TH | EN
TH | EN
หน้าแรกStartupValiente คว้าที่ 1 การแข่งขัน AI for ALL THAIs HACKATHON 2020

Valiente คว้าที่ 1 การแข่งขัน AI for ALL THAIs HACKATHON 2020

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมจัดการแข่งขัน AI for ALL THAIs HACKATHON 2020 ในระหว่างวันที่ 26-28 มิถุนายน 2563 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ในรูปแบบออนไลน์ ภายใต้แนวคิด Driving Thailand into AI Nation เปิดโอกาสให้ นักพัฒนาอิสระ นักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจที่เข้าแข่งขันสามารถหยิบผลงาน พร้อมใช้ในรูปแบบ API ที่ให้บริการอยู่บน aiforthai.co.th ไปประยุกต์สร้างสรรค์ให้เกิดชิ้นงานที่ใช้งานได้จริง

ดร.ชัย วุฒิวิวัตน์ชัย ผู้อำนวยการเนคเทค กล่าวว่า “จากประสบการณ์ในการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่ยาวกว่า 20 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับงานวิจัยเชิงภาษาไทย และเมื่อ วันที่ 9 กันยายน 2562 ที่ผ่านมาในงานสัมมนาวิชาการ NECTEC ACE 2019 เนคเทคได้เปิดตัวแพลตฟอร์มบริการเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สัญชาติไทย (AI For Thai Platform) โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับขีดความสามารถของประเทศโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เปิดโอกาสให้นักพัฒนาสามารถเข้าถึงและใช้งานเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถทำ Proof of Concept ชิ้นงานได้โดยง่าย และที่สำคัญ AI For Thai สามารถเข้าใจบริบทของประเทศไทยซึ่งแตกต่างจากเทคโนโลยีของต่างชาติ

การจัดกิจกรรมแข่งขัน AI for ALL THAIs HACKATHON 2020 นี้ เดิมมีกำหนดจัดงาน ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา แต่เนื่องจากสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ทำให้การจัดงานมีความจำเป็นต้องเลื่อนออกไป จนกระทั่งตอนนี้รัฐบาลได้ผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ ให้สามารถจัดกิจกรรมได้บ้างแล้ว แต่เพื่อลดความเสี่ยงของผู้เข้าแข่งขันทุกท่าน ในช่วง New Normal จึงได้ปรับการแข่งในสู่แบบออนไลน์ การแข่งขัน AI for ALL THAIs HACKATHON 2020 Online จึงเป็นมิติใหม่ในการแข่งขันที่เราจะอยู่ร่วมกันถึง 38 ชั่วโมง โดยเปิดหน้ากล้องทั้งทีมผู้แข่งขันและทีมผู้จัด โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมแข่งขันในครั้งนี้ คือเพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมทางด้าน AI ไปใช้ให้เกิดประโยชน์จริง และเพื่อสร้างกลุ่มนักพัฒนาโปรแกรมที่นำร่องในการใช้งาน AI For Thai Platform สำหรับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ มีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมเป็นจำนวนกว่า 150 คน และผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการ เพื่อเข้าร่วมแข่งขันในวันนี้ ทั้งสิ้น 52 คน โดยแบ่งเป็น 21 ทีม ที่มาจากหลายสาขาวิชาชีพ มีทั้ง ครู อาจารย์ นิสิต นักศึกษา โปรแกรมเมอร์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงิน นักพัฒนาอิสระ”

ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์และหัวหน้าทีมวิจัยเทคโนโลยีภาษา กล่าวว่า “ผู้เข้าแข่งขันสามารถเรียกใช้งานจากบริการจากแพลตฟอร์ม AI for Thai ได้ทาง aiforthai.in.th ซึ่งประกอบด้วย บริการด้านข้อความ(LANGUAGE) บริการด้านภาพและวีดิโอ (VISION) และบริการด้านการสนทนา (CONVERSATION) ซึ่งมีบริการให้เรียกใช้มากกว่า 20 บริการในนั้น โดยปัจจุบันมีคนเรียกใช้งานมากกว่า 1 ล้าน 2 แสนครั้ง เพื่อตอบโจทย์ AI and Post COVID-19 ชีวิตหลังจากสถานการณ์โควิท 19 จะเป็นอย่างไร สิ่งที่จะเกิดขึ้นในหลายๆด้าน ทั้ง New normal , Social Distancing , Virtual, Contactless, Creative Tourism มาประกอบการพิจารณาสร้างสรรค์เป็นบริการ API พร้อมใช้

รางวัลชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 100,000 บาท

ทีมที่ 16 Valiente
ชื่อผลงาน เครื่องมือการวิเคราะห์การประชุมออนไลน์
แนวคิด การวิเคราะห์บทสนทนาการประชุมออนไลน์ด้วยเสียง สำหรับความสะดวกในการสืบค้นและถามตอบข้อมูลประวัติการประชุม

จุดเด่นคือ
-ประยุกต์ใช้ทั้ง เสียงและภาษา ได้เหมาะกับสถานการณ์
-ประยุกต์ใช้ประโยชน์ของการประชุมออนไลน์ ที่เสียงเข้าแยกตาม Channel เรียบร้อยมาใช้งานกับ Partii API ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-สามารถประยุกต์ใช้ความสามารถของ Sentiment analysis มาให้คะแนนข้อความได้อย่างดี
-อนาคต ถ้าทำสรุปความให้เสร็จ จะมีประโยชน์และใช้งานได้จริง

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 50,000 บาท

ทีมที่ 10 Lorem Dimsum
ชื่อผลงาน TelePet
แนวคิด วินิจฉัยและรักษาสัตว์เลี้ยงของคุณด้วยสัตว์แพทย์ของคุณจากระยะไกล ทุกที่ทุกเวลา ทุกที่ด้วย AI Virtual Assistant

จุดเด่นคือ
-ประยุกต์ใช้งาน ทั้งเสียงและภาษา ได้อย่างน่าสนใจ
-Present ดี และพร้อมเป็นอุตสาหกรรม
-ประยุกต์ใช้การถอดความจาก VDO มาช่วยถอดความจากวีดีโอเจ้าของสัตว์เลี้ยง
-ปรับใช้ ThaiMoji เพื่อช่วยบอกอารมณ์ข้อความที่ถอดได้ อย่างน่าสนใจ

รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 30,000 บาท

ทีมที่ 14 T2C
ชื่อผลงาน “URAI:สถาปัตยกรรมการถ่ายทอดเสียงภาษาไทยกลางและถิ่นแบบ Real-Time โดยอาศัย AI For Thai”
แนวคิด โครงการที่ริเริ่มขึ้นเพื่อที่จะแก้ปัญหาการสื่อสารดังกล่าว ในโครงการนี้ ผู้สื่อข่าวจากส่วนกลางสามารถเขียนข่าวเป็นภาษาไทยกลางได้โดยตรง หลังจากนั้นสถาปัตยกรรม URAI จะทำการแปลงเนื้อข่าวดังกล่าวเป็นภาษาไทยถิ่นโดยอัตโนมัติและทำการออกอากาศแบบ Real-time โดยอาศัยการช่วยเหลือของระบบ AI For Thai , ระบบ Deep Learning TTS ที่พัฒนาขึ้นมาเฉพาะ และระบบการออกอากาศสดที่สามารถใช้งานระบบ Augmented Reality เพื่อเพิ่มความน่าสนใจและเข้าใจง่ายของการรายงานข่าวสารยิ่งขึ้น ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการนี้นั้นนอกจากจะมีประโยชน์โดยตรงกับทั้งการสื่อสารข่าวในสถานการณ์ Post-Covid แล้วยังจะเป็นต้นแบบในการต่อยอดระบบ AI For Thai เข้าไปที่สายงานการรายงานข่าว และ สายงาน Augmented Reality/Virtual Reality อีกด้วย

จุดเด่นคือ
-สามารถประยุกต์ API ของ AI for Thai เพื่อต่อยอดให้เป็น Plug-in เพื่อใช้กับ UNREAL เพื่อประโยชน์การใช้งานได้ในอนาคต

รางวัลชมเชย ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 10,000 บาท

ทีมที่ 5 AI101
ชื่อผลงาน Covid Spread Area
แนวคิด ระบบตรวจจับการใส่หน้ากากอนามัย และการแพร่เชื้อจากการไอหรือจาม พร้อมระบุตำแหน่งในพื้นที่จำกัด

จุดเด่นคือ
-ต่อยอดเทคโนโลยี Action Detection เพื่อหาคนไอ/จาม ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์
-ถ้าวัดขนาดห้องได้ จะสามารถพัฒนาไปหาระยะห่างระหว่างบุคคลได้ด้วย

รางวัลชมเชย ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 10,000 บาท

ทีมที่ 12 Ramintra United
ชื่อผลงาน EpidEye: early warning and insight monitoring for future epidemic
แนวคิด แอพพลิเคชันจะทำการหา insight เกี่ยวกับข้อมูลโรคระบาดในเมืองต่างๆ จากแหล่งข่าว และโซเชียลมีเดียจากทั่วทุกมุมโลก และแจ้งเตือนได้อย่างทันทวงทีเพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการระบาดใหญ่ของโรค

จุดเด่นคือ
-ประยุกต์รวมเทคโนโลยีการรวบรวมข่าว มานำเสนอ ข่าวที่เกิดขึ้นในโลกโซเซียลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์ในการแจ้งเตือน ความเป็นไปได้ในการเกิดโรคระบาดในอนาคต

โดยตลอดระยะเวลา 38 ชั่วโมงของการแข่งขันที่เข้มข้นและท้าทาย สู่การนำเสนอผลงานสุดสร้างสรรค์ผ่านสายตาของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 7 ท่าน ได้แก่

-ศ.ดร.ธนารักษ์ ธีระมั่นคง จาก- สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร และสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย
-ผศ.ดร. สรณะ นุชอนงค์ จาก- สถาบันวิทย์สิริเมธี และสถาบันวิจัยปัญญาประดิษฐ์ ประเทศไทย
-ดร.ชาญวิทย์ บุญช่วย จาก- บริษัท SYNPES ประเทศไทย และ Bangkok AI
-ดร.ทัดพงศ์ พงศ์ถาวรกมล จาก- กสิกร บิซิเนสเทคโนโลยี กรุ๊ป
-ดร.อลิสา คงทน จากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
-ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ จากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
-ดร.อโณชา รักชาติเจริญ จากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

ผลงานจากผู้ชนะทั้ง 5 ทีม จะถูกนำไปเผยแพร่บน aiforthai.in.th เพื่อเปิดให้นักพัฒนาหรือผู้ที่สนใจเข้ามาลองใช้งานต่อไป

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

-AIS ประกาศแผน 5G ฟื้นฟูประเทศ สร้างการเติบโตยั่งยืน
-เอเซอร์ เปิดผลิตภัณฑ์ใหม่ในงาน Next@Acer เจาะกลุ่มไลฟ์สไตล์และองค์กร
-กสิกรไทย ตั้งบริษัทเทคโนโลยีในจีน เล็งพัฒนานวัตกรรมทางการเงินป้อนจีน-อาเซียน
-แกร็บ เปิดโครงการ Grab Loves Thais ตั้งเป้าช่วยคนไทย 1 แสนครัวเรือน
-3 พฤติกรรม New Normal ของคนไทยจาก Google Trends

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ