TH | EN
TH | EN
spot_imgspot_imgspot_img
หน้าแรกInterviewจากโปรเจกต์จบ ป.ตรี สู่ “Timelie” เกมพัซเซิลสัญชาติไทย ที่คว้ารางวัลเวทีโลก

จากโปรเจกต์จบ ป.ตรี สู่ “Timelie” เกมพัซเซิลสัญชาติไทย ที่คว้ารางวัลเวทีโลก

หลังจากที่ เกม “Timelie” เกมพัชเซิลจากทีมพัฒนาเกมอินดี้ชาวไทยโดย Urnique Studio เป็นระยะเวลากว่า 5 ปีของโปรเจกต์ “Timelie” จากฝีมือกลุ่มนักศึกษาที่ได้เคยรับรางวัลประเภทต่าง ๆ และวางขาย บนแพลตฟอร์มขายเกมถูกลิขสิทธิ์ Steam ในราคา 329 บาท ไปเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ที่ผ่านมา

สำหรับตัวเกม Timelie ผู้เล่นจะได้ติดตามการผจญภัยของเด็กสาวและแมวน้อยปริศนาที่คอยช่วยเหลือกันในเกมพัซเซิลรูปแบบใหม่ที่ให้ประสบการณ์เล่นเกมให้ความรู้สึกแบบ Co-op ด้วยการเล่นเพียงคนเดียว และคอยหลบหลีกศัตรูอันตรายไปสู่ทางออก พร้อมกับคอยดูอนาคต เพื่อลองผิด ลองถูก ค้นหากลยุทธใหม่ ๆ และนำไปสู่ความสำเร็จ โดยผู้เล่นสามารถควบคุมเวลาของเกมได้เหมือนกับโปรแกรมดูภาพยนตร์ที่คุ้นเคย ผู้เล่นสามารถเลือกที่จะลากย้อนแถบเวลาไปในอดีตเพื่อแก้ไข หรือลากไปข้างหน้าเพื่อดูอนาคต และใช้ข้อมูลนั้นให้เกิดประโยชน์

ปริเมธ วงศ์สัตยนนท์ หรือ “เจมส์” Creative Director ของเกม Timelie ระบุว่า จุดเริ่มต้นของเกมนี้เกิดจากการทำ Senior Project หรือ วิทยานิพนธ์(ธีสิส) เพื่อจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำให้รวมกลุ่มคนที่ชื่นชอบการทำเกมได้ 5 คน แต่เนื่องจากธีสิสแบบกลุ่มปกติ ทำได้มากสุดก็ไม่เกิน 2 คน ในตอนแรกอาจารย์ที่ปรึกษาก็คัดค้านให้แยกกลุ่ม แต่เนื่องจาก เจมส์ และเพื่อน ๆ ยืนยันว่าจะทำงานนี้ด้วยคน 5 คนให้ได้ ทำให้อาจารย์ที่ปรึกษายินยอม

แต่การยินยอมก็มีภายใต้เงื่อนไข

เจมส์ ระบุว่า เนื่องจากกลุ่มอื่นเป็นงานวิจัยสามารถวัดผลได้ แต่กลุ่มของเขาตั้งใจจะทำเกม ซึ่งเกมวัดผลไม่ได้ อาจารย์ที่ปรึกษาจึงให้เกณฑ์ในการตัดสินว่า เกมที่ทำต้องเป็นเกมที่เหมาะกับการใช้ 5 คนพัฒนาจริง ๆ และเกณฑ์การให้เกรดคือ รางวัลที่ได้จากการประกวด ทำให้เขาและเพื่อน ๆ เลือกที่จะประกวด National Software Contest : NSC Thailand ที่จัดโดย NECTEC

“งั้นเราก็ประกวด NSC นี่แหละ และเป้าหมายตอนแรกตั้งใจที่จะคว้ารางวัลที่ 1”

ปริเมธ วงศ์สัตยนนท์ กล่าว

ความท้าทายของโปรเจกต์นี้คือ ทีมพัฒนามีเวลาเพียง 3-4 เดือนเท่านั้นในการพัฒนาเกม ก่อนที่งานประกวด NSC จะเริ่มขึ้น เจมส์ ยอมรับว่า การที่จะพัฒนาเกมขึ้นมาในระยะเวลาเพียง 3-4 เดือนเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากมาก จนสุดท้ายทั้งทีมจึงเลือกที่จะใช้เวลาที่เหลือก่อนการประกวดให้คุ้มค่าที่สุดด้วยการลงเรือลำเดียวกัน เช่าคอนโดอยู่ด้วยกัน และพัฒนาเกมด้วยเป้าหมายเดียวกัน

นอกจากงานประกวด NSC แล้ว พวกเขายังไปคว้ารางวัล The Imagine Cup 2016 ของไมโครซอฟท์ สาขาการพัฒนาเกม ที่รัฐซีแอทเทิล ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือน ก.ค. 2559 ด้วย ในชื่อทีม พีเอชทเวนตี้วัน (PH21)

จุดเปลี่ยนบนโลกแห่งความจริง

เมื่อ PH21 กลับมาจากการคว้ารางวัล เจมส์ ก็ค้นพบกับความจริงว่าเพื่อน ๆ บางคนก็มีการไปสมัครงานใหม่ไว้บ้างแล้ว เจมส์ ใช้คำว่า “#วงแตก” โดยในช่วงแรกก็พยายามพัฒนาเกมต่อไปด้วยทีม 3 คน เวลาผ่านไป 1 ปี ก็พบกับความจริงที่ว่า “เงินทุนของพวกเขาเริ่มหมดลง” จนถึงจุดเปลี่ยนเมื่อเพื่อนที่เคยไปสมัครงานที่อื่น กำลังจะออกจากที่ทำงานเก่าพอดี ทำให้แรงพัฒนากลับมาอีกครั้งหนึ่ง

เจมส์ เริ่มปรับโมเดลด้วยการหาเงินจากภายนอก รับงานจ้างจากบริษัทต่าง ๆ ในการพัฒนาโปรเจกต์ที่ได้รับมอบหมาย ประกอบกับวงการผู้พัฒนาเกมไทยมีเครือข่ายที่รู้จักกัน ทั้งจากการประกวดต่าง ๆ ที่เคยได้รับรางวัลมา ทำให้เจมส์และทีมเริ่มมีทุนในการพัฒนาต่อ

เจมส์ เชื่อว่ากว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ เพราะได้กำลังใจที่ดีจากเพื่อน ๆ เพื่อนที่ร่วมทางกันมา ซึ่งคนทำเพลงให้เกม Timelie ก็เป็นสมาชิกคนที่ 5 ที่ออกไป

ผลตอบรับจากการอยู่กับเกมที่ตัวเองทำมาตลอด 5 ปี

หลังจากที่เกม Timelie เปิดขาย เจมส์ ยอมรับว่า ตื่นเต้นมาก เพราะไม่รู้ว่าสิ่งที่พัฒนามาตลอด 5 ปี ผู้เล่นจะรู้สึกอย่างไร จะมีความคิดเห็นอย่างไร ซึ่งผลตอบรับจากโลกออนไลน์ถือว่าดีเกินคาด เมื่อคะแนนเฉลี่ยจากการรีวิวบนแพลตฟอร์มเกม Steam ราว 98% ให้ผลเป็นบวก จากกว่า 440 ผู้ใช้ รวมถึงสื่อต่างชาติก็ให้คะแนนอยู่ในระดับที่สูงราว 8.5-9 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน

โดยเกม Timelie พัฒนาออกจำหน่ายในนาม บริษัท Urnique Studio จำกัด เป็นทีมพัฒนาเกมไทยที่มาจากการรวมตัวของกลุ่มนิสิตที่เคยร่วมพัฒนาโปรเจคต์เกมในชื่อ Timelie ด้วยกัน และสามารถไปคว้ารางวัล Best Game จากเวทีการแข่งขันประกวดซอฟต์แวร์ Imagine Cup 2016 ของ Microsoft ที่เมืองซีแอตเทิล สหรัฐอเมริกา และยังกวาดรางวัลชนะเลิศจากเวทีต่างๆ ทั้งในไทยและต่างประเทศ ต่อมาทีมได้จบการศึกษา และได้ขยายตัวจนจัดตั้งเป็นบริษัท ยูอาร์นีต สตูดิโอขึ้น เพื่อที่จะพัฒนาและผลักดันเกมเข้าสู่ตลาดอย่างเต็มตัว โดยทางสตูดิโอได้ถูกรับเลือกเข้าร่วมโครงการ Indie Game Acceletor ของ Google จากผู้พัฒนาเกมทั่วทั้งทวีปเอเชียในปี 2018 อีกด้วย

“Timelie” ได้จัดจำหน่ายแล้ววันนี้บน Steam ในราคา 329 บาท พร้อมกับส่วนลดราคาเปิดตัว 10% ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 ผู้ที่สนใจสามารถซื้อเกม Timelie ได้แล้ววันนี้ใน Steam ตามลิงค์นี้ https://store.steampowered.com/app/1150950/Timelie/และสามารถติดตามข่าวสารอื่น ๆ ได้ที่เพจเกม Timelie:  https://www.facebook.com/TimelieGame/ เพจทีมพัฒนา Urnique Studio: https://www.facebook.com/urniquestudio/ และ Twitter ทีมพัฒนา: https://twitter.com/UrniqueStudio

บทสัมภาษณ์อื่น ๆ ที่น่าสนใจ

-Let’s Plant Meat เบอร์เกอร์เนื้อจากพืช ตั้งเป้าขยายตลาดทั่วโลก มีโอกาสเป็นยูนิคอร์น
-TikTok ตั้งเป้าเป็น “แพลตฟอร์มของทุกคน” เน้นฟีเจอร์ใหม่ เนื้อหาหลากหลาย
-Bitkub แนะทำกลยุทธ์ดิจิทัล รับมือ Force Disruption
-โควิดดันออนไลน์อีเวนต์บูม ก่อนลู่สู่ไฮบริด
-Save Thailand 4.0 .. save สตาร์ตอัพไทย

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ