TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusiness3 พฤติกรรม New Normal ของคนไทยจาก Google Trends

3 พฤติกรรม New Normal ของคนไทยจาก Google Trends

ไมเคิล จิตติวาณิชย์ Head of Marketing บริษัท Google Thailand จำกัด กล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมา Google มองเห็นแนวโน้มพฤติกรรมของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปใน 3 แนวทาง คือ Start/Stop เริ่มแล้วเลิก, Step/Change เริ่มแล้วทำต่อไป และ Speed up กระแสรองเป็นกระแสหลัก ซึ่งแนวโน้มทั้งสาม Google นำข้อมูลมาจาก Google Trends ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ให้ข้อมูล insights เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจ

ซึ่งแตกต่างจากเครื่องมืออื่นที่จะได้เนื้องานอย่างเป็นรูปธรรม เพราะเป็นการใช้เพื่อดูข้อมูล ได้ข้อมูลเชิงลึกเพื่อเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจได้ดีขึ้น อาทิ Home Pro มีการใช้ Google Trends จับแนวโน้มคำค้นที่เป็นที่สนใจของตลาด อาทิ จักรเย็บผ้า ซึ่งทาง Home Pro ก็มีการวางแผนการทำการตลาดเพื่อรองรับแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคนี้

เทรนด์แรก เรียกว่า “Start/Stop เริ่มแล้วเลิก” อาทิ การค้นหาเกี่ยวกับ โควิด-19 ช่วงแรก ๆ คนจะค้นหาเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยทางร่างกาย ต่อมาเริ่มค้นหาของที่เกี่ยวกับความต้องการด้านจิตใจ

ช่วงโควิด-19 ที่มีการล็อคดาวน์ คนค้นหาของสวยงามลดลง 5% แต่กลับค้นหาเกี่ยวกับ D.I.Y เพิ่มขึ้น 2 เท่าในเดือนเมษายนเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งปัจจุบันการค้นหานี้เริ่มลดลงและมีแนวโน้มกลับไปก่อนหน้าโควิด-19

ทว่าการค้นหาบางสิ่งในช่วงโควิด-19 ลดลงจากช่วงปกติ อาทิ การค้นหาครีมกันแดด ปกติจะถูกค้นหามากช่วงเดือนเมษายน ซึ่งหลังการปลดล็อคดาวน์การค้นหากลับมาสู่ภาวะปกติเทียบกับเดือนนี้ของปีที่แล้ว

นอกจากค้นหาบนออนไลน์แล้ว Google Thailand ยังเปิดเผยว่า Mobility report ของ Google แสดงให้เห็นว่าคนเริ่มกลับมาเดินมากขึ้นหลังจากที่รัฐบาลปลดล็อคดาวน์

เทรนด์ต่อมา คือ “Step/Change เริ่มแล้วทำต่อไป” คนต้องการข้อมูลที่จะช่วยพัฒนาความรู้ของตัวเอง เช่น มีการค้นหาเกี่ยวกับเรื่องเรียนบนยูทูปเพิ่มขึ้น 2 เท่า และเกิดการค้นหามากในต่างจังหวัด อาทิ หนองบัวลำพูน อุตรดิตถ์ เป็นต้น เช่นเดียวกันกับการค้นหาคำค้นใน Google Search พบว่า คำว่า สอนออนไลน์ เรียนออนไลน์ คอร์สออนไลน์ เป็นคำที่ถูกค้นหาเพิ่มมากขึ้นหลายเท่าตัว และมีโอกาสที่จะถูกค้นหาเพิ่มขึ้นในอนาคต

เทรนด์สุดท้าย คือ “Speed up กระแสรองเป็นกระแสหลัก” เป็นเทรนด์ที่มีการค่อย ๆ เติบโต และมีการเติบโตเร็วมากช่วงโควิด-19 ตัวอย่างแรก คือ food delivery หรือการส่งอาหาร ช่วงก่อนโควิด-19 เทรนด์ค่อย ๆ เพิ่มอย่างสม่ำเสมอ ช่วงล็อคดาวน์ การค้นหาเพิ่มขึ้น 4 เท่าตัว มีการค้นหามากที่สุดในนกรุงเทพฯ​ และตามหัวเมืองใหญ่ ๆ

นอกจากนี้ เทรนด์ที่ถูกค้นหาเพิ่ม คือ การทำอาหาร การค้นหาเมนู วิธีการทำอาหาร มีการค้นหาเพิ่มมากขึ้น 2 เท่าตัวช่วงโควิด-19 ซึ่งที่พีคที่สุด คือ การค้นหาหม้อทอดไร้น้ำมัน เพิ่มขึ้น 2,400% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

เทรนด์การค้นหา e-commerce ก็เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดช่วงล็อคดาวน์เช่นกัน อาทิ เครื่องงจักรเย็บผ้า เครื่องวิดีโอเกมส์ แล๊ปท็อป เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นของที่ใช้ที่บ้าน นอกจากนี้ คนไม่ได้ค้นหาแค่สินค้าแต่ค้นหาร้านค้าที่ขายของใช้ที่บ้านเพิ่มมากขึ้นถึง 3 เท่าตัวเทียบกับก่อนหน้า จะเห็นว่าผู้บริโภคมองหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อที่จะเข้าถึงร้านค้ามากขึ้น ซึ่ง Google ชื่อว่าพฤติกรรมนี้จะเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังสถานการณ์โควิด-19

นอกจากนี้ยังมีเทรนด์ของการค้นหาเกี่ยวกับ cashless payment ที่เพิ่มมากขึ้นช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะคำว่า “PromptPay” และ “เราไม่ทิ้งกัน” ถูกค้นหาอย่างมาก Google มองว่า คนต้องการจับเงินสดน้อยลง จึงเริ่มค้นหาเกี่ยวกับ caseless เพิ่มมากขึ้น

การค้นหาเกี่ยวกับ mobile baking ในไทย ที่มีการเติบโตอย่างต่เนื่องก่อนช่วงล็อคดาวน์ และมีการค้นหาแบบก้าวกระโดดในช่วงล็อคดาวน์ เพราะคนไปธนาคารได้น้อยลงและคนต้องการสัมผัสเงินสดให้น้อยลง Google เชื่อว่าเทรนด์นี้จะยังคงเป็นต่อไป เพราะผู้บริโภคมีความคุ้นเคยและสะดวกกับสิ่งเหล่านี้เขาจะยังใช้ต่อไป

หากมองในฐานะผู้ประกอบกาธุรกิจ ต้องมองว่าธุรกิจของตัวเองเข้ากับเทรนด์ไหน ธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งจะอยู่ในมากกว่า 1 เทรนด์ อาทิ ร้านอาหารอยู่ทั้ง Start/Stop แต่หากร้านนั้นมีบริการ food delivery ก็จะเข้าเทรนด์ Step/Change ซึ่งหากเขามีการขยายการรับชำระด้วย cashless ก็จะเข้ากับเทรนด์​ Speed up

“อยากให้ผู้ประกอบการใช้ Google Trends เพื่อรู้เท่าทันพฤติกรรมของผู้บริโภค เพื่อจะได้ปรับตัวได้ทัน”

ไมเคิล กล่าวว่า Google ช่วยผู้ประกอบการใน 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นการให้ความรู้ Primer เป็นแอปฯ ที่โหลดและใช้ได้ฟรี เพื่อให้ธุรกิจสามารถใช้เครื่องดิจิทัลต่าง ๆ ของ Google ในการทำธุรกิจ และยังมี Skill Shop สอนเจาะลึก อาทิ สอนทำโฆษณาบน YouTube เป็นต้น และยังมี Academy Bangkok ออนไลน์ ซีรีส์ เป็นต้น ส่วนที่สอง คือการพัฒนาฟีเจอร์ต่างๆ บนเครื่องมือที่ให้ใช้ฟรี อาทิ Google My Business ให้ร้านค้าใส่บริการ take out/delivery และ Google Trends ที่ให้บริการฟรีอยู่แล้ว

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ