TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessSea (ประเทศไทย) จับมือ CEA เปิดตัวโครงการ 'Women Made' ปลดล็อกศักยภาพผู้ประกอบการหญิง ด้วย 'เทคโนโลยี' และ 'ความคิดสร้างสรรค์'

Sea (ประเทศไทย) จับมือ CEA เปิดตัวโครงการ ‘Women Made’ ปลดล็อกศักยภาพผู้ประกอบการหญิง ด้วย ‘เทคโนโลยี’ และ ‘ความคิดสร้างสรรค์’

ปัจจุบัน ผู้หญิงเก่งจำนวนไม่น้อยได้ผันตัวมาเป็นผู้ประกอบการ แต่ทว่ายังมีข้อจำกัดในการต่อยอดธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการขาดความมั่นใจ การส่งเสริมทักษะที่จำเป็นในการสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจ ขาด Role Model ขาดโอกาสการเข้าถึงที่ปรึกษา (Mentor) ที่จะช่วยเสนอแนะแนวทางให้ผู้ประกอบการหญิงสามารถไปถึงเป้าหมายความสำเร็จที่ตั้งไว้ได้ง่ายขึ้น 

ด้วยพันธกิจที่ต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคและพัฒนาการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการรายย่อยด้วยเทคโนโลยี และการช่วยผลักดัน “ผู้ประกอบการหญิง” ย่อมเป็นอีกภารกิจหนึ่งเช่นกัน ทำให้ Sea (ประเทศไทย) ร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) เปิดตัวโครงการ Women Made เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการหญิงในประเทศไทย ให้สามารถใช้เทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ในการต่อยอดธุรกิจและสร้างสรรค์นวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นการตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของ Sea (ประเทศไทย) ในการนำความรู้และความเชี่ยวชาญทางธุรกิจ มาต่อยอดและพัฒนาโครงการถ่ายทอดความรู้และทักษะดิจิทัล (Digital Education) ให้กับผู้คนในสังคมไทย

ศักยภาพของ “ผู้หญิง”, โควิด และเทคโนโลยี

ผลสำรวจ Thai Digital Generation 2021 ‘ฉายภาพอนาคตประเทศไทยหลังวิกฤตโควิด-19’ จาก Sea (Group) และ World Economic Forum พบว่า ในช่วงวิกฤติโควิด-19 ธุรกิจขนาดเล็ก (MSME) บุคลากรในอุตสาหกรรมร้านอาหารและท่องเที่ยว และผู้หญิงได้รับผลกระทบหนักกว่ากลุ่มอื่น ๆ ทั้งในเชิงรายได้และปัญหาความเครียดอย่างรุนแรง โดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิงที่มีแนวโน้มเครียดสูงจากการทำงานนอกบ้านและทำหน้าที่ดูแลครอบครัวด้วยในเวลาเดียวกัน 

ซึ่งสอดคล้องกับรายงาน Addressing Gender Barriers to Entrepreneurship and Leadership – Among girls and young women in South-East Asia จาก UNICEF เผยว่า เหตุผลที่ผู้หญิงไทยหันมาประกอบธุรกิจมักเกิดจาก  ‘ความจำเป็น’ ในการหาเลี้ยงชีพและครอบครัว มากกว่าการเล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจ ทำให้มักลังเลเมื่อต้องทำการตัดสินใจก้าวสำคัญเกี่ยวกับธุรกิจซึ่งมีความเสี่ยงสูง นอกจากนี้ รายงาน Global Entrepreneurship Monitor พบว่า 70% ของผู้ประกอบการหญิงในประเทศไทยขาดความมั่นใจและกลัวความล้มเหลว ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการเติบโตทางธุรกิจและการสร้างนวัตกรรมในธุรกิจของตน 

ด้วยเหตุนี้ Sea (ประเทศไทย) จึงร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) เปิดตัวโครงการ ‘Women Made เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการหญิงในประเทศไทย ให้สามารถใช้เทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ในการต่อยอดธุรกิจและสร้างสรรค์นวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมมุ่งทลาย ‘ความกลัว  ที่เป็นอุปสรรคสำคัญของผู้หญิงในฐานะผู้ประกอบการ  

ผู้ประกอบการหญิง ‘สู้’ ได้มากกว่าที่คิด

เสาวลักษณ์ รู้ปิติวิริยะ เจ้าของกิจการเสื้อหม้อห้อม “ร้านโรงงานหม้อห้อมแพร่0214” คือหนึ่งตัวอย่างของผู้ประกอบการหญิงที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้ประกอบการกับช้อปปี้ ใช้อีคอมเมิร์ซพลิกวิกฤติของโรงงานและลูกจ้างในชุมชนเป็นโอกาส 

ธุรกิจของเสาวลักษณ์ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 จึงเริ่มมองหาช่องทางการขายเพิ่มจากเดิมที่มีอยู่เพื่อค้าส่ง หันมาใช้ช้อปปี้มาเป็นช่องทางการขายเพื่อค้าปลีกถึงผู้บริโภคโดยตรง ทำให้ยอดขายกลับมาเติบโต ธุรกิจกลับมาดำเนินต่อได้อีกครั้ง 

“ช้อปปี้มีฐานลูกค้ากว้างมาก เสื้อไซส์ S ปกติพ่อค้าแม่ค้าขายส่งมักจะไม่อยากได้เพราะขายออกยาก แต่ที่ช้อปปี้กลับขายได้ทุกไซส์ ยอดขายกลับมาเติบโต ลูกจ้างที่เป็นคนในชุมชนมีงานทำมีรายได้จุนเจือครอบครัว” เสาวลักษณ์ กล่าว

ต่อยอดสู่ Women Made – ติดปีกผู้ประกอบการหญิงให้เติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพ

มณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Sea (ประเทศไทย) กล่าวว่า ที่ผ่านมา Sea (ประเทศไทย) และช้อปปี้ ซึ่งเป็นธุรกิจอีคอมเมิร์ซภายในเครือ ได้มีการทำโครงการต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการไทยอยู่แล้วมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกับกลุ่ม SME แต่ทว่ายังไม่เคยมีโครงการที่ทำขึ้นมาเพื่อกลุ่มผู้ประกอบการหญิงโดยเฉพาะ โครงการ Women Made เปรียบเสมือนสนามทดลองที่เราสร้างสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการทดลองทำอะไรใหม่ ๆ ในการนำเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์มาต่อยอดแบรนด์และผลิตภัณฑ์โดยไม่ต้องกลัวความผิดพลาด จะมีเมนเทอร์ที่คอยให้ความช่วยเหลือและคำแนะนำตลอดทั้งการดำเนินโครงการ เพื่อสุดท้ายแล้ว ทั้ง 10 แบรนด์จากผู้ประกอบการหญิง ที่เข้าร่วมโครงการกับเรา จะเติบโตและเดินต่อไปได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน” 

มณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Sea (ประเทศไทย)

ความน่าสนใจและรายละเอียดของโครงการ Women Made อยู่ตรงที่โครงการ Women Made ถูกออกแบบมาให้เหมาะกับผู้ประกอบการหญิงโดยเฉพาะ มีการนำความเชี่ยวชาญของ Sea (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์ม อาทิ การีนา ช้อปปี้ และซีมันนี่ มาผนวกกับองค์ความรู้จากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) และทำออกมาเป็นโปรแกรมอบรมผู้ประกอบการระยะเวลา 2 เดือนเต็ม เพื่อนำเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์มาต่อยอดแบรนด์และผลิตภัณฑ์ และนำสินค้าที่ถูกพัฒนาหรือปรับขึ้นใหม่ขึ้นมาขายจริงบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอย่างช้อปปี้ เพื่อใช้ความสามารถของช้อปปี้ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน เข้าถึงผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยถึง 95% ในปี 2021 ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าจำนวนมากทั่วประเทศ ขายสินค้าได้ทุกที่ทุกเวลา ได้รับเงินแน่นอนผ่านระบบการชำระเงินที่ปลอดภัย ตลอดจนจัดการขนส่งของถึงมือลูกค้าอย่างรวดเร็ว

ดังนั้น หากผู้ประกอบการหญิงคนใดที่พบว่าตนเองต้องการพัฒนาธุรกิจ ทั้งในแง่การเพิ่มมูลค่า โดยการใช้ความคิดสร้างสรรค์ และการสเกล (สร้างการเติบโตธุรกิจ ด้วยเทคโนโลยี) หรือพบว่าตนเองกลัวที่จะขยายธุรกิจหรือสร้างสรรค์นวัตกรรมสินค้าใหม่ ๆ ออกมาแม้ว่าจะมีไอเดียที่ดี หรือไม่รู้ว่าจะทำได้อย่างไร โครงการ Women Made นับเป็นโครงการที่ตอบโจทย์ ที่สำคัญคือ โครงการ Women Made เป็นโปรแกรมที่มีความเข้มข้นและจะมีการให้คำแนะนำและติดตามผู้ร่วมโครงการ ทั้ง 10 แบรนด์ อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งโปรแกรม  

โครงการไม่เพียงแต่จะสร้างแรงบันดาลใจใหม่ ๆ ให้ผู้ประกอบการหญิงในการต่อยอดธุรกิจเท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาสการเรียนรู้และสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น

  • การเข้าร่วมอบรมมาสเตอร์คลาสพัฒนาธุรกิจและผลิตภัณฑ์จากผู้เชี่ยวชาญชั้นนำ
  • เงินสนับสนุนแบรนด์ในการพัฒนาสินค้าและทดลองขายบนช้อปปี้ แบรนด์ละ 25,000 บาท
  • โอกาสการประชาสัมพันธ์แบรนด์กับสื่อพันธมิตรของโครงการ 

ระยะเวลาโครงการ

  • เปิดรับสมัคร: 5 กันยายน – 5 ตุลาคม 2565 ทาง https://forms.gle/EbbSYqBEDqtkUqTS8
  • ประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ: ภายใน 17 ตุลาคม 2565 
  • ร่วมอบรมมาสเตอร์คลาส (ออนไลน์) : 5 – 6 พฤศจิกายน 2565
  • หารือ One-on-one Consultation ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อพัฒนาสินค้า (ออนไลน์) : 19, 26 พฤศจิกายน และ 10 ธันวาคม 2565 
  • วางขายสินค้าบนแพลตฟอร์มช้อปปี้: ธันวาคม 2565 – มกราคม 2566
ชาคริต พิชญางกูร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA)

ชาคริต พิชญางกูร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เกิดการเติบโต คือ ความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยี และผู้ประกอบการทุกคนต้องปรับตัว ต่อยอดต้นทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาสู่ผลิตภัณฑ์และบริการ ทั้งยังสามารถร่วมพัฒนารายได้และคุณภาพชีวิตของผู้คนในชุมชนโดยรอบ เอื้อให้เกิดระบบนิเวศสร้างสรรค์อย่างแท้จริง

ผู้ประกอบการหญิงในประเทศไทยมีจำนวนมากในปัจจุบัน พวกเธอมีศักยภาพที่จะพัฒนาธุรกิจให้เติบโตในระดับประเทศหรือนานาชาติ และจะมีบทบาทในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและเศรษฐกิจของประเทศได้เป็นอย่างดี หากมีการสนับสนุนที่เอื้ออำนวยจากทั้งภาครัฐและเอกชน 

“โดยโครงการ Women Made นับเป็นอีกโครงการที่จะเป็นกระบะทราย (Sandbox) สำหรับผู้ประกอบการหญิงที่มีไฟและต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถขยายสู่กลุ่มลูกค้าที่กว้างขึ้นได้จริง” ชาคริต กล่าว

Women Made นับเป็นอีกหนึ่งโครงการที่น่าสนใจ สำหรับผู้ประกอบการหญิงที่ต้องการปรับตัว เติบโต และทำธุรกิจได้อย่างมีความมั่นใจ ผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ Women Made สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครได้ผ่านทาง https://forms.gle/EbbSYqBEDqtkUqTS8 ตั้งแต่วันนี้ – 5 ตุลาคม 2565

บทความอื่น ๆ เกี่ยวกับ Sea (ประเทศไทย) ที่น่าสนใจ

Sea ประเทศไทย พร้อมขับเคลื่อน ‘Digital Nation’ ผ่าน 3 ธุรกิจหลัก

Sea (ประเทศไทย) พัฒนาคนรุ่นใหม่ สู่ ผู้ประกอบการดิจิทัล

Sea (ประเทศไทย) ชวนวัยเรียน-วัยทำงาน-วัยเกษียณ เติมทักษะดิจิทัล กับ Sea Academy

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ