TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyFutureTales Lab ฉายภาพ 4 อนาคตที่เป็นไปได้กับ Metaverse

FutureTales Lab ฉายภาพ 4 อนาคตที่เป็นไปได้กับ Metaverse

FutureTales Lab by MQDC ฉายภาพอนาคตโลกเสมือน 4 รูปแบบ ซึ่งได้ทำการรวบรวม วิเคราะห์ เพื่อคาดการณ์อนาคต เพื่อให้รู้เท่าทันแนวโน้มเทคโนโลยี และผลกระทบที่อาจส่งผลต่ออนาคตของสรรพสิ่ง

ดร. การดี เลียวไพโรจน์ ผู้อำนวยการบริหาร ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา (FutureTales Lab by MQDC) กล่าวว่า วิวัฒนาการและนวัตกรรม เป็นส่วนหนึ่งของทุกอุตสาหกรรม สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจระบบนิเวศที่เราดำเนินการอยู่ “ความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลง ปรับตัว และความก้าวหน้านั้นเกิดขึ้นตลอดเวลา แต่สิ่งสำคัญคือ ต้องทำด้วยการคิดเชิงคาดการณ์อนาคต และใช้หลักคาดการณ์อนาคตที่เหมาะสม”

การศึกษา metaverse ของศูนย์วิจัยทำให้มีรายงานออกมา 2 ฉบับ รายงานแรก ศูนย์วิจัยฯ ค้นพบสี่อนาคตที่เป็นไปได้ของ metaverse บนสมมติฐานของการกระจายอำนาจ (decentralization) เมื่อจับคู่กับสองส่วนสำคัญของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ รายงานที่สองคือการทดลองทางความคิดเรื่อง “จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเมตาเวิร์สสามารถหักล้างทฤษฎีที่มีมายาวนานได้” รายงานนี้เป็นการชวนให้ทุกคนมาคิดและจินตนาการไปด้วยกันว่าการรวมเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องจะส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของเราในอนาคตข้างหน้าอย่างไร

ใน ‘Metaverse Building Blocks: The Four Scenarios’ รายงานของศูนย์วิจัยฯ ค้นพบ 4 สถานการณ์ที่มีความเป็นไปได้ในอนาคต ซึ่งสามารถเล่าออกมาเป็นภาพได้ดังนี้

สถานการณ์ที่ 1: ดินแดนแห่งความเท่าเทียม (Autonomous Arcadia) ดึงชื่อมาจากลักษณะการดำรงอยู่และการดำเนินงานที่เปิดกว้างและทำงานร่วมกันได้ ในอนาคต Virtuality ทำให้เกิดสังคมที่มีส่วนร่วม อนุญาตให้มีการผสมผสานระหว่างความเป็นจริง ทางกายภาพ และดิจิทัล ซึ่งสมาชิกทุกคนในสังคมเห็นคุณค่าและรู้สึกหวงแหน

MTV-Building-Blocks-Scenario-2

สถานการณ์ที่ 2: สรวงสวรรค์ราคาแพง (Paid Paradise) เป็นอนาคตที่การขาดการทำงานร่วมกันระหว่างส่วนประกอบฮาร์ดแวร์ทำให้เกิดความแตกแยกที่ลึกยิ่งขึ้นในโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมที่กว้างขึ้น สิ่งนี้จะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของความไม่เท่าเทียมกัน

สถานการณ์ที่ 3: สวรรค์ของชนชั้นสูง (Elite Elysium) เป็นตัวแทนของ “หอคอยงาช้าง” การเข้าถึงการใช้งาน metaverses เป็นสิทธิพิเศษและถือเป็นตัวบ่งชี้สถานะ – มีเพียง ชนชั้นสูงของสังคมเท่านั้นที่มีสิทธิ์เข้าถึงความเป็นจริงนี้ ในขณะที่ชนชั้นอื่นไม่มี

MTV-Building-Blocks-Scenario-4

สถานการณ์ที่ 4: กลเกมส์สิทธิบัตร (Leapfrog) บริษัทฮาร์ดแวร์ขนาดใหญ่ทำข้อตกลงเพื่อเข้าถึงการพัฒนาและนวัตกรรม ผู้บริหารของแต่ละบริษัทต่างโยนสิทธิบัตรเข้าไปเผาในกองเพลิงเพื่อแสดงออกถึงการทำงานร่วมกัน แม้ว่าบริษัทซอฟต์แวร์ต่าง ๆ จะออกมาบอกว่าพวกเขาจะทำตาม (โดยมีข้อเรียกร้องมากมาย) แม้ว่าอุปกรณ์จะทำงานร่วมกันได้ แต่ราคาของใบอนุญาตซอฟต์แวร์ก็จำกัดการมีส่วนร่วมและการเติบโต อาจดูคล้ายว่าทุกอย่างน่าจะดีขึ้น – แต่การปิดกั้นทางการจ่ายกำลังฉุดรั้งสังคมไว้

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

กษ. จับมือ อว. เดินหน้าโครงการแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map)

“Virtual Bank”… อาวุธลับเขย่า “แบงก์รูปแบบเดิม”

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ