TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyตัวอย่างความสำเร็จ 10 เกษตรกรดีเด่น "เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด"

ตัวอย่างความสำเร็จ 10 เกษตรกรดีเด่น “เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด”

บนเส้นทางการพัฒนาภาคเกษตรไทย เกษตรกรยุคใหม่ไม่หยุดนิ่ง มุ่งมั่นพัฒนาตนเอง เรียนรู้เทคโนโลยี นำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้กับการเกษตร ส่งผลให้มีผลผลิตที่เพิ่มขึ้น รายได้มั่นคง สู่ความยั่งยืน มูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กรมส่งเสริมการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เล็งเห็นความสำคัญของพลังแห่งการเปลี่ยนแปลง จึงจัดโครงการคัดเลือก “เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด” ประจำปี 2566 ครั้งที่ 15 ภายใต้แนวคิด “ผู้ประกอบการเกษตรอัจฉริยะ” เพื่อยกย่องผลงานของเกษตรกรยุคใหม่ผู้สร้างแรงบันดาลใจ

ตัวอย่างความสำเร็จของ 10 เกษตรกรดีเด่น ผู้สร้างผลงานโดดเด่น นำพาธุรกิจเกษตรยุคใหม่ ก้าวสู่ความยั่งยืนบนเวที “รางวัลเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด”

เกษตรกรสาวผู้พลิกโฉม “ไข่ผำ” สู่โปรตีนทางเลือก

กมลวรรณ รุ่งประเสริฐวงศ์ ทายาทเกษตรกรรุ่นใหม่ เจ้าของไร่แสนสกุลรุ่ง เป็นเกษตรกรคนหนึ่งที่ได้รับมรดกตกทอดมาจากคุณพ่อคุณแม่ หรือเรียกได้ว่าเป็นการส่งต่อรุ่นสู่รุ่น เขามีความฝันอยากจะพัฒนาหมู่บ้านชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ณ ปัจจุบัน ได้ทำ “ไข่ผำ” หรือเรียกว่าเป็นพืชน้ำที่มีโปรตีนเทียบเท่ากับเนื้อสัตว์ และกำลังจะเป็น Plant based หรือโปรตีนทางเลือกในอนาคต ปัจจุบันทำงานร่วมกับป้า น้า อา เพื่อน พี่ น้อง ในชุมชนกว่า 20 คน เพื่อให้เขามีรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น

เป็นเด็กที่ได้รับโอกาสจากสถาบันการศึกษาปัญญาภิวัฒน์ หรือ PIM  ทำให้มีองค์ความรู้ นำกลับมาพัฒนาบ้านเกิด สามารถช่วยน้อง ๆ จำนวน 5 โรงเรียน โดยสอนให้เลี้ยง “ไข่ผำ” ต้องการให้เขาได้นำไปเป็นอาหารกลางวันเพื่อเลี้ยงเพื่อน ๆ นอกจากนี้ เด็ก ๆ ยังนำองค์กรความรู้ที่ได้ไปให้กับครอบครัวของตนเอง ส่งผลให้เกิดรายได้เสริมจากการเลี้ยง “ไข่ผำ” 

ทั้งหมดที่พูดมาจะเห็นได้ว่าทุกคนมีรายได้ มีรอยยิ้ม และได้อยู่กับครอบครัว พร้อมเดินหน้ามุ่งยกระดับให้สินค้ามีมาตรฐานโดยนำนวัตกรรม เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเพาะเลี้ยง ปรับเปลี่ยนแนวทางจากการเลี้ยงแนวนอนสู่การเลี้ยงแบบแนวตั้ง โดยใช้แสงเทียนและออกซิเจน ส่งผลให้ล่นระยะเวลาเดิมที่เคยเลี้ยงประมาณเกือบ 2 สัปดาห์ เหลือเพียงแค่หนึ่งสัปดาห์ แต่คุณภาพยังคงเหมือนเดิม  

ฮักเห็ด ฟาร์มเกษตรอินทรีย์ยั่งยืน ด้วยนวัตกรรมและแพลตฟอร์มออนไลน์

ปิตุพร-ภูโชคศิริ-Hug-Hed-Farm-ฮักเห็ด-ฟาร์ม-จัง

ปิตุพร ภูโชคศิริ เจ้าของฮักเห็ดฟาร์ม จังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า ฮัก แปลว่า ความรัก จุดเริ่มต้นเกิดจากการนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ จุดประกายไอเดีย “พื้นที่หลังบ้านเล็ก ๆ นำมาทำโรงเรือนเห็ด” ปรากฎว่าใน 3 – 4 เดือนที่ลงมือ ส่งผลให้มีรายได้ แต่ยังมีข้อสงสัยว่า “ทำไมเกษตรกรไทยถึงรายได้น้อย” จึงต้องการมุ่งเข้ามาแก้ไข ซึ่งอยู่ในช่วงสถานกาณ์โควิด 19 สู่การเริ่มเข้ามาทำฟาร์มเห็ดอย่างจริงจัง จากที่หลาย ๆ คนกำลังประสบปัญหากับงาน “แต่ธุรกิจฟาร์มเห็ดกลับรุ่งแบบสวนกระแส” พร้อมกับจุดเด่นการทำแบบเกษตรอินทรีย์

หลังจากนั้นได้มีการพัฒนาองค์ความรู้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกลายมาเป็นการทำ กรีนเฮาส์ ระบบ IOT การใช้พลังงานแสงอาทิตย์เข้ามาในพื้นที่ และสินค้าน้ำหมักที่ใช้ในฟาร์ม ผลตอบรับดีเกินคาด จึงต่อยอดด้วยการสร้างชุมชนเครือข่ายจัดทำสินค้านี้ร่วมกัน แต่สิ่งสำคัญที่เกษตรกรยังขาดคือ ตลาด จึงสร้างแพลตฟอร์มร่วมกับวิทยาลัยนานาชาติขอนแก่น ที่มีชื่อว่า ‘Ugly Veggies’ ผักไม่สวย แต่มีคุณภาพ ลดขยะอาหาร แน่นอนว่ามีประโยชน์ มีความปลอดภัย ทุกอย่างอยู่ครบ 100% และเกษตรกรก็ยังสามารถมาเปิดหน้าร้านบนแพลตฟอร์มนี้ได้ นอกจากนี้จะสร้างรายได้แล้ว ยังเป็นช่องทางที่ทำให้เกษตรมุ่งทำอินทรีย์ ไม่ต้องกลับไปทำแบบสารเคมีที่เสี่ยงอันตรายอีกต่อไป

สวนธรรมวัฒน์ มังคุดยั่งยืนด้วยนวัตกรรมและการแปรรูป

ณัฎฐ เอกอรุณโชติ เจ้าของสวนธรรมวัฒน์ จังหวัดชุมพร

ณัฎฐ เอกอรุณโชติ เจ้าของสวนธรรมวัฒน์ จังหวัดชุมพร กล่าวว่า เติบโตมากับการทำสวนมังคุดและเงาะตั้งแต่เด็ก ด้วยความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการทำสวนให้ยั่งยืน จึงนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้กับสวนมังคุดกว่า 100 ปี ที่สืบทอดมาอย่างยาวนานรุ่นสู่รุ่น มีความใฝ่ฝันการทำเกษตรตั้งแต่เริ่มจบม.สาม โดยนำตนเองไปสู่ในเรื่องของการเรียนที่วิทยาลัยเกษตร เทคโนโลยีชุมพร เพื่อพัฒนาทางด้านการเกษตรโดนเฉพาะ 

เมื่อจบออกมาก็มีโอกาสได้สัมผัสกับชีวิตเกษตรกรูปแบบต่าง ๆ เช่น ไปดูนาข้าวในภาคอีสาน เมื่อกลับมาสู่บ้านตนเองสิ่งหนึ่งที่อยากพัฒนาคือ เกษตรกรที่ยั่งยืน เกิดมาจากปัญหาที่ว่าพื้นที่เกษตรกร ของเราส่วนใหญ่เป็นผู้มีอายุมากแล้ว ธรรมชาติของพวกเขาคือ บ้านอยู่กลางสวน ต้นต่าง ๆ ล้อมรอบ และเกษตรกรล้วนใช้สารเคมี เช่น การฉีดใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง ส่งผลให้สิ่งแวดล้อมรอบข้าง การนอน การเอาชีวิตเข้าไปเสี่ยงเป็นระยะเวลานานส่งผลเสียต่อร่างกาย ดังนั้นสิ่งแวดล้อมเหล่านี้จึงไม่เหมาะสมกับการอยู่อาศัย 

เขามองว่าจะทำยังไงจะทำให้คนในชุมชนไม่ต้องใช้สารเคมี อยู่ในพื้นที่ชุมชนได้อย่างมีความสุข แต่เมื่อไม่ใช้สารเคมีผลผลิตก็ขายยาก เพราะตลาดรับแต่ผลผลิตที่สวยงาม ฉะนั้นสิ่งนี้ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่เจอ “ส่งผลให้เกิดไอเดียในการทำนวัตกรรมการแปรรูปมังคุด” ซึ่งเป็นผลผลิตที่อยู่ได้เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 4 ปี และให้มีรายได้ตลอดทั้งปี นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์มังชา สบู่ก้อน สบู่เหลว ผงปัญหากลิ่นเท้า เพื่อความสร้างยั่งยืนให้กับชุมชน

สันติสุขฟาร์มเมล่อนอินทรีย์ยั่งยืน ด้วยนวัตกรรมและผึ้งชันโรง

สันติสุข เทียนทอง เจ้าของสันติสุขฟาร์มจังหวัดนครปฐม กล่าวว่า “เพราะครอบครัวคือความสุข จุดเริ่มต้นการทำเกษตร เพราะเวลาไม่มีคำว่ารอ ฉะนั้นเราควรอยู่กับครอบครัวให้มากที่สุด ณ ตอนนี้” ซึ่งแต่ก่อนครอบครัวใช้สารเคมีในการทำการเกษตรมาตั้งแต่สมัยก่อน เขาจึงเป็นรุ่นลูกที่เรียนจบมาและได้มีโอกาส ที่จะทำงานตามฝันของตัวเอง โดยเข้าทำงานที่บริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง จากนั้นพ่อล้มป่วยจึงตัดสินใจออกมาทำเกษตร 

มองเห็นถึงจุดเริ่มต้นด้วยการทำเมล่อนอินทรีย์ โดยใช้ความรู้ทางด้านวิศวกรรม ต่อยอดให้ได้ผลผลิตที่ดีเยี่ยมมากขึ้น จากการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีกำกับแมลงด้วยแสงโซลารเซลล์ เลี้ยงชันโรงไว้สำหรับผสมเกสร และได้จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขึ้นมา พยายามที่จะขยายเครือข่ายให้มากยิ่งขึ้น ต่อยอดให้ผลผลิตของผึ่งชันโรงให้เป็นที่รู้จักของคนไทย และต่างชาติต่อไป 

Smart Farmer IOT หุ่นยนต์ลดต้นทุนเพิ่มรายได้เกษตรอินทรีย์

นิรันดร์ สมพงษ์ จังหวัดนครราชสีมา ผู้พัฒนา Smart Farmer IOT นวัตกรรมเพื่อเกษตรอินทรีย์ กล่าวว่า เดิมไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง  ต้องเช่าที่ดินทำเกษตร จึงพร้อมเดินหน้าจัดระบบเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็ง แก้ไขปัญหาเรื่องที่ดิน – ที่อยู่อาศัย ปัญหาที่พบคือเรื่องรายได้ ต้นทุนการผลิตสูงกว่าราคาที่ขาย ก็คือขาดทุนนั่นเอง จึงต้องการแก้โจทย์ว่าทำยังไงถึงจะไม่ขาดทุน ส่งผลให้เกิดเทคโนโลยี Smart Farmer IOT หรือหุ่นยนต์ในการทำการเกษตร เข้ามาปรับใช้ สามารถลดต้นทุน ลดเวลา และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า พร้อมกับราคาที่เกษตรกรจับต้องได้ในราคาหลักพันกว่าบาท มีมายาวนาน 5 – 6 ปี ปัจจุบันได้มีการถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรทั่วประเทศ เกือบ 20 ศูนย์ทั่วประเทศ และทำซอฟต์แวร์เอง มีการใช้งานมากถึง 2,000 กว่าคน                    

ดังนั้นเรื่องของแรงงานเป็นเรื่องสำคัญ จึงสร้างนวัตกรรมนี้ขึ้นมา ปัจจุบันสามารถลดต้นทุนได้ราว ๆ 35 – 50% จากการเก็บข้อมูลตลอดระยะเวลาหลายๆ ปี เป้าหมายต้องการพาพี่น้องรอดพ้นปัญหาความยากจน และทำเกษตรพัฒนาต่อเนื่องให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

Coffee De Hmong กาแฟพิเศษจากดอยน่านสู่เวทีโลก

Coffee De Hmong กาแฟพิเศษจากดอยน่านสู่เวทีโลก

วิชัย กำเนิดมงคล จังหวัดน่าน เจ้าของ “Coffee De Hmong กาแฟเดอม้ง” กล่าวว่า ไอเดียนี้เกิดจากปัญหาภูเขาหัวโล้นที่จังหวัดน่าน เลยคิดว่าจะต้องเป็นคนแก้ไข แล้วอะไรที่จะสามารถสร้างรายได้ ให้ชาวเกษตรกรได้ และสามารถคืนพื้นที่ป่าได้ด้วย จึงตกผลึกได้ในเรื่องของกาแฟ ซึ่งมองว่าตลาดกาแฟมีการแข่งขันสูง ผู้เล่นในตลาดนี้เยอะมาก สุดท้ายก็ได้มองเห็นโอกาสจริง ๆ ว่าพื้นที่นี้เหมาะที่จะปลูกกาแฟ โดยจุดแข็งที่ทำคือ “ปลูกกาแฟสายพันธ์พิเศษที่มีคู่แข่งน้อย” และสามารถแข่งขันในตลาดได้ 

ต่อมาได้มีการเดินทางไปหาองค์ความรู้เพื่อให้ตอบโจทย์ผู้บริโภค โดยศึกษาจากแหล่งร้านกาแฟ ทำให้ตกผลึกได้ว่า หากจะทำให้ดีต้องมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วย และหมั่นพัฒนา นอกจากนี้ยังมีของวางขายในตลาด และส่งกาแฟเข้าประกวดในปี 2563 ได้รับรางวัลที่สาม ส่งผลให้เกิดจุดเปลี่ยนมุ่งสู่วงการกาแฟพิเศษไทยอย่างเข้มข้น หลังจากนั้นก็ได้รับอีก 2 รางวัลและได้รับรางวัลมาเรื่อย ๆ ส่งผลให้เกิดความคิดที่อยากจะออกไปแข่งขันระดับโลกต่อไปในอนาคต

ฟาร์มโคนมบุญชู นมยั่งยืนด้วยโซลาร์เซลล์โฮมสเตย์และวิสาหกิจชุมชน

ฟาร์มโคนมบุญชู นมยั่งยืนด้วยโซลาร์เซลล์โฮมสเตย์และวิสาหกิจชุมชน

บุษบง งีสันเทียะ ทายาทฟาร์มโคนมบุญชู จังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวว่า จุดเริ่มต้นเรียนจบมา สนใจอยากทำธุรกิจเกษตรที่บ้าน ซึ่งตอนนั้นที่บ้านทำไร่อ้อย เจอปัญหาขาดแคลนแรงงาน จึงตัดสินใจเข้ามาปรับเปลี่ยน คิดว่าอยากทำโคนม โดยใช้ชื่อว่า ฟาร์มโคนมบุญชู 

สิ่งที่เปลี่ยนไปจากเดิมคือ มีการตั้งเป้าหมายมากขึ้น ใช้โซลารเซลล์จากพลังงานแสงอาทิตย์แทนการใช้ไฟฟ้า ยึดหลักสำคัญ Zero Waste ทำทุกอย่างที่อยู่ในฟาร์มให้กลับมามีมูลค่าได้มากที่สุด เช่น น้ำนมดิบที่ส่งขายไม่ได้ก็นำมาทำน้ำหมักนมสดจำหน่ายให้กับพี่ ๆ ที่ทำพืชเกษตรอินทรีย์ หรือในส่วนของขี้วัว นอกจากจะมีการขายแล้ว ยังมีการนำมาทำอินทรีย์ด้วยส่วนหนึ่ง มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์นม เช่น นมโค โยเกิร์ต ไอศกรีม เนยสด 

เป้าหมายต่อไปคือ อยากขยายฟาร์มให้ใหญ่ขึ้น เน้นการพึ่งพาตัวเองให้ได้มากขึ้น ควบคู่กับการทำโฮมสเตย์ให้คนที่อยากมาสำรวจ วิถีชีวิตธรรมชาติ ได้เข้ามาเรียนรู้วิถีชีวิตฟาร์มร่วมกันกับเรา โดยจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนเกษตรวิถีชาวฟาร์ม ทำให้คนในชุมชนได้มีรายได้ที่ยั่งยืน

สวนหลังบ้าน เกษตรสนุกความสุขที่ปลูกได้

สวนหลังบ้าน เกษตรสนุกความสุขที่ปลูกได้

นงนุช เสลาหอม ประธานวิสาหกิจชุมชนเกษตรพอเพียง บ้านห้วยขวาง สวนหลังบ้าน จังหวัดราชบุรี กล่าวว่า จุดเริ่มต้นการทำการเกษตรเหตุผลไม่ได้มากจากตนเอง แต่เป็นเหตุผลจากคนในชุมชน ซึ่งเขามีปัญหาเกี่ยวกับเรื่อง หนี้สิน ความมั่นคงทางอาหาร จึงพยายามทำเกี่ยวกับเรื่องการปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ลดรายจ่ายในครัวเรือน ปรากฏว่าในช่วงแรกไม่มีใครสนใจ เพราะฉะนั้นจึงกลับมาสร้างความมั่นคงทางอาหารด้วยตัวเอง พร้อมพัฒนาจากสวนเกษตรธรรมดา ให้เป็นสวนเกษตรผสมผสาน และขยายผลสู่ชุมชน หลังจากนั้นทำได้ 2 ปี ทบทวนว่าจะพัฒนายังไงให้เพิ่มขึ้น ช่องทางไหนที่จะทำให้เกิดรายได้มากขึ้น จึงเริ่มขยับขยายจากสวนเกษตรธรรมดา กลายมาเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่ให้กลุ่มเกษตรกร เยาวชนที่มีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องการเกษตร เข้ามาศึกษาการเรียนรู้ในศูนย์การเรียนรู้สวนหลังบ้าน 

นอกจากนี้ยังเริ่มมีการแปรรูป โดยผักสวนครัวต่างๆ และผลักดันให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ได้รับการสนับสนุนผ่านกรมส่งเสริมการเกษตร หลายๆ คนมองว่าการทำเกษตรนั้นยากลำบาก เราจึงพยายามเปลี่ยนทัศนคตินี้ว่า จริงๆ แล้วการเกษตรมีความสนุกซ่อนอยู่ในนั้น “ภายใต้แนวคิด เกษตรสนุก ความสุขที่ปลูกได้” ในการทำกิจกรรมทั้งหมดเกิดจากคนในชุมชนมาช่วยกัน มานานกว่า 6 ปี และจะพัฒนาองค์กรความรู้ไปเรื่อย ๆ นำเทคโนโลยี นวัตกรรมต่าง ๆ มาแปรรูปการเกษตรให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ถือเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ สร้างคุณค่าให้กับกลุ่มเกษตรกรไทยภายใต้แบรนด์สาวหลังบ้านนั่นเอง

ปลาสลิดบ้านแพ้ว ยกระดับสู่มาตรฐานสากล

อุมารินทร์ เกตพูลทอง วิสาหกิจชุมชนเกษตรพัฒนา บ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร

อุมารินทร์ เกตพูลทอง วิสาหกิจชุมชนเกษตรพัฒนา บ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร กล่าวว่า เขาไม่ใช่เกษตรกรตั้งแต่แรก คุณพ่อเป็นผู้เลี้ยงปลาสลิด แต่ขาดทุน เขาเลยคิดว่าลาออกจากงานประจำมาช่วยพ่อดีกว่า ซึ่งขาดทุนติดต่อมา เป็นระยะเวลา 3 ปี จากนั้นสนใจนำมาปลาสลิดมาแปรรูปเพื่อกู้ทุนคืน จึงเขียนหนังสือขอคำแนะนำเรื่องการสร้างมาตราฐานขอ อ.ย และศึกษากระบวนการเลี้ยงเองแต่ตั้งแรกเริ่มจนจบ เพื่อให้ได้ฟาร์มที่ได้มาตรฐาน จนกระทั่งสามารถหาตลาดเองได้ และพร้อมผลักดันปลาสลิดให้มีคุณภาพสามารถส่งออกต่างประเทศได้ 

โดยผลิตต่อปีอยู่ที่ 6 แสนกิโล ซึ่งถ้าเลี้ยงได้จำนวนมากขนาดนี้ยังขาดทุนอยู่ เกษตรกรไม่ไหวแน่นอน จึงอยากช่วยพัฒนาให้เกษตรกรมีช่องทางการตลาดให้มากขึ้น แนวคิดคือการสานต่อ ทำให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ ในโอกาสนี้จึงอยากเป็นกระบอกเสียงให้ผู้ที่ทำปลาสลิดบ้านแพ้ว ว่าเราเป็นเกษตรกรที่เลี้ยงปลาสลิดอย่างมีคุณภาพ เป้าหมายมุ่งส่งออกต่างประเทศ พร้อมสร้างเม็ดเงินให้กับประเทศไทยต่อไป

ไรซ์เบิร์ด ออร์แกนิคฟาร์ม เกษตรอินทรีย์ด้วยวิถีพอเพียง

ภูมิปณต มะวาฬ จังหวัดสุโขทัย กล่าวว่า หนุ่มกราฟิกดีไซน์ผันตัวมาเป็นเกษตรกรอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยเกษตรอินทรีย์ของคุณพ่อคุณแม่ ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดทำ มีความมุ่งมั่น จนวันนี้สามารถพลิกพื้นแผ่นดิน ให้สามารถมีเกษตรอินทรีย์ของพ่อได้ ความอุดมสมบูรณ์กลับคืนมา มีอาหารการกิน รวมถึงสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับพ่อแม่ 

ไรซ์เบิร์ด ออร์แกนิคฟาร์ม เป็นสวนผสมผสานที่เชื่อว่า จะเกิดความมั่นคงทางระบบนิเวศ คืนคุณค่าให้กับพื้นดิน เขากำลังสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับคนรุ่นหลังเพื่อให้อยู่ได้นานๆ และมีพื้นที่อุดมสมบูรณ์ ดีต่อสุขภาพต่อไปในอนาคต

จาก 10 ตัวอย่างความสำเร็จของเกษตรกรผู้รับรางวัล “เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด” สะท้อนให้เห็นถึงพลังของ ความฝัน ความมุ่งมั่น ความรัก ที่มีต่อบ้านเกิด นอกจากนี้เกษตรกรรุ่นใหม่ เต็มเปี่ยมไปด้วยวิสัยทัศน์ พร้อมนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้บริหารจัดการธุรกิจเกษตรอย่างชาญฉลาด ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม 

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

นักบินอวกาศญี่ปุ่นทดลอง 3 ไอเดียเยาวชนไทย บนสถานีอวกาศนานาชาติ

Design My Life: จาก “วิศวกร” สู่ “ผู้บริหารด้าน HR ” ชีวิตที่ออกแบบได้ของ ชัชพล ยังวิริยะกุล

‘Plugo’ แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซครบวงจรสัญชาติอินโดนีเซีย บุกตลาดไทย

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ