TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistเปิดยุทธศาสตร์ Metaverse เกาหลีใต้

เปิดยุทธศาสตร์ Metaverse เกาหลีใต้

ประเทศเกาหลีใต้เป็นประเทศที่ขึ้นชื่อด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองหลวงอย่างกรุงโซล ที่มีเครือข่าย Internet ที่เร็วติดอันดับต้นของโลก ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การสร้างโลก Metaverse นั้นราบรื่นไปได้ด้วยดี

ซึ่งหากประเทศไทยสามารถทำเริ่ม Metaverse ระดับประเทศเช่นนี้ได้จะทำให้เกิดการลงทุนใหม่ ๆ เกิดการกระตุ้นทางเศรษฐกิจ และสร้างการบริการและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนได้ทั้งด้านธุรกิจ การศึกษา พื้นที่สำหรับกิจกรรมด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว การสื่อสาร การพัฒนาเมือง และเกาหลีเป็นตัวอย่างที่ดีมากให้เราได้ศึกษากัน ก็คงต้องหวังกันต่อไปว่าเมื่อไหร่ประเทศไทยจะมีวันนั้น 

Metaverse Seoul: Metaverse เมืองแรกของโลก

นายกเทศมนตรีโซล “Oh Se-hoon” และรัฐบาลมหานครโซล (Seoul Metropolitan Government) ได้ประกาศแผนพัฒนา Metaverse เป็นเมืองแรกของโลก ในชื่อ “Metaverse Seoul” ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ “Seoul Vision 2030” ให้เป็นเมืองแห่งการอยู่ร่วมกัน และเป็น Emotional City โดยจะทุ่มทุนกว่า 3.9 พันล้านวอน (108 ล้านบาท) โดยตั้งเป้าว่าภายในปลายปี 2022 จะสามารถพัฒนา Metaverse Seoul บนแพลตฟอร์ม Metaverse ของตัวเอง

นอกจากนั้นเมื่อไม่นานมานี้ทางกระทรวงไอซีที วิทยาศาสตร์ และการวางแผนในอนาคตของเกาหลีใต้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะให้เงิน 223.7 พันล้านวอน (186.7 ล้านเหรียญสหรัฐ) เพื่อสร้างระบบนิเวศ Metaverse ที่ครอบคลุมเพื่อรองรับการเติบโตของเนื้อหาดิจิทัลและการเติบโตขององค์กรภายในประเทศ เพื่อให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนได้บนโลกเสมือน ด้วยนโยบายทั้งหมดนี้ กรุงโซล จะกลายเป็นเมือง Metaverse เมืองแรกของโลก ที่เปี่ยมไปด้วยเทคโนโลยีแห่งอนาคต

ทางเกาหลีใต้ได้ให้ความสำคัญและเน้นไปที่การบริการประชาชนในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านธุรกิจ การศึกษา พื้นที่สำหรับกิจกรรมด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว การสื่อสาร การพัฒนาเมือง และบริการสาธารณะไปจนถึงสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่สูญหายไปแล้วแต่ถูกสร้างขึ้นใหม่บนโลกเสมือน

โดยมี 4 แกนสำคัญที่จะทำให้เกาหลีใต้ ทรานส์ฟอร์มไปสู่ประเทศแห่ง Metaverse ประกอบด้วย

  1. ส่งเสริมให้เกิดการสร้างระบบนิเวศแพลตฟอร์ม Metaverse (Ecosystem)
  2. บ่มเพาะและพัฒนาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้าน Metaverse (Developer)
  3. สนับสนุนองค์กรเอกชน และสตาร์ทอัพในการพัฒนาเทคโนโลยี Metaverse ประเภทต่าง ๆ (People)
  4. สร้างระบบความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งาน Metaverse (Safety)

ทางรัฐบาลเกาหลีใต้จะทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนนักพัฒนาจากภาคเอกชนและบริษัทต่าง ๆ ด้วยมาตรการส่งเสริมด้านต่าง ๆ เป็นหลัก เพื่อขยายโครงสร้างพื้นฐาน Metaverse ทั่วประเทศได้อย่างมั่นคง

รัฐบาลเกาหลีใต้จึงได้จัดตั้ง “Metaverse Hub” ภายในปี 2022 เพื่อเป็นพื้นที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับบริษัทขนาดเล็ก ขนาดกลาง และสตาร์ทอัพได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่

เช่น การนำ Metaverse มาใช้กับบริการสาธารณะ รัฐบาลจะใช้แพลตฟอร์ม Metaverse ที่พัฒนาโดยเอกชน แทนที่จะสร้างเวอร์ชั่นของรัฐบาลมาใช้ นั้นเอง

แน่นอนว่าการนำ Metaverse มาใช้จะเป็นผลดีและเป็นการได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ กับการท่องเที่ยวภายในประเทศ Metaverse โดย Metaverse Seoul จะเป็นแพลตฟอร์มที่มี Ecosystem สำหรับการให้บริการด้านต่าง ๆ การเข้าถึงบริการ แหล่งท่องเที่ยว รวมไปถึงการทำกิจกรรมก็สามารถทำได้เหมือนในโลกจริง

โดยโครงการจะเริ่มจากการ mapping โครงสร้างของเมืองและสร้างสถานที่ในโลกจริงมายังโลกเสมือน เช่น สำนักงานเสมือนของนายกเทศมนตรี, FinTech Lab เสมือนจริง, ศูนย์การลงทุนเสมือนจริง, Seoul Campus Town และบริการสาธารณะต่าง ๆ

ถัดมาจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังที่จะมาอยู่บน Metaverse ในรูปแบบ Virtual Tourist Zone อย่าง Gwanghwamun Plaza, พระราชวังถ็อกซูกุง (Deoksugung Palace)และ ตลาดนัมแดมุน(Namdaemun Market) เป็นต้น

และที่สำคัญการมีเมือง Metaverse เราสามารถสร้างสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่สูญหายไปแล้วขึ้นมาได้ อย่างเช่นในเกาหลี เคยมีประตู Donuimun หนึ่งในป้อมประตูเมืองของกำแพงเมืองโซล ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ 600 ปีก่อน และถูกทำลายลงในปี 1915 ก็จะถูกสร้างขึ้นมาใหม่อีกครั้งในรูปแบบของ Metaverse ให้ประชาชนและชาวโลกสามารถเข้ามาเยี่ยมชมประวัติศาสตร์นี้ได้อีกครั้ง

ทางรัฐบาลเกาหลีใต้ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของบุคคลากร นักพัฒนาและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก จึงได้จัดตั้งสถาบันการศึกษา Metaverse ที่บ่มเพาะผู้เชี่ยวชาญด้าน Metaverse โดยเฉพาะ (Metaverse Academy) โดยจะให้การสนับสนุนด้านการเงินเป็นจำนวน 5.5 พันล้านวอน หรือประมาณ 4.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับแต่ละสถาบันการศึกษาภายในช่วง 5 ปีข้างหน้า

นอกจากนี้จะจัดให้มีการแข่งขันด้านการพัฒนาโปรแกรม Metaverse และมีโครงการ Hackathons แข่งขันระดมความคิดและการพัฒนา เพื่อกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมภายในเวลาอันรวดเร็วสำหรับสร้างสรรค์ Metaverse

โดยตั้งเป้าว่าจะสามารถเป็นเจ้าตลาด Metaverse อันดับ 5 ของโลกภายในปี 2026 และยังสามารถสร้างบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้าน Metaverse กว่า 40,000 คน รวมไปถึงมีบริษัทที่เชี่ยวชาญด้าน Metaverse โดยเฉพาะอีก 220 บริษัทเลยทีเดียว

K-Pop ในโลก Metaverse

ในโลกของ Metaverse เราจะสามารถพบปะผู้คนได้มากมายหลากหมายทั่วทุกมุมโลก การนำเอาศิลปะ วัฒนธรรมเข้ามายังโลกเสมือนจะทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงและเรียนรู้ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เป็นอีกหนึ่งแนวทางในการสร้างสรรค์และแสดงผลงานไม่ว่าจะเป็นศิลปะ ดนตรี วัฒนธรรม รวมไปถึงภาษาด้วยเช่นเดียวกัน

ทางเกาหลีจะนำเอาเทศกาลวันสำคัญมาจัดอยู่ในรูปแบบของ Metaverse ให้ประชาชนทั่วทุกมุมโลกสามารถมีส่วนร่วมได้ อย่างเช่น งานเทศกาลโคมไฟกรุงโซล (Seoul Lantern Festival) หนึ่งในเทศกาลชื่อดัง ก็ได้ประกาศจะจัดขึ้นในรูปแบบ Metaverse ในปี 2023 เป็นต้นไป

นอกจากนั้นคาดว่าจะเปิดตัวคอนเสิร์ตฮอลล์ ‘Chapel of Sound’ ในรูปแบบ Metaverse แต่ยังไม่มีกำหนดชัดเจนแต่จะเป็นอีกหนึ่งสถานที่สำคัญสำหรับจัดแสดงดนตรีนอกเหนือจากดนตรี K-Pop อย่างดนตรีคลาสสิคและการละคร

อีกทั้งยังมีการจัดตั้งสถาบันสอนภาษาเกาหลีออนไลน์ เพื่อให้ผู้ที่เข้ามาสู่โลก Metaverse ของเกาหลีสามารถเรียนรู้ภาษาพร้อมกับวัฒนธรรมเกาหลีและซึมซับบรรยากาศของเกาหลีใต้ได้อย่างแท้จริง

และที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับประเทศเกาหลีนั้นก็แค่วงการ K-Pop ที่ได้นำร่องในโลก Metaverse มาก่อนหน้านี้แล้วทั้งการขายสินค้าในรูปแบบ NFT และจากจัดแฟนmeeting จัดconcert แบบMetaverse รวมไปถึงจับมือกับอุตสาหกรรม Blockchain เรียกได้ว่าวงการเพลง K-Pop ได้เปิดทางและเข้าถึงผู้คนในโลกของ Metaverse มากที่สุดวงการหนึ่งเลยทีเดียว

SM Entertainment – สร้าง SM Culture Universe หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “SMCU” (เอสเอ็มซียู) เดบิวต์เกิร์ลกรุ๊ป Metaverse อย่าง aespa และสร้างโลกเสมือนอย่างอาณาจักร KWANGYA ที่มีอวตาร์ของ 4 สาวในอีกโลกหนึ่ง ในอนาคตอาจมีการจัดกิจกรรมผ่านโลก Metaverse เพื่อตอบโจทย์การลดช่องว่างระหว่างศิลปินและแฟนคลั

HYBE นำเทรนด์เล่นคอนเสิร์ตในรูปแบบ Metaverse
ศิลปินชื่อดังในค่ายอย่าง บีทีเอส(BTS) ได้จัดแสดงคอนเสิร์ตผ่านเกม “Fortnite” มาตั้งแต่ปี 2563 และยังได้ขึ้นแสดงคอนเสิร์ตในเกม “Minecraft” ซึ่งเป็น Metaverse

JYP ผลักดันศิลปินเข้าสู่โลก AR และ VR โดย “นิจิยู” (NiZiU) วงเกิร์ลกรุ๊ปสัญชาติญี่ปุ่นภายใต้การดูแลของค่ายร่วมมือกับ “SOFTBANK” บริษัทผู้นำด้านเทคโนโลยีของญี่ปุ่น เข้าสู่วงการ Metaverse ด้วยการเปิดตัวแพลตฟอร์ม AR และ VR ของวงที่เรียกว่า “NIZIULAB” นั้นเอง

YG ใช้ Metaverse เพิ่มความใกล้ชิดระหว่างศิลปินกับแฟนคลับ

Blackpink ได้จัดงานแฟนมีตติ้งบน ZEPETO เมื่อเดือนกันยายน 2021 โดยมีผู้เข้าชมมากกว่า 46 ล้านครั้งภายในระยะเวลาสองสัปดาห์ รวมถึงเปิด “YG’s The SameE” พื้นที่พิเศษสำหรับแฟนคลับไว้ปฏิสัมพันธ์กับศิลปินในโลกเสมือนใน ZEPETO ซึ่งมีกิจกรรมสุดพิเศษที่หาไม่ได้จากโลกแห่งความเป็นจริง เช่น ชมการแสดงชุดพิเศษจากศิลปิน รับโปสเตอร์แบบพิเศษ ตลอดจนซื้อสินค้าของศิลปิน

Metaverse 120 Center: ศูนย์บริการสาธารณะเสมือนจริง

กรุงโซลวางแผนจะเปิด “Metaverse 120 Center” ศูนย์บริการสาธารณะเสมือนจริง และมีเจ้าหน้าที่รัฐในร่างอวตาร์ คอยให้บริการแก่ประชาชน โดยสามารถใช้ VR พบเจ้าหน้าที่ภาครัฐของกรุงโซล เพื่อขอคำแนะนำบนโลกเสมือนจริงได้ และในอนาคตมีแผนต่อยอดไปสู่การจัดกิจกรรม Virtual โดยที่ผู้คนเพียงแค่สวม VR ก็สามารถเข้าร่วมงานเสมือนจริงได้เลย

การใช้แชทบอท AI เพื่อให้บริการตอบคำถามประชาชน และรับเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ ตั้งแต่การฝ่าฝืนกฎการจอดรถ ไปจนถึงหลักการปฏิบัติป้องกัน COVID-19

พัฒนาการบริการ และการออกแบบที่คำนึงถึงความสะดวก และแน่นอนว่าคำนึกถึงความปลอดภัยของผู้พิการเช่นกัน

รวมไปถึงยังวางแผนสร้างสำนักงานนายกเทศมนตรีเสมือนจริง ศูนย์ปฏิบัติการ FinTech Lab, Seoul Campus Town ใน Metaverse อีกด้วย

เนื่องจากทางภาครัฐของเกาหลีใต้ยังมีกฏข้อบังคับบางข้อที่ขัดแย้งกับหลักของ Metaverse อยู่บ้าง อย่างเช่น การแบน NFT Game เนื่องจากทางรัฐบาลมองว่าอาจเกิดการเสพติดการเล่นเกมและถือเป็นการพนันรูปแบบหนึ่ง อีกทั้งยังมีการเก็บภาษี NFT ถึง 20% เลยทีเดียว รวมไปถึงประชาชนยังไม่มั่นใจในความปลอดภัยของการเป็นส่วนตัวในการเข้าไปสู่โลก Metaverse ของภาครัฐ

ทำให้รัฐบาลเกาหลีใต้ต้องจัดตั้งหน่วยงานภาครัฐตรวจสอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ Metaverse และอาจมีการแก้ไขกฎระเบียบหากจำเป็น และทางรัฐบาลยังมองว่า metaverse เป็นแพลตฟอร์มที่ให้ผู้คนและวัตถุในโลกเสมือนจริงสามารถโต้ตอบกันเพื่อสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

ผู้เขียน สัญชัย ปอปลี https://www.facebook.com/SanjayPopli.23/

บทความอื่น ๆ ของผู้เขียน

Blockchain กระดูกสันหลังแห่งโลก Metaverse

Metaverse และ GameFi เทรนด์ที่กำลังมาแรงในวงการคริปโทฯ

ภูมิทัศน์ “คริปโต” … จาก global สู่ local

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ