TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyบทบาทของ NFT และ Metaverseในยุคโลกเสมือน

บทบาทของ NFT และ Metaverseในยุคโลกเสมือน

ท่ามกลางโลกที่กำลังมุ่งเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างชัดเจน จักรวาลนฤมิต หรือเมตาเวิร์ส กับ NFT (สินทรัพย์ดิจิทัลรูปแบบหนึ่ง) คือ เทคโนโลยีนวัตกรรมของโลกอนาคตอย่างแน่นอน โดยผู้เชี่ยวชาญประเมินว่า NFT น่าจะได้รับการพัฒนาและใช้กันอย่างแพร่หลายกว้างขวางมากขึ้นภายในปี 2025 ขณะที่เมตาเวิร์สจะเป็นเทคโนโลยีที่เริ่มที่ก้าวเข้ามามีบทบาทในโลกของการทำงานในอีก 2-3 ปีข้างหน้า 

ผช.ศ.ดร. เฟอร์ดิน โจ จอห์น โจเซฟ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการวิจัยและวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีไทย-นิจิ กล่าวสัมมนาในหัวข้อ “NFT in Blockchain as a Service” หนึ่งในประเด็นสัมมนาภายใต้การประชุมวิชาการนานาชาติด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมภาครัฐ DGTI-Con 2022 โดยระบุว่า ความเข้าใจในเรื่อง NFT หรือ Non-Fungible Tokens ของคนส่วนใหญ่มักจำกัดอยู่แค่ความเกี่ยวข้องกับบิทคอยน์และคริปโตเคอร์เรนซีเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว NFT มีบทบาทใกล้ชิดกับการดำรงชีวิตประจำวันของผู้คนในสังคมมากกว่าที่ใครหลายคนเชื่อกัน ทั้งยังเป็นปัจจัยสนับสนุนให้โครงสร้างพื้นฐานของบลอกเชน มีความสมบูรณ์และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น 

ทั้งนี้ คุณสมบัติที่โดดเด่นของ NFT คือ การเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น งานศิลปะ ดิจิทัลคอนเทนต์ หรือ สื่อ ซึ่งจะมีการกำหนดมูลค่าที่ชัดเจนสามารถนำใช้ทำธุรกรรมในรูปคริปโตเคอร์เรนซี และแสดงความเป็นเจ้าของที่แท้จริงแก่ผลิตภัณฑ์ดิจิทัลที่สามารถพิสูจน์ตรวจสอบได้ และช่วยจำกัดปริมาณและป้องกันการทำซ้ำหรือลอกเลียนแบบ ทำให้สินทรัพย์ดิจิทัลเหล่านี้มีจำกัก ช่วยให้เจ้าของ “งาน” สามารถซื้อขายทำกำไรได้

ดร.เฟอร์ดิน แสดงความเห็นว่า การเติบโตของ NFT เป็นสิ่งที่น่าจับตามองโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมศิลปะ เกมและแฟชั่น ที่มีการเติบโตของ NFT อย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันการมาถึงของเมตาเวิร์ส ก็จะยิ่งทำให้ NFT ยิ่งมีบทบาทสำคัญมากขึ้น ท่ามกลางความพยายามในการให้มูลค่าและเป็นเจ้าของสินทรัพย์บนโลกดิจิทัล พร้อมยกตัวอย่าง NFT ที่น่าสนใของไทยที่อยู่ภายใต้การดูแลของแพลตฟอร์มอย่าง Zipmax และ Bitkub

ด้านวอลตอร์ ปาสเกอร์เรลลิ (Walter Pasquerelli) ผู้จัดการด้านเทคโนโลยีของ The Economist Group และที่ปรึกษารัฐบาลอังกฤษด้านนโยบายเทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งเข้าร่วมงานประชุมวิชาการ DGTI-Con 2022 เพื่อร่วมแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับ “เมตาเวิร์ส” ปาสเกอร์เรลลิ กล่าวว่า เป็นอนาคตที่กำลังจะมาถึงภายในช่วง 10 ปีข้างหน้า พร้อมเปรียบเทียบว่า ถ้าอินเทอร์เน็ตทำให้คนได้มีส่วนร่วมกับเทคโนโลยีด้วยการมองเห็นและได้ยิน จักรวาลนฤมิต หรือ เมตาเวิร์ส จะขยายประสบการณ์ให้คนได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยี

ทั้งนี้ ปาสเกอร์เรลลิ อธิบายความหมายของเมตาเวิร์สที่เป็นมากกว่าแค่เทคโนโลยีโลกเสมือน (virtual reality) เพราะเมตาเวิร์สจะให้ความรู้สึกของการคงอยู่ (presence) กล่าวคือ เป็นการทำผู้ใช้งานได้เข้ามาร่วมสัมผัสถึงการมีอยู่และมีส่วนร่วมระหว่างกันบนพื้นที่ดิจิทัลในระยะเวลาใดเวลาหนึ่งด้วยกัน เป็นพื้นที่ดิจิทัลส่วนรวมที่นำโลกเสมือนจริงมารวมกันในลักษณะที่ช่วยสร้างตัวตนที่ทำให้รู้สึกถึงการมีอยู่ของกันและกัน

คนจะใช้เวลาใน Metaverse มากขึ้น

แม้แนวคิดที่ว่าการใช้เวลาส่วนใหญ่ของวัน (มากกว่า 8 ชั่วโมง) เข้าไปอยู่ในโลกเมตาเวิร์ส ดูจะเป็นความคิดแบบสุดโต่ง แต่สำหรับปาสเกอร์เรลลิแล้ว เจ้าตัวกลับมองว่า ความคิดดังกล่าวไม่ใช่ว่าจะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ โดยได้เปรียบเทียบกับพฤติกรรมที่คนในสังคมโลกส่วนใหญ่ใช้เวลาอยู่หน้าจอนานขึ้นกว่าเดิม ซึ่งการอยู่หน้าจอ ท่องโลกโซเชียล ดูภาพยนต์ ฟังเพลง เล่นเกม บนโลกออนไลน์ ก็ไม่ต่างอะไรกับการที่คนจะใช้เวลาเข้าไปมีส่วนร่วมกับโลกเสมือน 

สำหรับอุตสาหกรรมหรือธุรกิจที่มีโอกาสได้สัมผัสกับเมตาเวิร์สก่อนใคร ปาสเกอร์เรลลิ ประเมินว่า โลกของการทำงาน มีโอกาสที่จะเป็นไปได้มากที่สุด ซึ่งภายใน 2-3 ปีนี้ พนักงานในองค์กรชั้นนำระดับโลก จะเข้าประชุมด้วยร่างอวตาร์ หรือใช้ร่างอวตาร์ในการปฎิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน 

นอกจาก “เมตาเวิร์ส” ที่น่าจับตามองก็คือ อุตสาหกรรมค้าปลีกที่เมตาเวิร์สเข้ามาช่วยเชื่อมโยงโลกเสมือนกับโลกความเป็นจริง เช่น กรณีวอลล์มาร์ทที่เปิดให้คนเข้าไปชอปปิ้งออนไลน์ ผ่านแว่นตาวีอาร์ ก่อนที่จะชำระเงิน และมีการจัดส่งสินค้าที่ซื้อในโลกเสมือนมาถึงหน้าบ้าน และอุตสาหกรรมเกมที่ผู้เล่นเกมจะเข้าไปมีส่วนร่วมกับตัวเกมมากขึ้น

ในส่วนของข้อควรระวัง ปาสเกอร์เรลลิกล่าวว่า สิ่งที่ต้องระวังสำหรับเมตาเวิร์ส มีอยู่ 2 ประเด็นหลักก็ คือ 1) การทำให้คนหลงเข้าไปอยู่ในโลกเสมือนจนกระทั่งมองข้ามปัญหาที่เกิดขึ้นบนโลกแห่งความเป็นจริง และ 2) สิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกเสมือนไม่ได้หมายความจะไม่ส่งผลกระทบต่อโลกความเป็นจริง เช่น กรณีล่วงละเมิดทางเพศ 

ด้วยความที่ เมตาเวิร์สเป็นพื้นที่สีเทา ที่ไม่อาจแยกดำและขาวได้อย่างชัดเจน ดังนั้น จึงเป็นความท้าทายของรัฐบาลนานาประเทศทั่วโลกที่จะออกมาตรการกำกับดูแลปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล และความเป็นส่วนตัว กฎระเบียบทางกฎหมาย ใครเป็นผู้กำกับดูแล  ความรับผิดชอบที่หมายถึงกรณีเกิดปัญหา ใครจะเป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการเรียกร้องความรรับผิดชอบจากคนที่ทำผิด และการกลั่นกรองเนื้อหา ระดับของความยินยอมที่จะให้ผู้ใช้งาน

ในฐานะที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีให้กับรัฐบาลอังกฤษ ปาสเกอร์เรลลิ เชื่อมั่นว่า รัฐบาลน่าจะใช้ประโยชน์จากเมตาเวิร์สเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการของหน่วยงานต่าง ๆ โดยได้ยกตัวอย่าง กรณีของสถานทูตที่นำเมตาเวิร์สมาใช้เพื่อที่ประชาชนจะเข้ามาติดต่อขอความช่วยเหลือโดยที่ไม่ต้องเดินทางเข้ามา หรือ กรณีใช้เป็นพื้นที่ให้สมาชิกสภาท้องถิ่นได้พบปะแลกเปลี่ยนข้อมูล ทำ town hall เป็นต้น

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เมตาเวิร์ส และ NFT ขุมทรัพย์แหล่งใหม่จากโลกเสมือนสู่โลกจริง

GuildFi ระดมทุน 200 ล้านบาทจาก DeFiance Capital และ Hashed เชื่อมต่อเกม NFT ในโลก metaverse

เปิดยุทธศาสตร์ Metaverse เกาหลีใต้

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ