TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessพีทีที เทรดดิ้ง จับมือ ไอบีเอ็ม เดินหน้าขยาย-ทรานส์ฟอร์มธุรกิจ

พีทีที เทรดดิ้ง จับมือ ไอบีเอ็ม เดินหน้าขยาย-ทรานส์ฟอร์มธุรกิจ

ไอบีเอ็ม ได้ออกมาประกาศว่า พีทีที เทรดดิ้ง ซึ่งเป็นหน่วยธุรกิจการค้าของกลุ่มบริษัทปตท. หนึ่งในบริษัทน้ำมันและก๊าซครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังร่วมมือกับทีมเซอร์วิสเซสของไอบีเอ็มเพื่อนำเทคโนโลยีออโตเมชันและปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) เข้าเสริมสร้างประสิทธิภาพใหม่ ๆ ให้แก่กระบวนการทำงานในส่วนของแบ็คออฟฟิศที่มีภาระงานในลักษณะซ้ำ ๆ

โดยความร่วมมือที่นำโดยพีทีที เทรดดิ้ง ประกอบกับการสนับสนุนจากกลุ่มบริษัทปตท. ในการนำเอไอและออโตเมชันมาใช้ในสำนักงานของ พีทีที เทรดดิ้ง ที่กรุงเทพและสิงคโปร์ในครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อทำให้กระบวนการต่าง ๆ ของ พีทีที เทรดดิ้ง มีความคล่องตัว รวมทั้งเพิ่มความถูกต้องแม่นยำในการดำเนินงานมากยิ่งขึ้น

-ไอบีเอ็ม เปิดเครื่องมือ AI ใหม่ ช่วยแบ่งเบาภาระผู้บริหารด้านไอที
-พีทีที ดิจิตอล จัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

ในฐานะผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมพลังงานของประเทศไทย พีทีทีได้เน้นกลยุทธ์ในการนำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน เพื่อที่จะได้เข้าถึงข้อมูลจากตลาดได้อย่างรวดเร็ว สามารถตัดสินใจได้อย่างฉับไว สนับสนุนความต่อเนื่องทางธุรกิจ และสามารถคว้าโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ที่เข้ามา ผ่านสำนักงาน พีทีที เทรดดิ้ง ทั้งห้าแห่งที่ตั้งอยู่บริเวณศูนย์กลางการค้าน้ำมันที่สำคัญทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพฯ สิงคโปร์ ลอนดอน อะบูดาบี รวมถึงสำนักงานในสหรัฐอเมริกาที่กำลังจะเปิดทำการในเร็ว ๆ นี้ บริษัทได้ตระหนักถึงความซับซ้อนของการค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดที่มีความผันผวนสูงในปัจจุบัน ซึ่งจำเป็นจะต้องมีระบบการวิเคราะห์ข้อมูลที่ดี การปรับปรุงกระบวนการทำงานโดยนำระบบอัตโนมัติมาใช้ พัฒนาแพลตฟอร์มควบคุมความเสี่ยง รวมถึงสภาพแวดล้อมในการทำงานที่คล่องตัวและปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์

ที่ผ่านมา การดำเนินงานด้านการเงินของ พีทีที เทรดดิ้ง ตั้งแต่การทำข้อตกลงทางการค้าไปจนถึงการเรียกเก็บเงินบัญชีลูกหนี้การค้าและการชำระเงินบัญชีเจ้าหนี้การค้า เป็นกระบวนการทำงานที่ใช้เวลามากและดำเนินการด้วยตนเอง โดยในการทำงานร่วมกับไอบีเอ็มการาจเพื่อค้นหากระบวนการทำงานที่จะนำมาปรับปรุง (process discovery) นั้น พีทีที เทรดดิ้ง พบว่ามีกระบวนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านการเงินหลายกระบวนการที่จำเป็นต้องได้รับการปรับปรุง

“ภายใต้พันธกิจในการขยายธุรกิจการค้าไปสู่ตลาดสากล ด้วยความเป็นเลิศ ในด้านการค้า ด้านการปฏิบัติงานและบริหารจัดการความเสี่ยงด้านราคา รวมถึงการเสาะหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อดึงศักยภาพของข้อมูล การพัฒนากระบวนการส่งผ่านข้อมูลให้มีความฉลาดมากยิ่งขึ้น และทำให้สภาพแวดล้อมการทำงานของเรามีความคล่องตัว สิ่งเหล่านี้คือ หัวใจสำคัญทางธุรกิจของเรา” ดิษทัต ปันยารชุน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าว

“การปรับปรุงกระบวนการทำงานและระบบไอทีเพื่อให้เรามีความคล่องตัว ยืดหยุ่นและมีความต่อเนื่องทางธุรกิจ และเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายทางธุรกิจและเศรษฐกิจในรูปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน รวมถึงเพื่อคว้าโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจ ถือเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจของเราในวันนี้” ดิษทัต กล่าวเสริม

ผลจากการทำงานร่วมกับไอบีเอ็ม เซอร์วิสเซส เพื่อนำโรโบติกโพรเซสออโตเมชัน (Robotic Process Automation หรือ RPA) มาใช้ ทำให้ปัจจุบันซอฟต์แวร์บ็อต (Software bots) สามารถช่วยพนักงานบริหารจัดการงานที่หลากหลาย โดยงานเหล่านี้จะมีลักษณะงานที่ทำซ้ำ ๆ มีเงื่อนไขที่กำหนดเอาไว้ชัดเจน ข้อมูลมีรูปแบบแน่นอน (Structured data) และมีปริมาณมาก นอกจากนี้ยังได้มีการผนวกเอาอนาไลติกส์ (Analytics) แมชชีนเลิร์นนิง (Machine learning) รวมถึงเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เทคโนโลยีการแปลงไฟล์ภาพเอกสารให้เป็นข้อความ (Optical Character Recognition หรือ OCR) ลงในระบบ เพื่อลดความซับซ้อน ปรับปรุงประสิทธิภาพ และทำให้กระบวนการทางธุรกิจและการทำงานเป็นไปโดยอัตโนมัติแบบครบวงจรทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

“ในขณะที่บริษัทหลายแห่งยังคงอยู่ในช่วงของการทดลองระบบออโตเมชันและเอไออยู่นั้น วันนี้ พีทีที เทรดดิ้ง ได้เริ่มนำแนวทางนี้มาใช้ในองค์กรอย่างจริงจังแล้ว เพื่อจัดการกับความท้าทายและเร่งเดินหน้าในเรื่องดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันต่อไป” สวัสดิ์ อัศดารณ พาร์ทเนอร์และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจโกลบอล บิสซิเนส เซอร์วิสเซส ของไอบีเอ็ม ประเทศไทย กล่าว

“ความสามารถในการประมวลผลและจัดการกับข้อมูลอย่างชาญฉลาด จะเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญในการแข่งขันท่ามกลางความผันผวนของธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้ ไอบีเอ็มมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้นำโซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วยเอไอและออโตเมชันมาช่วยสนับสนุนการดำเนินงานของพีทีที เทรดดิ้ง อันจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้แก่บุคลากร ทำให้สามารถตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่าย และปรับปรุงการดำเนินงานของระบบแบ็คเอนด์ให้ดียิ่งขึ้น” สวัสดิ์ กล่าวเสริม

หลังจากที่ประสบความสำเร็จในการติดตั้งระบบในเฟสแรก เวลาทั้งหมดที่ใช้ในการจัดการกับการเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้การค้าลดลงจาก 27,913 นาที เหลือเพียง 6,898 นาทีภายในระยะเวลาหกสัปดาห์ โดยพีทีที เทรดดิ้ง คาดหวังว่าจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 16.6 ล้านบาทภายในระยะเวลาสามปี

ออโตเมชันได้กลายเป็นหนึ่งในระบบงานที่มีความสำคัญสูงสุดสองอันดับแรกขององค์กรทั่วโลก โดยจากข้อมูลของฟอร์เรสเตอร์ คอนซัลติ้งนั้น ตลาดโรโบติกโพรเซสออโตเมชันจะมีมูลค่าสูงถึง 2,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2564 และจะมีบริษัทอีกเป็นจำนวนมากที่มองถึงการนำระบบออโตเมชันที่ผนวกความสามารถของเอไอมาใช้ รวมถึงพยายามสร้างความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ในระยะยาวเพื่อรับมือกับสนามแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

-วัตสันเผย เชื่อมต่อกับลูกค้า สิ่งสำคัญในธุรกิจค้าปลีกวิถีใหม่
-บล็อกเชน หนุนสินทรัพย์ดิจิทัล สกุลเงินคริปโต โตก้าวกระโดด
-“หาบเร่-แผงลอย” ฮีโร่ฟื้นเศรษฐกิจ
-เผย 3 เทรนด์ใหม่ของสถานที่ทำงานยุค New Normal

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ