TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistขยะติดเชื้อ เรื่องเล็ก ๆ ที่อาจสร้างวิกฤติใหญ่ ๆ ในอนาคต

ขยะติดเชื้อ เรื่องเล็ก ๆ ที่อาจสร้างวิกฤติใหญ่ ๆ ในอนาคต

ขยะ เป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการและต้องมีการกำจัดทิ้ง แบ่งออกได้หลายประเภท เช่น ขยะทั่วไป ขยะย่อยสลายได้ ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย แต่ในสถานการณืปัจจุบัน เรามักจะได้ยิน ขยะติดเชื้อ คือ มูลฝอยที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ มีความเป็นอันตราย

ปกติในประเทศไทยมีขยะติดเชื้อจำนวนมาก ที่เกิดขึ้นในสถานพยาบาลทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนทั่วประเภท มากกว่า 37,000 แห่ง สถานพยาบาลเหล่านี้ มีขยะติดเชื้อทุกวัน วันละ 65 ตัน  โดยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลประมาณ 20 ตันต่อวัน และส่วนภูมิภาคอีก 45 ตันต่อวัน และจากสถานการณ์ การแพร่ระบาดโควิด-19 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 ทำให้เกิดขยะติดเชื้อจำนวนมากขึ้น กรมอนามัย คาดว่า มากกว่า 20 ตันต่อวัน และขยะติดเชื้อหลากหลายชนิดมากขึ้น ไม่ใช่แต่เฉพาะในสถานพยาบาลเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงครัวเรือนทั่วไปด้วย 

ทั้งในส่วนของหน้ากากอนามัยที่ทุกคนต้องสวมใส่ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย (TDRI) ชี้ว่า โควิด-19 ทำให้คนใช้หน้ากากอนามัยเพิ่มขึ้นจาก 800,000 ชิ้น เพิ่มมากกว่า 1,500,000 ชิ้น ต่อวัน และมีแนวโน้มมากขึ้นกว่านี้ เนื่องจากมีการรณรงค์ให้ใส่หน้ากากใส่มากกว่า 1 ชิ้น และไม่ใช่หน้ากากผ้า ที่สามารถนำมา ทำความสะอาดและใช้ซ้ำได้ สอดคล้องกับข้อมูลของกรุงเทพมหานคร พบว่า ตั้งแต่ 1 เมษายน – 5 พฤษภาคม ที่ผ่านมา “ขยะหน้ากากอนามัย” จากที่พักอาศัย โรงพยาบาลสนาม และสถานที่กักตัว มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 547.93 ตัน เฉลี่ย 16.12 ตันต่อวัน

นอกจากนี้ ยังมีขยะที่เกิดจากการกักตัวในพื้นที่กักกันตัวแห่งรัฐ (State Quarantine) จนมาถึงผู้ป่วยโควิดในโรงพยาบาลใน Hospital ภาชนะบรรจุอาหาร รวมถึง ช้อน ซ่อม ขวดน้ำ หลอดดูดน้ำ ที่ผ่านมือผู้ถูกกักกัน ผู้ป่วยจากการรับประทานอาหาร 3 มื้อในช่วงการกักตัว 14 วัน สำนักสิ่งแวดล้อมประเมินว่า ผู้กักตัว 1 คน จะสร้างขยะติดเชื้อวันละ 0.7-0.9 กิโลกรัม 

ไม่นับรวมขยะติดเชื้ออื่น ๆ ซึ่งเกิดจากอาสาสมัคร บุคลากรทางการแพทย์ที่ให้การดูแล รักษาผู้ป่วยโควิด เช่น อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment, PPE) ที่ประกอบไปด้วย ถุงมือยาง หน้ากากอนามัย เครื่องกรองอากาศที่จัดส่งอากาศให้ หมวกคลุมผม ชุดคลุมปฏิบัติการ รองเท้า ถุงหุ้มข้อเท้า แว่นตา แว่นครอบตานิรภัย และกระบังป้องกันใบหน้า แม้กระทั่งอุปกรณ์การแพทย์  

ขยะติดเชื้ออีกประเภทที่มีจำนวนมาก ประมาณ 300 ล้านชิ้น คือ เข็มและหลอดฉีดยาแบบใช้แล้วทิ้งที่ทำด้วยพลาสติก สำลีชุบแอลกอฮอล์ และพลาสเตอร์ ซึ่งขยะติดเชื้อประเภทนี้ยังมีอยู่ไม่มากหากนับตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 วันแรกที่ประเทศไทยเริ่มฉีดวัคซีน โควิด-19 ของซิโนแวค ไบโอเทค จนถึงวันที่ 28 มิถุนายน 2564 มีผู้ฉีดวัคซีนไปแล้ว 9,721,038 โดส เท่ากับว่า เรามีขยะติดเชื้อที่เป็น เข็มและหลอดฉีดยาแบบใช้แล้วทิ้งที่ทำด้วยพลาสติก สำลีชุบแอลกอฮอล์ และพลาสเตอร์ ไม่น้อยกว่าจำนวนโดสที่ฉีดไป  

ตัวเลขจากกรมควบคุมมลพิษพบว่า ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน ถึง 31 ธันวาคม 2563 มีขยะติดเชื้อถึง 17.89 ตัน จากจุดทิ้ง 2,690 แห่งทั่วประเทศ ในขณะที่ นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย ยืนยันว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้มีมูลฝอยติดเชื้อตั้งแต่เดือน มกราคาม – เมษายน 2564 เพิ่มขึ้นจากเดิม 22.9% หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 28.4 ตันต่อวัน

วิธีการกำจัดขยะเหล่านี้ ส่วนใหญ่ใช้วิธีเผากำจัดในเตาเผา เพราะว่าเป็นวิธีทำลายเชื้อโรคที่ดีที่สุด โดยผ่านเตาเผา 2 ห้อง ได้แก่ ห้องเผาขยะติดเชื้อ (อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 760 องศาเซลเซียส) และห้องเผาควัน (อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 1,000 องศาเซลเซียส) หลังจากเผาเสร็จจะได้ขี้เถ้าที่ไร้เชื้อโรคแล้ว สามารถนำไปฝังกลบเหมือนกับขยะทั่วไป

จำนวนเตาเผาขนาดใหญ่มี 10 แห่ง ได้แก่ ที่ นครพนม อุบลราชธานี นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี กรุงเทพ ระยอง ภูเก็ต ยะลา (เพิ่งเปิดทำการเมื่อปีพ.ศ.2562 ที่ผ่านมา) และมีเตาเผาอีก 67 แห่งที่เผากำจัดขยะในแหล่งกำเนิดเอง 

นอกจากนี้ ปัจจุบันยังมี เตานึ่งฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำ (Autoclave) จำนวน  6 แห่งในจังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง  หนองคาย ขอนแก่น นครพนม ด้วย

ดังนั้น วิธีการกำจัดขยะติดเชื้อแบบถูกวิธีจึงมีความจำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะขยะติดเชื้อ จากบ้านเรือนที่อยู่อาศัย เพราะมิเช่นนั้นจะขยะติดเชื้อดังกล่าว จะกลายเป็นแหล่งแพร่เชื้อเพิ่มมากขึ้น

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ