TH | EN
TH | EN
หน้าแรกSustainabilityเปิดมุมมองซีอีโอหญิง 'มณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ' และบทบาทของ Sea (ประเทศไทย) ต่อความยั่งยืนและ ESG

เปิดมุมมองซีอีโอหญิง ‘มณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ’ และบทบาทของ Sea (ประเทศไทย) ต่อความยั่งยืนและ ESG

ความยั่งยืนในแง่ของ ‘เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม’ และในแง่ ‘การทำธุรกิจ’ มีความเกี่ยวเนื่องกัน ส่งเสริมกันและกัน และแยกออกจากกันไม่ได้ นี่คือมุมมองของ นก – มณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ ซีอีโอหญิงแห่ง Sea (ประเทศไทย)

โดยบทบาทและเจตจำนงในการดำเนินธุรกิจของ Sea (ประเทศไทย) คือ การใช้แพลตฟอร์มและความเชี่ยวชาญของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นด้าน Digital Entertainment, E-commerce, หรือ Digital Finance ในการส่งเสริมให้ผู้บริโภคและ SMEs ไทย ให้เข้าถึงโอกาสที่มาพร้อมกับพัฒนาการของเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อพาทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในเศรษฐกิจดิจิทัล ที่กำลังเติบโตและเก็บเกี่ยวประโยชน์จากความก้าวหน้าของเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันได้อย่างเต็มที่

“ความตั้งใจที่กล่าวไปในข้างต้นนี้ ฝังรากอยู่ในทุก ๆ อย่างที่เราทำ ตั้งแต่การพัฒนาแพลตฟอร์มและบริการ ไปจนถึงการริเริ่มโครงการเพื่อความยั่งยืนต่าง ๆ ที่เราทำควบคู่ไปกับการทำธุรกิจ”

หากจะให้อธิบาย ‘Sustainability Action’ ที่ Sea (ประเทศไทย) กำลังทำ ด้วย ESG Framework ก็กล่าวได้ว่า

Environment: ด้านสิ่งแวดล้อม

มณีรัตน์ กล่าวว่า เป็นด้านที่ยังใหม่ แต่ก็ได้เริ่มทำแล้ว เช่น โปรแกรมปรับปรุงการใช้ไฟฟ้าภายในออฟฟิศให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น ซึ่ง Headquarters เป็นผู้เริ่มทำและกระจายนโยบายออกไปยังออฟฟิศในประเทศอื่น ๆ รวมถึงออฟฟิศในประเทศไทยด้วย

นอกจากนี้ มีการริเริ่มโครงการอื่น ๆ ในประเทศไทย เช่น แคมเปญ “กล่อง เกิด ใหม่” ที่จัดทำขึ้นในช่วงปลายปี 2022 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการช้อปปิ้งออนไลน์จำนวนมาก (เปิดรับกล่องพัสดุตั้งแต่ช่วงสัปดาห์แรกของเดือนกันยายน จนถึงพฤศจิกายน 2022) ชวนให้ผู้คนรวบรวมกล่องพัสดุจากการช้อปปิ้งออนไลน์ มาทิ้งในจุดรับทั่วกรุงเทพฯ กว่า 100 จุด เพื่อให้ช้อปปี้และเหล่าพันธมิตร เช่น เอสซีจี แพคเกจจิ้ง (SCGP), พฤกษา โฮลดิ้ง, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ร่วมกันนำกล่องพัสดุมารีไซเคิล ต่อยอดให้เกิดประโยชน์ใหม่ ๆ

แคมเปญนี้ได้รับการตอบรับที่ดี มีกล่องพัสดุราว 1,700 กิโลกรัมที่ถูกนำเข้าสู่กระบวนการ Upcycling เพื่อทำออกมาเป็นชั้นวางหนังสือสำหรับเด็ก และบริจาคให้มูลนิธิเด็กโสสะแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

Social: สำหรับด้านสังคม

มณีรัตน์ กล่าวว่า เป็นสิ่งที่ทำมายาวนาน โฟกัสหลักคือการเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดัน Digital Inclusion เนื่องจากพบว่าในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตและการทำธุรกิจ นอกจากคนที่สามารถปรับตัวได้แล้ว ยังมีคนที่พบเจออุปสรรคในการปรับตัวอีกมาก โอกาสหรือบริการต่าง ๆ ที่มาพร้อมกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและเศรษฐกิจยุคดิจิทัลนั้น ไม่ได้ถูกกระจายไปถึงคนทุกกลุ่มอย่างทั่วถึงในปัจจุบัน

“เราเห็นได้ว่านี่เป็นประเด็นสังคมที่ทั้งภาครัฐและเอกชนเล็งเห็น และแต่ละองค์กรกำลังพยายามแก้ไขปัญหานี้ในด้านที่ตนสามารถทำได้และเชี่ยวชาญ สำหรับสิ่งที่ Sea ทำ มี 2 ส่วนสำคัญ คือ ‘การสร้าง Accessibility’ และ ‘การส่งเสริม Literacy’”

สร้าง Accessible Opportunity ด้วยแพลตฟอร์มและบริการที่เข้าถึงได้ง่ายและสะดวก มากกว่าการเข้าถึงบริการต่าง ๆ คือการเข้าถึงประสบการณ์ที่ดีและสะดวกสบายมากขึ้น ตลอดจนโอกาสใหม่ ๆ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่น

  • การใช้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอย่าง Shopee ในการทำให้ประสบการณ์การซื้อขายสินค้า Smooth & Seamless มากขึ้น ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้าที่มีความหลากหลายได้ทุกที่ทุกเวลา ส่วนผู้ขายสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าและขยายตลาดได้กว้างขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ ยังใช้ Shopee ในการส่งเสริม Local Economy เช่น การร่วมกับภาครัฐส่งเสริมสินค้า OTOP หรือสนับสนุนเกษตรกรและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ตลอดจนนำเสนอสินค้าจากผู้ประกอบการไทยสู่ตลาดนานาชาติผ่านโครงการ Shopee International Platform (SIP)
  • การใช้สินค้าและบริการด้าน Digital Finance เข้าไปทำให้ผู้คนเข้าถึงบริการได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น เช่น ShopeePay ที่เป็น Mobile Wallet ทำให้การจับจ่ายในชีวิตประจำวันง่ายขึ้นในยุค Cashless Society และยังมีบริการ Digital Lending ทั้งสำหรับผู้ประกอบการออนไลน์และ ผู้บริโภค เพื่อช่วยเรื่องสภาพคล่องในการทำธุรกิจและเข้าถึงสินค้าเมื่อมีความจำเป็น  

ส่งเสริม Digital Literacy และ Future Readiness ผ่านโครงการ Digital Education

Digital Tools ต่าง ๆ จะไม่เกิดประโยชน์ ถ้าผู้คนไม่สามารถใช้มันได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ ดังนั้น Sea (Thailand) จึงทำโครงการ Digital Education ออกมากอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตอนนี้มีจำนวนกว่า 100 โครงการแล้ว เพื่อส่งต่อความรู้และทักษะดิจิทัลไปยังผู้คนหลากหลายกลุ่ม เช่น

  • Garena Academy ซึ่งถูกสร้างขึ้นเพื่อเปิดโลกทัศน์และเสริมสร้างความเข้าใจถึงระบบนิเวศในวงการเกมและอีสปอร์ต รวมถึงความเข้าใจด้านโอกาสการทํางานที่หลากหลายในอุตสาหกรรม ให้กับเยาวชนที่สนใจและบุคลากรทางการศึกษา นอกจากจะเป็นที่สนใจของนักเรียนนักศึกษาแล้ว ปัจจุบันยังมีคอมมูนิตี้ครูและมหาวิทยาลัยหลายแห่งที่มาทำกิจกรรมร่วมกันกับ Garena Academy เช่นกัน
  • E-commerce Training กลุ่ม SME และผู้ประกอบการ คือแกนหลักของเศรษฐกิจไทยและเป็นหัวใจสําคัญในฐานะผู้ขายบนแพลตฟอร์มของเรา ดังนั้นการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลและทักษะผู้ประกอบการเพื่อปูเส้นทางสู่ความสําเร็จให้แก่ SME และผู้เกี่ยวข้องนับเป็นเรื่องสําคัญ โดย Sea ได้จัดทำโครงการมากมาย เช่น  Shopee University, Shopee Bootcamp และ Digital Opportunities for Talents (DOTs) เพื่อเสริมทักษะเหล่านี้ให้กับทั้งผู้ประกอบการ ตัวแทนหน่วยงานที่เป็นผู้กระจายความรู้ไปสู่ชุมชน และนักเรียนนักศึกษา
  • Digital Finance 101 ซึ่งเป็นเนื้อหาบนเว็บไซต์ www.SeaAcademy.co ที่ต้องการพาผู้คนไปทำความรู้จักบริการทางการเงินรูปแบบดิจิทัล (Digital Finance) ให้ดียิ่งขึ้น และสอนถึงการใช้บริการเหล่านั้นอย่างถูกต้องและปลอดภัย ซึ่งปัจจุบันมีการรับชมไปแล้วกว่า 3.5 ล้านครั้ง

Sea (ประเทศไทย) จับมือ CEA เปิดตัวโครงการ ‘Women Made’ ปลดล็อกศักยภาพผู้ประกอบการหญิง ด้วย ‘เทคโนโลยี’ และ ‘ความคิดสร้างสรรค์’

“Sustainability Action ด้านสังคม น่าจะเป็นด้านที่ทุกท่านน่าจะเห็นว่าเราทำมากที่สุด เนื่องจากเรามีการร่วมมือกับพาร์ทเนอร์และคอมมูนิตี้ที่หลากหลาย เพื่อนำโอกาสและความรู้ไปเข้าถึงคนทุกกลุ่มทุกช่วงวัย และเป็นด้านที่เราสื่อสารออกไปมากที่สุดเพื่อสร้างการตระหนักรู้และดึงคนที่มีความสนใจเข้ามาร่วมโครงการหรือจัดทำโครงการกับเรา โดยในปัจจุบัน เรานำเสนอเนื้อหาความรู้ของเราให้เข้าถึงคนไทยแล้วราว 8.87 ล้านคน”

Governance: ด้านธรรมาภิบาล

แน่นอนว่าทุกองค์กรต้องมีเป็นพื้นฐานของการดำเนินธุรกิจ Sea (Thailand) มี Practice ในองค์กรที่กำกับดูแลว่าการดำเนินธุรกิจมีความโปร่งใสตรวจสอบได้ มีการ Comply ไปตามกฎหมายหรือแนวทางกำกับดูแลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นธรรม แน่นอนว่าจะต้อง On-board พนักงานให้เข้าใจและดำเนินงานได้ภายใต้ Practice เดียวกัน

“เราก็จะมีการอบรมสำหรับพนักงานใหม่ มีการอบรมสำหรับพนักงานแต่ละแผนกในเรื่องที่จำเป็นต้องทราบ เช่น ฝ่ายไหนต้องทำงานกับ Confidential Data ก็ต้องมีการอบรมด้านกฎหมาย PDPA และมีการวาง Protocol ในการทำงานและการจัดการข้อมูลที่ชัดเจนรัดกุม นอกจากนี้เราก็มี Company Policy ที่พนักงานทุกคนเข้าถึงได้บน Intranet ขององค์กร และมีการย้ำเตือนพนักงานถึงนโยบายต่าง ๆ เป็นระยะ ๆ ผ่าน สื่อการสื่อสารภายในองค์กร”

‘มณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ’ กับเป้าหมาย ทำให้ชีวิตคนไทยดีขึ้นด้วยแพลตฟอร์ม

แนวทางสร้างความยั่งยืน จากมุมมองก้าวหน้าของ CEO หญิงในวงการเทคฯ

แก่นของ Sustainability Action ในแบบของ Sea (ประเทศไทย) ย่อมมาจากพันธกิจขององค์กรที่ต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคและส่งเสริมศักยภาพของ SME ไทยด้วยเทคโนโลยี ทั้งนี้ หากถามว่ามีการใช้มุมมองของผู้หญิงในการสร้างความยั่งยืนอย่างไรบ้างในฐานะ CEO หญิง อาจแบ่งออกเป็น 2 มุม

สำหรับความยั่งยืนจากการ Empower พนักงานในองค์กร มณีรัตน์ ต้องออกตัวว่าเป็นคนที่โฟกัสเรื่องเป้าหมายกับความสามารถเป็นหลัก อาจจะเพราะเรียนสายวิทย์ซึ่งสมัยนั้นมีสัดส่วนของผู้ชายมากกว่าผู้หญิง เลยไม่เคยมองว่าตัวเองเป็นผู้หญิงจึงมีอะไรที่แตกต่าง แต่มองว่าตนเองก็แค่ทำอะไรที่เราอยากทำ โดยไม่มีเรื่องของความเป็นผู้หญิงผู้ชายเข้ามาเป็นปัจจัยสำคัญ และมองว่าสิ่งที่สำคัญและจะทำให้แต่ละคนจะเติบโตได้ในโลกการทำงานคือความสามารถและประสบการณ์ และโชคดีที่ Sea มีวัฒนธรรมองค์กรที่ให้คุณค่ากับความหลากหลายอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพศ อายุ หรือวัฒนธรรม

“เมื่อเราบริหารจัดการพนักงานในองค์กรให้เติบโตแบบไม่ปิดกั้น แต่วัดจากความสามารถของเขาจริง ๆ สิ่งที่เกิดขึ้นคือเรามีพนักงานที่มีความสามารถ เรามี Team Lead ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย จากหลาย Generation เมื่อต้องมาทำงานร่วมกันในแต่ละโปรเจกต์ ก็จะมีการให้มุมมองและไอเดียที่หลากหลายและรอบด้านมากขึ้น และนอกจากนโยบายที่ดี เราต้องทำให้แน่ใจว่าเมื่อมาทำงานกันจริง ๆ ก็ต้องไม่มี Discrimination เกิดขึ้นเช่นกัน เพื่อให้พนักงานทุกคน ไม่ว่าเพศหรือ Generation ใด ก็มีความสุขที่จะทำงานร่วมกันที่ Sea (ประเทศไทย) และนี่เป็นหนึ่งในวิธีในการ Empower คนในองค์กร และการสร้างความยั่งยืนในมุมการบริหารจัดการคนในองค์กร”

ความยั่งยืนจากการ Empower ผู้คนใน Ecosystem แน่นอนว่าการ Empower ผู้คนใน Ecosystem เป็นหนึ่งใน Sustainability Action ด้านสังคมของบริษัท ด้วยการที่ Sea (ประเทศไทย) มีผู้บริหารและพนักงานระดับ Decision Maker ที่เป็นผู้หญิงจำนวนไม่น้อย บริษัทมีการริเริ่มโครงการความยั่งยืนด้านสังคมที่เป็นประโยชน์อย่างมาก ด้วยการมองความท้าทายและโอกาสในสังคมจากเลนส์ของผู้หญิง

ยกตัวอย่าง เช่น โครงการ Women Made หรือโครงการส่งเสริมผู้ประกอบการ SME ไทยที่ดำเนินธุรกิจโดยผู้หญิง ซึ่งมณีรัตน์กล่าวว่า โดยส่วนตัวก็เห็นว่าปัญหาในการดำเนินธุรกิจของ SME นั้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการหญิงหรือชายก็อาจจะพบเจอปัญหาคล้าย ๆ กัน แต่สิ่งที่แตกต่างคือโอกาสนั่นเอง ที่ผู้หญิงอาจจะได้รับน้อยกว่า ไม่ว่าจะเป็นโอกาสในการเข้าถึงองค์ความรู้ด้านการทำธุรกิจและ Digital Knowledge โอกาสในการได้รับเงินทุนสนับสนุน โอกาสในการมีพื้นที่ให้ลองทำอะไรใหม่ ๆ การมีที่ปรึกษาคอยสนับสนุน เพื่อเปิดโอกาสการขยายธุรกิจ สร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์และแบรนด์ของตน ตลอดจนเสริมความมั่นใจให้ตัวเองในฐานะผู้ประกอบการ

นี่จึงเป็นที่มาของโครงการ Women Made ซึ่งจัดทำร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการหญิงก้าวข้ามความกลัว สร้างการเติบโตทางธุรกิจได้อย่างเต็มศักยภาพ และสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีทางสังคมด้วยธุรกิจของเขา โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสำคัญ

“เราพบว่า เมื่อจบโครงการฯ ผู้ประกอบการหญิงที่ร่วมโครงการฯ มีความมั่นใจเพิ่มมากขึ้นในฐานะผู้ประกอบการ นอกจากนี้ ยังได้รับทักษะใหม่ ๆ ได้แก่ 1.) การทำธุรกิจโดยรวม 2.) การทำธุรกิจบนดิจิทัลแพลตฟอร์มและโลกออนไลน์ และ 3.) ด้านการสร้างนวัตกรรมเกี่ยวกับสินค้าและบริการ สะท้อนเป็นยอดขายที่เพิ่มขึ้นบนช่องทางออนไลน์ โดยเพิ่มขึ้นราว 20% ในช่วงเวลาเพียงแค่ 1 เดือน นอกจากนี้ ทุกแบรนด์ยังได้ค้นหาแนวทางการดำเนินธุรกิจของตัวเองให้มีความยั่งยืนในรูปแบบที่ทำได้จริงและมีความหมายต่อแบรนด์อีกด้วย”

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

สายการบินเอมิเรตส์ รีไซเคิลพลาสติกและแก้วกว่า 5 แสนกิโลฯ ใช้ผลิตสิ่งอำนวยความสะดวกบนเครื่องบิน

“ESG” ความจำเป็นที่ธุรกิจไทยต้องมี

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ