TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessจับทิศทางตลาดโทรคมนาคมไทย หลังการควบรวมกิจการ

จับทิศทางตลาดโทรคมนาคมไทย หลังการควบรวมกิจการ

การควบรวมกิจการในธุรกิจโทรคมนาคมของไทยเป็นประเด็นใหญ่ที่ถูกจับตาในวงกว้างจาก 2 ดีลใหญ่ที่เสร็จสิ้นภายในปีเดียวกันทั้งการควบรวมระหว่าง True-Dtac ในตลาดการบริการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือเมื่อไตรมาสแรกปี 2023 และ AIS -3BB ในตลาดอินเทอร์เน็ตประจำที่เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าการควบรวมกิจการของทั้ง 2 ดีลนั้น จะส่งผลให้ตลาดโทรคมนาคมในภาพรวมของไทยเปลี่ยนแปลงไปทั้งในแง่ของการแข่งขันในการให้บริการ รวมถึงทิศทางการลงทุน

อย่างไรก็ดี การควบรวมกิจการในธุรกิจโทรคมนาคมไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในไทยเท่านั้น แต่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องในต่างประเทศ โดยผลของการควบรวมกิจการในบางประเทศก็ไม่กระทบต่อทิศทางของตลาดในภาพรวมมากนัก ขณะที่ในบางประเทศส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายมิติ

ภาวะตลาดโทรคมนาคมทั่วโลกเป็นอย่างไร….ทำไมถึงเกิดกระแสการควบรวมกิจการ

ปัจจุบันผู้ให้บริการโทรคมนาคมในหลายประเทศกำลังเผชิญกับแรงกดดันของการเติบโตด้านรายได้ที่มีทิศทางชะลอตัวลง ขณะที่ยังต้องการเม็ดเงินลงทุนสูงเพื่อพัฒนาคุณภาพบริการ ทำให้ผู้ให้บริการทั่วโลกต้องเร่งปรับตัวเพื่อให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

ผู้ให้บริการโทรคมนาคมส่วนใหญ่จะให้บริการในธุรกิจหลัก 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ 1) การให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ (Mobile) 2) การให้บริการอินเทอร์เน็ตประจำที่ (Broadband) และ 3) ธุรกิจด้านเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น บริการด้านความบันเทิง เป็นต้น โดยขอบเขตการให้บริการของผู้ให้บริการแต่ละรายมีทั้งเน้นให้บริการประเภทใดประเภทหนึ่งหรือให้บริการครอบคลุม

ทั้ง 3 ประเภท โดยจากรายงาน The mobile economy 2023 ของ GSMA คาดการณ์ว่า อัตราการเติบโตของรายได้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมทั่วโลกมีแนวโน้มชะลอตัวจาก 1.5-2.5% YOY ในปี 2023 เป็น 0.6-1.0% YOY ในปี 2030 เนื่องจากข้อจำกัดหลายประการทั้งจำนวนผู้ใช้บริการที่เข้าใกล้จุดอิ่มตัวทำให้การขยายฐานลูกค้าเป็นไปได้ยาก และการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรงอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน ผู้ให้บริการต้องลงทุนเพิ่มเติมในเทคโนโลยีใหม่ ๆ ราว 14-18% ของรายได้ในแต่ละปี เช่น การลงทุนพัฒนาโครงข่าย 5G ของผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือที่มีสัดส่วนการลงทุนมากกว่า 90% ของเงินลงทุนทั้งหมด ส่งผลให้ผู้ให้บริการหลายรายต้องมองหาโอกาสที่จะทำให้รายได้ของธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งกลยุทธ์หลักที่ผู้ให้บริการโทรคมนาคมพิจารณา ได้แก่

  1. การขยายขอบเขตธุรกิจให้ครอบคลุมบริการด้านเทคโนโลยี ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มรายได้จากบริการใหม่แล้ว ยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการใช้งานบริการหลักอย่างอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอีกด้วย โดยบริการด้านเทคโนโลยีที่ผู้ให้บริการขยายขอบเขตการให้บริการนั้นมีทั้งบริการสำหรับผู้บริโภคอย่างเช่น Video/Music streaming, Cloud storage
    และการบริการติดตั้ง Smart home devices ซึ่งสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน สอดคล้องกับผลสำรวจการใช้งานอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคของ GSMA Intelligence ในปี 2023  พบว่า ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่มองหาบริการเสริมในรูปแบบแพ็กเกจ Bundle จากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตมากขึ้น นอกจากนี้
    บริการด้านเทคโนโลยียังรวมไปถึงบริการสำหรับลูกค้าองค์กร เช่น การให้บริการออกแบบระบบจัดเก็บ Big data บริการด้าน Data analytic การพัฒนาระบบ AI และ Robotic การให้บริการ Data center และ Cloud service เป็นต้น ซึ่งสอดรับกับกระแสการปรับใช้เทคโนโลยีในองค์กร
  2. การควบรวมกิจการ (Mergers and Acquisitions : M&A) เป็นอีกเทรนด์สำคัญในธุรกิจโทรคมนาคมทั่วโลกด้วยลักษณะธุรกิจที่ต้องมีการลงทุนพัฒนาคุณภาพโครงข่ายอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทันต่อเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ดังนั้น การควบรวมจึงเป็นกลยุทธ์ที่จะช่วยสร้างการเติบโตของรายได้ ประหยัดเม็ดเงินลงทุนและทำให้เกิดการประหยัดเชิงขนาด (Economy of scale) รวมถึงสามารถขยายตลาดการให้บริการได้กว้างขึ้น เช่น การควบรวมระหว่าง Indosat Ooredoo และ Hutchison 3 ของอินโดนีเซีย ทำให้รายได้ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2023 เติบโตจากก่อนการควบรวมในช่วงไตรมาส 1 ปี 2022 ราว 15%-17% นอกจานี้ จากรายงานของ Bain & Company พบว่า การควบรวมกิจการในธุรกิจโทรคมนาคมทั่วโลกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงปี 2017-2022 มูลค่ารวมอยู่ที่ราว 8.1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้ง ยังมีอีกหลายดีลที่คาดว่าจะประกาศในระยะข้างหน้า

เทรนด์การควบรวมที่พบเห็นได้ในปัจจุบันแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบหลัก ได้แก่

  1. การควบรวมระหว่างธุรกิจโทรคมนาคมประเภทเดียวกัน เช่น การควบรวมระหว่างธุรกิจบริการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือด้วยกันเอง (Mobile-Mobile) หรือการควบรวมระหว่างธุรกิจบริการอินเทอร์เน็ตประจำที่ (Broadband-Broadband) ซึ่งการควบรวมรูปแบบนี้นอกจากผู้ให้บริการจะสามารถใช้โครงข่ายและโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ร่วมกันแล้ว ยังสามารถลดการลงทุนที่ทับซ้อนได้ในอนาคต อีกทั้ง การควบรวมจะสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดเหนือคู่แข่งได้อีกด้วย  
  2. การควบรวมกับบริการอื่นในธุรกิจโทรคมนาคม เช่น การควบรวมระหว่างธุรกิจโครงข่ายโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ตประจำที่ (Mobile-Broadband) ซึ่งจะทำให้ผู้ให้บริการสามารถขยายการให้บริการด้านโทรคมนาคมที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
  3. การควบรวมกับกิจการใน Supply chain เพื่อขยายตลาดไปยังธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น การเข้าซื้อกิจการด้าน Cybersecurity หรือการควบรวมกับธุรกิจด้านความบันเทิง ซึ่งจะช่วยต่อยอดธุรกิจไปสู่การพัฒนาบริการใหม่ ๆ ในขณะเดียวกัน ก็มีส่วนช่วยส่งเสริมให้เกิดการใช้งานบริการหลักอย่างอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นด้วย

แม้ว่าการควบรวมในธุรกิจโทรคมนาคมทั่วโลกจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่หน่วยงานภาครัฐและองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค ยังคงกังวลต่อทิศทางตลาดที่มีโอกาสกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้บริโภคหลังการควบรวม โดยเฉพาะในกรณีการควบรวมระหว่างธุรกิจโทรคมนาคมประเภทเดียวกันจากจำนวนผู้ให้บริการลดลง ซึ่งมีโอกาสส่งผลต่อระดับการแข่งขันในตลาดและมีความเสี่ยงที่ผู้ให้บริการจะมีอำนาจผูกขาดมากขึ้น สามารถกำหนดอัตราค่าบริการสูงขึ้นกว่าระดับที่มีการแข่งขัน อีกทั้ง ยังมีความเสี่ยงต่อแรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพสัญญาณและความเร็วในการ Download ข้อมูล  ซึ่งจะกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้บริโภค

ทั้งนี้ Body of European Regulators for Electronic Communications (BEREC) หน่วยงานกำกับกิจการโทรคมนาคมซึ่งเป็นองค์กรกลางในสหภาพยุโรปได้ศึกษาสภาพตลาดโทรคมนาคมภายหลังการควบรวม โดยพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของค่าบริการเฉลี่ยต่อเลขหมายต่อเดือน (Average Revenue Per Unit : ARPU) เป็นตัวชี้วัดซึ่งสามารถสะท้อนถึงอัตราค่าบริการ ที่ผู้ให้บริการนำเสนอ พบว่า อัตราค่าบริการเฉลี่ยในหลายประเทศที่มีการควบรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นในภาพรวมตามความกังวลของผู้บริโภค เช่น การควบรวมกิจการ Mobile-Mobile ของเนเธอร์แลนด์ในปี 2007 ระหว่าง T-Mobile และ Orange และ การควบรวมกิจการ Mobile-Mobile ของอินโดนีเซีย ในปี 2022 ระหว่าง Indosat Ooredoo และ Hutchison 3

อย่างไรก็ดี การกำหนดเงื่อนไขควบรวมของหน่วยงานกำกับให้สอดคล้องกับลักษณะตลาดของแต่ละประเทศ จะช่วยบรรเทาโอกาสการเกิดผลกระทบต่อผู้บริโภคจากความเสี่ยงในการเพิ่มขึ้นของอัตราค่าบริการ และช่วยรักษาผลประโยชน์ของผู้บริโภคให้สามารถเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสมได้ เช่น หน่วยงานกำกับในออสเตรียได้กำหนดเงื่อนไขการควบรวมธุรกิจ Mobile-Mobile ระหว่าง T-Mobile และ tele.ring ในปี 2006 โดยต้องขายคลื่นความถี่และเสาสัญญาณบางส่วนให้กับผู้ให้บริการรายอื่น ซึ่งทำให้ผู้ให้บริการรายเล็กมีโครงข่ายที่แข็งแกร่งสามารถแข่งขันได้มากขึ้น ตลาด Mobile ของออสเตรียจึงยังคงระดับการแข่งขันไว้ได้และไม่ส่งผลให้อัตราค่าบริการเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด อีกทั้ง ยังทำให้คุณภาพสัญญาณดีขึ้นและครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น

นอกจากนี้ การควบรวมธุรกิจ Mobile-Mobile ของมาเลเซียระหว่าง Celcom และ Digi ในปี 2022 ได้กำหนดเงื่อนไขให้คืนคลื่นความถี่บางส่วนให้ภาครัฐ และแบ่งคลื่นความถี่บางส่วนให้ผู้ให้บริการรายย่อยเช่าใช้ โดยต้องเป็นผู้ให้บริการที่ไม่มีโครงข่ายและคลื่นความถี่เป็นของตัวเอง (Mobile Virtual Network Operator : MVNO) และไม่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ควบรวม ซึ่งจะทำให้ผู้ให้บริการ MVNO สามารถแข่งขันกับผู้ให้บริการรายใหญ่ได้มากขึ้น และปัจจุบันอัตราค่าบริการของมาเลเซียยังคงอยู่ในระดับเดิม

ปัจจุบันยังมีการควบรวมในต่างประเทศที่รออนุมัติจากหน่วยงานกำกับอีกจำนวนหนึ่ง อาทิ Vodafone-Three ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของหน่วยงานกำกับของสหราชอาณาจักร, Airtel-Dialog Axiata ที่ยังอยู่ระหว่างการศึกษาผลกระทบต่อตลาดและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยหน่วยงานกำกับของศรีลังกา และการควบรวม Orange-MasMovil ของสเปนที่อยู่ระหว่างการพิจารณาและศึกษาผลกระทบต่อตลาดในภาพรวมโดยหน่วยงานกำกับของ EU

นอกจากการควบรวมระหว่างผู้ให้บริการโทรคมนาคมแล้ว ยังมีการควบรวมกิจการกับผู้ให้บริการใน Supply chain เช่น การร่วมทุนระหว่าง Indosat Ooredoo Hutchison และผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีในอินโดนีเซีย เพื่อลงทุนกิจการ Data center ซึ่งจะทำให้การใช้งานปริมาณข้อมูลผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ตของผู้ให้บริการโทรคมนาคมเพิ่มขึ้นมหาศาล รวมถึงการที่ Orange เข้าซื้อ SecureLink ในสหภาพยุโรป เพื่อขยายตลาดด้าน Cybersecurity ในการให้บริการ Business solution แก่ลูกค้าองค์กรที่ครอบคลุมมากขึ้น ซึ่งการควบรวมเพื่อขยายตลาดในกรณีนี้ถือว่าเป็นการควบรวมที่ไม่ส่งผลกระทบต่อระดับการแข่งขันในตลาดโทรคมนาคมในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญ จึงไม่มีมาตรการกำกับดูแลและเงื่อนไขการควบรวมจากหน่วยงานกำกับที่เกี่ยวข้องออกมามากนัก

ทิศทางตลาดโทรคมนาคมของไทยจะเป็นอย่างไรหลังการควบรวมกิจการ

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มูลค่าตลาดโทรคมนาคมของไทยหดตัวลงจากช่วงโควิด-19 ที่ความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตขยายตัวรุนแรง โดยเฉพาะบริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือที่มีการหดตัวของมูลค่าตลาดราว – 2.6% CAGR ในช่วงปี 2020-2022 ซึ่งแม้การใช้งานอินเทอร์เน็ตเคลื่อนที่จะสามารถเข้าถึงได้ง่าย และการใช้งานปริมาณข้อมูลขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยการแข่งขันด้านราคาที่เข้มข้น จึงกดดัน ARPU ให้มีทิศทางลดลง โดยเฉพาะระบบรายเดือนที่ลดลงจาก 537 บาทต่อเดือนต่อหมายเลข ในปี 2019 มาอยู่ที่ 446 บาทต่อเดือนต่อหมายเลข ในปี 2022

ขณะที่ตลาดอินเทอร์เน็ตประจำที่ ซึ่งมีสัดส่วนมูลค่าตลาดอยู่ประมาณ 15% แม้จะถูกกดดันจากการแข่งขันด้านราคาเช่นกัน แต่มูลค่าตลาดในช่วงปี 2020-2022 ยังคงเติบโตเล็กน้อยราว 1.0%CAGR จากการขยายโครงข่ายของผู้ให้บริการที่ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่นิยมใช้บริการด้านความบันเทิงและอุปกรณ์ Smart home

ทั้งนี้จากการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรงทั้งในตลาดบริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ตประจำที่ ส่งผลให้ผู้ให้บริการของไทยต้องปรับกลยุทธ์ด้วยการเพิ่มรายได้จากบริการอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น บริการด้านความบันเทิงผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต (Over-The-Top : OTT) บริการ Business solution และ Data center/Cloud service
แก่ลูกค้าองค์กร เป็นต้น สะท้อนจากมูลค่าตลาดบริการอื่นที่เกี่ยวข้องของผู้ให้บริการโทรคมนาคมในช่วงปี 2020-2022  เติบโตดีที่ราว 11.3%CAGR

อย่างไรก็ดี ผู้ให้บริการโทรคมนาคมของไทยยังต้องการเม็ดเงินลงทุนสูงเพื่อพัฒนาโครงข่ายและคุณภาพบริการ รวมถึงขยายขอบเขตการให้บริการที่ครอบคลุมมากขึ้นให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค และสามารถรองรับปริมาณการใช้งานข้อมูลที่ยังคงมีแนวโน้มเติบโต จึงส่งผลให้การควบรวมกิจการเป็นกลยุทธ์ที่ผู้ให้บริการของไทยพิจารณาเช่นเดียวกับเทรนด์ของโลก

การควบรวมธุรกิจระหว่างผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ของไทย เป็นประเด็นใหญ่ที่ได้รับความสนใจในวงกว้าง เนื่องจากมีโอกาสกระทบต่อผู้บริโภคจำนวนมาก และส่งผลให้ระดับการแข่งขันของตลาดโทรคมนาคมมีแนวโน้มลดลงในระยะข้างหน้า แม้การควบรวมจะผ่านการศึกษาและพิจารณาของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น และได้มีการกำหนดเงื่อนไขเพื่อป้องกันการผูกขาดแล้วก็ตาม แต่สภาองค์กรของผู้บริโภคยังคงกังวลถึงผลกระทบต่อการใช้งานในระยะข้างหน้า เช่น โอกาสการเพิ่มขึ้นของอัตราค่าบริการ ความเสี่ยงต่อการลดลงของคุณภาพสัญญาณและความเร็วในการ Download/Upload ข้อมูล เป็นต้น โดยในปีที่ผ่านมา ผู้ให้บริการโทรคมนาคมของไทยได้ประกาศควบรวมถึง 2 ดีลใหญ่ด้วยกัน

1) การควบรวมกิจการระหว่าง True และ Dtac ในธุรกิจบริการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ (Mobile-Mobile) ซึ่งได้ดำเนินการควบรวมแล้วเสร็จในช่วงไตรมาสแรกของปี 2023 โดยตลาดบริการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือก่อนการควบรวมนับว่ามีการแข่งขันด้านราคาที่ดุเดือดจากผู้ให้บริการรายใหญ่ 3 ราย ที่ครองส่วนแบ่งตลาดรวม 96% แม้จะมีดัชนีการแข่งขันหรือค่า HHI (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมใน BOX : ค่า HHI (Herfindahl-Herschman Index) คืออะไร? หน้าที่ 8) อยู่ในระดับ 3,412.42 ซึ่งตลาดกระจุกตัวหนาแน่นอยู่แล้ว แต่ผลของการควบรวมทำให้ผู้ให้บริการรายใหญ่ลดลงเหลือเพียง 2 ราย และ True ขึ้นเป็นผู้นำตลาดบริการโครงข่ายมือถือในเชิงผู้ใช้บริการ โดยมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 51% และจากข้อมูล ณ ไตรมาส 2 ปี 2023 ค่าดัชนี HHI ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 37.8% มาอยู่ที่ 4,701.60 สะท้อนถึงการเข้าใกล้ภาวะการแข่งขันที่เท่ากันของผู้ให้บริการ 2 ราย ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่การแข่งขันด้านราคายังคงระดับที่รุนแรงอยู่ หรือมีโอกาสเสี่ยงเพิ่มอำนาจการผูกขาดให้ผู้ให้บริการกำหนดทิศทางของตลาดได้ ซึ่งจะนำไปสู่การลดระดับการแข่งขันด้านราคาลง

ทรู ยืนยันผลคำสั่งศาลปกครองสูงสุดไม่กระทบการควบรวมทรู ดีแทค

การควบรวมนี้ยังส่งผลให้ True มีปริมาณคลื่นความถี่รวมมากขึ้นอยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันในการพัฒนาคุณภาพได้ในปัจจุบัน แต่ในระยะต่อไป ในภาพรวมผู้ให้บริการยังคงต้องการคลื่นความถี่เพิ่มขึ้น โดยการควบรวมส่งผลให้ True ถือครองคลื่นความถี่รวมเพิ่มขึ้นจาก 1,020 MHz เป็น 1,350 MHz ซึ่งเพียงพอต่อการให้พัฒนาคุณภาพสัญญาณและรองรับปริมาณการใช้งานข้อมูลในปัจจุบัน อีกทั้ง ยังใกล้เคียงกับ AIS ที่ถือครองอยู่ราว 1,460 MHz

อย่างไรก็ดี ผลการศึกษาของคณะอนุกรรมการ กสทช. ในการพิจารณาการควบรวม True-Dtac ได้คาดการณ์ว่า ในระยะต่อไปผู้ให้บริการทุกรายจะมีความต้องการปริมาณคลื่นความถี่เพิ่มขึ้น เพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการรองรับความต้องการใช้งานข้อมูลที่เติบโตอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะการใช้งานในภาคธุรกิจ ทั้งการพัฒนาโครงข่าย 5G ให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น และการเตรียมพร้อมสำหรับพัฒนาเทคโนโลยี 6G ในอนาคต ซึ่งสวนทางกับปริมาณคลื่นความถี่ที่ให้บริการจะลดลงในปี 2025 จากการหมดอายุสัมปทานคลื่นความถี่บางส่วนของ NT โดยปัจจุบัน กสทช. อยู่ระหว่างการวางแผนจัดสรรคลื่นความถี่ให้เหมาะสมกับการใช้งานในระยะข้างหน้า และคาดว่าจะมีการเปิดประมูลคลื่นความถี่เพิ่มเติมสำหรับบริการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือในปี 2026

การควบรวมนี้ยังส่งผลให้ True มีปริมาณคลื่นความถี่รวมมากขึ้นอยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันในการพัฒนาคุณภาพได้ในปัจจุบัน แต่ในระยะต่อไป ในภาพรวมผู้ให้บริการยังคงต้องการคลื่นความถี่เพิ่มขึ้น โดยการควบรวมส่งผลให้ True ถือครองคลื่นความถี่รวมเพิ่มขึ้นจาก 1,020 MHz เป็น 1,350 MHz ซึ่งเพียงพอต่อการให้พัฒนาคุณภาพสัญญาณและรองรับปริมาณการใช้งานข้อมูลในปัจจุบัน อีกทั้ง ยังใกล้เคียงกับ AIS ที่ถือครองอยู่ราว 1,460 MHz (รูปที่ 5) อย่างไรก็ดี ผลการศึกษาของคณะอนุกรรมการ กสทช. ในการพิจารณาการควบรวม True-Dtac ได้คาดการณ์ว่า ในระยะต่อไปผู้ให้บริการทุกรายจะมีความต้องการปริมาณคลื่นความถี่เพิ่มขึ้น เพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการรองรับความต้องการใช้งานข้อมูลที่เติบโตอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะการใช้งานในภาคธุรกิจ ทั้งการพัฒนาโครงข่าย 5G ให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น และการเตรียมพร้อมสำหรับพัฒนาเทคโนโลยี 6G ในอนาคต ซึ่งสวนทางกับปริมาณคลื่นความถี่ที่ให้บริการจะลดลงในปี 2025 จากการหมดอายุสัมปทานคลื่นความถี่บางส่วนของ NT โดยปัจจุบัน กสทช. อยู่ระหว่างการวางแผนจัดสรรคลื่นความถี่ให้เหมาะสมกับการใช้งานในระยะข้างหน้า และคาดว่าจะมีการเปิดประมูลคลื่นความถี่เพิ่มเติมสำหรับบริการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือในปี 2026

นอกจากนี้ การควบรวมยังทำให้ผู้ใช้บริการ Dtac สามารถเข้าถึงคลื่นความถี่ได้มากขึ้น โดยเฉพาะการใช้งานโครงข่าย 5G จากเดิมที่ผู้ใช้ Dtac สามารถใช้งานได้เฉพาะคลื่นความถี่ 700 MHz ที่มีความเร็วในการ Download ข้อมูลเฉลี่ยราว 30 Mbps และหลังการควบรวมสามารถใช้งานบนคลื่นความถี่ 2.6 GHz ของ True ที่มีความเร็วในการ Download ข้อมูลเฉลี่ย 80-100 Mbps ได้ ผ่านบริการข้ามโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile domestic roaming) ที่มีการตั้งค่าทางเทคนิคให้ผู้ใช้บริการ True และ Dtac สามารถใช้งานได้บนคลื่นความถี่ร่วมกันของทั้ง 2 ค่าย (รูปที่ 6) อย่างไรก็ดี ในระยะแรกของการควบรวมคาดว่าจะเกิดสัญญาณรบกวนระหว่างกันจากการปรับโครงสร้างพื้นฐานในบางพื้นที่ที่ทับซ้อน เช่น เสาสัญญาณและสถานีฐาน รวมถึงการย้ายตำแหน่งอุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณคลื่นความถี่ (Cell sites) โดยไม่ลดจำนวนตามเงื่อนไข กสทช. เพื่อลดต้นทุนการบำรุงรักษาของอุปกรณ์ที่สามารถใช้ร่วมกันได้  

ภายหลังการควบรวมระหว่าง True และ Dtac เสร็จสิ้น SCB EIC ประเมินว่า ในระยะแรก รายได้เฉลี่ยต่อหมายเลขของบริการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยราว 1%-3% จากปริมาณการใช้งานข้อมูลของผู้บริโภคที่ขยายตัว และการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนผู้ใช้งานบนโครงข่าย 5G ที่แพ็กเกจมีราคาสูงกว่า Non-5G และในระยะต่อไปคาดว่าระดับการแข่งขันด้านราคาในตลาดบริการโครงข่ายมือถือจะเข้มข้นน้อยลง ซึ่งจะส่งผลให้อัตราค่าบริการเฉลี่ยปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นราว 5-10% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนการควบรวมเนื่องจากผู้บริโภคมีแนวโน้มเลือกแพ็กเกจที่สูงขึ้นจากปริมาณการใช้งานข้อมูลที่เพิ่มขึ้น อีกทั้ง ผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือยังหันไปมุ่งเน้นการแข่งขันด้านคุณภาพสัญญาณและการบริการมากกว่าด้านราคา เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้บริการ เช่น การขยายพื้นที่ให้บริการ และการพัฒนาความเร็วในการ Download/Upload ข้อมูล ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของ Ericsson consumer lab ในปี 2023 ที่ระบุว่าผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตเคลื่อนที่ โดยเฉพาะบนโครงข่าย 5G จะมองหาการบริการที่ดีขึ้น เช่น คุณภาพบริการ ความเร็วในการ Download ข้อมูล และการใช้งานแอปพลิเคชันยอดนิยมแบบไม่จำกัดปริมาณข้อมูล  

2) นอกจากนี้ การควบรวมยังทำให้ผู้ใช้บริการ Dtac สามารถเข้าถึงคลื่นความถี่ได้มากขึ้น โดยเฉพาะการใช้งานโครงข่าย 5G จากเดิมที่ผู้ใช้ Dtac สามารถใช้งานได้เฉพาะคลื่นความถี่ 700 MHz ที่มีความเร็วในการ Download ข้อมูลเฉลี่ยราว 30 Mbps และหลังการควบรวมสามารถใช้งานบนคลื่นความถี่ 2.6 GHz ของ True ที่มีความเร็วในการ Download ข้อมูลเฉลี่ย 80-100 Mbps ได้ ผ่านบริการข้ามโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile domestic roaming) ที่มีการตั้งค่าทางเทคนิคให้ผู้ใช้บริการ True และ Dtac สามารถใช้งานได้บนคลื่นความถี่ร่วมกันของทั้ง 2 ค่าย (รูปที่ 6) อย่างไรก็ดี ในระยะแรกของการควบรวมคาดว่าจะเกิดสัญญาณรบกวนระหว่างกันจากการปรับโครงสร้างพื้นฐานในบางพื้นที่ที่ทับซ้อน เช่น เสาสัญญาณและสถานีฐาน รวมถึงการย้ายตำแหน่งอุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณคลื่นความถี่ (Cell sites) โดยไม่ลดจำนวนตามเงื่อนไข กสทช. เพื่อลดต้นทุนการบำรุงรักษาของอุปกรณ์ที่สามารถใช้ร่วมกันได้  

ทรู คอร์ปอเรชั่น พร้อมนับหนึ่งสู่ ปฐมบทใหม่ หลังควบรวมดีแทค ปักธง Tech Telecom Company ระดับภูมิภาค

ภายหลังการควบรวมระหว่าง True และ Dtac เสร็จสิ้น SCB EIC ประเมินว่า ในระยะแรก รายได้เฉลี่ยต่อหมายเลขของบริการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยราว 1%-3% จากปริมาณการใช้งานข้อมูลของผู้บริโภคที่ขยายตัว และการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนผู้ใช้งานบนโครงข่าย 5G ที่แพ็กเกจมีราคาสูงกว่า Non-5G และในระยะต่อไปคาดว่าระดับการแข่งขันด้านราคาในตลาดบริการโครงข่ายมือถือจะเข้มข้นน้อยลง ซึ่งจะส่งผลให้อัตราค่าบริการเฉลี่ยปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นราว 5-10% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนการควบรวมเนื่องจากผู้บริโภคมีแนวโน้มเลือกแพ็กเกจที่สูงขึ้นจากปริมาณการใช้งานข้อมูลที่เพิ่มขึ้น อีกทั้ง ผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือยังหันไปมุ่งเน้นการแข่งขันด้านคุณภาพสัญญาณและการบริการมากกว่าด้านราคา เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้บริการ เช่น การขยายพื้นที่ให้บริการ และการพัฒนาความเร็วในการ Download/Upload ข้อมูล ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของ Ericsson consumer lab ในปี 2023 ที่ระบุว่าผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตเคลื่อนที่ โดยเฉพาะบนโครงข่าย 5G จะมองหาการบริการที่ดีขึ้น เช่น คุณภาพบริการ ความเร็วในการ Download ข้อมูล และการใช้งานแอปพลิเคชันยอดนิยมแบบไม่จำกัดปริมาณข้อมูล  

SCB EIC ประเมินว่า หลังการเข้าซื้อกิจการเสร็จสิ้น ในระยะแรก แนวโน้มด้านอัตราค่าบริการจะยังไม่เห็นภาพการเปลี่ยนแปลงมากนัก เนื่องจาก AIS ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ กสทช. กำหนด ซึ่งรวมถึง 1) การคงราคาและความเร็วในการ Download/Upload ของแพ็กเกจขั้นต่ำที่มีอยู่เดิมไว้เป็นระยะเวลา 5 ปี 2) การลงทุนขยายโครงข่าย Broadband มูลค่ารวมไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท ไปยังพื้นที่ที่ยังไม่มีโครงข่ายอินเทอร์เน็ตและไม่ทับซ้อนกับแผนการขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตภาครัฐภายใน 5 ปี และ 3) การอนุญาตให้ผู้ให้บริการรายย่อยที่ไม่มีโครงข่ายของตัวเองเช่าใช้และเชื่อมต่อโครงข่าย (Open access) โดยไม่กำหนดปริมาณและราคาขั้นต่ำของการเช่าใช้โครงข่ายเพื่อขยายการให้บริการไปยังบ้านเรือนประชาชนได้รวดเร็วขึ้น จากเงื่อนไขดังกล่าวส่งผลให้ในระยะแรก AIS จะเน้นขยายพื้นที่ให้บริการและขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มผู้ใช้บริการ 3BB เดิมให้สามารถเข้าถึงบริการอื่นของ AIS ได้มากขึ้นในราคาพิเศษ เช่น บริการด้านความบันเทิงสำหรับกลุ่มผู้ใช้บริการทั่วไปอย่าง AIS Play, AIS Cloud game, บริการ Streaming และบริการด้าน Business solution สำหรับกลุ่มลูกค้า SMEs  ขณะที่ในระยะต่อไปคาดว่าทิศทางการแข่งขันด้านราคาจะมีความผ่อนคลายมากขึ้น จากการขยายพื้นที่ให้บริการโครงข่ายอินเทอร์เน็ตประจำที่ที่ไม่ทับซ้อนกันของผู้ให้บริการที่มีอยู่ในตลาด ซึ่งจะส่งผลให้อัตราค่าบริการเฉลี่ยอินเทอร์เน็ตประจำที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นราว 3-5% เมื่อเทียบกับก่อนการควบรวม

AIS เปิดตัวแบรนด์ใหม่ หลังควบรวม “AIS – 3BB FIBRE 3” ลุยยกระดับอุตสาหกรรมเน็ตบ้านไทย

ทั้งนี้การควบรวมทั้ง 2 ดีลส่งผลให้ตลาดโทรคมนาคมของไทยโดยรวมเปลี่ยนแปลงไปซึ่งจะส่งผลต่อทิศทางการแข่งขันในระยะข้างหน้า โดยหลังจากการควบรวมเสร็จสิ้น ผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ของไทยจะเหลืออยู่เพียง 2 รายและให้บริการครอบคลุมทั้งโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ อินเทอร์เน็ตประจำที่ และบริการด้านเทคโนโลยีอื่น ๆ
ซึ่งจะส่งผลให้การแข่งขันด้านราคามีแนวโน้มเป็นไปในรูปแบบการนำเสนอแพ็กเกจพ่วงบริการที่หลากหลาย (Convergence package) ที่มีความคุ้มค่ามากขึ้น เช่น แพ็กเกจพ่วงอินเทอร์เน็ตบ้าน-โครงข่ายมือถือ-พ่วงบริการด้านความบันเทิง หรืออินเทอร์เน็ตบ้าน-บริการติดตั้งอุปกรณ์ Smart home พร้อมบันทึกข้อมูลบน Cloud เป็นต้น ซึ่งการเสนอบริการที่หลากหลายนี้จะกระตุ้นให้ผู้ให้บริการเร่งพัฒนานวัตกรรมเพื่อนำเสนอบริการใหม่ ๆ ออกมา โดยนวัตกรรมใหม่ที่จะออกมาต้องอาศัยโครงข่ายที่มีคุณภาพสูงมารองรับและท้ายสุดผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์จากการแข่งขันดังกล่าว

การควบรวมถือเป็นกลยุทธ์ที่ธุรกิจโทรคมนาคมในหลายประเทศรวมทั้งไทยนำมาใช้เพื่อเพิ่มโอกาสการเติบโตของธุรกิจในยุคที่การเติบโตของรายได้มีแนวโน้มชะลอตัวซึ่งก็มีโอกาสส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้บริโภคจากระดับการแข่งขันที่ลดลง อย่างไรก็ดี การกำหนดเงื่อนไขของหน่วยงานกำกับที่เหมาะสมกับลักษณะตลาดในแต่ละประเทศ จะช่วยบรรเทาผลกระทบที่มีโอกาสเกิดขึ้นทั้งในด้านอัตราค่าบริการและคุณภาพการให้บริการ อีกทั้ง ยังช่วยรักษาระดับการแข่งขันในตลาดให้คงอยู่ในระดับเดิมได้

ADVICE เปิดเทรด SET วันแรก ย้ำผู้นำค้าปลีก-ส่งไอทีครบวงจร

TikTok ชูแนวคิด “TikTok For All” สร้างโอกาสครีเอเตอร์ ธุรกิจ และคอมมูนิตี้ไทย

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ