TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyผลวิจัยพบความเสี่ยงทางไซเบอร์ จากการทำงานจากระยะไกลผ่านอุปกรณ์ล้าสมัย

ผลวิจัยพบความเสี่ยงทางไซเบอร์ จากการทำงานจากระยะไกลผ่านอุปกรณ์ล้าสมัย

บริษัท เอ็นทีที จำกัด NTT Ltd. เผยรายงานข้อมูลเชิงลึกด้านเครือข่ายระดับโลก ปี 2020 (NTT Ltd.’s 2020 Global Network Insights Report) พบว่าในขณะที่องค์กรธุรกิจต่างย้ายแอปพลิเคชันไปยังระบบมัลติคลาวด์ ทำให้การลงทุนบนคลาวด์นั้นสูงกว่าค่าใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานในองค์กร ซึ่งทำให้การรีเฟรชระบบและการอัพเกรดรูปแบบการทำงานลดลง เนื่องจากธุรกิจจำนวนมากเลือกที่จะลดจำนวนอุปกรณ์เครือข่ายและชะลอการลงทุนในการปรับโครงสร้างเครือข่ายและโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัย ส่งผลให้อุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้อยู่นั้นล้าสมัยและมีช่องโหว่ในการทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียงต่อการถูกคุกคามด้านความปลอดภัยข้อมูล

ในรายงานได้รับข้อมูลอ้างอิงจากการประเมินผลการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีของลูกค้ากว่า 1,000 ราย และครอบคลุมอุปกรณ์เครือข่ายกว่า 800,000 รายการ พบว่าสินทรัพย์เกี่ยวกับอุปกรณ์เครือข่ายขององค์กรถึง 46.3% ค่อนข้างล้าสมัยในปี 2560 ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก (weighted average) นับเป็นจำนวนมหาศาลในปี 2560 โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.3%

การระบาดของ COVID-19 และการใช้แบนด์วิธที่เพิ่มขึ้นนั้นส่งผลกระทบต่อระบบเครือข่าย และยังต้องเผชิญต่อสถานการณ์ที่เลวร้ายลงไปอีกเมื่อมีการเข้าถึงเครือข่ายจากระยะไกล (remote access) และการทำงานจากนอกสถานที่ (remote working) รวมถึงการใช้บริการเสียงและวิดีโอ ทำให้ระบบเครือข่ายขององค์กรและโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยขององค์กรอยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างไม่น่าเชื่อ

ร็อบ โลเปซ รองประธานบริหารฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะของ NTT Ltd. กล่าวว่า ในการดำเนินธุรกิจยุคใหม่ “New Normal” กลุ่มองค์กรธุรกิจจะต้องเพิ่มการทบทวนกลยุทธ์ด้านระบบเครือข่ายและสถาปัตยกรรมด้านความปลอดภัยของพวกเขาให้มากขึ้น ทั้งรูปแบบของการดำเนินงานและการสนับสนุนเพื่อจัดการรวมถึงการบริหารความเสี่ยงให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเราคาดว่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงทางกลยุทธ์โดยมุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตเมื่อมีการล็อคดาวน์อีกครั้ง โดยโครงสร้างระบบเครือข่ายจำเป็นต้องได้รับการออกแบบและการจัดการอย่างเหมาะสม เพื่อจัดการกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้ทันท่วงที โดยจะต้องมีการใช้งานบนระบบคลาวด์และโครงสร้างพื้นฐานเพื่อลดผลกระทบและลดความถี่ของการหยุดชะงักในการดำเนินงานที่สำคัญของธุรกิจ

ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของอุปกรณ์ที่เกินอายุการใช้งานและล้าสมัยในสำนักงานแห่งอนาคต

โดยเฉลี่ยแล้วอุปกรณ์ที่ล้าสมัยจะมีช่องโหว่ที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า (42.2%) เมื่อเปรียบเทียบกับอายุการใช้งานอุปกรณ์ (26.8%) และปัจจุบัน (19.4%)

ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่ไม่จำเป็น ซึ่งความเสี่ยงดังกล่าวได้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเมื่อธุรกิจไม่ได้ทำการแก้ไขอุปกรณ์หรือเข้าไปอัพเดทเวอร์ชั่นใหม่ๆของระบบปฏิบัติการในช่วงระยะเวลาของอายุการใช้งาน และถึงแม้ว่าการแพตช์ (patch) เพื่อปรับปรุงข้อมูลสำหรับโปรแกรมให้ทันสมัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ดีขึ้นจะทำได้ค่อนข้างง่ายและมักจะทำได้ฟรีภายใต้ข้อตกลงการบำรุงรักษาหรือช่วงการรับประกัน แต่ธุรกิจจำนวนมากก็ยังไม่ทำการแพตช์อุปกรณ์อย่างที่ควรจะเป็น

เมื่อเข้าสู่ “new normal ธุรกิจต่างทบทวนวิธีการทำงานในรูปแบบใหม่โดยเพิ่มความยืดหยุ่นในการดำเนินงานขององค์กรนั้นได้กลายเป็นกุญแจสำคัญในช่วงเวลานี้ ซึ่งการแพร่ระบาดของไวรัสครั้งนี้ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินธุรกิจอย่างถาวร รวมถึงการใช้พื้นที่สำนักงานอย่างชาญฉลาดเพื่อรองรับการเว้นระยะห่างและลดพื้นที่กิจกรรมทางสังคม (social distancing) ในสำนักงานของพวกเขา ในขณะที่หลายๆ บริษัท จะยังคงยอมรับการทำงานแบบ remote working และในขณะเดียวกันจะมีโครงสร้างพื้นฐานไร้สายแบบใหม่เพิ่มขึ้นราว 13% ในแต่ละปี และจำนวนของสำนักงานแบบเปิดและ co-working spaces ที่เพิ่มขึ้นจะต้องมีแนวทางเพื่อรองรับสถาปัตยกรรมด้านเครือข่ายทั้งหมด

นอกจากนี้กลุ่มธุรกิจจะต้องการใช้เครื่องมือ ความรู้ และความเชี่ยวชาญ เพื่อสามารถสร้างระบบเครือข่ายใหม่สำหรับวิวัฒนาการในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ของ ” new normal” สำหรับผู้ที่ทำงานจากระยะไกลและจากทุกอุปกรณ์ได้ตลอดเวลา โดยพวกเขาจะต้องหาพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ที่สามารถให้คำแนะนำด้วยมุมมองด้านเครือข่ายในอนาคตจะเป็นอย่างไร และไม่เพียงแต่ในแง่ของการสนับสนุนพื้นที่ขององค์กร แต่ยังรวมถึงพื้นที่สาธารณะและร้านค้าปลีกด้วย ตัวอย่างเช่น เมื่อเราเข้าสู่ “new normal” ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI และ machine learning จะถูกนำมาช่วยตรวจสอบตามมาตรการ social distancing ผ่านแพลตฟอร์มบนระบบเครือข่าย

วิวัฒนาการของระบบเครือข่ายต้องเดินควบคู่ไปกับ digital transformation

ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการวางกลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล (digital transformation) จะเห็นว่าองค์กรชั้นนำต่างๆ กำลังนำระบบเครือข่ายเพื่อมาเปิดใช้โมเดลธุรกิจรูปแบบใหม่ เช่น Internet of Things (IoT) หรือเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานที่มีอยู่เช่นระบบการติดตามทรัพย์สิน (asset tracking) หรือองค์กรธุรกิจอาจหันไปลงทุนทางด้านเทคโนโลยี เช่น โซลูชั่นการทำงานแบบอัตโนมัติ หรือโรบอทสำหรับงานออฟฟิศ (Robotic Process Automation : RPA) ซึ่งล้วนเป็นส่วนหนึ่งของการริเริ่มการรูปแบบการทำงานที่ปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิทัล เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และการให้บริการที่เป็นไปในลักษณะที่คล่องตัวมากขึ้น แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตามการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัลกำลังช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ของทั้งลูกค้าและพนักงานซึ่งจะถูกขับเคลื่อนด้วยระบบเครือข่าย โดยความคิดริเริ่มเหล่านี้จะถูกกระตุ้นด้วยการสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ปลอดภัยและสอดคล้องไปกับการดำเนินชีวิตแบบ “new norm” โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีของธุรกิจด้านการดำเนินงานและโครงการลงทุนทางการเงิน

ร็อบ โลเปซ กล่าวเพิ่มเติมว่า ระบบเครือข่ายเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจดิจิทัล ซึ่งจำเป็นต้องมีความแพร่หลาย ยืดหยุ่น แข็งแกร่ง และปลอดภัย เพื่อปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจได้อย่างง่ายดายในขณะเดียวกันก็เป็นการเพิ่มอายุของสภาพแวดล้อมในการใช้งานธุรกิจที่ใช้ระบบเครือข่ายอัตโนมัติระดับสูง และระบบอัจฉริยะในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และจะสามารถตระหนักถึงประโยชน์ของการดำเนินธุรกิจบนคลาวด์ได้อย่างปลอดภัย”

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

-ดีป้าเร่งเครื่องหนุนศก.ดิจิทัล ฟื้นประเทศหลังโควิด-19
-“ระเบิดเวลา” เศรษฐกิจ น่ากลัวกว่าไวรัสโควิด-19
-ไบโอเทค พัฒนา “ระบบเพาะเลี้ยงพืชในอาหารเหลว”
-“อาหาร” บน Twitter เพิ่ม 56%
-ท่องเที่ยวไทย ฟื้นตัว หลังคลายล็อกดาวน์

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ