TH | EN
TH | EN
หน้าแรกInterviewมิวเทอร์ม เฟสเซนซ์ นวัตกรรมไทย วัดอุณหภูมิใน 0.1 วินาที

มิวเทอร์ม เฟสเซนซ์ นวัตกรรมไทย วัดอุณหภูมิใน 0.1 วินาที

มิวเทอร์ม เฟสเซนซ์ (μTherm FaceSense) เป็นนวัตกรรมตัวอย่างที่แสดงเห็นว่า “คนไทย” สามารถพัฒนาเทคโนโลยีสู้กับของที่มาจากต่างประเทศได้ทั้งประสิทธิภาพและราคา

จากวิกฤติโควิด-19 จะเห็นได้ชัดว่า การสร้างงาน การเพิ่มศักยภาพของประเทศ และ การสร้างอุตสาหกรรมขึ้นในประเทศ เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างมาก

-วิทยาศาสตร์ข้อมูล-ปัญญาประดิษฐ์-แมชชีนเลิร์นนิ่ง พัฒนาประเทศสู่ AI Super Economy
-noBitter… SME วิถีสตาร์ตอัพ กับธุรกิจ Indoor Vertical Farm
-ธุรกิจต้อง Agile to Survive ปรับองค์กรสู้โควิด-19

ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร รักษาการรองผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) กล่าวกับ The Story Thailand ว่า ที่มาของ มิวเทอร์ม เฟสเซนซ์ เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2007 หรือ 13 ปีที่แล้ว ขณะนั้นเนคเทคมีกล้องถ่ายภาพรังสีความร้อนที่ราคาสูงมากประมาณ 1 ล้านบาท ใช้ทำงานวิจัยกับอุตสาหกรรมฮาร์ดไดรฟ์ และกรมสอบสวนคดีพิเศษ

“ช่วงนั้นโลกผ่านวิกฤติทั้งโรคซาร์ส และไข้หวัดนก จึงมีการถามมาที่เนคเทคว่า สามารถทำเครื่องช่วยคัดกรองคนที่มีไข้ได้หรือไม่ ซึ่งในต่างประเทศมีการนำกล้องถ่ายภาพรังสีความร้อนเข้ามาใช้”

เนคเทค วางแผนจะลองพัฒนาและจดสิทธิบัตรเป็นต้นแบบออกมาให้โรงพยาบาลราชวิถี และกรมควบคุมโรคให้นำไปใช้ที่สนามบินสุวรรณภูมิ

จนกระทั่งในปี 2016 มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชิ้นเล็กที่เป็นหัวใจสำคัญของกล้องถ่ายภาพรังสีความร้อนออกมา ให้นักพัฒนาหรือนักวิจัยเอาไปต่อยอดได้ จึงนำมาลองใช้

ก่อนที่ในปี 2018 จะมีการปล่อยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ออกมาอีกครั้ง เป็นช่วงเดียวกับที่ระบบจดจำใบหน้ากำลังเข้ามามีบทบาทในสังคม จนเป็นที่มาของการพัฒนา “มิวเทอร์ม เฟสเซนซ์” (μTherm FaceSense)

“เราพร้อมจะทำในรูปแบบเชิงพาณิชย์ เริ่มมีเอกชนเข้ามาหารือเตรียมรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อไปใช้ในเชิงพาณิชย์ต่อ”

ดร.ศรัณย์ กล่าวต่อว่า กระบวนการที่เอกชนเข้ามาพูดคุยกันเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีจะกินเวลาสักระยะหนึ่ง เนคเทคมีแผนคู่ขนานว่า ในต้นเดือนมิถุนายน จะเปิดโครงการเพื่อให้หน่วยงานที่ต้องการใช้ไม่ว่าจะภาครัฐหรือเอกชน สามารถสั่งซื้อผ่านเนคเทคได้อีก 40 ตัว เพื่อให้ไปทดลองใช้

โดยกระบวนการสั่งของและทดสอบจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือนครึ่ง – 2 เดือน จะสามารถทยอยส่งได้หมด ราคาประมาณ 100,000 กว่าบาท เป็นราคาที่คาดว่าเอกชนที่จะเข้ามาศึกษาและนำไปทำต่อจะขายในราคานี้และอยู่รอดได้

วัดอุณหภูมิใน 0.1 วินาที

ดร.ศรัณย์ กล่าวว่า มิวเทอร์ม เฟสเซนซ์ มีขนาดความกว้าง-ยาวเท่ากับโน้ตบุ๊ค แต่จะหนากว่า และหนักประมาณ 1 กิโลกรัม ด้านประสิทธิภาพเทียบเท่ากับที่ซื้อจากต่างประเทศ บางฟังก์ชั่นทำงานได้ดีกว่า สามารถบอกอุณหภูมิได้ภายใน 0.1 วินาที และสามารถจับอุณหภูมิคนจำนวนมากได้ในครั้งเดียว โดยแสดงผลเหนือศีรษะของแต่ละคน

กรณีที่มีคนอุณหภูมิเกินที่กำหนดไว้ ตัวหนังสือจากสีเขียวจะเปลี่ยนเป็นสีแดงอัตโนมัติ รวมถึงสามารถแจ้งเตือนเป็นเสียงได้

ตามแผนเดิมจะต้องผลิตให้เสร็จทั้งหมด 40 ตัว ภายในเดือนกรกฎาคมปีนี้ แต่เมื่อเกิดโควิด-19 จึงปรับแผนเพื่อที่จะให้เสร็จภายในเดือนพฤษภาคม หลังจากทดสอบจนมั่นใจว่าอุปกรณ์จะทำงานได้ จะกระจายไปทั่วประเทศทั้งหมด 35 ตัว ส่วนอีก 5 ตัว แบ่งเป็น เก็บไว้ทดสอบที่ สวทช. 2 ตัว ส่วนอีก 3 ตัวเก็บไว้สำหรับใช้ปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

“เรามีแผนใส่เทคโนโลยีให้จับใบหน้าแบบ 3 มิติ เพื่อความแม่นยำมากขึ้น และระบุเจ้าของใบหน้าได้ เป็นงานวิจัยพัฒนาที่จะนำไปต่อยอด”

ต่อยอด “มิวเทอร์ม เฟสเซนซ์” สู่การเกษตร

ดร.ศรัณย์ กล่าวว่า มิวเทอร์ม เฟสเซนซ์ สามารถต่อยอดไปในอุตสาหกรรมเกษตร โดยนำโมดูลจับรังสีความร้อนและรังสีอินฟราเรดไปใช้ดูต้นพืชเพื่อวิเคราะห์สุขภาพได้ ซึ่งระหว่างนี้อยู่ในช่วงจดสิทธิบัตรและทดลองเพิ่มเติม คาดว่าในปีนี้จะได้ทดลองภาคสนามเบื้องต้นว่าผลออกมาตามที่คาดไว้หรือไม่

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ