TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistความท้าทายในการกำกับดูแลข้อมูลในหน่วยงานภาครัฐ 

ความท้าทายในการกำกับดูแลข้อมูลในหน่วยงานภาครัฐ 

องค์กรภาครัฐมีข้อมูลของประชากรเก็บเอาไว้จำนวนมาก ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติได้ โดยเฉพาะการให้บริการประชาชน ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ข้อมูลเหล่านี้จำเป็นจะต้องมีการเชื่อมโยงกันในหลายองค์กร ดังนั้น ความท้าทายในการกำกับดูแลข้อมูลในหน่วยงานภาครัฐ คือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างองค์กร

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA ได้มีการเปิดเว็บไซต์ data.go.th เพื่อเป็นศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open Government Data) แพลตฟอร์มดังกล่าวถูกพัฒนาขึ้นภายใต้แนวคิดการเป็นศูนย์กลางในการเข้าถึงข้อมูลเปิดภาครัฐของประเทศที่ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลภาครัฐได้สะดวก รวดเร็ว ตลอดเวลา ซึ่งผู้ใช้งานสามารถขอดูตัวอย่างข้อมูล (Preview) ได้ และเปิดโอกาสให้มีการแสดงข้อมูลด้วยภาพ (Data Visualization) และเชื่อมโยงข้อมูลอย่างอัตโนมัติผ่าน API อีกด้วย

การค้นหาข้อมูลสามารถค้นหาได้โดยการพิมพ์รายละเอียดชุดข้อมูลที่ต้องการ หรือกดเลือกการจัดกลุ่ม เช่น กลุ่มชุดข้อมูล รูปแบบของข้อมูล และองค์กรที่เป็นเจ้าของข้อมูล เป็นต้น

ตัวอย่างข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ได้แก่ ข้อมูลพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก การนำเข้าปุ๋ยเคมี (รายสูตรสำคัญ) รายงาน COVID-19 ประจำวัน ข้อมูลประจำประเทศไทย รายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ จำนวนนักเรียนขาดแคลน และข้อมูลความต้องการแรงงานตามโครงการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน เป็นต้น

ความท้าทายของภาครัฐ คือ การผลักดันให้ทุกหน่วยงานมีการจัดทำโครงการ Data Governance ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน มีการจัดอบรมบริกรข้อมูลให้สามารถผลักดันนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และกำหนดรูปแบบการบริหารข้อมูลที่เอื้อต่อการนำข้อมูลไปใช้งานต่อ ซึ่งหลังจากที่ทุกหน่วยงานมีนโยบายข้อมูลแล้ว จะต้องจัดเตรียมข้อมูลให้พร้อมสำหรับการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยน โดยการจัดทำโครงการ Data Management เพื่อเชื่อมโยงข้อมูล จัดโครงสร้างข้อมูล ทำความสะอาดข้อมูล จัดทำ Master Data Document เมื่อข้อมูลมีพร้อม ไม่ว่าหน่วยงานใดต้องการหาข้อมูลอะไรเพื่อนำไปใช้งาน ก็จะสามารถเข้ามาค้นหาข้อมูลจากส่วนกลางได้ ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาขอความร่วมมือข้ามหน่วยงานอีกต่อไป ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาการหวงแหนข้อมูล และการไม่มีเจ้าภาพในการผลักดันโครงการที่มีหน่วยงานต่าง ๆ เกี่ยวข้องกันข้ามหน่วยงานอีกด้วย

ทั้งนี้ Data.go.th จะไม่ประสบความสำเร็จ หากขาดผู้บริหารหน่วยงานที่เห็นประโยชน์ และสั่งการให้มีการดำเนินโครงการ Data Governance และ Data Management อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป

อย่างไรก็ตาม องค์กรภาครัฐหลายองค์กรไม่มีทีม Data Steward ผู้ทำหน้าที่ผลักดันโครงการ Data Governance ทำให้การดำเนินโครงการ Data Governance ไม่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ส่วนให้เป็นการนำข้อมูลมาเผยแพร่โดยที่ไม่มีการจัดชั้นความลับ หรือมีการวางกระบวนการทำงานที่เป็นรูปแบบ ทำให้ชุดข้อมูลที่นำมาเผยแพร่ ไม่มีความเป็นปัจจุบัน 

นอกจากนี้ พบว่า จาก Framework ที่ DGA ได้จัดทำ Template เอาไว้ จะเน้นการแลกเปลี่ยนข้อมูลข้ามหน่วยงาน ทำให้ขาดกระบวนการทำงานภายในองค์กร

กล่าวคือ ข้อมูลที่จะต้องเผยแพร่เท่านั้น ที่จะได้รับการกำกับดูแล ซึ่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลชุดนี้จะอยู่ในจำนวนจำกัด ทั้ง ๆ ที่ การกำกับดูแลข้อมูล ควรให้ความสำคัญตั้งแต่กระบวนการสร้างข้อมูล และเมื่อเราไม่มีการกำหนดความชัดเจนตั้งแต่กระบวนการสร้างข้อมูล ทำให้เมื่อข้อมูลไม่มีคุณภาพ ก็ไม่มีแนวทางในการแก้ไข อันเนื่องมาจากไม่มีการกำหนดบทบาทของเจ้าของข้อมูล และมีมี Data Governance Committee ที่เข้มแข็งพอ 

Data Governance เป็นสิ่งสำคัญมาก ไม่ใช่เฉพาะชุดข้อมูลที่จะเผยแพร่ หรือส่งต่อข้ามหน่วยงาน แต่เป็นชุดข้อมูลทั้งหมดที่มีในองค์กร ซึ่งผู้เกี่ยวข้องในโครงการนี้ ประกอบไปด้วย ผู้บริหาร เจ้าของข้อมูล ผู้ดูแลข้อมูล ผู้ใช้ข้อมูล และทีมบริกรข้อมูล ดังนั้น หากมีการดำเนินโครงการ Data Governance อย่างจริงจัง บุคลากรทั้งหมดในองค์กรจะต้องเข้าใจบทบาทของตัวเอง และให้ความสำคัญกับข้อมูล และสุดท้าย องค์กรก็จะมีทรัพยากรข้อมูลที่เป็นระเบียบมากขึ้น พร้อมส่งต่อ และพร้อมใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง

การลงทุนด้านเทคโนโลยีที่ผิดพลาดในยุค Data-Driven

ความแตกต่างระหว่าง Digitization, Digitalization และ Digital Transformation

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ