TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistความแตกต่างระหว่าง Digitization, Digitalization และ Digital Transformation

ความแตกต่างระหว่าง Digitization, Digitalization และ Digital Transformation

เราอาจจะคุ้นเคยกับคำว่า Digital เพราะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่เราใช้ในชีวิตประจำวันเป็นอุปกรณ์ Digital เสียส่วนใหญ่ หากมองในมุมของการพัฒนาโครงการ จะมีคำ 3 คำที่ใช้เรียกรูปแบบของโครงการที่แตกต่างกัน ได้แก่ คำว่า Digitization, Digitalization และ Digital Transformation

Digital เป็นรูปแบบของการส่งสัญญาณในระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รูปภาพดิจิทัล เป็นต้น

Transformation คือ การปรับเปลี่ยนให้มีความต่างไปจากเดิม เมื่อรวมกับ Digital Transformation จึงหมายถึงการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานแบบเดิม ๆ โดยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลซึ่งเปลี่ยนแปลงนี้มีผลกระทบในระดับองค์กร เพราะนอกเหนือจากกระบวนการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว วิธีคิด และการนำเสนอสิ่งใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดก็มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น Netflix ได้เปลี่ยนตัวเองจากร้านเช่าวีดิโอไปสู่การทำ Online Streaming เป็นต้น

ความท้าทายของการผลักดัน Data-Driven Organization

สำหรับ คำว่า Digitization หมายถึง การปรับเปลี่ยนข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล เช่น การลดการกรอกข้อมูลในกระดาษมาเป็นการกรอกข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

ส่วน Digitalization หมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน หรือกระบวนการทำงาน (Process) เช่น การใช้ระบบ Robotic Process Automation (RPA) หรือ โปรแกรมสร้างหุ่นยนต์เพื่อทำงานทดแทนกระบวนการทำงานในลักษณะงานซ้ำ ๆ รูปแบบเดิม ๆ แทนการทำงานแบบ Manual โดยใช้คน เป็นต้น

เรามักจะคุ้นเคยกับคำว่า Digital Transformation เพราะนั่นคือเป้าหมายสูงสุดขององค์กร แต่ถ้าเป็นการวาง Roadmap จะพบว่า การทำ Digital Tranformation เป็นโครงการใหญ่ ที่อาจจะต้องมีโครงการย่อย ๆ เป็นส่วนประกอบ ไม่ว่าจะเป็นการแปลงข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบ Manual ทั้งหลาย ให้เป็นรูปแบบระบบ Digital (Digitization) ก่อนที่จะดำเนินโครงการ Data Manangement เพื่อให้ข้อมูลต่าง ๆ มีการรวมศูนย์ และสามารถเชื่อมโยงกัน เพื่อประโยชน์ในการนำข้อมูลไปใช้งาน ในบางครั้ง อาจจะต้องมีการระดมสมองเพื่อพิจารณาว่าระบบการทำงานเดิมระบบไหนที่เป็นคอขวด หรือไม่ทันสมัย เช่น การสั่งงานเดินรถ ที่ใช้การตัดสินใจหน้างาน ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย การลงทุนกับระบบ Logistic ที่มีคำสั่ง Routing Optimization น่าจะเป็นการลงทุนที่เหมาะสม และคุ้มค่ามากกว่า เป็นต้น 

เริ่มทำ Big Data Project ได้เมื่อไร?

เมื่อมีคำว่า Transformation จะมีสิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึง คือ Change Management เพราะการปรับเปลี่ยน โดยเฉพาะในระดับองค์กร จะก่อให้เกิดวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจากงานวิจัยต่าง ๆ ต่างลงความเห็นไปในทางเดียวกัน โดยสรุปว่า วัฒนธรรมภายในองค์กร เป็นอุปสรรคที่สำคัญที่สุด ในการ Transform

การเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่สิ่งน่ากลัว แต่สิ่งที่น่ากลัว คือ ความไม่รู้ … ไม่รู้ว่าเปลี่ยนแล้วจะกระทบอะไรบ้าง เปลี่ยนแล้วชีวิตจะดีขึ้นอย่างไร เปลี่ยนแล้วตัวเองจะยังมีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญหรือไม่ ซึ่งหากคำถามต่าง ๆ เหล่านี้ ยังไม่มีความชัดเจน ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่หลายคนจะเกิดความกลัว จนกระทั่งแสดงออกเป็นการต่อต้าน

หลายองค์กร ไม่ประสบความสำเร็จในการทำ Digital Transformation เพราะไม่ได้วาง Roadmap ที่ชัดเจน และไม่เข้าใจกระบวนการในการเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยี ทำให้เกิดแรงต่อต้านภายในองค์กร ดังนั้น สิ่งที่สำคัญ คือ การประเมินสถานการณ์ เราต้องทำอะไรก่อนหลัง กระทบเรื่องไหนบ้าง และจะสื่อสารให้คนในองค์กรเข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการได้อย่างไร …. ผู้บริหารต้องแสดงความสามารถในการสื่อสาร และบริหารองค์กรเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ทีมงานต่อไป 

บทความอื่น ๆ ของผู้เขียน

6 ความล้มเหลวในการใช้ AI

โครงการ Big Data แตกต่างจากโครงการ IT ทั่วไปอย่างไร

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ