TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessใครยอดขายหด แต่ Convenience Food Store ยังฉลุย

ใครยอดขายหด แต่ Convenience Food Store ยังฉลุย

เป็นที่รู้กันว่า เจ้าตลาดร้านสะดวกซื้อ (Convenience Store) คงเป็นใครไม่ได้ ต้องซีพี ออลล์ (7-11) แน่นอนด้วยจำนวนสาขาที่มีมากถึง 11,000 สาขา และยอดขายหลายแสนล้าน แต่ตลาดนี้ก็ยังหอมหวน ชวนให้มีผู้เล่นให้ใหม่ ๆ เข้ามาในตลาดอย่างต่อเนื่อง เพราะเม็ดเงินมหาศาล จากอัตราการเติบโตของตลาดที่โตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรง

-ออริจิ้น มั่นใจสมาร์ทคอนโดยังโตได้ เตรียมเปิดขายโครงการแบบไม่มีสำนักงานขาย
-เดอะมอลล์ จะเป็นทั้งปลาใหญ่และปลาเร็ว ในธุรกิจค้าปลีก ได้ไหม

มีตัวเลขจากเวิล์ดแบงค์ ระบุว่า ร้านค้าปลีก (ร้านสะดวกซื้อ ไฮเปอร์มาร์เก็ต และซูเปอร์มาร์เก็ต) ในประเทศไทย ยังสามารถขยายตัวได้อีกมาก หากเทียบกับหลาย ๆ ประเทศ เช่น ประเทศเกาหลีใต้ ร้าน 1 สาขา รองรับลูกค้า 1,400 คน ในขณะที่ประเทศไทยปัจจุบัน 1 สาขา รองรับลูกค้าเกือบ 5000 คน เป็นเครื่องรับประกันว่า มีที่ว่างสำหรับผู้เล่นใหม่ ๆ ได้ช่วงชิงส่วนแบ่งทางการตลาดได้

ตัวเลขภาพรวมของตลาดค้าปลีกเมืองไทยปี 2562 มีมูลค่าตลาด 3.6 ล้านล้านบาท มีอัตราการเติบโตต่อปี 3.5-3.8% แต่ใครจะนึกว่า ช่วงครึ่งปีแรกของ ปี 2563 ที่หลาย ๆ ธุรกิจ ประสบปัญหาเรื่องยอดขายตก จากผลกระทบการระบาดของโควิด-19 แต่ร้านสะดวกซื้อ แม้จะถูกจำกัดเวลาเปิด – ปิดร้าน ไม่ได้เปิด 24 ชั่วโมงเหมือนเคย แต่ไม่ค่อยได้รับความเดือดร้อน เพราะก่อนหน้านั้น ร้านสะดวกซื้อหลายราย ไม่ได้มีเฉพาะหน้าร้าน แต่ยังมีตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine) ชนิดว่ายิ่งใกล้ (ลูกค้า) ยิ่งได้ตัง แถมตัดปัญหาข้อจำกัดในการเปิดสาขาในรูปแบบปกติทั้งเรื่องพื้นที่และระยะเวลาในการก่อสร้าง

7- Eleven เข้าใจดีว่าสังคมเมืองกลายเป็นสังคม Vertical Living ที่คนอาศัยในคอนโดมิเนียมมากขึ้น มีการประสานกับ นิติบุคคลคอนโดฯ เพื่อตั้งตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติตามใต้คอนโดมิเนียม ให้บริการ 24 ชั่วโมง มีทั้งอาหารทานง่ายและเครื่องดื่ม ลูกค้าเพียงลงมาชั้นล่างก็อิ่มได้ ตามสโลแกนที่ 7- Eleven บอกไว้ว่า “หิวเมื่อไหร่ก็แวะมา” ในขณะที่ ทั้งแฟมิลี่มาร์ท และ ท็อปส์ เดลี่ ตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติเช่นกัน ภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘หิวมั้ย กดเลย’

ประเมินกันว่าผลประกอบการของ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ในปี 2563 คงไม่น้อยกว่าทุก ๆ ปีที่ผ่านมาหนำซ้ำอาจจะมีผลกำไรเพิ่มมากขึ้นด้วย เพราะมีแอปพลิเคชัน 7-Delivery ที่สามารถสั่งสินค้าได้ โดยไม่ต้องไปสาขา ชนิดที่สนอตอบความต้องการของลูกค้าได้ฉับไว รวดเร็ว

ผลประกอบการที่ผ่าน ๆ มา ของ ซีพี ออลล์

  • ปี 2561 รายได้ 335,532,689,730 บาท กำไร 19,944,419,065 บาท
  • ปี 2560 รายได้ 302,584,320,433 บาท กำไร 16,617,696,792 บาท
  • ปี 2559 รายได้ 278,245,771,115 บาท กำไร 14,099,057,402 บาท

ข้อมูลนี้อ้างอิงจากสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และ ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

ในขณะที่ ร้านแฟมิลี่มาร์ท ร้านสะดวกซื้อที่เกิดจากากรร่วมทุนระหว่างญี่ปุ่นกับไทย ประกอบธุรกิจนี้มานานกว่า 27 ปี ก่อนหน้านี้ผลประกอบ ประสบภาวะขาดทุนอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้จาก

  • ปี 2562 รายได้ 16,754,827,537 บาท ขาดทุน 182,507,030 บาท
  • ปี 2561 รายได้ 17,884,654,805 บาท ขาดทุน 360214801 บาท
  • ปี 2560 รายได้ 17,441,084,851 บาท ขาดทุน 276347244 บาท

ข้อมูลนี้อ้างอิงจากสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และ ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

หลังจากที่ทาง เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น (CRC) ประกาศเข้าซื้อหุ้นแฟมิลี่มาร์ทเต็ม 100% เมื่อ วันที่ 27 พฤษภาคม 2563 ก็ดูเหมือนว่าจะมีทิศทางการเคลื่อนไหวมากขึ้น มีการปรับโฉม การปรับโมเดลหลาย ๆ อย่างให้เข้ากับยุคสมัย โดยเฉพาะล่าสุดได้เปิดเกมรุกตลาดร้านสะดวกซื้อ รับสมัครแฟรนไชส์ในการร่วมกันขยายสาขา ให้ทุกคนที่สนใจเป็นเจ้าของร้านได้แม้ไม่มีพื้นที่หรืออาคารส่วนตัว ได้เปิดรับสมัครแฟรนไชส์รูปแบบใหม่ ด้วยเงินลงทุนเริ่มต้น 4.4 แสนบาท มีการการันตีรายได้ขั้นต่ำ 30,000 บาท/เดือน ในระยะเวลา 1 ปี พร้อมทีมเทรนนิ่งมืออาชีพอบรมให้ความรู้ เป็นที่ปรึกษา ระยะสัญญาแฟรนไชส์นานถึง 6 ปี พร้อมจัดหาสินเชื่อเพื่อการลงทุนกับธนาคารชั้นนำ

ตั้งเป้าสิ้นปี 2563 ขยายสาขาแฟรนไชส์แฟมิลี่มาร์ทเพิ่มอีกกว่า 100 สาขา ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยมีอยู่ทั้งหมด 1,040 สาขา นับว่าเป็นการขยายสาขาที่ช้ามากเมื่อเทียบกับ 7-Eleven ที่นอกจากตอนนี้มีถึง 11,000 สาขาแล้ว ยังมีแผนขยายสาขาให้ครบ 13,000 สาขา ปี 2564

ก่อนหน้านี้ แฟมิลี่มาร์ทมีการจับมือร่วมกับคอนโดมิเนียม ภายใต้คอนเซ็ปต์ “One Stop Shopping Destination” นำเสนอสินค้านำเข้า ตั้งแต่ อาหาร เครื่องดื่ม เมนูพร้อมทานและกาแฟสด Arigato พร้อมพื้นที่ Open Space ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของลูกบ้านยุคมิลเลนเนียล ในทุกโครงการ XT ของ แสนสิริ ได้แก่ XT EKKAMAI, XT HUAIKHWANG และ XT PHAYATHAI  ตลอดจนโครงการ XT ในอนาคต

น้องใหม่อย่าง บริษัท สห ลอว์สัน จำกัด ร้านค้าสะดวกซื้อภายใต้ชื่อ ลอว์สัน 108 แม้เพิ่งเปิดดำเนินธุรกิจได้เพียง 7 ปีกว่า แต่มีทีเด็ดที่ร่วมกับจัดตั้ง บริษัท SLV Retail จำกัด ทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท สหลอว์สันถือหุ้น 60%, บริษัท วีจีไอ โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) 30% และบริษัท สหพัฒนา อินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) 10% โดย SLV จะดูแลการขยายสาขาลอว์สัน บนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีเขียวปัจจุบัน และรถไฟฟ้าสายใหม่ ๆ ของกลุ่มบีทีเอส ซึ่งครึ่งปีหลังของปี 2563 สห ลอว์สัน จะมีสาขาเพิ่มขึ้น 15 แห่ง จากเดิมมีสาขาทุกประเภทรวมกัน 123 สาขา

อาจส่งให้ผลประกอบการของ สห ลอว์สัน ติดลบน้อยลง

  • ปี 2562 รายได้ 2,957,178,854 บาท ขาดทุน 79,306,316 บาท
  • ปี 2561 รายได้ 2,903,943,864 บาท ขาดทุน 79,986,281 บาท
  • ปี 2560 รายได้ 2,376,456,610 บาท ขาดทุน 230,107,660 บาท
  • ปี 2559 รายได้ 2,169,460,103 บาท ขาดทุน 108,802,895 บาท

ข้อมูลนี้อ้างอิงจากสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และ ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

เมื่อแนวโน้มร้านสะดวกซื้อมีการแข่งขันกันรุนแรง เพื่อช่วงชิงเม็ดเงินจากผู้บริโภค ตอนนี้เกิดปรากฏการณ์ข้าม segment มากขึ้น  เมื่อ Tesco Lotus เปิด Tesco Lotus Express  โดยใช้โมเดลเดียวกับ 7- Eleven เพราะเชื่อว่า ยิ่งใกล้ลูกค้ายิ่งได้เปรียบ จึงตั้งเป้าขยายสาขาเพิ่มอีก 750 สาขา ภายใน 3 ปี ซึ่งเดิมมีแผนจะเปิดเพียง 50 สาขา ต่อปี จากปัจจุบันมีสาขาทั่วประเทศ 1,600 สาขา ส่งผลให้ Tesco Lotus Express รวม 2,350 สาขาบริการภายในปี 2565  ภายในร้านจะให้บริการกาแฟ Tesco Coffee โดยใช้ผลิตภัณฑ์เมล็ดกาแฟจากดอยตุง บริการไปรษณีย์ 24 ชั่วโมง โดยเป็นจุดรับส่งของไปรษณีย์ไทย และมีผลิตภัณฑ์ “แดรี่ ควีน” อีกด้วย

ฟาก Big C ห้างค้าปลีกในกลุ่ม บีเจซี ก็เปิดร้าน Big อะไรไม่ใหญ่….. ก็ Big C Mini ไง เพราะเชื่อว่า Big C Mini หัวหอกสำคัญที่จะเข้ามาขับเคลื่อนการเติบโต ยิ่งสาขาเยอะจะยิ่งสร้างยอดขายได้มาก จากสินค้าอุปโภค บริโภค โดยเฉพาะอาหารพร้อมทาน จึงพยายามขยายสาขา ตามสโลแกน “สะดวกใกล้บ้านคุณ” โดยจะมีการลงทุนใน Big C Mini เพิ่ม 300 สาขา ลงทุนสาขาละ 5-7 ล้านต่อสาขา จากปัจจุบันที่มีสาขาของมินิ บิ๊กซี  1,016 สาขา 

ล่าสุด ปตท. ไม่ได้ขายเฉพาะน้ำมันอย่างเดียว แต่หันมาทำค้าปลีกด้วย ในชื่อ PTT OR เป็นการช่วงชิงลูกค้าที่เข้าไปใช้สถานีบริการน้ำมัน แล้ว อยากซื้อกาแฟ ขนมนมเนย เช่น Café Amazon ร้านชานมไข่มุก “เพิร์ลลี่ที” โดนัท Daddy Dough ขนมจีบซาลาเปาฮั่วเซ้งฮง ไก่ทอด Texas Chicken ไม่นับรวมผลิตภัณฑ์สินค้าของดีแต่ละจังหวัดที่ PTT OR คัดสรรมานำเสนอลูกค้า เมื่อรถมากขึ้น จำนวนผู้เข้าสถานนี้น้ำมันมากขึ้น สถานีน้ำมันต้องขยายจำนวนมากขึ้น ก็เป็นการขยายสาขาค้าปลีก PTT OR ไปในตัว

จากข้อมูลข้างต้น ลองเอาเฉพาะตัวเลขรายได้ของ ร้านสะดวกซื้อ 5-6 รายนี้มารวมกัน จะรู้ว่า ทำไมการแข่งขันถึงรุนแรง ในขณะที่ค้าปลีกอื่น ๆ อาจได้รับผลกระทบแต่บอกเลยว่า ร้าน (อาหาร) สะดวกซื้อ ยังอนาคตไกล ขยายสาขาได้อีกมาก เพราะลูกค้ายิ่งได้รับความสะดวก รวดเร็ว บริษัทก็ยิ่งมีกำไร

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

-ENRES คว้าสุดยอดดิจิทัลสตาร์ตอัพไทย ชูโซลูชั่นพลังงานต่อยอดเมืองอัจฉริยะ
-บล.บัวหลวง มองหุ้นไทยครึ่งหลังแกว่งตัว แนะลงทุน “หุ้นเติบโต” ผสม “หุ้นปันผล”
-WHO ติดต่อผู้เชี่ยวชาญเตรียมค้นหา ‘แหล่งโรคติดเชื้อจากสัตว์ที่ก่อโควิด-19’
-ทีเอ็มบี เปิดฟีเจอร์ตรวจสอบวงเงินผ่านระบบ USSD แบบเรียลไทม์

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ