TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyส่อง 6 ไฮไลต์โซลูชันการแพทย์จากทั่วโลก ในงาน “Medical Fair Thailand 2023”

ส่อง 6 ไฮไลต์โซลูชันการแพทย์จากทั่วโลก ในงาน “Medical Fair Thailand 2023”

อุตสาหกรรมการแพทย์ไทย เป็นหนึ่งในประเทศแถบภูมิภาคอาเซียนลำดับต้น ๆ ที่สามารถตั้งรับสถานการณ์โรคอุบัติใหม่ ที่เกิดขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จากความเข้มแข็งด้านการแพทย์แบบครบวงจร มาตรฐานการให้บริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพในระดับสากล ทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากนโยบายเชิงรุกของรัฐบาล สู่การเป็น “ศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการแพทย์ – ศูนย์กลางสุขภาพระดับโลก” ที่มีอัตราการเติบโตมากกว่า 10%

เกอร์นอท ริงลิ่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย เผยว่า บริษัทฯ เล็งเห็นศักยภาพของประเทศไทย ในฐานะ “ผู้นำด้านการท่องเที่ยวทางการแพทย์ระดับโลก” ที่ได้รับการขับเคลื่อนด้วยนโยบายเชิงรุกของรัฐบาล จึงได้เดินหน้าจัด “เมดิคอลแฟร์ ไทยแลนด์ 2023” (Medical Fair Thailand 2023) แสดงโซลูชันทางการแพทย์และระบบดูแลสุขภาพอัจฉริยะใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มากกว่า 8,000 รายการ จาก 800 บริษัทชั้นนำใน 40 ประเทศทั่วโลก เพื่อเปิดโอกาสให้นักลงทุนและผู้เชี่ยวชาญที่คร่ำหวอดในวงการเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์ ได้เข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ อันนำไปสู่การขยายความร่วมมือทางการค้าและการลงทุน เพื่อยกระดับระบบการรักษาและการดูแลสุขภาพของประชากรของแต่ละประเทศในอนาคต

วันนี้ เราขอชวนทุกท่านไปชมตัวอย่างไฮไลต์นวัตกรรมการดูแลสุขภาพแห่งอนาคตจากทั่วโลก ที่ต่างได้ชื่อว่าเป็นประเทศผู้นำด้านเทคโนโลยีขั้นสูงและระบบดูแลสุขภาพประชากรที่ครบวงจร ดังนี้

  1. สวยจบทุกเคสได้ด้วย “มอนิเตอร์แสดงผลภาพผ่าตัดที่คมชัดระดับ 4K” (The cutting-edge technology to medical visualization applications) จากบริษัท FORESEESON INC เกาหลีใต้ แอปพลิเคชันแสดงภาพทางการแพทย์ ขณะศัลยแพทย์ทำการหัตถการแบบเรียลไทม์ ด้วยความละเอียดที่ 4K หวังเจาะตลาดศัลยกรรมตกแต่ง ทั้งเพื่อการศัลยกรรมเพื่อดูแลรักษาและเสริมความสวยงามที่มีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด
  2. ระบบอัตโนมัติจัดเก็บยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ จาก Hänel Storage Systems ประเทศเยอรมนี เพราะระบบจัดเก็บยา เป็นอีกพื้นที่ที่สำคัญของโรงพยาบาล การใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้บริการจัดการคลังสินค้า ด้วยระบบจัดเก็บยาและเวชภัณฑ์ตามแนวตั้ง ลดพื้นที่ที่ใช้ในการจัดเก็บและเพิ่มพื้นที่ว่างเพื่อกำหนดใช้ในสิ่งอื่น ๆ ช่วยให้การเรียกดูสินค้าเป็นไปอย่างรวดเร็วและสะดวกสบาย ด้วยการใช้ระบบอัตโนมัต และ software ในการเรียกดูสินค้าที่ต้องการ เมื่อมีคำขอในการเรียกดู ระบบจะนำสินค้ามายังจุดที่ผู้ใช้ต้องการได้อย่างรวดเร็ว ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการจัดเก็บสินค้า โดยอาจมีระบบควบคุมการเข้าถึงสินค้าที่อยู่ในระบบให้กับผู้ใช้ ที่ได้รับอนุญาต เท่านั้น เรียกดูข้อมูลแบบอัตโนมัติได้แบบ real time
  3. เรียนอย่างล้ำกับอาจารย์ใหญ่ในรูปแบบดิจิทัล ด้วยเครื่องกายวิภาคศาสตร์ 3 มิติ จาก Shandong Digihuman Technology ประเทศจีน เพื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ใช้ระบบประกอบภาพจากกายวิภาคจริง สู่ภาพ 3 มิติ ที่ผู้เรียนสามารถเลือกแต่ละส่วนของกายวิภาคได้เสมือนผ่าตัดจริง แสดงผลเฉพาะส่วนที่เลือกได้ เช่น ระบบกล้ามเนื้อ ระบบเส้นประสาท ระบบกระดูกและไขข้อ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในสถาบันทางการแพทย์ ทั้งมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาล
  4. เพิ่มความสะดวกสบายให้ทั้งผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ ด้วย VITAL ALERT SENSOR MAT จากสิงคโปร์ การใช้เทคโนโลยีระบบตรวจจับอัตโนมัติใต้เตียงนอนเพื่อดูแลสัญญาณชีพและสภาวะผู้ป่วยจากระยะไกล ช่วยให้สามารถติดตามผลแบบไร้สัมผัสอย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องต่อสายวัดหรืออุปกรณ์ใดๆ บนร่างกายของผู้ป่วย เพื่อวัดอัตราการเต้นของชีพจร อัตราการหายใจพร้อมทั้งมีการแจ้งเตือนการลุกออกจากเตียง เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย
  5. ให้ทุกเคสพร้อมเคลื่อนย้าย-ดูแล-กู้ชีพผู้ป่วยได้ไม่มีสะดุด จาก DLOUHY ออสเตรีย ออกแบบอุปกรณ์ภายในรถปฐมพยาบาลเพื่อเซฟบุคลากรทางการแพทย์ พัฒนาระบบ paramedic หรือเวชกรฉุกเฉิน ตามมาตรฐานสากล หากเตียงและผู้ป่วยมีน้ำหนักเกิน 100 กิโลกรัม อุปกรณ์บนรถพยาบาลจะต้องมีระบบออโตเมติก เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บของบุคลากรวิชาชีพเวชกร ทั้งนี้ เพื่อให้การดูแลรักษาพยาบาลของบุคลากรทางการแพทย์สามารถทำได้อย่างเต็มศักยภาพ
  6. โซลูชันการตรวจการนอนหลับ ที่สะดวกสบายและเซฟค่าใช้จ่ายให้ผู้ป่วย จากบริษัทเบรน ไดนามิกส์ สตาร์ตอัพสัญชาติไทย ที่ได้รับการสนับสนุนโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) โดยพัฒนานวัตกรรมหลากหลายเพื่อนำไปใช้ในสังคม อาทิ ระบบตรวจการนอนหลับ (Polysomnography System) ดูแลการให้บริการและวิเคราะห์ประมวลผลการตรวจการนอนหลับ โดยใช้เทคโนโลยีทางด้านการนอนหลับที่ครบวงจร โดยอาศัยเทคโนโลยี IoT medical device เก็บข้อมูลสัญญาณจากร่างกายคนไข้เพื่อวินิจฉัยภาวะการหายใจผิดปกติขณะนอนหลับ พร้อมทั้งมีฟังก์ชันช่วยแปลผลข้อมูลผู้ป่วยเบื้องต้นจากเทคโนโลยีเอไอ จากปกติที่ผู้ป่วยต้องไปตรวจที่โรงพยาบาลในราคาหลักหมื่น แต่ระบบนี้สามารถลดค่าใช้จ่ายเหลือหลักพัน ลดต้นทุนการตรวจวิเคราะห์ และช่วยลดภาระงานการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ในการประเมินอาการเพื่อวางแผนการรักษาผู้ป่วยทั้งในปัจจุบันและอนาคต
โซลูชันการตรวจการนอนหลับ ที่สะดวกสบายและเซฟค่าใช้จ่ายให้ผู้ป่วย

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

“5 แสนล้านบาท”… ใช้อย่างไรให้คุ้มค่า

Homepro เปิดตัวรถขนส่งไฟฟ้า 100% ตั้งเป้าปี 66 ครบ 10 คัน ชี้ช่วยลดต้นทุนขนส่ง 21%

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ