TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyนวัตกรรมเด่น 6 คลัสเตอร์ ในงาน KMITL Innovation Expo 2023 ขับเคลื่อนสู่เวทีโลก

นวัตกรรมเด่น 6 คลัสเตอร์ ในงาน KMITL Innovation Expo 2023 ขับเคลื่อนสู่เวทีโลก

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ร่วมกับภาครัฐและเอกชน จัดงาน “KMITL Innovation EXPO 2023” ภายใต้ธีม World Towards Sustainability Together กำหนดจัดวันที่ 27 – 29 เม.ย. 2566 ณ หอประชุมเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)  สจล. ถนนฉลองกรุง ซึ่งเป็นที่จัดแสดงหลัก และอีก 2 แห่งที่จัดแสดงรอง คือ หอประชุมวิศวะลาดกระบัง และ ศูนย์เรียนรู้ตลอดชีวิต สจล.( KLLC) นับเป็นหนึ่งในงานแสดงนวัตกรรมและงานวิจัยที่ตื่นตาตื่นใจ ด้วย 1,111 ผลงานจากฝีมือนวัตกร นักวิจัย และเมคเกอร์คนไทย

รศ.ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ตอกย้ำความมุ่งมั่นของการผนึกกำลังภาครัฐเอกชน จัดงาน “KMITL Innovation Expo 2023” เพื่อเชื่อมต่อ สจล. ภาครัฐและเอกชน และคนไทยทั้งประเทศมาร่วมเป็นพลังขยับปีกนวัตกรรมของคนไทย เปิดขอบฟ้ากว้างของนวัตกรรมระดับโลกอย่างไร้ขีดจำกัด ด้วยฝีมือคนไทย โดยพื้นที่จัดแสดงในงานเนืองแน่นด้วยผู้มางาน สายเทค เยาวชน คนรุ่นใหม่ คนทำงานและผู้ประกอบการ แบ่งเป็นนวัตกรรม 6 คลัสเตอร์ ที่ขับเคลื่อนอนาคตไทยและภูมิภาคโลก ได้แก่ 1.คลัสเตอร์  BCG  2.Industry 4.0  3.Healthcare & Wellness  4.Digital Technology 5. Smart City และ 6.Creative Economy

นวัตกรรมเด่น โดนใจแต่ละคลัสเตอร์

คลัสเตอร์ Creative Economy

อีวีทัล (eVTOL)อากาศยานไร้คนขับ ขึ้นลงแนวดิ่ง ใช้พลังงานไฟฟ้า ที่ทีมวิจัยจากวิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ สจล.ออกแบบและผลิต ลูกผสมของโดรนและเครื่องบิน มี 3 ขนาด (ขนาด 2.2, 2.5 และ 3.3 เมตร ) เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ อุบัติภัยและปัญหาสิ่งแวดล้อม สำรวจความเปลี่ยนแปลงและทำแผนที่ทรัพยากรป่าไม้ของไทยให้อัพเดท ผลทดสอบพบว่า มีสมรรถนะสูง เบาและเงียบ ค่าใช้จ่ายต่อวันถูกหลักพัน เมื่อเทียบกับใช้เฮลิคอปเตอร์หลักแสน สร้างสถิติครั้งแรกในประเทศไทยในการปฏิบัติการด้านจำนวนพื้นที่และชั่วโมงบิน โดยบินสำรวจ 11 อุทยานแห่งชาติ เพื่อจัดทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ 3 ล้านไร่ และลาดตระเวนทางอากาศ 10 ล้านไร่ ชั่วโมงบินโดยเฉลี่ย 100 ชั่วโมง

คลัสเตอร์ Smart City

ERA – ATOM รถสามล้อไฟฟ้าสายพันธุ์สปอร์ตสุดล้ำ ผลงานจากทีมอาจารย์และนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สจล. ออกแบบรถสามล้อไฟฟ้า คือ ธาวิน ตั้งบุญญศิลป์ (เค) กับ นวพัฒน์ ศรีโปดก (พัฒน์) ร่วมกับคุณศตวรรษ  ลิ้มกอปรไพบูลย์ (หนุ่ม) ผู้มีประสบการณ์ทำคอมโพสิตและรถแข่งมากว่า 20 ปี ต่อมาได้ตั้งสตาร์ทอัพ บริษัท Electric Racing Automotive พัฒนาและผลิต ERA – ATOM สำหรับการใช้งานในชุมชนหมู่บ้าน ดีไซน์สุดคูล น่ารักสะท้อนความเป็นเพื่อน และปลอดภัย โดดเด่นด้วยการออกแบบช่วงล่างระบบ Four Link มีแขน 4 ตัว โช้ครับน้ำหนักได้ดี มีเสถียรภาพสูงกว่าการใช้แหนบ ตัวถังเป็นคาร์บอนคอมโพสิต น้ำหนักเบา ทำให้กินไฟน้อย คล่องตัว รุ่นแบตลิเธียม ชาร์จที่บ้านได้ใช้เวลา 4 – 6 ชม. วิ่งได้ระยะทาง 60 กม.ต่อ 1 ชาร์จ ทั้งนี้ปลายปี 2566 เตรียมออกรุ่นใหม่ ซึ่งจะจดทะเบียนสำหรับการใช้งานบนถนนสาธารณะ

คลัสเตอร์ Industry 4.0

ครั้งแรกในประเทศไทย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โดย คณะวิทยาศาสตร์ คิดค้นนวัตกรรม ‘แบตเตอรี่กราฟีน’ สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า จากโรงงานต้นแบบผลิตกราฟีนใน สจล. แห่งเดียวในประเทศไทย เพื่อขับเคลื่อนอนาคตอุตสาหกรรมยานยนต์ EV และนวัตกรรมไทยสู่ระดับโลก สร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุการเกษตรเหลือใช้ภายในประเทศ สนับสนุนแนวเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) ลดปริมาณขยะสิ่งแวดล้อม ลดการนำเข้าแบตเตอรี่ลิเธียมจากต่างประเทศ ส่งเสริมการก้าวเป็นฮับ EV ของประเทศไทย จุดเด่นคือกักเก็บประจุไฟฟ้าได้มากขึ้น และอัดประจุได้ที่รวดเร็วขึ้นจากแบตเตอรี่แบบเดิม (Fast Charge) ยืดอายุการใช้งานแบตเตอรี่ได้เท่าตัว ราคาถูก ไม่ระเบิด ปลอดภัยต่อการใช้งาน หนุนแนวเศรษฐกิจ BCG สร้างมูลค่าเพิ่มจากการใช้วัสดุการเกษตรเหลือใช้ภายในประเทศ กระจายรายได้สู่ซัพพลายเชนกว้าง ลดปริมาณขยะในสิ่งแวดล้อม ลดการนำเข้า

คลัสเตอร์ Digital Technology

เอ้กอีเอ้ก ตู้ตรวจสอบคุณภาพไข่ด้วยปัญญาประดิษฐ์ ก่อนส่งเข้ากระบวนการฟัก แม่นยำและประหยัดเวลา เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมไข่ไก่ซึ่งสร้างรายได้เข้าประเทศ อุตสาหกรรมไข่ไก่เป็นส่วนสำคัญของระบบอาหารโลก โดยเป็นแหล่งพลังงานสารอาหารที่สำคัญสำหรับผู้คนหลายล้านคนทั่วโลก ประเทศไทย มีกำลังในการผลิตไข่ไก่ อยู่ที่ 13.3 พันล้านฟอง ต่อปี โดยคิดเป็นมูลค่าทางเศรษกิจให้กับประเทศไทย ปีละมากกว่า 30,000 ล้านบาท นวัตกรรมเอ้กอีเอ้ก ตู้ตรวจสอบคุณภาพไข่ ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ร่วมกับระบบ Embedded เป็นเครื่องขนาด Portable สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย ไข่ที่ไม่ผ่านคุณภาพ หากฟักออกมาอาจเป็นลูกไก่พิการ นวัตกรรมนี้จึงช่วยลดความเสียหายที่เกิดขึ้นในกระบวนการฟักและเพิ่มคุณภาพผลผลิตให้มากยิ่งขึ้น

คลัสเตอร์ Health & Wellness

กล้อง และ AI ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้น มะเร็งปากมดลูกเป็นปัญหาอันดับ 2 ของมะเร็งในผู้หญิง คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. จึงได้คิดค้นนวัตกรรม กล้อง และ AI ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้น เนื่องจากในปัจจุบันกล้องที่มีไม่สามารถที่จะให้ผลตรวจได้ในเวลานั้น การที่มีระบบ AI ระบบกล้อง ที่ช่วยให้คุณหมอตัดสินใจ ทำการวินิจฉัยโรคเป็นไปอย่างได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น เวลาในการตรวจเร็ว คนไข้รู้เร็ว รักษาเร็ว ก็จะช่วยให้คนไข้หายป่วย ส่วนประกอบ ต้องมีระบบประมวลผล คือ คอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง มีจอทีวีระบบ 3 มิติ เพราะว่าเราต้องใส่แว่นเพื่อที่จะให้เห็นเหมือนกับไปดูหนัง 3 มิติ และก็ระบบอันที่ 3 ก็คือ มีกล้อง Endoscope 2 อันอยู่ข้างใน กล้องนี้มีจุดเด่น 3 อย่าง คือ 1.สามารถเห็นภาพไปใน 3 มิติ 2.เราใช้ระบบ AI ในการที่จะช่วยตรวจจับว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ 3.ระบบประเมินผลที่ให้ผลเร็วมาก เนื่องจากเรามี Computer Software ที่ใช้งานได้ดี 4. มีความรวดเร็วและแม่นยำในการส่งผลว่าเป็นมะเร็งหรือไม่

คลัสเตอร์ BCG

บรรจุภัณฑ์ชีวภาพ…จากเส้นใยธรรมชาติ โดยนำวัสดุส่วนเหลือจากภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรใน จ.ชุมพร ได้แก่ เส้นใยปาล์มน้ำมัน เส้นใยต้นกล้วย เส้นใยมะพร้าว เส้นใยเปลือกทุเรียน เส้นใยแกนสับปะรด นำมาผสมกับ Polylactic Acid (PLA) ซึ่งเป็นพลาสติกชีวภาพ (Bioplastic)  ผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ใส่อาหาร เช่น จาน  ชาม แก้วน้ำ ถาดรองแก้วน้ำ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความแข็งแรง และสามารถย่อยสลายได้เองภายใน 3 เดือน ปัจจุบันมีการจดสิทธิบัตรแล้ว ระยะเวลาคิดค้นนวัตกรรมกว่า 3 ปี ช่วยลดการปริมาณการใช้พลาสติกและสร้างมูลค่าเพิ่มจากของเสีย

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

GISTDA ชูเศรษฐกิจอวกาศ สร้างหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ไทย-ฝรั่งเศส

จริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ แนวทางสร้างปราการป้องกันด้านมืด AI

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ