TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessMedical Textile สร้างโอกาสใหม่ เติบโตรับ New Normal

Medical Textile สร้างโอกาสใหม่ เติบโตรับ New Normal

ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงไทย เผยสิ่งทอทางการแพทย์ (Medical Textile) เป็นผลิตภัณฑ์ย่อยในกลุ่มสิ่งทอเทคนิค (Technical Textile) ที่เนื้อหอมสุดในกลุ่ม ช่วยสร้างโอกาสใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการในธุรกิจสิ่งทอที่ในปัจจุบันจัดเป็นหนึ่งในธุรกิจ Zombie หลังเจอปัจจัยกดดันจากการถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) จากสหภาพยุโรป ตั้งแต่ปี 2558 เพิ่มเติมจากต้นทุนแรงงานที่สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ประเมินสิ่งทอทางการแพทย์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (รวมไทย) มีมูลค่าธุรกิจแตะ 3 พันล้านดอลลาร์ฯ และมีแนวโน้มเติบโตที่ 8.3% ต่อปี ในช่วงปี 2563-2570 ซึ่งสูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ของโลก 

ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ความต้องการสินค้าทางการแพทย์เพิ่มสูงขึ้นภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) และการเข้าสู่สังคมสูงอายุ ทำให้ธุรกิจสิ่งทอทางการแพทย์มีศักยภาพ จัดเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ที่ภาครัฐกำลังส่งเสริมการลงทุนผ่านมาตรการของบีโอไอ (Thailand Board of Investment: BOI) สะท้อนจากมูลค่าเงินลงทุนของโครงการสิ่งทอทางการแพทย์ที่ได้รับอนุมัติจากบีโอไอ เพิ่มขึ้นราว 4 เท่าตัว จาก 405 ล้านบาท ในปี 2561 เป็น 2,148 ล้านบาท ในปี 2563

ทั้งนี้ ประเมินว่าธุรกิจสิ่งทอ ทางการแพทย์มีแนวโน้มเติบโตได้มากกว่าสิ่งทอเทคนิคอื่น ได้แก่ สิ่งทอในกลุ่มยานยนต์ สิ่งทอในภาคอุตสาหกรรม และสิ่งทอทางกีฬา โดยคาดว่ากลุ่มผู้ประกอบการที่จะเข้าสู่ธุรกิจสิ่งทอทางการแพทย์ คือ ผู้ประกอบการในธุรกิจสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเดิม เนื่องจากสามารถต่อยอดผลิตภัณฑ์จากสายการผลิตที่มีอยู่ได้ นอกจากนี้ ยังรวมถึงผู้ประกอบการในธุรกิจเคมีภัณฑ์ เนื่องจากมีความได้เปรียบที่มีวัตถุดิบหลัก อาทิ เม็ดพลาสติก 

“สิ่งทอทางการแพทย์เป็นสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง (High Value Added) เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์สิ่งทอทั่วไป เป็นโอกาสใหม่ให้กับอุตสาหกรรมสิ่งทอ แต่ยังต้องการการสนับสนุนจากภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตั้งศูนย์ทดสอบผ้าและรับรองคุณภาพสิ่งทอทางการแพทย์ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลโลก เช่น CE ของสหภาพยุโรป รวมถึงการช่วยเหลือ SMEs ให้มีอำนาจต่อรองราคาวัตถุดิบ และผนึกห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจนี้ให้เข้มแข็ง”

นิรัติศัย ทุมวงษา นักวิเคราะห์ กล่าวว่า สำหรับผลิตภัณฑ์สิ่งทอทางการแพทย์ที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพลงทุนในระยะ 3-5 ปีข้างหน้า จะเป็นเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ใช้ภายนอกร่างกาย ได้แก่

  1. ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เฉพาะทางการแพทย์ (Medical and Patient Care) ที่ทำจากผ้า Woven (ชนิดที่ซักแล้วใช้ซ้ำได้) เช่น หน้ากากผ้าที่สะท้อนน้ำและกันแบคทีเรีย
  2. ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในทางการแพทย์ที่ทำจากผ้า Nonwoven (ชนิดที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง) เช่น ชุด PPE และ            
  3. ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อสุขอนามัย (Health and Wellness) เช่น ผ้าปูเตียงที่กันไรฝุ่น

โดยประเมินว่าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในทางการแพทย์จะขยายตัวเฉลี่ยที่ 8.7% ต่อปี ในช่วงปี 2563-2570 โดยเฉพาะหน้ากากอนามัยที่มักใช้ในห้องผ่าตัดมีแนวโน้มเติบโตมากถึง 144% ต่อปี และกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อสุขอนามัยจะขยายตัวเฉลี่ยที่ 8.0% ต่อปี โดยเฉพาะเสื้อผ้าที่มีคุณสมบัติพิเศษ เช่น กันแบคทีเรีย มีแนวโน้มเติบโตที่ 8.4% ต่อปี ขณะที่สิ่งทอทางการแพทย์ที่ใช้ภายในร่างกายเป็นโจทย์ที่ท้าทายแก่ผู้ประกอบการไทย ซึ่งอาจใช้ระยะเวลาอีก 5-10 ปี เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง 

ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงไทย เผยสิ่งทอทางการแพทย์ (Medical Textile) เป็นผลิตภัณฑ์ย่อยในกลุ่มสิ่งทอเทคนิค (Technical Textile) ที่เนื้อหอมสุดในกลุ่ม ช่วยสร้างโอกาสใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการในธุรกิจสิ่งทอที่ในปัจจุบันจัดเป็นหนึ่งในธุรกิจ Zombie หลังเจอปัจจัยกดดันจากการถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) จากสหภาพยุโรป ตั้งแต่ปี 2558 เพิ่มเติมจากต้นทุนแรงงานที่สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ประเมินสิ่งทอทางการแพทย์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (รวมไทย) มีมูลค่าธุรกิจแตะ 3 พันล้านดอลลาร์ฯ และมีแนวโน้มเติบโตที่ 8.3% ต่อปี ในช่วงปี 2563-2570 ซึ่งสูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ของโลก 

“แม้กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อสุขอนามัยมีอัตราการเติบโตที่น้อยกว่า แต่มีความน่าสนใจตรงที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นผู้บริโภคทั่วไป ซึ่งหมายถึงฐานตลาดที่กว้าง และไม่จำเป็นต้องผ่านการทดสอบมาตรฐานทางการแพทย์ ซึ่งมักใช้เวลานานและมีค่าใช้จ่ายที่สูง จึงมองว่าทั้งสองกลุ่มมีศักยภาพไม่แพ้กัน”

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ