TH | EN
TH | EN
หน้าแรกInterviewดีป้าเร่งเครื่องหนุนศก.ดิจิทัล ฟื้นประเทศหลังโควิด-19

ดีป้าเร่งเครื่องหนุนศก.ดิจิทัล ฟื้นประเทศหลังโควิด-19

เทคโนโลยีมีส่วนเข้าไปขับเคลื่อนเศรษฐกิจในทุก ๆ ธุรกิจ ทั้งด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรมหนักและเบา แฟชั่น รวมถึงภาคธุรกิจและบริการ คิดเป็น 8-9% ของ GDP ทั้งหมดของประเทศไทย

ระบบดิจิทัลที่เข้าไปอยู่ในธุรกิจต่าง ๆ มีทั้งโอกาสที่จะเติบโตและปรับเปลี่ยนธุรกิจจากวิกฤติรอบนี้และอุปสรรค เช่น ภาคการเกษตร ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 จากปัจจัยต่าง ๆ ส่งผลให้กำลังซื้อลดลง ขายผลผลิตได้น้อยลง แต่ในขณะเดียวกัน “อีคอมเมิร์ซ” ช่วยให้ผลผลิตทางการเกษตรเข้าถึงมือผู้บริโภคได้โดยตรง สร้างโอกาสได้มากขึ้น

ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กล่าวกับ The Story Thailand ว่า ในภาพรวมทั้งประเทศมีการคาดการณ์ว่าจะติดลบ 4-5% ซึ่งน่าจะพอไปต่อได้หลังจากผ่านวิกฤติรอบนี้

การผลิตที่มีข่าวออกมาว่าจะมีการปิดโรงงานหรือย้ายฐานการผลิต ซึ่งระบบอัตโนมิติ อาจจะมีปัญหาเมื่อนำไปขายโรงงานไม่ได้ ขณะเดียวกันก็มีกลุ่มอื่น ๆ ที่ต้องการจะปรับตัวหรือฟื้นตัวกลับมาจากวิกฤติรอบนี้ เพื่อแข่งขันในธุรกิจที่ปรับเปลี่ยนไป

ด้านการค้าและบริการ ได้รับผลกระทบโดยตรงจากวิกฤติรอบนี้ ขณะเดียวกันก็มีธุรกิจส่งสินค้าในประเทศโตขึ้นมาแข่งขันกับต่างชาติ และจะมีการเติบโตในเชิงของโอกาส

“เราจะเห็นบริการดิจิทัลที่เปลี่ยนจากรถตุ๊ก ๆ ส่งคนเป็นรถตุ๊ก ๆ ส่งของ ซึ่งเกิดจากสตาร์ตอัพ แม้แต่ไทยพาณิชย์ก็เปิดบริการส่งอาหาร จะทำให้ประเทศไทยมีการบริหารต้นทุนที่ดี และตอบโจทย์ผู้บริโภคมากขึ้น”

ขณะเดียวกัน คนไทยต้องปรับเปลี่ยนจากการขายผลิตภัณฑ์เป็นแพลตฟอร์ม จะต้องคิดถึงผู้บริโภค และปรับให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคได้

เสริมสกิลใหม่ เพื่อให้อยู่รอดในวิกฤติ

ณัฐพล กล่าวว่า ดีป้ามีแผนงานประจำปีและปรับให้สอดคล้องกับสถานการณ์ มีการคาดการณ์ว่าจะมีการเลิกจ้าง 7.3 – 8.5 ล้านคน จากวิกฤติโควิด-19 สิ่งแรก คือ ต้องช่วยคนที่ถูกออกจากระบบการจ้างงาน เข้ามาดูว่าจะต้องเพิ่มทักษะอะไรให้คนเหล่านี้ และเข้ามาช่วยให้เขาอยู่รอดในเศรษฐกิจดิจิทัลได้ เพื่อย้อนกลับไปทำงานกับธุรกิจที่ปฏิรูปแล้ว

อีกส่วนหนึ่งที่อาจจะไม่ได้กลับไปทำงานกับบริษัท ก็สามารถเพิ่มทักษะอื่นที่นำไปประกอบอาชีพตัวเองได้ หรือเพิ่มทักษะการประกอบอาชีพอิสระ เสริมทักษะนำไปประกอบวิชาชีพเพื่อเอาตัวรอด

ด้านชุมชน เกษตรกร ภาคการผลิต ธุรกิจค้าปลีก หรือโรงแรม ที่ต้องเปลี่ยนจากผลิตภัณฑ์เป็นแพลตฟอร์ม โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย จะมีการจับคู่ธุรกิจกับผู้ให้บริการในประเทศ ทำให้เกิดการผลักดันอุตสาหกรรมดิจิทัลในประเทศไทย

“ดีป้าจะเข้ามาเป็นตัวกลางทำให้ผู้ให้บริการไปเจอกับธุรกิจต่าง ๆ ส่งผลให้ทั้ง 2 ภาคธุรกิจเติบโตไปด้วยกันในทิศทางเดียวกัน”

นอกจากนี้เมื่อธุรกิจจับคู่กัน จะสามารถะขยายผลเป็นแพลตฟอร์มระดับชาติ ที่สามารถแข่งขันได้ เช่น แอปฯ ส่งอาหารของไทย หรือ แอปฯ การท่องเที่ยวที่เป็นของคนไทย

ด้านการขับเคลื่อนอย่างยั่งยืน ดีป้าปรับเปลี่ยนโครงการอย่างเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ที่ตอบโจทย์แต่ด้านประชาชน ให้ถูกผสมผสานกับการสร้างโอกาสให้ประชาชนด้วย จะทำให้ระบบนิเวศของประเทศไทยดูกลมกล่อม และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เกิดการปฏิรูปในธุรกิจต่าง ๆ ทำให้ประเทศไทยไม่เสียดุลการค้าทางด้านเทคโนโลยี คนไทยจะได้เพิ่มพูนทักษะความรู้

“ถ้าเราไม่คิดทำก็จะไม่เกิดการขับเคลื่อนแพลตฟอร์มในระดับประเทศ ไม่เกิดยูนิคอร์น หรือการเติบโตของสตาร์ตอัพ”

ดันสตาร์ตอัพขึ้นระดับประเทศ เสริมเทคโนโลยีให้ภาคแรงงาน

ณัฐพล กล่าวว่า ประเทศไทยมีสตาร์ตอัพเก่งอยู่มาก มีหลายหน่วยงานที่เข้ามาช่วยในหลายหน่วยงาน แต่ดีป้ากำลังมองโอกาสว่าถ้าจะช่วยให้สตาร์ตอัพเหล่านี้สามารถแข่งขันได้ ผลักดันเข้าสู่ Growth Stage หรือสามารถสเกลได้ในระดับประเทศ

โอกาสของสตาร์ตอัพที่อาจจะเกิดขึ้น คือ การเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือของธุรกิจ ถ้าสตาร์ตอัพมีทางแก้ปัญหาที่ดี ภาคเอกชนก็จะตอบรับ รวมถึงภาครัฐที่ต้องการเปลี่ยนตัวเองเป็นรัฐดิจิทัล

“ขณะเดียวกันจะต้องสร้างสตาร์ตอัพที่ทำเรื่องฮาร์ดแวร์ เพราะประเทศไทยยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศอยู่”

ในภาคแรงงาน ซึ่งดีป้าอาจจะไม่ได้เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง แต่เข้ามาช่วยสร้างโอกาสให้คนไทยได้เลือก ถ้าคนมีกำลังใจที่จะเรียนรู้และเพิ่มทักษะ ก็จะรอดได้ ซึ่งคนในยุคนี้สามารถขายของผ่านแพลตฟอร์ม เพื่อให้ตัวเองรอดจากวิกฤติได้

อีกกลุ่มหนึ่ง คือ คนที่มีความสามารถและยังอยู่ในความต้องการของอุตสาหกรรมยุคอนาคต จะต้องใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งสามารถเรียนฟรีได้จากคอร์สออนไลน์ต่าง ๆ ก็จะสร้างโอกาสให้หางานทำได้มากขึ้น

ด้านเกษตรกรประเทศไทยมีทรัพยากรด้านอาหารที่ดีที่สุด แต่จะทำให้อาหารปลอดภัยและตรงใจผู้บริโภค กับการลดต้นทุนที่สามารถแข่งขันได้และมีคุณภาพ ก็จะต้องเพิ่มพูนทักษะ เพราะการแข่งขันไม่ได้ใช้แค่ผลผลิต แต่ต้องสู้กับคุณภาพ และทางเลือกที่คนเปิดผ่านโลกดิจิทัลสามารถเลือกสินค้าได้ง่ายขึ้น

“ดีป้าส่งเสริมให้นำเทคโนโลยีเข้าไปใช้ เช่น ให้ภาคการเกษตรเปลี่ยนจากการสร้างผลผลิต เข้ามาใช้แพลตฟอร์ม โดยให้ทดลองใช้ฟรีสักระยะหนึ่งเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เพราะถ้าเขาอยู่รอได้ก็จะเกิดการจ้างงาน”

ด้านธุรกิจท่องเที่ยว สิ่งที่ต้องทำ คือ การสร้างความเชื่อมั่นทั้งคุณภาพและความปลอดภัย โดยให้ใช้เทคโนโลยีวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจ (ERP) และแพลตฟอร์มการจอง เพื่อให้บริหารจัดการต้นทุนได้ดีมากขึ้น รวมถึงสร้างคอนเทนต์เพื่อสร้างแรงจูงใจกับผู้บริโภคให้นักท่องเที่ยวกลับมา

โรงงานอุตสาหกรรมหรือ SMEs ที่ต้องการใช้เทคโนโลยี จะมีการจับคู่กับสตาร์ตอัพ และดีป้าจะช่วยรองรับความเสี่ยงบางส่วนในการบริหารจัดการต้นทุนและเทคโนโลยี

“ทั้งนี้ เศรษฐกิจดิจิทัลในอดีตเรามีการเติบโตปีละประมาณ 1% แต่จากปี 2019-2020 น่าจะมีการเติบโตไม่ต่ำกว่า 15% เพราะถูกบีบบังคับจากตัวเร่งอย่างโควิด-19 การเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจดิจิทัลมันเร็วกว่าที่เราคิด”

บทสัมภาษณ์อื่น ๆ ที่น่าสนใจ

-Digital Currency สมรภูมิการเงินที่เลี่ยงไม่ได้
-จากโปรเจกต์จบ ป.ตรี สู่ “Timelie” เกมพัซเซิลสัญชาติไทย ที่คว้ารางวัลเวทีโลก
-Let’s Plant Meat เบอร์เกอร์เนื้อจากพืช ตั้งเป้าขยายตลาดทั่วโลก มีโอกาสเป็นยูนิคอร์น
-TikTok ตั้งเป้าเป็น “แพลตฟอร์มของทุกคน” เน้นฟีเจอร์ใหม่ เนื้อหาหลากหลาย
-Bitkub แนะทำกลยุทธ์ดิจิทัล รับมือ Force Disruption

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ