนี้สินก็จะเป็นสิ่งสะท้อนว่า สถานการณ์มาถึงจุดเลวร้ายแบบสุดๆ และคงใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะเยียวยาได้ … หวังว่าจะไม่ไปถึงจุดนั้น

ภาพประกอบจาก muji.com

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

-TikTok ประกาศระงับให้บริการในฮ่องกง หลังฮ่องกงเตรียมล้วงข้อมูลผู้ใช้งานโซเชียลมีเดีย
-เทรนด์การรับประทานอาหาร ของผู้บริโภคในเอเชีย
-ใช้สื่อออนไลน์อย่างสร้างสรรค์ เพื่อลด “Hate speech”
-Tencent ปิดดีล iflix สยายปีก ยึดตลาดวิดีโอสตรีมมิ่ง ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
-“ความสำเร็จ” ในยามเศรษฐกิจโหดร้าย

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ