TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistสายการบิน "แห่งชาติ" ไม่สำคัญเท่า...

สายการบิน “แห่งชาติ” ไม่สำคัญเท่า…

นอกจากข่าวโควิดระบาด-19 ที่ยังเป็นประเด็นร้อนต่อเนื่องมาหลายเดือน แต่ช่วงนี้ “สปอต์ไลท์” ได้จับไปที่ ฃความเคลื่อนไหวของ “การบินไทย” ก่อนหน้านี้ก็โคม่าอยู่แล้ว แต่พอมาเจอหางเลขโควิด-19 ยิ่งทรุดหนักเกือบ ๆ จะ “ไปไม่กลับ หลับไม่ตื่น ฟื้นไม่มี หนีไม่พ้น” กันเลยทีเดียว

-TikTok จะครองโลก
-New normal คนไทย 45% ใส่ใจสุขภาพมากขึ้น

ในที่สุดต้องนำไปสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลาย โดยศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคมที่ผ่านมา และนัดไต่สวนวันที่ 17 สิงหาคม เพื่อพิจารณาว่า จะให้การบินไทยเข้าแผนฟื้นฟูฯ หรือไม่

ไม่ใช่แค่การบินไทยที่โดนอิทธิฤทธิ์ของโควิด-19 เล่นงาน แต่โดนกันเกือบทั่วโลกยื่นขอล้มละลายกันเป็นแถว อย่าง “ลุฟท์ฮันซ่า” ขอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาลเยอรมันกว่า 9,000 ล้านยูโร แลกกับการให้รัฐบาลเข้าถือหุ้น 20% “แอร์ฟรานซ์-เคแอลเอ็ม” รัฐบาลฝรั่งเศสได้ให้ความช่วยเหลือค้ำประกันเงินกู้ และปล่อยสินเชื่อกว่า 7,660 ล้านดอลลาร์สหรัฐ “สิงคโปร์ แอร์ไลน์ส” ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากรัฐบาลสิงคโปร์รวมกว่า 19,000 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์

สำหรับการฟื้นฟูฯ การบินไทยนั้น “ลุงตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตัดสินใจเลือก “มืออาชีพ” ที่วางใจในฝีมืออย่าง คือ บุญทักษ์ หวังเจริญ, ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์, พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษานายกฯ เป็นกรรมการการบินไทย และเป็นผู้ทำแผนร่วมกับกรรมการการบินไทยเดิม คือ พลอากาศเอกชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน ประธานกรรมการ และ นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองปลัดกระทรวงการคลัง

ก็คงต้องจับตาดูกันต่อไปเพราะในการบินไทยเองก็มีขยะซุกไว้ใต้พรมมากมาย ไม่ว่าจะเป็นพนักงานที่เป็นลูกหลานผู้หลักผู้ใหญ่มีจำนวนมากแต่ทำอะไรไม่เป็นจนมีคนเรียก การบินไทยเป็น “สายการบินแห่งญาติ” ยังมีเรื่องผลประโยชน์ตั้งแต่การเช่าเครื่องบิน ระบบจำหน่ายตั๋ว จนถึงครัวการบินไทย ล้วนแต่ต้อง “ผ่านเอเยนต์” กินหัวคิวนับวันขยะใต้พรมก็ทะยอยโผล่ออกมาเรื่อย ๆ แถมยังมีหนี้สิน 3.4 แสนล้านบาท

หลังจากเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูแล้วจะเพริศแพร้วศิวิไลย์หรือจะแค่เหล้าเก่าในขวดใหม่ จะกลับมาเป็น “สายการบินแห่งชาติ” อย่างที่ “ลุงตู่” อยากเห็นการบินไทยกลับมาเป็นรัฐวิสาหกิจ หรือจะเป็นอย่างที่หลายคนอยากปล่อยให้ล้มละลายไปเลยแล้วตั้งใหม่อันที่จริงทางออกนั้นไม่จำเป็นต้องสุดโต่งทางใดทางหนึ่ง

โดยส่วนตัวเห็นว่า รัฐบาลต้องเลิกเสพติดคำว่า “แห่งชาติ” ที่ชาวบ้านต้องคอยเอาบ่ามาแบกรับ แต่ครั้นจะปล่อยให้ล้มละลายก็เสียของเปล่า ๆ อย่าลืมว่าจุดแข็งการบินไทยก็มี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิทธิการบิน มีเส้นทางการบินที่มีความสำคัญในเชิงธุรกิจหลายเส้นทาง ที่ดินถนนวิภาวดี และที่ถนนหลานหลวงมูลค่ามหาศาล มีแบรนด์ที่แข็งแกร่ง รู้จักกันทั่วโลกว่าการบริการเป็นเลิศ สิ่งเหล่านี้ล้วนมีมูลค่าและเป็นแต้มต่อสำคัญ

ฉะนั้นทางออกที่ดี กระทรวงคลังลดการถือหุ้นให้เหลือสัก 30% ก็พอที่เหลือขายให้เอกชนไทย เข้ามาถือหุ้นแทน เพื่อลดทอนความเป็นรัฐวิสาหกิจลง ไม่ใช่ซิกแซ็กอย่างที่ขายหุ้นให้กองทุนวายุภักดิ์ และยกเลิกความเป็น “สายการบินแห่งชาติ” เพื่อให้การบริหารมีความคล่องตัว แต่กระทรวงคลังยังจำเป็นต้องถือหุ้น เพื่อเป็นสัญญาลักษณ์ว่า สายการบินใหม่นี้เป็น “สายการบินของประเทศไทย” แม้ไม่ใช่ของรัฐบาล

ถามว่า ทำไม ก็ต้องบอกว่าตราบใดที่ประเทศไทยยังมีรายได้จากการท่องเที่ยวที่มีสัดส่วน 12% ของจีดีพีก็ยังจำเป็นต้องมีสายการบินของประเทศเพื่อสนับสนุนธุรกิจท่องเที่ยวของประเทศ และอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวเมืองไทย มั่นใจว่ามีสายการบินที่บินตรงมายังประเทศไทยแน่ ๆ แต่ถ้าเราไม่มีสายการบินของตัวเองหวังพึงสายการบินประเทศอื่น รับรองว่า นักท่องเที่ยวที่เคยมาประเทศไทยจะหายไปเที่ยวที่อื่นที่มีสายการบินที่สามารถบินตรงแทน

แม้กระทั่งบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก นักธุรกิจต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในไทยหากการเดินทางไม่สะดวกคงไม่มีใครอยากมาลงทุนในบ้านเรา แม้กระทั่งรัฐบาลจำเป็นจะต้องใช้เครื่องบินเพื่ออำนวยความสะดวก เช่นขนคนกลับประเทศในยามวิกฤติ ก็จำเป็นต้องมีสายการบินของตัวเอง ไปยืมจมูกคนอื่นหายใจคงลำบาก

นี่คือ คำตอบว่า ทำไมประเทศไทยไม่จำเป็นต้องมีสายการบินแห่งชาติ แต่ต้องมีสายการบินของตัวเอง ที่มีเครือข่ายไปทั่วโลก เหมือนลุฟฮันซ่า แอร์ฟรานซ์ ก็ไม่ใช่สายการบินแห่งชาติ

ทวี มีเงิน

ภาพจาก thaiairways

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ