TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistแม่โจ้ มหาวิทยาลัยด้านเกษตรนวัตกรรม

แม่โจ้ มหาวิทยาลัยด้านเกษตรนวัตกรรม

เป็นเวลา 86 ปีที่ โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือ ได้พัฒนาและเปลี่ยนสถานะ จนเป็นมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในปัจจุบัน ดังนั้นความชำนาญทางด้านการเกษตรที่มีแต่เดิมจะถูกผสายกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมปัจจุบันและอนาคต ซึ่งเป็นแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้สู่ปีที่ 100 (จาก 2477 สู่ 2577) แบบ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิดเผยว่า แม่โจ้ ได้ร่วม โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ของ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยเลือกกลุ่มมุ่งยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม (Technology & Innovation) ผ่านโครงการยกระดับวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการใหม่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ (MJU Enhancing SMEs and New Entrepreneurs with Smart and Modern Agricultural Technology Innovation (SMATI)) เพื่อเป็นการต่อยอดจุดแข็งด้านการเกษตรของ แม่โจ้ สู่เทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่ รวมทั้งเป็นการรองรับหลักสูตรเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) ในอนาคต

-แม่ฟ้าหลวง ตั้งเป้าเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลกทางด้านวิจัย
-นายก อบต.เชิงทะเล เชิญคนไทยเที่ยวภูเก็ต

“แม่โจ้มีทำการเกษตร ตั้งแต่เริ่มตั้งสถานศึกษาจนถึงปัจจุบัน จึงมีความชำนาญ โดยเฉพาะเรื่องเกษตรอินทรีย์ การรักษาสิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมชุมชนเชิงพื้นที่ (Area-Based & Community) มาโดยตลอดแต่สิ่งที่เราอยากได้คือ การต่อยอดด้านนวัตกรรม เช่น การปลูกลำไย อยากได้ผลผลิตขนาดไหน ออกผลปีละกี่ครั้งแม่โจ้ทำได้หมด แต่ไม่สามารถทำนวัตกรรมถึงขนาดทำโมเลกุลขายได้ ที่ผ่านมาแปรรูป อบแห้ง สกัดน้ำลำไยเข้มข้น ตอนนี้เริ่มพัฒนานำเปลือกลำไยมาทำยาหม่อง แม่โจ้อยากเอานวัตกรรมมาผสมกับภูมิปัญญาที่มีอยู่ เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้า สร้างผู้ประกอบการ”

โครงการยกระดับวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการใหม่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่นี้ แบ่งแผนงานออกเป็น 3 ส่วน คือ

  • แผนงานแรก ระบบนิเวศด้าน SMATI เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการ
  • แผนงานที่ 2 พัฒนาบุคลากร นักศึกษา และบัณฑิต ผู้ประกอบการ ด้วย SMATI
  • แผนงานที่ 3 ยกระดับผู้ประกอบการและวิสาหกิจด้วย SMATI 

“แผนงานที่เสนอครั้งแรก โครงการต้องใช้เม็ดเงินประมาณ 180 กว่าล้านบาท แต่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ 88.7 ล้านบาท ตลอดโครงการในปีนี้ ดังนั้นจึงมีการนำเสนอโครงการเพิ่มเติมในปีหน้า อีก 200 ล้านบาท เพื่อให้โครงการบรรลุเป้าหมายผลผลิตหลักสูงสุด”

“ทั้งเรื่องการผลิตกำลังคนตามความต้องการเพื่อตอบโจทย์ประเทศ การมีผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีความรู้ได้รับการพัฒนาแล้ว ผลผลิตใหม่ ๆ และอื่น ๆ ซึ่งแม่โจ้ ยังตั้งเป้าเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีความเป็นเลิศทางด้านการเกษตรในระดับนานาชาติอีกด้วย”

นอกจากโครงการที่นำเสนอกับกระทรวง อว.แล้ว แม่โจ้ยังมีโครงการอีกมาก เช่น โครงการทุนปริญญาตรีเพื่อพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ (Smart Farmer) ที่ร่วมกับสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์กรมหาชน) เพื่อรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาปริญญาตรี แบ่งเป็น คณะผลิตกรรมการเกษตร สาขาวิชาพืชไร่ 10 ทุน คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาสัตวศาสตร์ จำนวน 10 ทุนและคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ สาขาวิชาการประมงอีก 10 ทุน

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)

โครงการส่งเสริมเมล็ดพันธ์ อินทรีย์ แม่โจ้ได้แจกเมล็ดพันธ์อิทรีย์เป็นผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในช่วงโควิดที่ผ่านมา จำนวน 524,500 ครัวเรือน

โครงการพัฒนากัญชาอินทรีย์เพื่อการแพทย์ ซึ่งโครงการนี้ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

1. ด้านวิชาการ เตรียมตั้งสถาบันกัญชา พร้อมทั้งพัฒนารายวิชากัญชง/ กัญชาศาสตร์  และพัฒนาผู้เชี่ยวชาญด้านกัญชา นอกจากนี้ยังมีการทดลองปรับปรุงสายพันธุ์กัญชา และทดลองปลูกกลางแจ้ง

“แม่โจ้ เป็นมหาวิทยาลัยที่ปลูกกัญชามากที่สุดในอาเซียน จำนวน 16,700 ต้น และกำลังจะได้ต้นมาเพิ่มอีก 1,200 ต้น ปลูกกัญชาเพื่อให้ได้ดอก มาตอบโจทย์ด้านการแพทย์ ในการทำยา ปลูกแล้วส่งให้กับกรมการแพทย์ และองค์การเภสัช ทำคลินิกกัญชา รวมทั้งยังทำวิจัยกัญชาเป็นอินทรีย์ เป็นพันธุ์ไทย ที่เหมาะสมกับคนไทย เพราะที่ผ่านมามีแต่ข้อมูลของต่างประเทศ” 

2. ด้านผลผลิต จะทำช่อดอกแห้ง 860 กิโลกรัม รากกัญชาแห้ง 93 กิโลกรัม ใบกัญชาแห้ง 390 กิโลกรัม และ ลำต้นกัญชาแห้ง 1,490 กิโลกรัม

ขณะนี้กำลังวิจัยว่า ในส่วน ใบ ต้น ราก ที่ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อเอาไปทำอาหาร ทานแล้วจะเป็นอย่างไร มีประโยชน์อะไรต่อร่างกายหรือไม่ หรือเป็นเพียงเยื่อ หรือใย ที่ไม่มีประโยชน์อะไร โดยในส่วนของใบกัญชานั้น แม่โจ้จำหน่ายกิโลกรัมละ 1,000 บาท ในขณะที่ที่อื่นขาย 10,000 บาทต่อกิโลกร้ม

“แม่โจ้จะมีการศึกษาเรื่อง THC และ CBD เพื่อพัฒนานำมาทำอาหารให้เป็นยา มีแผนจะเปิดคณะพยาบาลศาสตร์ โดยมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงมาเป็นพี่เลี้ยง เพื่อดำเนินการ ทำยาเพื่อสุขภาพ หากสามารถดำเนินการได้จริงจะเปิด คณะเภสัชศาสตร์ด้วยในอนาคต เนื่องจากปัจจุบันมีความร่วมมือกับ โรงพยาบาลอภัยภูเบศร ในการทำยาจากพืชสมุนไพร ดังนั้นหากมีบริษัท หรือ หน่วยงานด้าน Food Science อยากร่วมมือกับแม่โจ้ ทำไปศึกษา หรือพัฒนาต่อก็สามารถทำได้แต่ต้องไปขออนุญาตก่อน”

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ