TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistปรากฏการณ์จัดซื้อ ATK อย่าให้ประชาชนต้องเป็นเหยื่อ

ปรากฏการณ์จัดซื้อ ATK อย่าให้ประชาชนต้องเป็นเหยื่อ

ในที่สุดการเซ็นสัญญาระหว่างองค์การเภสัชกรรม และบริษัท เวิลด์ เมดิคอล อัลไลแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้แทนจำหน่ายที่ได้รับการแต่งตั้งโดยบริษัท ออสท์แลนด์ แคปปิตอล จำกัด ในการนำเสนอซื้อชุดตรวจการวินิจฉัยการติดเชื้อ SARS-CoV-2 (เชื้อก่อโรค COVID-19) แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง (COVID-19 Antigen Test Self-test Kits) ในการประมูลจำนวน 8.5 ล้านชุด มูลค่า 1,014 ล้านบาท เป็นอันเรียบร้อยตามกระบวนการประมูลจัดซื้อ

เรื่องการจัดซื้อ ATK ครั้งนี้ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ระหว่างแพทย์ชนบท และคณะกรรมการ (บอร์ด) องค์การเภสัชกรรม เรื่องการจัดซื้อชุดตรวจตรวหาตัวเชื้อ SARS-Cov-2 (Antigen Test Kid: ATK) ยืดเยื้อมามากกว่า 2 สัปดาห์ ทำให้บริษัทผู้ชนะการประมูลไม่ได้เซ็นสัญญา และประชาชนไม่ได้ใช้ ATK ตามที่นายกรัฐมนตรี พลเอกปะยุทธ์ จันทร์โอชา มีดำริอยากแจกให้ประชาชนใช้ตรวจคัดกรองเชิงรุกด้วยตนเอง

ประเด็นที่เป็นที่ถกเถียงกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด คือ คุณสมบัติ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ SARS-CoV-2 Antigen  Rapid Test Kits (Colloidal Chromatography) ซึ่งผู้ชนะการประมูลได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ของบริษัท Beijing Lepu Medical Technology Co., Ltd. จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งถูกกล่าวอ้างว่า ไม่ได้ผ่านมาตรฐานองค์การอนามัยโลก

แม้องค์การเภสัชกรรมจะมีการประกาศรายชื่อบริษัท ผู้ชนะการประมูลอย่างเป็นทางการ แต่ยังไม่มีกำหนดว่าจะเซ็นสัญญาเมื่อไร ความยืดเยื้อที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อบริษัทผู้ชนะการประมูล เพราะได้นำเงินประมาณ 30 ล้านบาท ไปวางมัดจำกับบริษัทผู้ผลิต และไม่มีวี่แววว่าจะได้เซ็นสัญญาเพื่อส่งมอบ ATK ให้หน่วยงานราชการ จนในที่สุด ศิริญา เทพเจริญ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานการตลาด บริษัท ณุศาศิริ (มหาชน) และกรรมการบริหาร บริษัท เวิลด์ เมดิคอล อัลไลแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ต้องแก้เกมด้วยการนำ ATK จำนวน 8.5 ล้านชิ้น มาจำหน่ายให้ประชาชนคนไทยทุกคน ได้มีโอกาสเข้าถึงชุดตรวจโควิดด้วยตนเอง ในราคาชุดละ 75 บาท โดยเป็นราคาที่ใกล้เคียงกับราคาที่เราประมูลได้จากทางองค์การเภสัชฯ

หลังจากประกาศขายให้ประชาชนเพียง 5 วัน การเซ็นสัญญาจึงเกิดขึ้น เท่ากับว่า บริษัท เวิลด์ เมดิคอล อัลไลแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด สามารถจำหน่าย ATK ของ Beijing Lepu Medical Technology ในเมืองไทยได้ถึง 17 ล้านชิ้น แบ่งเป็น 8.5 ล้านชิ้นแรก จำหน่ายให้ประชาชนผ่านการสั่งจองทางออนไลน์และรับผลิตภัณฑ์ที่ร้านขายยาหรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน ส่วนอีก 8.5 ล้านชิ้นส่งมอบให้องค์กรเภสัชกรรม ตามที่ชนะการประมูล

ขณะที่ นายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ในฐานะประธานชมรมแพทย์ชนบท ได้เปิดความในใจ … หลังพ่ายศึก ATK (วันที่ 24 สิงหาคม) ว่า “ศึกครั้งนี้สั้น ๆ แต่เข้มข้น เริ่ม 10 ถึง 24 สิงหาคม 2564 เป็น 2 สัปดาห์แห่งการเดินเกมเพื่อสู้กับอำนาจรัฐ อำนาจรัฐที่ระดมมาทุกองคพยพเพื่อจะปกป้องระเบียบวิธีการจัดซื้อจัดจ้างที่ไร้ประสิทธิภาพของรัฐ คือ จัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบทีไรได้แต่ของถูกราคาแพง เงินภาษีประชาชนไม่ถูกใช้อย่างคุ้มค่า แน่นอนว่าเราสู้ไม่ไหว กับองคาพยพของระบบราชการที่ไม่สนใจสาระ” ……

มีการกล่าวถึงเรื่องการจัดซื้อ ATK คุณภาพสูงให้โรงพยาบาลใช้ตรวจเชิงรุก ทั้งในส่วนของรายละเอียดของ TOR  ราคาเป็นเกรด home use ไม่ใช่ professional use รวมทั้งพูดถึงหน่วยงานราชการด้านสาธารณสุขต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ก่อนจะปิดความในใจว่า

“ศึก ATK แม้ยกแรกแพทย์ชนบทเราจะพ่ายแพ้ แต่ผมและเพื่อนสมาชิกแพทย์ชนบทยังมีกำลังใจดีมาก เพราะภารกิจของเรานั้นไม่ใช่เรื่องแพ้ชนะศึก ATK แล้วเลิก แต่เพื่อใช้กรณี ATK สะท้อนให้สังคมเห็นถึงระบบราชการอันเส็งเคร็งที่ต้องการการรื้อใหญ่ นี่ต่างหากที่เป็นภารกิจหลักของเรา มีที่ไหนในโลกที่ประมูลซื้อของ 8.5 ล้านชิ้น แล้วซื้อได้ในราคาต่อชิ้นที่แพงกว่าซื้อชิ้นเดียวจากห้างในเยอรมันถึง 2 เท่า มีแต่ประเทศไทยอันเป็นที่รักของเรานี่แหละ”

จะเห็นว่า ปรากฏการณ์การจัดซื้อชุด ATK ในครั้งนี้ ทำให้เห็นว่า ข้อกำหนดรายละเอียด (TOR หรือ Term of Reference) ต้องมีความแม่นยำ ชัดเจน เป็นไปตามเงื่อนเวลา ไม่ยืดเยื้อนี้เกิดขึ้น เพราะคนไทยจะได้สามารถเข้าถึงการคัดกรองได้เร็วขึ้น สามารถคัดแยกผู้ป่วย และได้รับการรักษาได้รวดเร็วขึ้น 

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ