TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessBUILKONE ปรับมุมธุรกิจ พิชิตโควิด-19

BUILKONE ปรับมุมธุรกิจ พิชิตโควิด-19

อสังหาริมทรัพย์เริ่มมีสัญญาณไม่ดี ตั้งแต่เมื่อปลายปีที่ 2019 และวิกฤติโควิด-19 เป็นเหมือนการตอกฝาโลงซ้ำเติมจากที่อ่อนแออยู่แล้วให้หนักขึ้นไปอีก ผู้ประกอบการต่างดิ้นรนทำโปรโมชั่นเพื่อที่จะนำเงินสดกลับมาอยู่ในมือ

-มิวเทอร์ม เฟสเซนซ์ นวัตกรรมไทย วัดอุณหภูมิใน 0.1 วินาที
-วิทยาศาสตร์ข้อมูล-ปัญญาประดิษฐ์-แมชชีนเลิร์นนิ่ง พัฒนาประเทศสู่ AI Super Economy
-noBitter… SME วิถีสตาร์ตอัพ กับธุรกิจ Indoor Vertical Farm

ไผท ผดุงถิ่น CEO BUILKONE Group สตาร์ตอัพเบอร์ใหญ่วงการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ กล่าวกับ The Story Thailand ว่า อสังหาริมทรัพย์เป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำ ถ้าประสบปัญหาจะกระทบกับผู้รับเหมา ตกแต่งภายใน และต่อกันไป อุตสาหกรรมก่อสร้างที่เป็นภาพใหญ่ เช่น การสร้างถนน สร้างโรงเรียน โรงพยาบาล ไม่ได้รับผลกระทบทันทีเพราะเป็นงานแบบสัญญา ผู้รับเหมาก็จะได้ทำต่อไป แต่ในไตรมาสที่ 3 ผู้รับเหมาอาจจะได้รับผลกระทบเพราะงานอาจจะหายไปบ้าง

“จะเห็นว่าเราผ่านอะไรมามากทั้งวิกฤติเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่คงไม่เท่ากับโควิด-19 แต่ยังโชคดีที่ไม่ได้กระทบกับก่อสร้างโดยตรงเหมือนกับสิงคโปร์ ส่วนหนึ่งเพราะผู้บริหารจัดการคนงานได้ดี”

หวังว่าหลังแก้ปัญหาโควิด-19 รัฐบาลจะเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจการลงทุนภาครัฐ อัดฉีดเงินเข้ามาในภาคก่อสร้าง ทั้ง โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และรถไฟความเร็วสูง ให้วงการก่อสร้างขับเคลื่อนต่อก็น่าจะมีโอกาสรอด

ปรับองค์กรใหม่ โยกพนักงาน เร่งหารายได้

ไผท กล่าวว่า BUILKONE Group เป็นเสมือนองค์กรที่มี 6 สตาร์ตอัพอยู่ในตัว ภาพรวมได้รับผลกระทบ 2 ตัว คือ “อสังหาริมทรัพย์” แก้ปัญหาโดยย้ายคนไปทำงานอื่น ส่วน “ก่อสร้าง” มีการคุยกันบ่อยมาก ว่าอะไรที่ใช้ได้หรือใช้ไม่ได้ ต้องพยายามทำกำไรเพื่อให้อยู่รอดได้ด้วยตนเอง

หลังจากที่กำหนดได้ว่าจะจัดลำดับความสำคัญ คาดการณ์ว่าจะได้รับผลกระทบอย่างไร และมีแนวทางอย่างไร ก็แจ้งพนักงานให้เตรียมตัวเข้าสงคราม เพราะวิกฤติมันอาจจะมาเร็วกว่าเดิม

“ไม่ใช่เฉพาะเราที่เปลี่ยนแต่ลูกค้าและคู่แข่งก็เปลี่ยน ทุกคนต้องทำสิ่งที่ไม่เคยทำ ถ้าแม่ครัวของเราลุกออกมาจับปืนได้ แม่ครัวขององค์กรอื่นก็สามารถลุกขึ้นทำได้เหมือนกัน”

ไผท กล่าวต่อว่า “ในภาวะเศรษฐกิจแย่เค้กมันหดเล็กลง แต่คนอื่นตื่นได้ก่อนและตาสว่างกว่าขณะที่เรายังตาปรืออยู่ เราก็จะไม่รอด”

ในฐานะของคนที่กำลังพาองค์กรที่มีพนักงานร้อยกว่าคนเพื่อให้ไปต่อได้ มีความกดดันมาก ต้องตัดสินใจหลายอย่าง ลูกค้ากลุ่มหนึ่งหายไป แต่ด้วยความที่ขยายไป 6 ธุรกิจ จึงมีเครื่องยนต์และผลิตภัณฑ์อยู่หลายชนิด ทำให้องค์กรมีความยืดหยุ่น

ปีที่แล้วมีการปฏิรูปครั้งสำคัญ คือ เปลี่ยนโมเดลธุรกิจโปรแกรม “พจมาน” เป็นโปรแกรมที่ขายให้ผู้รับเหมารายใหญ่ ๆ เป็นการให้เช่าใช้แทน ผ่านระบบคลาวด์และเก็บบริการรายเดือน ซึ่งจากวิกฤติโควิด-19 ทำให้บริษัทยังมีรายได้เล็ก ๆ น้อย ๆ เข้ามาช่วยประคับประคองรายได้ส่วนที่หายไปได้

ปรับโมเดลธุรกิจ รีสกิลพนักงาน

ไผท แบ่งทีมงานออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

กองหลัง คือ โปรแกรมเมอร์
กองกลาง คือ คนวางระบบ
กองหน้า คือ เซลล์ หรือคนขาย

ไผท กล่าวว่า เมื่อตลาดหดตัว คนขายที่เคยยุ่งก็อาจจะไม่ยุ่งเท่าเดิม ก็มาดูว่าจะไปทำอะไรต่อ ทำรีสกิลกันในออฟฟิศ ลองเปลี่ยนฟังก์ชันงานกัน พนักงานบางคนยกมืออาสาเข้ามาช่วยบริษัทในช่วงวิกฤติโดยการลองทำอะไรใหม่ ๆ

ธุรกิจที่มีอยู่ 6 ตัวก็จะไม่มีการเพิ่มธุรกิจใหม่ แต่จะปรับเปลี่ยนบางธุรกิจที่ยอดตก ให้ไปอยู่ในธุรกิจที่มีทิศทางที่ดีขึ้น ด้านการขายจากที่เคยขายบริการใหญ่ ๆ ราคาแพง ก็เปลี่ยนมาเป็นการขายควบ ขายคู่ หรือ หาพาร์ทเนอร์ รวมถึงช่วยเหลือลูกค้าที่ไม่มีเงินก้อน เช่น ให้บริการแบบจ่ายรายเดือน

“เราเชื่อว่าหลังจากวิกฤติอาจจะได้ไอเดียใหม่ ๆ จากการปรับการทำงาน สตาร์ตอัพที่มีโอกาสจะเข้ามารวมกิจการกันมากขึ้นเพื่อให้เป็นบริษัทที่แข็งแกร่งกว่าเดิม”

สตาร์ตอัพที่ได้รับผลกระทบ จะต้องรู้ว่าใช้เงินไปทำอะไร ถ้าจะเริ่มก็ต้องมั่นใจว่าอยู่ในอุตสาหกรรมที่ถูกที่ถูกเวลา ซึ่งสำคัญมากในช่วงวิกฤติ ถึงแม้ว่าจะมีรันเวย์ก็อย่าประมาท

“Learn fast – Fail fast ยังใช้ได้อยู่ แต่มีมุมมองที่แตกต่างออกไปในช่วงวิกฤติ เราต้องระวังมากขึ้น และทดสอบในช่วงเวลาที่สั้นกว่าเดิม ใช้ต้นทุนน้อยลง ถ้าไม่เห็นผลก็เปลี่ยนเลย”

ทำงานจากบ้านนาน ๆ ส่งผลพนักงานอยากเข้าออฟฟิศมากขึ้น

ไผท กล่าวว่า ในช่วงเดือนแรกให้พนักงานกลับไปทำงานจากบ้าน บริษัทใช้เครื่องมือต่าง ๆ สื่อสารกันมากขึ้น ซึ่งผลลัพธ์ออกมาดี หลังจากผ่านไป 1 เดือน จากนั้นทำการสำรวจพนักงานหลายคนบอกว่าประสิทธิภาพดีขึ้น แต่มีปัญหาคือเหงา อยากออกไปข้างนอกบ้างหรือเข้ามาที่ออฟฟิศบ้าง

หลังจากนั้นจึงใช้นโยบาย “Flexible Location” คือ ให้จองคิวเข้าออฟฟิศผ่านแอปพลิเคชัน เพราะต้องทำเรื่องการเว้นระยะห่างทางสังคมในสำนักงาน โดยให้เข้ามาได้แค่ 40 คน ต่อ 1 วัน ส่วนอีก 60 คน ต้องทำงานที่บ้าน

“1 คนมีโควต้าเข้าออฟฟิศได้ 8 วันต่อ 1 เดือน ที่เหลือต้องทำงานที่บ้าน”

ไผท กล่าวต่อว่า สมัยก่อนคนออกจากบ้านมาทำงาน 5 วัน อยู่บ้าน 2 วัน แต่เมื่อเกิดวิกฤติจึงเกิดคำถามว่ามันต้องเป็นแบบนี้จริงหรือ ซึ่งบทเรียนหลังจากทำการโหวตน่าสนใจมาก คือ สมัยก่อนการอยู่บ้านเหมือนอยู่บนสวรรค์ แต่การไปทำงานเป็นเรื่องทรมานมาก แต่จากวิกฤตินี้การได้ออกมาทำงานที่บริษัทคือสวรรค์

6 ธุรกิจภายใต้ BUILKONE Group

-POJJAMAN ERP สำหรับผู้รับเหมาก่อสร้างขนาดกลาง-ใหญ่
-BUILK.COM ระบบควบคุมต้นทุนสำหรับผู้รับเหมาก่อสร้าง SMEs ใช้งานฟรี
-YELLO B2B e-Commerce สำหรับวัสดุก่อสร้าง
-JUBILI ระบบ CRM สำหรับธุรกิจ B2B และร้านวัสดุก่อสร้าง
-PLOY ระบบ CRM สำหรับโครงการอสังหาริมทรัพย์
-KWNAJAI ระบบ Aftersales Service สำหรับที่อยู่อาศัยและอาคารสาธารณะ

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ