TH | EN
TH | EN
หน้าแรกInterviewบล็อกเชน หนุนสินทรัพย์ดิจิทัล สกุลเงินคริปโต โตก้าวกระโดด

บล็อกเชน หนุนสินทรัพย์ดิจิทัล สกุลเงินคริปโต โตก้าวกระโดด

อุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัล สกุลเงินคริปโต และบล็อกเชน เติบโตก้าวกระโดด Cryptomind เร่งสร้างความรู้สู่วงกว้าง เชื่อบล็อกเชนกำลังพาเข้าสู่ยุค decentralized finance และ decentralized wealth

สัญชัย ปอปลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Cryptomind กล่าวว่า อัตราการเติบโตในอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัล สกุลเงินคริปโต และบล็อกเชน มีค่อนข้างมาก โดยเฉพาะตั้งแต่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ประกาศกฎหมายครอบคลุมเรื่องสินทรัพย์ดิจิทัล มีการออกใบอนุญาต ทำให้เดิมมีศูนย์ขายสินทรัพย์ดิจิทัลเพียงแค่ 1-2 แห่ง แต่หลังจากที่มีการออกใบอนุญาต มีศูนย์ขายสินทรัพย์ดิจิทัลเพิ่มขึ้น ตอนนี้มีประมาณ 5-6 แห่ง

แนวโน้มของตลาดเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาจำนวนมาก ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ เพราะตอนนี้ตลาดนี้ยังมีขนาดเล็กอยู่ การซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลปัจจุบันอยู่ประมาณ​ 10 ล้านเหรียญฯ ต่อวัน ปีหน้าน่าจะเติบโตประมาณ 20-30% เป็นอย่างน้อย

คาดว่าในระยะยาวแล้วอุตสาหกรรมนี้น่าจะเติบโตได้ 100% เพราะนอกจากจะมีศูนย์ขายสินทรัพย์ดิจิทัลแล้ว ยังเริ่มมีใบอนุญาตโบรกเกอร์ ใบอนุญาตดีลเลอร์ และผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO Portal) เกิดขึ้นมากมาย

“ตอนนี้มี 3 บริษัทที่ได้รับใบอนุญาต คือ SE Digital (ที่ร่วมทุนกับเคที ซีมิโก้กรุ๊ป) T-BOX (ประเทศไทย) และ LongRoot ซึ่งทั้ง 3 รายพยายามจะเปลี่ยนสินทรัพย์ที่มีอยู่ให้เป็นสินทรัพย์ดิจิทัล อาทิ การ tokenize อสังหาริมทรัพย์ ต่อไปคนไม่จำเป็นต้องมีเงินเป็นสิบล้านหรือร้อยล้าน เพื่อถือหุ้นในอสังหาริมทรัพย์ มีเงินแค่หลักร้อยหรือหลักพันบาทก็สามารถลงทุนได้แล้ว ซึ่งจะเปิดโอกาสตลาดนี้อีกมาก”

ขณะที่มูลค่าตลาดนี้ทั่วโลกอยู่ประมาณ 200 พันล้านเหรียญฯ ตลาดนี้ยังเล็กมาก สถาบันใหญ่ ๆ ยังไม่เข้ามาลงทุนในตลาดนี้ มีความเป็นไปได้สูงมากที่มีโอกาสเติบโต 5-10 เท่า ภายใน 5 ปี

บล็อกเชน …โครงสร้างพื้นฐานสินทรัพย์ดิจิทัล สกุลเงินคริปโต

ปัจจุบันหลายองค์กรเริ่มนำเทคโนโลยีบล็อกเชนไปใช้ อาทิ SCG ปตท. และ BCPG ที่นำบล็อกเชนมาใช้ในการซื้อขายพลังงาน เป็นต้น เริ่มเห็นองค์กรเริ่มนำบล็อกเชนเข้าไปใช้ในอุตสาหกรรม ที่ต้องการมองหา S-Curve ใหม่ ๆ หรือเปิดโอกาส ช่องทางทางธุรกิจใหม่ ๆ

ขณะที่องค์กรขนาดกลางและเล็กเองก็เริ่มเข้ามาศึกษาเทคโนโลยีนี้ อาทิ บริษัท ทิพยประกันภัยทำ TIP Coin ที่นำมาใช้เรื่อง Loyalty Point หรือ Central Tech ใช้ coin ทำเรื่อง employee engagement เป็นต้น รวมถึงสถาบันการศึกษาหลายแห่งเริ่มจะนำบล็อกเชนมาเพื่อ verify ใบปริญญาบัตร และเริ่มมีการใช้งานสกุลเงินดิจิทัล และเทคโนโลยีบล็อกเชน สำหรับคนทั่วไป อาทิ Bitazza เริ่มให้ SME รับสกุลเงินคริปโตได้

“เขาได้รับใบอนุญาตในหน้าซื้อขาย จะเห็นว่าพันธมิตรธุรกิจที่ร่วมกันกับเขาเป็นบริษัทขนาดเล็ก 5-7 ราย รับชำระเงินด้วย Bitcoin, Stablecoin หรือ Ethereum ได้ จะมีตลาดของกลุ่มคนในประเทศไทย ที่เป็น crypto millionaire ไม่อยากเอาสินทรัพย์นี้แปลงออกมาเป็นเงิน ซึ่งต่อไป คนจะถือสินทรัพย์อะไรก็ได้ใน wallet ก็สามารถใช้สินทรัพย์นั้นจ่ายค่าสินค้าและบริการต่าง ๆ ได้เลย ซึ่งจะมีความสะดวกสบายมากกว่า เพราะลดขั้นตอนหลายอย่างออกไป”

เรื่องการนำไปใช้งาน (adoption) ในส่วนของการชำระเงิน (payment) และการสะสมแต้ม (loyalty point) เป็นแนวโน้มที่มาแรง สัญชัย กล่าวว่า ต่อไปเรื่องการจ่ายเงินด้วยสกุลเงินคริปโตจะเป็นเรื่องปกติมาก ถัดจากนี้ไปจะเห็นการใช้งานของแต้มต่าง ๆ (loyalty point) บนบล็อกเชน ซึ่งสามารถจะนำแต้มหรือสินทรัพย์รูปแบบนี้ไปใช้ชำระหรือแลกเป็นอะไรก็ได้ จะมีการเปลี่ยนแต้มหนึ่งไปสู่แต้มหนึ่ง (swap points on the spot) โดยบล็อกเชนจะเข้ามามีบทบาทในการทำให้มูลค่าของแต้มที่แตกต่างกันมีมูลค่าเท่ากัน ทุกอย่างสามารถตรวจสอบกันได้ทันที ด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน แนวโน้มนี้จะเห็นได้มากในอนาคตไม่เกิน 3-5 ปี

“ในอนาคต ไม่ว่าคนจะถือสินทรัพย์อะไรก็ตาม ก็ควรจะมีความสามารถในการแปลงสภาพสินทรัพย์เหล่านี้เป็นเงินหรือเป็นอะไรก็ได้ที่ลูกค้าหรือผู้ค้าต้องการ ไม่จำกัดว่าต้องจ่ายด้วยเงินสดหรือบัตรเครดิต เป็น payment solution อีกอย่างหนึ่ง”

อย่างไรก็ดี ปัจจุบันสินทรัพย์ดิจิทัลเหล่านี้ ยังกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มเล็ก ๆ ยังไม่กระจายสู่วงกว้าง แม้ว่าดิจิทัลหยวนและลิบรา (LIBRA) จะสร้างกระแสการรับรู้เรื่องสินทรัพย์ดิจิทัลในวงกว้างได้ แต่เรื่องความเข้าใจในสกุลเงินดิจิทัลตอนนี้ยังน้อยมาก เพราะว่าคนมองภาพเป็นแนวเก็งกำไร คนยังไม่เห็นภาพว่าการที่ถือสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นอธิปไตยอย่างหนึ่ง ซึ่งเรื่องพวกนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เพราะในอดีตต้องพึ่งตัวกลางในการเก็บสินทรัพย์ แต่พอเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล ทุกคนสามารถเก็บสินทรัพย์ของตัวเองได้อย่างจริง ๆ (แต่ก็มีความเสี่ยง ถ้าเก็บไม่เป็น)

“คนสนใจเรื่องเหล่านี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ การจัดตั้งสมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทยเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์การให้ความรู้กับคนหมู่มาก มีการพูดคุยกับมหาวิทยาลัย เพื่อปูพื้นฐานเรื่องสินทรัพย์ดิจิทัล คืออะไร เก็บรักษายังไง ใช้อะไร มีประโยชน์อย่างไร เพราะนักศึกษาเหล่านี้จะเป็นกลุ่มคนที่อาจจะต้องใช้สินทรัพย์ดิจิทัลนี้ในอนาคต

ตอนนี้เทคโนโลยีนี้ยังใหม่มากและความรู้ความเข้าใจยังกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มคนเฉพาะ มีความใช้งานยากอยู่พอสมควร แต่ไม่เกิน 2-3 ปี เทคโนโลยีเหล่านี้จะแพร่หลาย ซึ่งคนจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่ากำลังใช้เทคโนโลยีอะไรอยู่ เหมือนที่คนเราใช้อินเทอร์เน็ตทุกวันนี้ไม่จำเป็นต้องรู้จักเทคโนโลยี TCP/IP Protocol เป็นต้น”

อีก 5 ปีจะเห็นเรื่องแอปพลิเคชัน อาทิ credit scoring, peer-to-peer lending และ cloud funding เป็นต้น

“ผมมีเงินอยู่ในบัญชี ก็สามารถปล่อยกู้ให้กับใครก็ได้ ผ่านบล็อกเชน ในโลกของบล็อกเชน คนเริ่มทำเรื่อง decentralized finance คนเริ่มทำเรื่องปล่อยกู้ยืมกันผ่านบล็อกเชน ซึ่งยังกระจุกตัวอยู่ เพราะยังใช้ยากมาก”

ยุค Decentralized finance และ Decentralized wealth

ในยุคของบล็อกเชน มีอะไรที่สามารถสร้าง build on top บนเทคโนโลยีบล็อกเชนได้อีกมากมาย ตอนนี้เหมือนกำลังปูถนนกันอยู่ อาทิ Ethereum นำมาใช้ในการทำสัญญาอัจฉริยะ (smart contract) winning app แรก ๆ ของบล็อกเชน คือ การ verify มูลค่าของหรือการซื้อของออนไลน์ โดยเฉพาะเกม จะมี NFT (non-fundatioon token) ที่บล็อกเชนเข้ามา verify NFT ว่าเป็นของจริงและยืนยันมูลค่าได้ winning app ต่อมา คือ peer-to-per lending ผ่านบล็อกเชน ที่ผ่านมาเห็นการทำ cloud funding ผ่านบล็อกเชน คนสามารถทำ cloud funding/inversting สินทรัพย์อะไรก็ได้

บล็อกเชนกำลังพาเข้าสู่ยุค decentralized finance และ decentralized wealth คือ ยุคที่คนสามารถนำสินทรัพย์ดิจิทัลเข้ามาปล่อยกู้ได้ใน pool yield farming เป็นแนวคิดที่ว่า ให้คนนำสินทรัพย์ดิจิทัลเข้ามา ในฐานะของผู้ดูแลสภาพคล่องหรือผู้ให้บริการสภาพคล่อง (market maker) คล้าย ๆ สิ่งที่ธนาคารทำ มีแค่ smart contract code มีกลุ่มหนึ่งที่จัดตั้ง พอคนนำเงินในสกุลเงินดิจิทัลเข้ามาก็มีการปันผลให้ชัดเจน เป็นการปันผลต่อวินาที ซึ่งการปันผลวันต่อวัน ไม่ต้องรอรายไตรมาส

“decentralised wealth ช่วยให้ทุกคนสามารถมีโอกาสในการสร้างความมั่งคั่งจากการลงทุนผ่านสินทรัพย์ดิจิทัลได้ เป็นการกระจายอำนาจทางการเงินให้ทุกคน เป็นการสร้างโอกาสในการลงทุนให้ทุกคน นอกจากนี้ wealth ยังอาจหมายถึงการ data monetization ของเราเป็น token ได้เลย”

ข้อควรระวังในการถือและใช้งานสินทรัพย์ดิจิทัล คือ การเก็บและดูแลรักษาสินทรัพย์ดิจิทัล ความเสี่ยงเรื่องการปลอมหรือการแฮกสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งข้อเสี่ยงอยู่ที่ตัว code ของ smart contract ซึ่งสามารถมาใช้บริการของศูนย์กลางของการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัล และความเสี่ยงเรื่องการนำบล็อกเชนไปใช้ในองค์กร ซึ่งปัจจุบันยังไม่มาตรฐานกลาง

ภาพรวมของกฎเกณฑ์ กฎหมายของประเทศไทย ประเทศไทยเป็นประเทศแรก ๆ ที่ออกกฎเกณฑ์พวกนี้มา ซึ่งจะไม่ค่อยเห็นกฎเกณฑ์เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศอื่นนัก

ต้องชื่นชมกลต.ที่มีความตั้งใจที่ดีที่อยากจะปกป้องนักลงทุน สร้างมาตรฐานให้อุตสาหกรรมด้วยการออกใบอนุญาต

ทั้งนี้ การมีใบอนุญาตเหล่านี้ จะส่งผลให้การขับเคลื่อนธุรกิจเหล่านี้ในประเทศไทยมีสิ่งขีดขวางค่อนข้างสูงมาก บริษัทต่างชาติเข้ามาใช้เวลานานมากกว่าจะได้รับใบอนุญาตเพราะมีกฎเกณฑ์​มาก และหลายคนมองว่าการมีคนมีมากำกับดูแลการซื้อขายบล็อกเชนไม่ค่อยสมเหตุสมผล และการกำกับดูแลในลักษณะนี้ไม่น่าได้ผลเท่าไร

ส่วนตัวมองว่าต้องสมดุลให้ดีระหว่างกฎเกณฑ์ที่ออกมากับเวลาของตลาด เพราะหากการให้ใบอนุญาตค่อนข้างช้ามาก แต่เวลาในโลกบล็อกเชนไวกว่าเวลาในชีวิตจริง 10 เท่า จะไม่สมดุลกัน

“หากเราช้า ต่างประเทศเขาก็ไปกันแล้ว ทำให้เร่งสปีดได้ไม่เต็มที่ อยากให้กลต.ปรับสปีดให้ตามตลาดให้ทัน ส่วนกรมสรรพากรให้เสียภาษี capital gain 15% ส่วนแบงก์ชาติกำลังทำ “ไทยบาทดิจิทัล” ว่าจะออกมาเป็นอย่างไร จะเห็น wholesale payment method อย่างเดียวหรือไม่”

Cryptomind ดันองค์ความรู้สู่สาธารณะ

Cryptomind ก่อตั้งปี 2017 เป็นการรวมกลุ่มคนที่มีความสนใจเรื่องสินทรัพย์ดิจิทัล สกุลเงินคริปโต และบล็อกเชน ทั้งเพจ Coin Man ที่ให้ความรู้เรื่อง สกุลเงินคริปโต และ BitCoin Addict ให้ข่าวสารความรู้เกี่ยวกับด้านสกุลเงินดิจิทัล และบล็อกเชน

​Cryptomind มี 4 หน่วยธุรกิจ คือ บริการให้คำปรึกษา (consult) สื่อ (media) บริการให้ความรู้และจัดสัมมนา (education/conference) และงานวิจัย (research)

ทั้งนี้ บริการแรก ๆ คือ บริการด้านการตลาด (marketing service) ช่วยบริษัทต่างชาติในวงการที่ต้องการเข้ามาในตลาดไทย สร้าง awareness ให้บริการที่ปรึกษาด้านการตลาด (marketing advisery) ช่วยทำ growth marketing ให้กับบริษัทต่างชาติ และบริษัทไทย ในอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลและบล็อกเชน

จากนั้นมองเห็นโอกาสอีกว่า ในองค์กรมีความต้องการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้าไปใช้ เริ่มให้บริการองค์กรขนาดกลางนำเทคโนโลยีบล็อกเชนไปเพิ่มมูลค่าให้องค์กร ให้บริการที่ปรึกษาว่าสามารถนำเทคโนโลยีบล็อกเชนไปเพิ่มมูลค่าให้องค์กรได้อย่างไร อาทิ payment, supply chain และสิทธิบัตร ด้วยบล็อกเชน โดยให้บริการตั้งแต่การให้คำปรึกษา การศึกษาความเป็นไปได้ รวมถึงการนำไปใช้งาน

“ในประเทศไทยไม่ค่อยมีคนทำเรื่องการให้ความรู้เรื่องเหล่านี้เลย เคยจัด meet up เล็ก ๆ มีคนเข้าร่วมประมาณ 50 คน เรามองเห็นว่า community นี้คนอยากเข้ามาพูดคุย แชร์ประสบการณ์ ความรู้เรื่องการลงทุน เทคโนโลยี และหาโอกาสใหม่ ๆ”

สิ้นปี 2018 เริ่มจัด Thailand Blockchain Genesis เป็น community-based event มีคนร่วมงานประมาณ​ 1,200 คน ปี 2019 จัด Thailand Blockchain Genesis เป็น flagship event ของ Cryptomind มีคนเข้าร่วมงานประมาณ 3,000 คน

“มี 3 ส่วน คือ main stage คุยเรื่อง macro ว่าเทคโนโลยีนี้นำไปใช้อะไรได้บ้าง อาทิ อนาคตของสินทรัพย์ดิจิทัล และการนำบล็อกเชนเข้าไปใช้ในองค์กร เป็นต้น advabced stage คุยเจาะลึกด้านเทคโนโลยี มีบริษัทในอุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศเข้ามาให้ข้อมูล และส่วนที่ 3 คือ workshop room ให้ความรู้การสอน Blockchain 101 สอนการเปิด wallet สอนการเทรด เป็นต้น”

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ