TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistอนาคตการรักษาพยาบาลในยุคควอนตัม

อนาคตการรักษาพยาบาลในยุคควอนตัม

สถานการณ์ด้านการแพทย์เมื่อช่วงการระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา โรงพยาบาลได้รับผลกระทบอย่างมาก ทั้งเรื่องการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical tourism) ทำให้ผู้ป่วยต่างชาติ ไม่สามารถเดินทางมาใช้บริการจากมาตรการปิดประเทศ (Lockdown) โดยเฉพาะโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่เน้นลูกค้าต่างประเทศหดตัวรุนแรง ในขณะที่ผู้ป่วยในประเทศชะลอการใช้บริการที่โรงพยาบาล เพราะกังวลเรื่องการติดเชื้อ

-ธุรกิจการบินยังมีอนาคต ในสายตาผู้ผลิตบุคลากรป้อนธุรกิจ
-เบียร์ช้างไทย จะไปสร้างความแข็งแกร่งให้ตลาดทุนต่างประเทศ อีกแล้ว?

รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริยุพา รุ่งเริงสุข ที่ปรึกษาบริหารบำรุงราษฎร์อคาเดมี โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดเผยว่า หลังจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ธุรกิจโรงพยาบาลต้องมีการปรับรูปแบบธุรกิจใหม่ เพื่อพัฒนาธุรกิจให้สามารถบริการผู้ป่วยได้อย่างดีที่สุดและทันท่วงที  ซึ่งเชื่อว่า เทคโนโลยีสุขภาพ ที่จะนำมาใช้ช่วยในการตรวจวินิจฉัยและ การรักษาพยาบาล โดยการใช้ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และข้อมูลมหาศาล (Big data) ผ่านการประมวลผลแบบ Digital Computing อาจจะไม่เพียงพอ ต้องใช้การประมวลผล แบบควอนตัม คอมพิวติ้ง เพื่อทำให้การตรวจวินิจฉัย การป้องกันควบคุมโรค การรักษาพยาบาล มีความแม่นยำและถูกต้องมากที่สุด ซึ่งขณะนี้มีการวิจัยและพัฒนาเพื่อเป็นการรักษาในอนาคต

จึงมีการนำ Telehealth การนำเทคโนโลยีการสื่อสาร มาสนับสนุนการให้บริการทางสุขภาพ และ Telemedicine เป็นการรักษาผ่านเทคโนโลยีแบบเรียลไทม์ เป็นการย่นระยะเวลาในการเดินทางมาโรงพยาบาลและ โดยแพทย์สามารถให้คำปรึกษา วินิจฉัยโรค และสามารถรักษาได้ 24 ชั่วโมง ซึ่งในระยะแรกรักษาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นที่อาการไม่รุนแรง มาให้บริการ  เช่น  โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีแอปพลิเคชัน “Raksa-ป่วยทัก รักษา” บริการให้คำปรึกษาทางด้านสุขภาพจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยคิดค่าบริการ 2 รูปแบบ คือ โทรศัพท์หรือ video call ค่าใช้จ่ายประมาณ 15 นาที/ ราคา 300 – 500 บาท อีกรูปแบบคือแชท ค่าใช้จ่ายประมาณ 200 บาท/ครั้ง

“การนำ Telehealth และ Telemedicine  มาใช้ในการรักษาอาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงกับธุรกิจ โรงพยาบาล จากเดิมที่มีการแบ่ง ขนาดโรงพยาบาลจากจำนวนเตียงในโรงพยาบาล เพราะการรักษาทางไกล ลูกค้าไม่มีความจำเป็นต้องเดินทาง  หรือ Admit  ที่โรงพยาบาล ลูกค้าสามารถเลือกใช้บริการที่พัก (Health residences) ได้”

รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริยุพา กล่าวว่า ในปี 2564 เชื่อว่า ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนมีแนวโน้มรายได้เพิ่มขึ้น เฉลี่ย 4.0-5.0% และจำนวนเตียงจะเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 2,000 เตียง จากประมาณ 36,000 เตียงในปี 2563 แต่อยู่บนเงื่อนไขที่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้และไม่มีประเทศที่ Lockdown มากกวานี้ 

นอกจากนั้นยังมีปัจจัยหนุนธุรกิจโรงพยาบาลจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง อีก เช่น การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ที่มีความต้องการบริการทางการแพทย์มากขึ้น การขยายตัวของชุมชนเมืองทำให้เพิ่มโอกาสในการนำเสนอบริการทางการแพทย์เพิ่มขึ้น รวมทั้งจำนวนชนชั้นกลางที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งปัจจัยสนับสนุนอื่น เช่น การสร้างฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ การขยายการลงทุน การส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานานาชาติ อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการธุรกิจโรงพยาบาลยังมีความท้าทาย ได้แก่ จำนวนแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่เพียงพอ การควบคุมราคายาและค่าบริการจากทางการ การแข่งขันจากโรงพยาบาลรัฐที่มีมาตรฐานเดียวกับเอกชน และคู่แข่งจากต่างประเทศที่วางสถานะเป็นศูนย์กลางการแพทย์เช่นเดียวกับไทย

ภาพประกอบบางส่วนจาก pexels.com

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ