TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistเมื่อ "สกุลเงินดิจิทัล" ถูกนำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน

เมื่อ “สกุลเงินดิจิทัล” ถูกนำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน

นอกเหนือจากการเป็นสินทรัพย์การลงทุนแล้ว สกุลเงินดิจิทัลยังสามารถใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเช่นเดียวกับเงินได้เช่นกัน โดยปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีที่สามารถช่วยให้สามารถใช้สกุลเงินดิจิทัลที่เรามีอยู่ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้

-Decentralize Finance ระบบการเงินที่จ้อง Disrupt ธนาคาร
-สรุป Libra 2.0 แบบเข้าใจง่าย และโอกาสสำหรับคนไทย

บัตรเดบิตคริปโต

ปัจจุบันมีสตาร์ตอัพด้านบล็อกเชนและคริปโตหลายรายที่ร่วมมือกับผู้ให้บริการชำระเงินระดับโลกอย่าง Visa หรือ Mastercard ในการออกบัตรเดบิตที่สามารถนำไปใช้จ่ายได้กับร้านค้าที่มีสัญลักษณ์ของ Visa หรือ Mastercard โดยที่ภายในบัตร จะมีสกุลเงินดิจิทัลที่ผู้บริโภคถืออยู่จำนวนหนึ่งและผู้ออกบัตรจะทำการแปลงอัตราแลกเปลี่ยนให้เป็น Fiat Currency ให้เอง

ตู้เอทีเอ็มบิทคอยน์

ตู้กดเงินสดหรือตู้เอทีเอ็ม อาจจะคุ้นเคยกับการใช้ Fiat Currency แต่ตอนนี้ได้มีผู้สร้างตู้ที่รับสกุลเงินดิจิทัลด้วยเช่นกัน โดยสามารถใช้บัตรเดบิตหรือแอปพลิเคชั่นไปใช้งานที่ตู้ก็จะสามารถกดเงินสดออกมาใช้ได้ในกรณีที่ร้านค้าแถวนั้นไม่รับการชำระด้วยเงินอีเล็กทรอนิกส์

ปัจจุบัน (มิถุนายน 2563) ได้มีตู้เอทีเอ็มที่รับสกุลเงินดิจิทัลแล้วกว่า 8,000 ตู้ทั่วโลก โดยสหรัฐอเมริกามีจำนวนมากที่สุด ขณะที่ประเทศไทยไม่ได้รับการรายงานว่ามีติดตั้งให้บริการ

คิวอาร์โค้ด

เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดเป็นช่องทางหนึ่งที่สามารถแปลงสกุลเงินดิจิทัลที่เรามีอยู่ให้สามารถชำระเงินตามจุดรับต่าง ๆ ได้ ซึ่งปัจจุบันมีแอปพลิเคชันมากมายที่พัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าว ซึ่งร้านค้าผู้รับเงินสามารถที่จะเลือกได้ว่าจะรับเป็นสกุลเงินดิจิทัลมาเก็บไว้หรือจะแปลงเป็น Fiat Currency ทันที

เว็บไซต์ตัวแทนจำหน่ายที่รับสินทรัพย์ดิจิทัล

ร้านค้าบนออนไลน์จำนวนหนึ่งหรือบางเว็บไซต์สามารถที่จะเปิดรับสกุลเงินดิจิทัลในการชำระเงินได้เช่นกัน แต่มักจะมาในรูปแบบของตัวแทนจำหน่ายที่เป็นพาร์ทเนอร์กับแบรนด์ต่าง ๆ ในการเปิดรับสกุลเงินดิจิทัลโดยให้สิทธิพิเศษต่าง ๆ กับผู้ซื้อเช่นส่วนลดหรือโทเคน ยังมีแบรนด์ไม่มากนักที่เปิดรับการชำระเงินด้วยสกุลเงินดิจิทัลตรง ๆ

แม้ปัจจุบันอัตราการใช้งาน Digital Money จะมีการเติบโตขึ้นทั่วโลกอยู่แล้ว แต่หลังจากนี้สกุลเงินดิจิทัลอาจเป็นทางเลือกหนึ่งของการชำระเงินได้อีกเช่นกัน

ในแง่ของค่าธรรมเนียมและความเร็วในการทำธุรกรรมถือว่าไม่มีความแตกต่างกันถ้าหากใช้งานภายในประเทศ แต่สิ่งที่สกุลเงินดิจิทัลสามารถทำได้ดีกว่า ก็คือ การที่มี Smart Contract ซึ่งทำงานบนบล็อกเชนทำให้ผู้ประกอบการสามารถคิดลูกเล่นทางการตลาดต่าง ๆเ ข้ามาให้กับผู้ใช้งานได้

เช่น แบรนด์ A สามารถสร้างโทเคนของตัวเองขึ้น โดยผู้ที่ใช้จ่ายสินค้าและบริการด้วย Cryptocurrency จะได้รับ Reward เป็นโทเคน A ที่นำไปใช้เป็นส่วนลดในการใช้จ่ายครั้งต่อไปหรือนำไปใช้แลกสิทธิพิเศษต่าง ๆ

ขณะเดียวกัน Reward ที่ได้จากการใช้จ่ายด้วย Cryptocurrency ยังสามารถนำไปใช้จ่ายได้จริงอีกต่อด้วย ต่างจาก Reward ในรูปแบบ Virtual ที่ได้จากแพลตฟอร์มต่าง ๆ ซึ่งสามารถนำไปใช้แลกสินค้าและบริการได้เฉพาะสิ่งที่อยู่ภายใต้แพลตฟอร์มนั้นเท่านั้น (ตัวอย่างเช่น Coin ในแอปพลิเคชั่น Line ที่ใช้แลกได้เฉพาะสติกเกอร์)

แต่หากเป็น Reward ในรูปแบบของโทเคนดิจิทัลจะมีคุณสมบัติในการใช้แทนเงินได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ใช้งานที่อาจเคยมีประสบการณ์เก็บสะสม Reward จากแบรนด์ต่าง ๆ แต่ไม่เคยนำไปใช้เลยก็จะสามารถนำไปใช้แทนเงินได้ด้วยการแลกกลับเป็นสกุลเงินดิจิทัลอื่นหรือเป็น Digital Money

ที่สำคัญคือ หากมองว่าสกุลเงินดิจิทัลจะมีแนวโน้มที่มูลค่าจะเติบโตขึ้นในอนาคต การถือครองสกุลเงินดิจิทัลอย่างบิทคอยน์เอาไว้กับตัวบางส่วนเพื่อให้เงินในกระเป๋ามีมูลค่าเพิ่มขึ้นก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการออมเงินระยะยาว

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

-5 เทรนด์ใหม่ ขับเคลื่อนนวัตกรรมเทคโนโลยีในทศวรรษหน้า
-ไขข้อข้องใจ “ภาษีที่ดิน” จ่ายเท่าไหร่ จ่ายที่ไหน และใครได้ประโยชน์?
-ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองเศรษฐกิจฟื้นตัวลักษณะ U-Shaped ขณะที่ปรับจีดีพีปีนี้หดตัว 10%
-ETDA ประกาศบทบาท “ผู้กำกับดูแลธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์”

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ