TH | EN
TH | EN
หน้าแรกSustainabilityภาวะโลกร้อน เราทุกคนช่วยได้

ภาวะโลกร้อน เราทุกคนช่วยได้

ประเทศไทยประกาศเป้าหมายเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 (พ.ศ. 2073) และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero emissions) ภายในปี 2065 (พ.ศ. 2608)

เป้าหมายนี้เกิดหลังจากที่ประเทศไทยและหลายๆพื้นที่ทั่วโลกประสบภัยพิบัติที่มาจากสภาพอากาศที่แปรปรวนเพราะอุณหภูมิโลกที่สูงเกิน 1.1 องศาเซลเซียสจากระดับก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม (จากช่วงปี ค.ศ. 1850-1900)

หลาย ๆ บริษัททั้งในประเทศไทยและต่างประเทศเริ่มกระบวนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตัวเอง ผู้บริโภคในหลายประเทศโดยเฉพาะยุโรปเริ่มให้ความสำคัญกับฉลากคาร์บอนที่ติดมากับสินค้าเพื่อบ่งบอกอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

เป้าหมายนี้จะเป็นจริงได้ไหม?

เริ่มแรกมาดูกันว่า carbon neutrality (คาร์บอน นิวทรอลลิตี้) และ Net Zero (เน็ต ซีโร่) คืออะไร

carbon neutrality หรือ ความเป็นกลางทางคาร์บอน คือ การที่ปริมาณการปล่อยคาร์บอน (CO2) เข้าสู่ชั้นบรรยากาศเท่ากับปริมาณคาร์บอนที่ถูกดูดซับกลับคืนมาผ่านป่าหรือวิธีการอื่น

Net Zero หรือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ คือ การที่ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีความสมดุล เท่ากับก๊าซเรือนกระจกที่ถูกดูดซับออกจากชั้นบรรยากาศ ซึ่งในสภาวะสมดุลนี้จะไม่เพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศ

จากการจัดลำดับขององค์กร World Population Review ในปี 209 ไทยเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 251.40 ล้านตันหรือมากเป็นอันดับที่ 22 ของโลก หรือคิดเป็นปริมาณ 0.8% ของก๊าซเรือนกระจกที่มีการปล่อยทั่วโลก

ประเทศที่ปล่อยมากที่สุด 10 อันดับแรกคือ

  1. จีน — 9,877
  2. สหรัฐอเมริกา — 4,745
  3. อินเดีย — 2,310
  4. รัสเซีย — 1,640
  5. ญี่ปุ่น — 1,056
  6. เยอรมนี — 644
  7. เกาหลีใต้ — 586
  8. อิหร่าน — 583
  9. แคนาดา — 571
  10. ซาอุดิอาระเบีย — 495

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการพัฒนาและการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศยังต้องอาศัยการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกและการบริโภคภายในประเทศ การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของรัฐ การใช้เทคโนโลยีอำนวยความสะดวก อาทิโทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้ความต้องการด้านพลังงานโดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งการบริโภคที่เกินความจำเป็นยังก่อให้เกิดปัญหาขยะ การขยายตัวและความเจริญของเมืองยังก่อให้เกิดปัญหาบุกรุกป่าและทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย กิจกรรมเหล่านี้ทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2537 (1994) ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ 207.65 ล้านตัน

Meta ประกาศร่วมต่อสู้ภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

เอปสัน จับมือ เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก จัดแคมเปญ บรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อน

จากข้อมูลของ สำนักงานประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แหล่งที่มาของก๊าซเรือนกระจกของไทยมาจาก

  • การผลิตไฟ้าและการใช้พลังงาน (รวมการขนส่ง) 74%
  • ภาคการเกษตร 16% (มูลสัตว์ ตอซังข้าว ฯลฯ)
  • ภาคอุตสาหกรรม ทั้งการผลิตและการใช้ผลิตภัณฑ์ุตสากรรม 6%
  • ขยะ น้ำเสีย และการจัดการ 4%

ว่าได้ว่าเราทุกคนมีส่วนสร้างก๊าซเรือนกระจก คนไทยเกือบทุกคนมีบ้านที่ต้องใช้แสงไฟ ใช้น้ำที่ต้องใช้ไฟฟ้าในกระบวนการทำ เกือบทุกคนมีโทรศัพท์มือถือที่ต้องชาร์จไฟทุกวัน ผู้คนมากมายสั่งของออนไลน์ซึ่งต้องมีการแพ็คจากกล่องกระดาษและการขนส่งที่ใช้น้ำมัน เกือบทุกคนเดินทางออกจากบ้านทุกวันด้วยรถส่วนตัว จักรยานยนต์ หรืออื่น ๆ ซึ่งต้องใช้พลังงานจากน้ำมันหรือไฟฟ้า แม้แต่การบริโภคเนื้อสัตว์ที่น้ำเสียมีก๊าซจำนวนมาก

และหากประเทศไทยจะบรรลุเป้าหมาย carbon neutrality และ Net Zero เราทุกคนต้องร่วมมือกัน บริโภคแต่ที่จำเป็น พร้อมกับความหวังว่าความร่วมมือจะทำให้สภาพอากาศแปรปรวนน้อยลง

ติดตามสถานะปฏิบัติการของโลกได้ที่ https://www.unep.org/interactive/emissions-gap-report/2022/?gclid=CjwKCAiAh9qdBhAOEiwAvxIokxdTHWfQRXrbce59V1aG101sDFfmsnHuajtgtbjPXCsjiE8srf595hoC_IcQAvD_BwE

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

สรุปไฮไลท์เทคโนโลยี จาก CES 2023: นวัตกรรมสีเขียว – ขั้นกว่าของเมตาเวิร์ส – ไลฟ์สไตล์อนาคต

SCG ยกระดับธุรกิจสู่เวทีโลกด้วย ESG 4 Plus ลดโลกร้อนด้วย SCG Green Choice

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ